เช้านี้ (๒ มกรา ๖๗) ตั้งแต่ ๑๐.๓๐ น.ในกรุงปารีส ‘หอคลังจดหมายเหตุ’ หรือ “Centre des Archives diplomatiques du ministère des Affaires étrangères” จะเปิดให้เข้าชม ‘เอกสารปรีดี ๒๐๒๔’ Nithiwat Wannasiri โพสต์แจ้ง
“พิกัดสถานที่ 3 Rue Suzanne Masson 93120 เมือง La Courneuve ทางตอนเหนือของปารีส ทาง ‘ไฟเย็น’ จะไปร่วมสังเกตการณ์การเปิดเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ กับ อ. Jaran Ditapichai ,Junya Yimprasert และคุณ Yan Marchal (ให้ความช่วยเหลือทางการแปล)”
เอกสารชิ้นนี้นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อยู่ไม่น้อย แม้นอาจจะไม่ทำให้เกิดความฮือฮากับสถานการณ์ในประเทศไทยปัจจุบัน ดังที่ Pavin Chachavalpongpun มีคอมเม้นต์ไว้เมื่อวันก่อนว่า “irrelevant ไปแล้ว”
เขาให้เหตุผลว่า “สมมตินะว่าเรื่องที่เขียนคือเรื่องการยืนยันว่า (น้อง) สังหาร (พี่) แล้วไง?” เขาว่าคนไทยพูดกันถึงเรื่องนั้นมานานมาก (จนตกผลึกแล้วก็ว่าได้) เรื่องความเกี่ยวข้องของน้องกับความตายของพี่ เขาชี้เลยว่าสังคมฟันธงไปแล้ว
“ต่อให้ปรีดีพูดถึง...ในแง่ลบ มันก็ไม่ได้ช่วยให้ชื่อเสียง...เสียไปมากกว่านี้ และอีกอย่าง...แทบไม่มีความหมายกับคนรุ่นใหม่แล้ว” ด้วย เขาจึงสรุป “จดหมายปรีดีไม่น่าให้อะไรใหม่เกี่ยวกับสถาบัน...
เผลอๆ ถ้าเขียนสูตรข้าวมันไก่เปิบพิศดารจริง อาจจะเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติมากกว่า” ทว่าขณะนี้มีเพจปฏิกิริยาชื่อ ‘ฤๅ - Lue History’ ออกมาโจมตีปรีดี อย่างมีเลศนัยสำคัญ โดยเฉพาะในกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ ๘
โดยกล่าวอ้างให้ร้ายพฤติกรรมของนายเฉลียว ปทุมรส เพราะนายเฉลียวเป็นคนสนิทของปรีดี และเป็นราชเลขาฯ (สามารถเข้าๆ ออกๆ ห้องบรรทมของราชชนนีสังวาลย์ได้)
เพจ ‘ลือ’ ดังกล่าวใส่ไคล้ว่าปรีดีมีส่วนรู้เห็นกรณีสวรรคต เช่นเดียวกับการกล่าวหาของเพจ ‘คณะร่านฯ’ ในอดีต ฉะนี้ จดหมายปรีดี ๒๐๒๔ ถ้ามีเอ่ยถึงกรณีสวรรคตฯ ก็จะทำให้ประวัติศาสตร์ในเรื่องนี้ได้มีการชำระในระดับหนึ่ง
(https://www.facebook.com/pavinchachavalpongpun/posts/37dhXpm8y และ https://www.facebook.com/Lue.History.Thai/posts/2wqomEtWvAHYA)