https://www.facebook.com/watch/?v=313437151691575&t=0
บีบีซีไทย - BBCThai
14h·
“ตอบแบบปราศจากความละอาย” ธงชัย วินิจจะกูล พูดถึงคำอธิบายจากรัฐบาลต่อกรณี ทักษิณ ชินวัตร
.
ธงชัย วินิจจะกูล มอง “นิติรัฐอภิสิทธิ์” ภาคต่อหลังเลือกตั้ง 2566
อ่านต่อ (https://bbc.in/3OwIDWT)
.....
“เลี่ยงอภิสิทธิ์โจ๋งครึ่ม-ลืมนักโทษการเมือง” ธงชัย วินิจจะกูล มอง “นิติรัฐอภิสิทธิ์” ภาคต่อหลังเลือกตั้ง 2566
ธงชัย ผู้เคยมีประสบการณ์อยู่ในเรือนจำ 2 ปี หลัง 6 ตุลา 2519 เล่าว่า ช่วงนั้นเห็นนักโทษป่วยหนักเป็นประจำ และยากเย็นแสนเข็ญที่จะออกจากเรือนจำไปยัง รพ.ราชทัณฑ์ จึงไม่ต้องพูดถึงการออกไปรักษาใน รพ. ภายนอก
ทักษิณยื่นทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ก่อนมีพระราชหัตถเลขาพระราชทานอภัยลดโทษให้ นักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ จากจำคุก 3 คดี รวมเวลา 8 ปี เหลือโทษจำคุก 1 ปี
ศ.ดร.ธงชัย เป็นเจ้าของงานวิจัยว่าด้วย “ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย” และองค์ปาฐกในหัวข้อ “นิติรัฐอภิสิทธิ์และราชนิติธรรม: ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของ Rule by Law แบบไทย" บนเวที ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เมื่อ 4 ปีก่อน
คำจำกัดความของ นิติรัฐ หรือ นิติธรรม ที่คนไทยแปลมาจาก Rule of Law มีมากมายแตกต่างกันตามแต่ประวัติศาสตร์ของประเทศนั้น ๆ แต่เขาพบลักษณะร่วมอย่างหนึ่งคือ เพื่อจำกัดการใช้อำนาจของรัฐที่จะมาคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทว่าในประเทศไทยกลับตรงกันข้าม เพราะระบบกฎหมายสมัยใหม่ของไทยมีไว้รับใช้รัฐ-ให้อภิสิทธิ์แก่รัฐในการคุ้มครองรักษาตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนามความมั่นคงด้วยการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในแง่นี้เท่ากับว่ามันละเมิด Rule of Law ถึงขั้นพื้นฐาน
คาถาเพื่อตัดบทของรัฐบาล
มาถึงกรณีทักษิณ ซึ่งมีเสียงโจษจันมากเกี่ยวกับ “อภิสิทธิ์โจ๋งครึ่ม” ที่ได้รับเหนือกว่าผู้ต้องขังรายอื่น ๆ ทว่าคำอธิบายจากรัฐกลับบางเบา
จากการสดับตรับฟังฝ่ายต่าง ๆ สิ่งที่นักวิชาการจากแดนไกลได้ยินคือ
ผู้สนับสนุนเพื่อไทย-ทักษิณ: เลี่ยงประเด็นไปว่าทักษิณไม่ควรต้องติดคุกด้วยซ้ำ “โดยส่วนตัว ผมเห็นด้วย ถูกต้อง แต่มันเป็นคนละประเด็นกับว่าเขายอมรับโทษจำคุกก็ต่อเมื่อได้รับอภิสิทธิ์เหนือกว่าคนปกติ”
รัฐบาล: ตอบแบบปราศจากความละอาย โดยบอกว่าทำตามกฎหมาย ซึ่งเป็นคาถาเพื่อตัดบท รัฐบาลรู้ว่าคนไม่ฟัง ไม่เชื่อ และไม่หวังว่าคนจะเชื่อ แต่คงไม่มีทางอื่น เพราะมันกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
“ข้ออ้างเรื่องกฎหมายออกมาก่อน ข้ออ้างเรื่องความลับระหว่างหมอกับคนไข้ เหล่านี้ฟังดูดีทั้งนั้น แต่อย่าลืมว่าคนในสังคมไทยที่ถือว่าสูงกว่าทักษิณก็ยังมีประกาศอาการป่วยให้สาธารณชนรับรู้ได้ ไม่ใช่ความลับ เพราะฉะนั้นกรณีไหนจะลับหรือไม่ลับ กรณีไหนจะเลือกใช้กฎหมายอะไร เป็นการเลือกตามอภิสิทธิ์ที่รัฐถืออยู่ในมือว่าจะให้กับใครก็ได้”
ราชทัณฑ์ส่งตัวทักษิณเข้ารับการรักษาที่อาคารมหาภูมิพลราชานุสรณ์ 88 พรรษา รพ.ตำรวจ ตั้งแต่เวลา 0.20 น. วันที่ 23 ส.ค. 2566 ทำให้เขาไม่ได้นอนเรือนจำแม้แต่คืนเดียว
ขณะเดียวกัน ศ.ดร.ธงชัย เห็นว่า รัฐบาลเลือกใช้วิธีเงียบกับนักโทษการเมืองทั้งที่ป่วยหนักและไม่ป่วย เพราะประเมินว่าคนสนใจน้อยกว่ากรณีทักษิณ
“ทั้งสองกรณีนี้ วิธีปฏิบัติต่อผู้ต้องขังอย่างตรงข้ามกันลิบลับ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลนี้ไม่ต่างไปจากคนมีอำนาจที่ผ่านมาไม่ว่าชุดไหน เพราะว่าหากินกับการจัดการปัญหาอย่างผิวเผินไป แต่ ‘เลี่ยงกรณีใช้อภิสิทธิ์โจ๋งครึ่ม’ เพราะว่าพวกเขาได้อำนาจเพราะชนชั้นอภิสิทธิ์ทั้งหลายด้วยกันทั้งนั้น และก็ ‘ลืมกรณีนักโทษการเมือง’ ที่ท้าทายระบบอภิสิทธิ์ ลองคิดดูดี ๆ จะพบว่ากรณีนักโทษการเมืองในขณะนี้เกือบทั้งหมดไม่ว่าข้อหาอะไรในทางการเมือง เกิดจากการต่อสู้กับระบบและรัฐอภิสิทธิ์ทั้งนั้น”
ข้อมูลจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า ตลอดปี 2566 มีผู้ต้องขังในคดีการเมืองอย่างน้อย 67 คน ในจำนวนนี้มี 34 คนถูกคุมขังในเรือนจำด้วย “คดี 112” หลังตกเป็นผู้ต้องหา/จำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
เพื่อไทยยินดี “ถูกเอาเข้าเป็นพวก” = ความมั่นคงของรัฐอภิสิทธิ์
หากความไม่เท่าเทียมทางกฎหมายเกิดจากการให้อภิสิทธิ์แก่ฝ่ายที่ให้ความมั่นคงต่อรัฐ น่าสนใจว่าภัยคุกคามความมั่นคงของรัฐในยุคปัจุบันคืออะไร และทักษิณเสนอหลักประกันใด ให้แก่รัฐถึงได้รับ “อภิสิทธิ์โจ๋งครึ่ม”
“พรรคเพื่อไทยยินดีถูก co-opted (ถูกเอาเข้าเป็นพวก)” ศ.ดร.ธงชัย ตอบ
“แต่ก่อนอภิสิทธิ์นี้มีไว้เล่นงานคุณทักษิณ เขาไม่ควรจะต้องถูกตัดสินติดคุกด้วยซ้ำไป แต่เขาถูกอภิสิทธิ์นี้เล่นงาน เพราะตอนนั้นยังไม่ยอมเป็นพวก พอตอนนี้เป็นพวก ยอมถูก co-opted ด้วยการทำตัวเองต่ำกว่า คือไม่มีสิทธิกลับมาโดยไม่มีความผิด ต้องกลับมาแบบมีความผิด ยอมติดคุกแต่ไม่ติดคุก อะไรอย่างนี้ก็พอบอกได้ว่าสถานะของดีลนี้เป็นอย่างไร”
ภายหลังการเลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566 พรรค พท. ซึ่งตกที่นั่งพรรคอันดับ 2 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ จำต้องเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ซึ่งมี สส. มากกว่า 10 เสียง ต่อมาเมื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากก้าวไกล ได้รับเสียงสนับสนุนในรัฐสภาไม่เพียงพอตามเกณฑ์ขั้นต่ำของรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. ในระหว่างพิจารณา “คดีหุ้นไอทีวี” จึงได้เวลาที่พรรค พท. จะชิงแยกวง-ฉีกข้อตกลงที่ทำร่วมกันมา
เพื่อไทยเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เชิญอีก 10 พรรคการเมืองเข้าร่วมรัฐบาลผสม 314 เสียง ไม่เว้นกระทั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 และผู้นำก่อรัฐประหารโค่นล้มอำนาจของรัฐบาลเพื่อไทย เมื่อ 22 พ.ค. 2557
แถลงการณ์จัดตั้งรัฐบาล 11 พรรค เมื่อ 21 ส.ค. 2566 เริ่มต้นด้วยการยืนยันว่า “ไม่มีการแก้ไขมาตรา 112 และไม่มีพรรคก้าวไกลเข้าร่วมรัฐบาล”
ศ.ดร.ธงชัย ชี้ว่า ประโยชน์ที่พรรค พท. ได้คืออำนาจรัฐบาล ยุทธศาสตร์ในการเป็นรัฐบาล-รักษาอำนาจคือทำอะไรก็ตามที่ไม่กระทบกระเทือนรัฐอภิสิทธิ์
รัฐอภิสิทธิ์ในเมืองไทยไม่ใช่แค่รัฐบาล แต่ผู้วิจัยประวัติศาสตร์กฎหมายไทย หมายถึง เครือข่ายชนชั้นนำระบบอุปถัมภ์ ไม่ว่าจะมาในรูปแบบสถาบันประเพณี เช่น กลุ่มที่เรียกว่าเจ้า กลุ่มนิยมเจ้า ขุนนางใหม่อย่างกองทัพและระบบราชการ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นเครือข่ายชุดเดียวกัน แม้ไม่ได้เป็นเอกภาพทั้งหมด “ความมั่นคงของของรัฐที่เขาพร่ำพูดถึง ก็คือความมั่นคงของพวกเขา”
ในสายตาของนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ชนชั้นนำไทยไม่ได้เปลี่ยนไป เพียงแต่ใน 20 ปีหลังถูกกระทบกระเทือนด้วยพรรคไทยรักไทย (ทรท.), พรรคพลังประชาชน (พปช.), พรรค พท. และขบวนการประชาชนทั้งหลาย จนถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม แต่ธงชัยไม่คิดว่านั่นเป็นการคุกคามโดยตั้งใจ และเห็นว่าสิ่งที่ ทรท. ทำ เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ สร้างความคืบหน้า พยายามเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบราชการและระบบอภิสิทธิ์ จึงต้องรับบทเรียนราคาแพงไปหลายครั้ง มันทำให้ปัจจุบัน พท. และเครือข่ายรู้ว่าจะวางตัวอย่างไร
“สิ่งที่ชนชั้นนำเข้าใจผิดก็คือ มองถึงความพยายามเปลี่ยนแปลงที่ไทยรักไทยทำเลยเถิดไปว่าเป็นศัตรูของระบบรัฐอภิสิทธิ์” และ “รัฐไทยต้องการรักษาอย่างเดิมไว้ เปลี่ยนน้อยมาก กระทั่งความเปลี่ยนแปลงในระดับที่ไทยรักไทยพยายามทำ เขายังรับไม่ได้” ศ.ดร.ธงชัย ระบุ
แต่ถึงกระนั้น เขาเห็นว่า พรรค พท. กับทักษิณ มีบางองค์ประกอบที่ทำให้เข้ากันได้กับรัฐอภิสิทธิ์หลังการเลือกตั้ง 2566
หนึ่งคือ เครือข่ายอภิสิทธิ์นอกราชการ-นอกศูนย์กลาง อันหมายถึง “บ้านใหญ่” ในจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งอาจถูกพูดถึงน้อยในช่วงเลือกตั้ง แต่มีอำนาจมากในช่วงหลังเลือกตั้ง พวกเขายินดีอยู่ภายใต้การรักษาความมั่นคงของรัฐ และได้ประโยชน์ หากินกับการเป็นรัฐบาล มีอำนาจรัฐไปเรื่อย ๆ
อีกหนึ่งคือ บรรดาคนรักประชาธิปไตยซึ่งอาจเห็นด้วยกับการอย่าไปทำอะไรให้กระเทือน ค่อย ๆ ประคับประคองเพื่อรักษาอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไว้ให้ยาวที่สุด
นายกฯ คนที่ 29 เปิดทำเนียบฯ ให้การต้อนรับ นายกฯ คนที่ 30 เมื่อ 24 ส.ค. 2566 ก่อนที่เศรษฐาจะออกมาระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็น “ผู้ใหญ่ที่น่าเคารพ”
ตลกเฝื่อน กับ ราคาที่ต้องจ่าย
หากการปกครองของกฎหมาย (Rule of Law) เป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของการสร้างประชาธิปไตย ทว่านับจากวิกฤตการเมืองปี 2549 ศ.ดร.ธงชัย เห็นว่า บทบาทของสถาบันตุลาการและองค์กรอิสระที่ควรทำหน้าที่เป็น "กรรมการ" กลับกลายเป็น "ผู้เล่นการเมืองคนสำคัญจนน่าเกลียด"
มาวันนี้เมื่อฝ่ายทักษิณ ผู้เคยนิยามว่าตัวเองว่าเป็น “เหยื่อ” ที่ถูกจัดการ หันมาจับมือกับฝ่าย “ผู้บงการ/ผู้จัดการ” เสียแล้ว จึงน่าสนใจว่าโฉมหน้าประวัติศาสตร์ความขัดแย้งการเมืองไทยในรอบเกือบ 2 ทศวรรษ จะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่อย่างไร
“ความขัดแย้งชุดนั้นจบ” เขาบอก
สิ่งที่เพื่อไทย-รัฐบาล-ผู้สนับสนุนทำเหมือนกันคือ “จบแล้ว จับมือกัน เกี้ยเซียะกัน แล้วก็ทำเป็นลืม ทำเป็นไม่มีอะไรเกิดขึ้น” แต่ ศ.ดร.ธงชัย เชื่อว่าประวัติศาสตร์ 20 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้ถูกลบ-ไม่หายไปไหน-ไม่เกิดภาวะเงียบสนิท
“ต่อไปเมื่อทุกอย่างลงตัวมากกว่านี้ ผมเชื่อว่าประวัติศาสตร์จะบันทึกว่านี่เป็นตลกฝืดตลกเฝื่อนที่เกิดจาก compromise (การประนีประนอม) ระหว่างพลังการเมืองสองพลังใหญ่ ๆ คือ เครือข่ายอุปถัมภ์ที่ค้ำจุนรัฐอภิสิทธิ์อยู่ กับเครือข่ายระบบอุปถัมภ์นอกศูนย์กลางในจังหวัดต่าง ๆ... และทำให้ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2549 จบลงเฉย ๆ”
ในทัศนะของ ศ.ดร.ธงชัย ราคาที่ต้องจ่ายให้การประนีประนอมของสองพลังการเมืองมี 2 อย่างสำคัญ
“ผู้ต้องขังทางการเมืองเหล่านั้นทุ่มเทให้กับการต่อสู้กับเผด็จการ ประคับประคองประชาธิปไตยไว้ จนเพื่อไทยมีโอกาสทุกวันนี้ เรียกได้ว่าพวกเขาช่วยแบกเพื่อไทยโดยตรงโดยอ้อมไว้ในยามยากลำบากถูกรังแก ต่างกับคนที่กำลังแบกเพื่อไทยในยามมีอำนาจทุกวันนี้ซึ่งทำกันอย่างไร้หลักไร้เกียรติ ไร้ integrity (การยึดมั่นในหลักความเที่ยงธรรม ซื่อสัตย์กับตัวเองโดยไม่บิดผันเปลี่ยนแปลงไป)
“รู้จักที่ต่ำที่สูงแบบไทย ๆ” จุดต่างระหว่างดีล ทษช.-พท.
