วันพฤหัสบดี, มกราคม 18, 2567

‘ดิจิทัลวอลเล็ต‘ เลื่อนแล้ว ไม่ทันปี ๖๗ ‘แลนด์บริดจ์‘ :คิดไปขายไป จะล้มเหลวแบบถนนสาย ๔๔ ‘เซ้าเทิร์นซีบอร์ด‘ หรือไม่ ลุ้นตัวโก่ง


จากที่ สฤณี อาชวานันทกุล โพสต์ไว้เมื่อวันก่อน “สรุปสถานะนโยบายหาเสียงของร้าบานเพื่อไทย” ได้ความว่า “ดิจิทัลวอลเล็ต : คิดไปทำไป” เมื่อวาน จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ประกาศยืดเวลาออกไป เพราะไม่ทันปี ๒๕๖๗ แน่ๆ แล้ว

มาถึง ลนด์บริดจ์* : คิดไปขายไป” ซึ่งเธอมีหมายเหตุว่า “ไม่ใช่นโยบายหาเสียง แต่มาทีหลังดังกว่า” นั้นมีข่าวไม่เป็นคุณแก่โครงการโผล่มาอีก คงต้องรอนายกฯ กลับจากสวิสก่อน แล้วค่อยมาตอบกัน ถ้าไม่เจอไส้เลื่อนอีกราย

เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับแลนด์บริดจ์ที่แชร์กันมากในโซเชียล ก็คือ ทักษิณ ชินวัตร เคยเขียนเกี่ยวกับแลนด์บริดจ์ หรือ “สะพานบกเชื่อมสองฝั่ง” ตามคำของเขา ไว้ตั้งแต่ ตุลา ๒๕๕๖ เกี่ยวเนื่องท่าเรือสิงคโปร์ ว่ามีเพื่อนนายทุนมาเลย์ชวนคุยขอความเห็น

เนื่องจากเพื่อนคนนั้นได้ที่ดินผืนใหญ่จากรัฐบาลมหาเธร์ ก็เลยอยากลงทุนทำท่าเรือแข่งสิงคโปร์เพราะเห็นกิจการดีมาก ทักษิณบอกว่าที่เอาเรื่องนี้มาล่าเนื่องจากชื่นชมความ กล้า‘ แข่งขันกับจ้าวพ่อท่าเรืออย่างสิงคโปร์ ขนาดลีกวนยูประกาศสู้ แพ้ไม่ได้

ทักษิณว่าเห็นเช่นนั้นแล้วสะท้อนสะเทือนใจ ว่าประเทศไทยไม่กล้า ชน อย่างนั้น ความพยายามสร้างคลองคอคอดกระ “หรือแม้กระทั่งไม่ขุดเป็นคลอง แต่ทำเป็นเหมือนสะพานบกเชื่อม ๒ ฝั่ง (Land Bridge)...จึงไม่เกิดซักที

เพราะถ้าเกิด ท่าเรือทั้งสิงคโปร์และมาเลเซียแห้งตายทั้งคู่” เราก็เลยถึงบางอ้อเหมือนกันว่า ทั้งเศรษฐาและประดานายโบกในพรรคเพื่อไทย คงจับเอาประเด็นทักษิณนี่แหละ มาดึงดันให้โครงการแลนด์บริดจ์เป็นเรือธงให้จงได้ละสิ

พอดีมีเพจ กระบี่ไม่ทน ระบุไว้ “รู้หรือไม่แลนด์บริดจ์พยายามให้เกิดขึ้นที่กระบี่-สุราษฎร์แล้ว แต่ล้มเหลวสร้างไม่เสร็จ เพราะไม่มีเอกชนไหนสนใจต่อ” นั่นตอนปี ๒๕๓๖ ส่วนปัจจุบัน “เริ่มโดยรัฐบาลประยุทธ์ แต่กำลังถูกสานต่อด้วยรัฐบาลเพื่อไทย”

ครั้งนั้น “ใช้งบประมาณแผ่นดินไปแล้ว ๓๕๐๐ ล้านบาท จากการสนับสนุนของประเทศญี่ปุ่น” สร้างถนนสายเซ้าเทิร์นซีบอร์ด เส้นทาง ๑๐๐ กิโลเมตร ซึ่งตอนเริ่ม “ก็เหมือนทุกวันนี้แหละ วาดฝันไว้ยิ่งใหญ่ สุดท้ายจุดท่าเรือก็ไม่มี

๑๐๐ กิโลเมตรที่เหลือก็ไม่มา ท่อส่งน้ำมัน ทางรถไฟก็ไม่มี พื้นที่ว่างๆ เปิดให้เช่าทำสวนปาล์ม จนหลายจุดนายทุนครองมา ๑๐ ปี ๒๐ ปีแล้ว” เสียดายเขาไม่ได้บอกว่านายทุนชุดนั้นหรือเปล่าที่อยากได้แลนด์บริดจ์ครั้งนี้ด้วย

อย่างไรก็ดีมีอีกข่าว “จีนเปิดทางเลือกใหม่ ร่วมพัฒนาเปิด ลอมบ็อก Sea Bridge อินโดนีเซีย เชื่อมจีน ทะเลจีนใต้ สู่ ออสเตรเลีย มหาสมุทรอินเดีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง” ข่าวนี้เราได้มาจาก ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์

“ช่องแคบลอมบ็อก อยู่ระหว่างเกาะลอมบ็อกและเกาะบาหลี ยาว ๖๐ กม. ช่องประตูทางเหนือกว้าง ๔๐ กม. ทางใต้สุดกว้าง ๒๐ กม. ความโดดเด่นคือ น้ำลึก ๒๕๐ เมตร” ใช้เป็นเส้นทางซีบริดจ์ ให้เรือสินค้าขนาดใหญ่แล่นผ่านสบายๆ

“ลอมบ็อก Sea Bridge จะเปิดการพัฒนาพื้นที่เกาะสุลาเวสี มะกะสัน” อีกทั้ง “เกาะกาลิมันตันมีถ่านหินที่มีคุณภาพจำนวนมาก ที่ล่อตาล่อใจจีนอย่างยิ่ง”

(https://www.facebook.com/photo/?fbid=959979995696988&set=a.183281720033490 และ https://www.facebook.com/krabinomore/posts/33ASeK1LJj2qiWl)