ย้อนไปในการเลือกตั้ง 2562 ฝ่ายทักษิณพยายามเปิด “ซูเปอร์ดีล” กับชนชั้นนำ แต่ผิดพลาดล้มเหลว นำไปสู่การยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) จากกรณีเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล เป็นแคนดิเดตนายกฯ ในนามพรรค
ในเลือกตั้ง 2566 มีจุดเปลี่ยนอะไรที่ทำให้ชนชั้นนำไว้วางใจทักษิณ ทำให้ “ปิดดีล” กันได้
“ในกรณีไทยรักษาชาติทำตัวเป็นผู้ต่อรองอย่างเรียกว่าเสมอกัน กรณีปัจจุบัน ยอมถูกเอาเข้าเป็นพวก อันนี้ต่างหาก รู้จักที่ต่ำที่สูงแบบไทย ๆ เป๊ะเลย” ศ.ดร.ธงชัย ให้ความเห็น
ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติเมื่อ 7 มี.ค. 2562 จากกรณีเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ เป็นแคนดิเดตนายกฯ ของพรรค ซึ่งถูกเรียกขานว่าปรากฏการณ์ “แผ่นดินไหวการเมืองไทย”
ส่วนอีกปัจจัยที่เขาเล็งเห็นคือ ความล้มเหลวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 และอดีตหัวหน้าคณะรัฐประหารปี 2557 ขณะเผชิญการคุกคามของพรรคก้าวไกล (ก.ก.) จากมุมมองของอภิสิทธิ์ชน
“บริบทว่าอะไรกำลังคุกคามรัฐอภิสิทธิ์มันมากขึ้นกว่าเดิม ประชาชนเติบโตมากเกินไป และท้าทายสิ่งที่เรียกว่าปัญหาโครงสร้าง ปัญหาอภิสิทธิ์บ่อยครั้ง”
ม. 112 ไม่ใช่แค่เพดาน แต่กลายเป็นปัญหาแนวหน้าสุด
ถ้าเดิมมีสิ่งที่อาจารย์ธงชัยเรียกว่า "นิติศาสตร์สนับสนุนระบอบเผด็จการ" การขึ้นสู่อำนาจของเพื่อไทย ภายใต้เงื่อนไขไม่แตะต้องมาตรา 112 และให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ได้ แต่ล็อกเนื้อหาในหมวด 1 (บททั่วไป) หมวด 2 (พระมหากษัตริย์) ไว้ดังเดิม จะส่งผลอย่างไรต่ออุดมการณ์การเมืองที่เคย “ทะลุเพดาน” ในระหว่างความเคลื่อนไหวของเครือข่ายนักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่เรียกตัวเองว่า “คณะราษฎร” ปี 2563-2564
นักประวัติศาสตร์วัย 66 ปี เชื่อว่า สิ่งที่ขบวนการคณะราษฎรทำจะไม่หายไปไหน เพดานที่คณะราษฎรเซ็ตไว้ยังอยู่ สะท้อนผ่านกรณี 112 กลายเป็น “ปัญหาแนวหน้าสุด ไม่ใช่แค่เพดาน” เป็นปัญหาความขัดแย้งทางความคิดในสังคมไทยที่ประจันกันอยู่ ทำให้กรณี 112 ไม่ใช่กรณีทางกฎหมาย แต่เป็นกรณีทางการเมืองว่าจะล้มล้าง-ไม่ล้มล้าง ซึ่งเป็นเรื่องการเมือง 100%
เช่นเดียวกับกรณีคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ที่มี แพทองธาร ชินวัตร เป็นประธาน ให้แก้ไขกฎกระทรวงเรื่องการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ที่ห้ามฉายในไทย โดยเหลือเพียงข้อกำหนดเดียวคือ เนื้อหาที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนประเด็นอื่น ๆ ทั้งเรื่องศาสนา ความสามัคคี รวมถึงเพศสัมพันธ์ จะถูกจัดในเรตผู้ชมที่เหมาะสมแทนการห้ามฉาย
“เส้นที่บอกว่าแค่ไหนข้ามไม่ได้ ไปแตะเกี่ยวกับสถาบันฯ สำคัญเสียยิ่งกว่าเรื่องศาสนา เท่ากับว่า 112 ไม่ใช่กฎหมายเพื่อ protect (ปกป้อง) ประมุขของรัฐเท่านั้นแล้ว แต่ protect สิ่งที่สูงกว่าศาสนา 112 ของสังคมไทยเปรียบเสมือน Blasphemy Law (กฎหมายห้ามดูหมิ่นศาสนา) ในรัฐศาสนาอีกหลายแห่งในโลกนี้”
หนึ่งในเพดานของคณะราษฎรที่ยังคงอยู่คือ “การที่สังคมไทยพูดถึงการเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 ได้เป็นปกติ”
สองกรณีที่ ศ.ดร.ธงชัย หยิบยกมา นำไปสู่บทสรุปของเขาที่ว่าเพดานที่ขบวนการคณะราษฎร 2563 เซ็ตไว้ไม่ได้หายไปไหน แต่พลังทั้งหลายที่จะมารับช่วงต่อ-สู้ต่อ มีมากน้อยแค่ไหน “พลังที่เคยเป็นกำลังสำคัญมาก เช่น พรรคการเมืองที่เกี่ยวพันกับขบวนการเสื้อแดง ปัจจุบันเขาก็ไม่ทำสิ่งเหล่านี้อีกต่อไปแล้ว ถึงขนาดเทคนที่เคยต่อสู้เรื่องนี้ให้กับเขาใน 10-20 ปีที่ผ่านมาได้”
เขามองเป็นเรื่องปกติที่พลังการต่อสู้เพื่อไปสู่เพดานนั้น มีคืบหน้า-ถอยหลัง แต่ถ้ามองในระยะยาวเชื่อว่าสังคมไทยต้องเปลี่ยน
“สนับสนุนการนิรโทษกรรมด้วยความกระอักกระอ่วนใจ”
ศ.กิตติคุณแห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ ม.วิสคอนซิน-แมดิสัน เป็นอดีตแกนนำนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 และผู้เขียนหนังสือสืออีกเล่มที่ชื่อว่า "Moments of Silence: The Unforgetting of the October 6, 1976, Massacre in Bangkok" ซึ่งเจ้าตัวให้ชื่อภาษาไทยว่า "ลืมไม่ได้ จำไม่ลง" เพื่อบันทึกความทารุณโหดร้ายของเหตุการณ์สังหารหมู่กลางกรุงเทพฯ
หนังสือเล่มนี้เปิดตัวช่วงปลายปี 2563 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่เกิดปรากฏการณ์ “ทะลุเพดาน” ในระหว่างการชุมนุมของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" ที่ประกาศ 10 ข้อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อ 10 ส.ค. 2563 ก่อนพัฒนาเป็น “คณะราษฎร 2563” และกลุ่ม "ราษฎร" หลังจากนั้น
ต่อมา แกนนำขบวนการและประชาชนบางส่วนถูกฟ้องด้วยข้อหามาตรา 112 และอยู่ระหว่างการต่อสู้คดีในชั้นต่าง ๆ ของกระบวนการยุติธรรม
ปัจจุบัน มีผู้ประกาศผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม “คดีการเมือง” อย่างน้อย 3 ฉบับ ได้แก่ พรรคก้าวไกล, พรรคพลังธรรมใหม่ และเครือข่ายภาคประชาสังคม 13 องค์กร โดยทุกร่างกำหนดให้มีผลย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นของวิกฤตการเมืองปี 2549
5 คำถามที่ทำให้เข้าใจนิรโทษกรรมคดีการเมือง
ก้าวไกลชงร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ย้อนหลังตั้งแต่ชุมนุม “พันธมิตรฯ” ปี 49
ทว่าเมื่อความขัดแย้งการเมืองถูกทำให้ “จบลง” การผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมยังจำเป็นหรือไม่ และจะมีโอกาสสำเร็จหรือไม่
ศ.ดร.ธงชัย บอกว่า ถ้าระบบกฎหมายดี ตัดสินถูกผิดได้อย่างเหมาะสม มันไม่จำเป็นต้องนิรโทษกรรม การอภัยโทษเป็นครั้งคราวโดยประมุขของรัฐเกิดขึ้นได้โดยเงื่อนไขสารพัด แต่ไม่ใช่เพราะเกิดจากระบบกฎหมายแย่
“ประเทศไทย กรุณาตระหนักว่านิรโทษกรรมเกิดขึ้นจำนวนมากมายหลายครั้ง 90% ส่วนใหญ่เป็นการนิรโทษให้กับรัฐ ทหาร รัฐประหาร หรือคนที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมของรัฐ รวมทั้งนิรโทษกรณีที่ผมได้รับอานิสงส์ด้วยคือกรณี 6 ตุลา 2519”
การนิรโทษกรรมผู้กระทำผิดในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ทั้งหมด ทำให้ความผิดเจ้าหน้าที่รัฐหายไปเฉย ๆ เป็นสิ่งที่ธงชัยเรียกว่า “อภิสิทธิ์ปลอดพ้นความผิด”
อดีตคนเดือนตุลาอธิบายว่า เฉพาะกรณี 6 ตุลา มีการนิรโทษกรรม 3 ชั้น โดย 2 ชั้นแรกคือ นิรโทษกรรมให้ผู้ก่อการรัฐประหารและผู้ก่อการที่ ม.ธรรมศาสตร์ และอีกชั้นเป็นการนิรโทษกรรมเมื่อเดือน ก.ย. 2521 ให้แกนนำนักศึกษากับผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์นั้นอย่างถ้วนหน้า ซึ่งธงชัยมองว่า นิรโทษกรรมประเภทนี้เกิดจากการที่รัฐใช้กฎหมายอย่างแย่ ๆ เพื่อปกป้องรัฐอภิสิทธิ์ จนประชาชนเดือดร้อน ถึงจุดหนึ่งเมื่อคนเดือดร้อนมากขึ้น ก็ต้องนิรโทษกรรมกันไปยกหนึ่ง
ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้ ศ.ดร.ธงชัย ประกาศ “สนับสนุนการนิรโทษกรรมด้วยความกระอักกระอ่วนใจ”
เขาเห็นว่า เรื่องที่สำคัญมากคือการต่อสู้แก้ไขระบบนิติรัฐอภิสิทธิ์ไม่ให้เป็นอย่างที่เป็นอยู่
“การใช้คาถาว่าทำตามกฎหมายอยู่เรื่อย ๆ โดยไม่ดูว่าการทำตามกฎหมายภายใต้ระบบกฎหมายปัจจุบันนี้ มันยิ่งตอกย้ำพอกพูนความอยุติธรรมขึ้นเรื่อย ๆ ในกรณีนับไม่ถ้วน” ศ.ดร.ธงชัย กล่าวทิ้งท้าย
ธงชัย วินิจจะกูล มอง “นิติรัฐอภิสิทธิ์” ภาคต่อหลังเลือกตั้ง 2566 - BBC News ไทย
Jan 19, 2024
บีบีซีไทย - BBCThai
14h·
“ตอบแบบปราศจากความละอาย” ธงชัย วินิจจะกูล พูดถึงคำอธิบายจากรัฐบาลต่อกรณี ทักษิณ ชินวัตร
.
ธงชัย วินิจจะกูล มอง “นิติรัฐอภิสิทธิ์” ภาคต่อหลังเลือกตั้ง 2566
อ่านต่อ (https://bbc.in/3OwIDWT)
.....
“เลี่ยงอภิสิทธิ์โจ๋งครึ่ม-ลืมนักโทษการเมือง” ธงชัย วินิจจะกูล มอง “นิติรัฐอภิสิทธิ์” ภาคต่อหลังเลือกตั้ง 2566
ธงชัย ผู้เคยมีประสบการณ์อยู่ในเรือนจำ 2 ปี หลัง 6 ตุลา 2519 เล่าว่า ช่วงนั้นเห็นนักโทษป่วยหนักเป็นประจำ และยากเย็นแสนเข็ญที่จะออกจากเรือนจำไปยัง รพ.ราชทัณฑ์ จึงไม่ต้องพูดถึงการออกไปรักษาใน รพ. ภายนอก
หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
19 มกราคม 2024
22 ส.ค. 2566 คือจุดสิ้นสุดการรอคอยได้ “กลับบ้าน” ของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ซึ่งใช้ชีวิตในต่างแดนยาวนาน 15 ปี พร้อมกับเป็นจุดเริ่มต้นนับหนึ่งของ “รัฐบาลข้ามขั้ว” เมื่อที่ประชุมรัฐสภามีมติเลือก เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30
ถึงวันนี้ ทักษิณ ผู้เป็นบิดาของหัวหน้าพรรคเพื่อไทย รับโทษนอกเรือนจำครบ 150 วันพอดี (23 ส.ค. 2566-19 ม.ค. 2567) โดยพักรักษาตัวอยู่ที่ รพ.ตำรวจ
ขณะที่รัฐบาล เศรษฐา บริหารราชการแผ่นดินเกือบ 5 เดือนแล้ว ท่ามกลางความเคลือบแคลงสงสัยของสังคมเกี่ยวกับ “ชายชั้น 14” “การเข้าคุกทิพย์” และคำถามที่ดังหนาหูขึ้นเรื่อย ๆ ต่อมาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง
ล่าสุด รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ระบุว่า ทักษิณ อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาโครงการพักการลงโทษ กรณีมีเหตุพิเศษ เนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง หรือพิการ หรือมีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป
บีบีซีไทยชวน ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา สนทนาทางไกล เพื่อให้วิเคราะห์ “นิติรัฐอภิสิทธิ์” ภาคต่อภายหลังการเลือกตั้ง 2566
“พวกเราไม่ได้กระเหี้ยนกระหือรือว่าคุณทักษิณไม่ควรต้องได้รับการรักษาพยาบาล แต่เห็นว่าผู้ต้องขังรายอื่น ๆ ควรได้สิทธิการดูแลในทำนองเดียวกัน” ศ.ดร.ธงชัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
19 มกราคม 2024
22 ส.ค. 2566 คือจุดสิ้นสุดการรอคอยได้ “กลับบ้าน” ของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ซึ่งใช้ชีวิตในต่างแดนยาวนาน 15 ปี พร้อมกับเป็นจุดเริ่มต้นนับหนึ่งของ “รัฐบาลข้ามขั้ว” เมื่อที่ประชุมรัฐสภามีมติเลือก เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30
ถึงวันนี้ ทักษิณ ผู้เป็นบิดาของหัวหน้าพรรคเพื่อไทย รับโทษนอกเรือนจำครบ 150 วันพอดี (23 ส.ค. 2566-19 ม.ค. 2567) โดยพักรักษาตัวอยู่ที่ รพ.ตำรวจ
ขณะที่รัฐบาล เศรษฐา บริหารราชการแผ่นดินเกือบ 5 เดือนแล้ว ท่ามกลางความเคลือบแคลงสงสัยของสังคมเกี่ยวกับ “ชายชั้น 14” “การเข้าคุกทิพย์” และคำถามที่ดังหนาหูขึ้นเรื่อย ๆ ต่อมาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง
ล่าสุด รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ระบุว่า ทักษิณ อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาโครงการพักการลงโทษ กรณีมีเหตุพิเศษ เนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง หรือพิการ หรือมีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป
บีบีซีไทยชวน ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา สนทนาทางไกล เพื่อให้วิเคราะห์ “นิติรัฐอภิสิทธิ์” ภาคต่อภายหลังการเลือกตั้ง 2566
“พวกเราไม่ได้กระเหี้ยนกระหือรือว่าคุณทักษิณไม่ควรต้องได้รับการรักษาพยาบาล แต่เห็นว่าผู้ต้องขังรายอื่น ๆ ควรได้สิทธิการดูแลในทำนองเดียวกัน” ศ.ดร.ธงชัย กล่าว
ทักษิณยื่นทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ก่อนมีพระราชหัตถเลขาพระราชทานอภัยลดโทษให้ นักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ จากจำคุก 3 คดี รวมเวลา 8 ปี เหลือโทษจำคุก 1 ปี
ศ.ดร.ธงชัย เป็นเจ้าของงานวิจัยว่าด้วย “ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย” และองค์ปาฐกในหัวข้อ “นิติรัฐอภิสิทธิ์และราชนิติธรรม: ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของ Rule by Law แบบไทย" บนเวที ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เมื่อ 4 ปีก่อน
คำจำกัดความของ นิติรัฐ หรือ นิติธรรม ที่คนไทยแปลมาจาก Rule of Law มีมากมายแตกต่างกันตามแต่ประวัติศาสตร์ของประเทศนั้น ๆ แต่เขาพบลักษณะร่วมอย่างหนึ่งคือ เพื่อจำกัดการใช้อำนาจของรัฐที่จะมาคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทว่าในประเทศไทยกลับตรงกันข้าม เพราะระบบกฎหมายสมัยใหม่ของไทยมีไว้รับใช้รัฐ-ให้อภิสิทธิ์แก่รัฐในการคุ้มครองรักษาตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนามความมั่นคงด้วยการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในแง่นี้เท่ากับว่ามันละเมิด Rule of Law ถึงขั้นพื้นฐาน
คาถาเพื่อตัดบทของรัฐบาล
มาถึงกรณีทักษิณ ซึ่งมีเสียงโจษจันมากเกี่ยวกับ “อภิสิทธิ์โจ๋งครึ่ม” ที่ได้รับเหนือกว่าผู้ต้องขังรายอื่น ๆ ทว่าคำอธิบายจากรัฐกลับบางเบา
จากการสดับตรับฟังฝ่ายต่าง ๆ สิ่งที่นักวิชาการจากแดนไกลได้ยินคือ
ผู้สนับสนุนเพื่อไทย-ทักษิณ: เลี่ยงประเด็นไปว่าทักษิณไม่ควรต้องติดคุกด้วยซ้ำ “โดยส่วนตัว ผมเห็นด้วย ถูกต้อง แต่มันเป็นคนละประเด็นกับว่าเขายอมรับโทษจำคุกก็ต่อเมื่อได้รับอภิสิทธิ์เหนือกว่าคนปกติ”
รัฐบาล: ตอบแบบปราศจากความละอาย โดยบอกว่าทำตามกฎหมาย ซึ่งเป็นคาถาเพื่อตัดบท รัฐบาลรู้ว่าคนไม่ฟัง ไม่เชื่อ และไม่หวังว่าคนจะเชื่อ แต่คงไม่มีทางอื่น เพราะมันกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
“ข้ออ้างเรื่องกฎหมายออกมาก่อน ข้ออ้างเรื่องความลับระหว่างหมอกับคนไข้ เหล่านี้ฟังดูดีทั้งนั้น แต่อย่าลืมว่าคนในสังคมไทยที่ถือว่าสูงกว่าทักษิณก็ยังมีประกาศอาการป่วยให้สาธารณชนรับรู้ได้ ไม่ใช่ความลับ เพราะฉะนั้นกรณีไหนจะลับหรือไม่ลับ กรณีไหนจะเลือกใช้กฎหมายอะไร เป็นการเลือกตามอภิสิทธิ์ที่รัฐถืออยู่ในมือว่าจะให้กับใครก็ได้”
ราชทัณฑ์ส่งตัวทักษิณเข้ารับการรักษาที่อาคารมหาภูมิพลราชานุสรณ์ 88 พรรษา รพ.ตำรวจ ตั้งแต่เวลา 0.20 น. วันที่ 23 ส.ค. 2566 ทำให้เขาไม่ได้นอนเรือนจำแม้แต่คืนเดียว
ขณะเดียวกัน ศ.ดร.ธงชัย เห็นว่า รัฐบาลเลือกใช้วิธีเงียบกับนักโทษการเมืองทั้งที่ป่วยหนักและไม่ป่วย เพราะประเมินว่าคนสนใจน้อยกว่ากรณีทักษิณ
“ทั้งสองกรณีนี้ วิธีปฏิบัติต่อผู้ต้องขังอย่างตรงข้ามกันลิบลับ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลนี้ไม่ต่างไปจากคนมีอำนาจที่ผ่านมาไม่ว่าชุดไหน เพราะว่าหากินกับการจัดการปัญหาอย่างผิวเผินไป แต่ ‘เลี่ยงกรณีใช้อภิสิทธิ์โจ๋งครึ่ม’ เพราะว่าพวกเขาได้อำนาจเพราะชนชั้นอภิสิทธิ์ทั้งหลายด้วยกันทั้งนั้น และก็ ‘ลืมกรณีนักโทษการเมือง’ ที่ท้าทายระบบอภิสิทธิ์ ลองคิดดูดี ๆ จะพบว่ากรณีนักโทษการเมืองในขณะนี้เกือบทั้งหมดไม่ว่าข้อหาอะไรในทางการเมือง เกิดจากการต่อสู้กับระบบและรัฐอภิสิทธิ์ทั้งนั้น”
ข้อมูลจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า ตลอดปี 2566 มีผู้ต้องขังในคดีการเมืองอย่างน้อย 67 คน ในจำนวนนี้มี 34 คนถูกคุมขังในเรือนจำด้วย “คดี 112” หลังตกเป็นผู้ต้องหา/จำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
เพื่อไทยยินดี “ถูกเอาเข้าเป็นพวก” = ความมั่นคงของรัฐอภิสิทธิ์
หากความไม่เท่าเทียมทางกฎหมายเกิดจากการให้อภิสิทธิ์แก่ฝ่ายที่ให้ความมั่นคงต่อรัฐ น่าสนใจว่าภัยคุกคามความมั่นคงของรัฐในยุคปัจุบันคืออะไร และทักษิณเสนอหลักประกันใด ให้แก่รัฐถึงได้รับ “อภิสิทธิ์โจ๋งครึ่ม”
“พรรคเพื่อไทยยินดีถูก co-opted (ถูกเอาเข้าเป็นพวก)” ศ.ดร.ธงชัย ตอบ
“แต่ก่อนอภิสิทธิ์นี้มีไว้เล่นงานคุณทักษิณ เขาไม่ควรจะต้องถูกตัดสินติดคุกด้วยซ้ำไป แต่เขาถูกอภิสิทธิ์นี้เล่นงาน เพราะตอนนั้นยังไม่ยอมเป็นพวก พอตอนนี้เป็นพวก ยอมถูก co-opted ด้วยการทำตัวเองต่ำกว่า คือไม่มีสิทธิกลับมาโดยไม่มีความผิด ต้องกลับมาแบบมีความผิด ยอมติดคุกแต่ไม่ติดคุก อะไรอย่างนี้ก็พอบอกได้ว่าสถานะของดีลนี้เป็นอย่างไร”
ภายหลังการเลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566 พรรค พท. ซึ่งตกที่นั่งพรรคอันดับ 2 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ จำต้องเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ซึ่งมี สส. มากกว่า 10 เสียง ต่อมาเมื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากก้าวไกล ได้รับเสียงสนับสนุนในรัฐสภาไม่เพียงพอตามเกณฑ์ขั้นต่ำของรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. ในระหว่างพิจารณา “คดีหุ้นไอทีวี” จึงได้เวลาที่พรรค พท. จะชิงแยกวง-ฉีกข้อตกลงที่ทำร่วมกันมา
เพื่อไทยเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เชิญอีก 10 พรรคการเมืองเข้าร่วมรัฐบาลผสม 314 เสียง ไม่เว้นกระทั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 และผู้นำก่อรัฐประหารโค่นล้มอำนาจของรัฐบาลเพื่อไทย เมื่อ 22 พ.ค. 2557
แถลงการณ์จัดตั้งรัฐบาล 11 พรรค เมื่อ 21 ส.ค. 2566 เริ่มต้นด้วยการยืนยันว่า “ไม่มีการแก้ไขมาตรา 112 และไม่มีพรรคก้าวไกลเข้าร่วมรัฐบาล”
ศ.ดร.ธงชัย ชี้ว่า ประโยชน์ที่พรรค พท. ได้คืออำนาจรัฐบาล ยุทธศาสตร์ในการเป็นรัฐบาล-รักษาอำนาจคือทำอะไรก็ตามที่ไม่กระทบกระเทือนรัฐอภิสิทธิ์
รัฐอภิสิทธิ์ในเมืองไทยไม่ใช่แค่รัฐบาล แต่ผู้วิจัยประวัติศาสตร์กฎหมายไทย หมายถึง เครือข่ายชนชั้นนำระบบอุปถัมภ์ ไม่ว่าจะมาในรูปแบบสถาบันประเพณี เช่น กลุ่มที่เรียกว่าเจ้า กลุ่มนิยมเจ้า ขุนนางใหม่อย่างกองทัพและระบบราชการ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นเครือข่ายชุดเดียวกัน แม้ไม่ได้เป็นเอกภาพทั้งหมด “ความมั่นคงของของรัฐที่เขาพร่ำพูดถึง ก็คือความมั่นคงของพวกเขา”
ในสายตาของนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ชนชั้นนำไทยไม่ได้เปลี่ยนไป เพียงแต่ใน 20 ปีหลังถูกกระทบกระเทือนด้วยพรรคไทยรักไทย (ทรท.), พรรคพลังประชาชน (พปช.), พรรค พท. และขบวนการประชาชนทั้งหลาย จนถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม แต่ธงชัยไม่คิดว่านั่นเป็นการคุกคามโดยตั้งใจ และเห็นว่าสิ่งที่ ทรท. ทำ เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ สร้างความคืบหน้า พยายามเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบราชการและระบบอภิสิทธิ์ จึงต้องรับบทเรียนราคาแพงไปหลายครั้ง มันทำให้ปัจจุบัน พท. และเครือข่ายรู้ว่าจะวางตัวอย่างไร
“สิ่งที่ชนชั้นนำเข้าใจผิดก็คือ มองถึงความพยายามเปลี่ยนแปลงที่ไทยรักไทยทำเลยเถิดไปว่าเป็นศัตรูของระบบรัฐอภิสิทธิ์” และ “รัฐไทยต้องการรักษาอย่างเดิมไว้ เปลี่ยนน้อยมาก กระทั่งความเปลี่ยนแปลงในระดับที่ไทยรักไทยพยายามทำ เขายังรับไม่ได้” ศ.ดร.ธงชัย ระบุ
แต่ถึงกระนั้น เขาเห็นว่า พรรค พท. กับทักษิณ มีบางองค์ประกอบที่ทำให้เข้ากันได้กับรัฐอภิสิทธิ์หลังการเลือกตั้ง 2566
หนึ่งคือ เครือข่ายอภิสิทธิ์นอกราชการ-นอกศูนย์กลาง อันหมายถึง “บ้านใหญ่” ในจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งอาจถูกพูดถึงน้อยในช่วงเลือกตั้ง แต่มีอำนาจมากในช่วงหลังเลือกตั้ง พวกเขายินดีอยู่ภายใต้การรักษาความมั่นคงของรัฐ และได้ประโยชน์ หากินกับการเป็นรัฐบาล มีอำนาจรัฐไปเรื่อย ๆ
อีกหนึ่งคือ บรรดาคนรักประชาธิปไตยซึ่งอาจเห็นด้วยกับการอย่าไปทำอะไรให้กระเทือน ค่อย ๆ ประคับประคองเพื่อรักษาอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไว้ให้ยาวที่สุด
นายกฯ คนที่ 29 เปิดทำเนียบฯ ให้การต้อนรับ นายกฯ คนที่ 30 เมื่อ 24 ส.ค. 2566 ก่อนที่เศรษฐาจะออกมาระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็น “ผู้ใหญ่ที่น่าเคารพ”
ตลกเฝื่อน กับ ราคาที่ต้องจ่าย
หากการปกครองของกฎหมาย (Rule of Law) เป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของการสร้างประชาธิปไตย ทว่านับจากวิกฤตการเมืองปี 2549 ศ.ดร.ธงชัย เห็นว่า บทบาทของสถาบันตุลาการและองค์กรอิสระที่ควรทำหน้าที่เป็น "กรรมการ" กลับกลายเป็น "ผู้เล่นการเมืองคนสำคัญจนน่าเกลียด"
มาวันนี้เมื่อฝ่ายทักษิณ ผู้เคยนิยามว่าตัวเองว่าเป็น “เหยื่อ” ที่ถูกจัดการ หันมาจับมือกับฝ่าย “ผู้บงการ/ผู้จัดการ” เสียแล้ว จึงน่าสนใจว่าโฉมหน้าประวัติศาสตร์ความขัดแย้งการเมืองไทยในรอบเกือบ 2 ทศวรรษ จะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่อย่างไร
“ความขัดแย้งชุดนั้นจบ” เขาบอก
สิ่งที่เพื่อไทย-รัฐบาล-ผู้สนับสนุนทำเหมือนกันคือ “จบแล้ว จับมือกัน เกี้ยเซียะกัน แล้วก็ทำเป็นลืม ทำเป็นไม่มีอะไรเกิดขึ้น” แต่ ศ.ดร.ธงชัย เชื่อว่าประวัติศาสตร์ 20 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้ถูกลบ-ไม่หายไปไหน-ไม่เกิดภาวะเงียบสนิท
“ต่อไปเมื่อทุกอย่างลงตัวมากกว่านี้ ผมเชื่อว่าประวัติศาสตร์จะบันทึกว่านี่เป็นตลกฝืดตลกเฝื่อนที่เกิดจาก compromise (การประนีประนอม) ระหว่างพลังการเมืองสองพลังใหญ่ ๆ คือ เครือข่ายอุปถัมภ์ที่ค้ำจุนรัฐอภิสิทธิ์อยู่ กับเครือข่ายระบบอุปถัมภ์นอกศูนย์กลางในจังหวัดต่าง ๆ... และทำให้ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2549 จบลงเฉย ๆ”
ในทัศนะของ ศ.ดร.ธงชัย ราคาที่ต้องจ่ายให้การประนีประนอมของสองพลังการเมืองมี 2 อย่างสำคัญ
- อภิสิทธิ์ปลอดความผิด (impunity) ให้กับรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งก่ออาชญากรรม-กระทำความผิดตั้งแต่ปี 2549 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ พ.ค. 2553
- ความเงียบหรือแกล้งทำเป็นลืมความอยุติธรรมที่เกิดกับเหยื่อผู้รับเคราะห์อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ พ.ค. 2553 รวมถึงนักโทษการเมืองอื่น ๆ ซึ่งต่อสู้ตลอดมา 10-20 ปี
“ผู้ต้องขังทางการเมืองเหล่านั้นทุ่มเทให้กับการต่อสู้กับเผด็จการ ประคับประคองประชาธิปไตยไว้ จนเพื่อไทยมีโอกาสทุกวันนี้ เรียกได้ว่าพวกเขาช่วยแบกเพื่อไทยโดยตรงโดยอ้อมไว้ในยามยากลำบากถูกรังแก ต่างกับคนที่กำลังแบกเพื่อไทยในยามมีอำนาจทุกวันนี้ซึ่งทำกันอย่างไร้หลักไร้เกียรติ ไร้ integrity (การยึดมั่นในหลักความเที่ยงธรรม ซื่อสัตย์กับตัวเองโดยไม่บิดผันเปลี่ยนแปลงไป)
“รู้จักที่ต่ำที่สูงแบบไทย ๆ” จุดต่างระหว่างดีล ทษช.-พท.
ย้อนไปในการเลือกตั้ง 2562 ฝ่ายทักษิณพยายามเปิด “ซูเปอร์ดีล” กับชนชั้นนำ แต่ผิดพลาดล้มเหลว นำไปสู่การยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) จากกรณีเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล เป็นแคนดิเดตนายกฯ ในนามพรรค
ในเลือกตั้ง 2566 มีจุดเปลี่ยนอะไรที่ทำให้ชนชั้นนำไว้วางใจทักษิณ ทำให้ “ปิดดีล” กันได้
“ในกรณีไทยรักษาชาติทำตัวเป็นผู้ต่อรองอย่างเรียกว่าเสมอกัน กรณีปัจจุบัน ยอมถูกเอาเข้าเป็นพวก อันนี้ต่างหาก รู้จักที่ต่ำที่สูงแบบไทย ๆ เป๊ะเลย” ศ.ดร.ธงชัย ให้ความเห็น
ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติเมื่อ 7 มี.ค. 2562 จากกรณีเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ เป็นแคนดิเดตนายกฯ ของพรรค ซึ่งถูกเรียกขานว่าปรากฏการณ์ “แผ่นดินไหวการเมืองไทย”
ส่วนอีกปัจจัยที่เขาเล็งเห็นคือ ความล้มเหลวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 และอดีตหัวหน้าคณะรัฐประหารปี 2557 ขณะเผชิญการคุกคามของพรรคก้าวไกล (ก.ก.) จากมุมมองของอภิสิทธิ์ชน
“บริบทว่าอะไรกำลังคุกคามรัฐอภิสิทธิ์มันมากขึ้นกว่าเดิม ประชาชนเติบโตมากเกินไป และท้าทายสิ่งที่เรียกว่าปัญหาโครงสร้าง ปัญหาอภิสิทธิ์บ่อยครั้ง”
ม. 112 ไม่ใช่แค่เพดาน แต่กลายเป็นปัญหาแนวหน้าสุด
ถ้าเดิมมีสิ่งที่อาจารย์ธงชัยเรียกว่า "นิติศาสตร์สนับสนุนระบอบเผด็จการ" การขึ้นสู่อำนาจของเพื่อไทย ภายใต้เงื่อนไขไม่แตะต้องมาตรา 112 และให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ได้ แต่ล็อกเนื้อหาในหมวด 1 (บททั่วไป) หมวด 2 (พระมหากษัตริย์) ไว้ดังเดิม จะส่งผลอย่างไรต่ออุดมการณ์การเมืองที่เคย “ทะลุเพดาน” ในระหว่างความเคลื่อนไหวของเครือข่ายนักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่เรียกตัวเองว่า “คณะราษฎร” ปี 2563-2564
นักประวัติศาสตร์วัย 66 ปี เชื่อว่า สิ่งที่ขบวนการคณะราษฎรทำจะไม่หายไปไหน เพดานที่คณะราษฎรเซ็ตไว้ยังอยู่ สะท้อนผ่านกรณี 112 กลายเป็น “ปัญหาแนวหน้าสุด ไม่ใช่แค่เพดาน” เป็นปัญหาความขัดแย้งทางความคิดในสังคมไทยที่ประจันกันอยู่ ทำให้กรณี 112 ไม่ใช่กรณีทางกฎหมาย แต่เป็นกรณีทางการเมืองว่าจะล้มล้าง-ไม่ล้มล้าง ซึ่งเป็นเรื่องการเมือง 100%
เช่นเดียวกับกรณีคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ที่มี แพทองธาร ชินวัตร เป็นประธาน ให้แก้ไขกฎกระทรวงเรื่องการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ที่ห้ามฉายในไทย โดยเหลือเพียงข้อกำหนดเดียวคือ เนื้อหาที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนประเด็นอื่น ๆ ทั้งเรื่องศาสนา ความสามัคคี รวมถึงเพศสัมพันธ์ จะถูกจัดในเรตผู้ชมที่เหมาะสมแทนการห้ามฉาย
“เส้นที่บอกว่าแค่ไหนข้ามไม่ได้ ไปแตะเกี่ยวกับสถาบันฯ สำคัญเสียยิ่งกว่าเรื่องศาสนา เท่ากับว่า 112 ไม่ใช่กฎหมายเพื่อ protect (ปกป้อง) ประมุขของรัฐเท่านั้นแล้ว แต่ protect สิ่งที่สูงกว่าศาสนา 112 ของสังคมไทยเปรียบเสมือน Blasphemy Law (กฎหมายห้ามดูหมิ่นศาสนา) ในรัฐศาสนาอีกหลายแห่งในโลกนี้”
หนึ่งในเพดานของคณะราษฎรที่ยังคงอยู่คือ “การที่สังคมไทยพูดถึงการเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 ได้เป็นปกติ”
สองกรณีที่ ศ.ดร.ธงชัย หยิบยกมา นำไปสู่บทสรุปของเขาที่ว่าเพดานที่ขบวนการคณะราษฎร 2563 เซ็ตไว้ไม่ได้หายไปไหน แต่พลังทั้งหลายที่จะมารับช่วงต่อ-สู้ต่อ มีมากน้อยแค่ไหน “พลังที่เคยเป็นกำลังสำคัญมาก เช่น พรรคการเมืองที่เกี่ยวพันกับขบวนการเสื้อแดง ปัจจุบันเขาก็ไม่ทำสิ่งเหล่านี้อีกต่อไปแล้ว ถึงขนาดเทคนที่เคยต่อสู้เรื่องนี้ให้กับเขาใน 10-20 ปีที่ผ่านมาได้”
เขามองเป็นเรื่องปกติที่พลังการต่อสู้เพื่อไปสู่เพดานนั้น มีคืบหน้า-ถอยหลัง แต่ถ้ามองในระยะยาวเชื่อว่าสังคมไทยต้องเปลี่ยน
“สนับสนุนการนิรโทษกรรมด้วยความกระอักกระอ่วนใจ”
ศ.กิตติคุณแห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ ม.วิสคอนซิน-แมดิสัน เป็นอดีตแกนนำนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 และผู้เขียนหนังสือสืออีกเล่มที่ชื่อว่า "Moments of Silence: The Unforgetting of the October 6, 1976, Massacre in Bangkok" ซึ่งเจ้าตัวให้ชื่อภาษาไทยว่า "ลืมไม่ได้ จำไม่ลง" เพื่อบันทึกความทารุณโหดร้ายของเหตุการณ์สังหารหมู่กลางกรุงเทพฯ
หนังสือเล่มนี้เปิดตัวช่วงปลายปี 2563 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่เกิดปรากฏการณ์ “ทะลุเพดาน” ในระหว่างการชุมนุมของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" ที่ประกาศ 10 ข้อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อ 10 ส.ค. 2563 ก่อนพัฒนาเป็น “คณะราษฎร 2563” และกลุ่ม "ราษฎร" หลังจากนั้น
ต่อมา แกนนำขบวนการและประชาชนบางส่วนถูกฟ้องด้วยข้อหามาตรา 112 และอยู่ระหว่างการต่อสู้คดีในชั้นต่าง ๆ ของกระบวนการยุติธรรม
ปัจจุบัน มีผู้ประกาศผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม “คดีการเมือง” อย่างน้อย 3 ฉบับ ได้แก่ พรรคก้าวไกล, พรรคพลังธรรมใหม่ และเครือข่ายภาคประชาสังคม 13 องค์กร โดยทุกร่างกำหนดให้มีผลย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นของวิกฤตการเมืองปี 2549
5 คำถามที่ทำให้เข้าใจนิรโทษกรรมคดีการเมือง
ก้าวไกลชงร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ย้อนหลังตั้งแต่ชุมนุม “พันธมิตรฯ” ปี 49
ทว่าเมื่อความขัดแย้งการเมืองถูกทำให้ “จบลง” การผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมยังจำเป็นหรือไม่ และจะมีโอกาสสำเร็จหรือไม่
ศ.ดร.ธงชัย บอกว่า ถ้าระบบกฎหมายดี ตัดสินถูกผิดได้อย่างเหมาะสม มันไม่จำเป็นต้องนิรโทษกรรม การอภัยโทษเป็นครั้งคราวโดยประมุขของรัฐเกิดขึ้นได้โดยเงื่อนไขสารพัด แต่ไม่ใช่เพราะเกิดจากระบบกฎหมายแย่
“ประเทศไทย กรุณาตระหนักว่านิรโทษกรรมเกิดขึ้นจำนวนมากมายหลายครั้ง 90% ส่วนใหญ่เป็นการนิรโทษให้กับรัฐ ทหาร รัฐประหาร หรือคนที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมของรัฐ รวมทั้งนิรโทษกรณีที่ผมได้รับอานิสงส์ด้วยคือกรณี 6 ตุลา 2519”
การนิรโทษกรรมผู้กระทำผิดในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ทั้งหมด ทำให้ความผิดเจ้าหน้าที่รัฐหายไปเฉย ๆ เป็นสิ่งที่ธงชัยเรียกว่า “อภิสิทธิ์ปลอดพ้นความผิด”
อดีตคนเดือนตุลาอธิบายว่า เฉพาะกรณี 6 ตุลา มีการนิรโทษกรรม 3 ชั้น โดย 2 ชั้นแรกคือ นิรโทษกรรมให้ผู้ก่อการรัฐประหารและผู้ก่อการที่ ม.ธรรมศาสตร์ และอีกชั้นเป็นการนิรโทษกรรมเมื่อเดือน ก.ย. 2521 ให้แกนนำนักศึกษากับผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์นั้นอย่างถ้วนหน้า ซึ่งธงชัยมองว่า นิรโทษกรรมประเภทนี้เกิดจากการที่รัฐใช้กฎหมายอย่างแย่ ๆ เพื่อปกป้องรัฐอภิสิทธิ์ จนประชาชนเดือดร้อน ถึงจุดหนึ่งเมื่อคนเดือดร้อนมากขึ้น ก็ต้องนิรโทษกรรมกันไปยกหนึ่ง
ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้ ศ.ดร.ธงชัย ประกาศ “สนับสนุนการนิรโทษกรรมด้วยความกระอักกระอ่วนใจ”
เขาเห็นว่า เรื่องที่สำคัญมากคือการต่อสู้แก้ไขระบบนิติรัฐอภิสิทธิ์ไม่ให้เป็นอย่างที่เป็นอยู่
“การใช้คาถาว่าทำตามกฎหมายอยู่เรื่อย ๆ โดยไม่ดูว่าการทำตามกฎหมายภายใต้ระบบกฎหมายปัจจุบันนี้ มันยิ่งตอกย้ำพอกพูนความอยุติธรรมขึ้นเรื่อย ๆ ในกรณีนับไม่ถ้วน” ศ.ดร.ธงชัย กล่าวทิ้งท้าย
ธงชัย วินิจจะกูล มอง “นิติรัฐอภิสิทธิ์” ภาคต่อหลังเลือกตั้ง 2566 - BBC News ไทย
Jan 19, 2024