วันอาทิตย์, ธันวาคม 17, 2566

Golden Boy จะได้กลับบ้านแล้ว ข่าวดีประเทศไทย


กรยุทธ ตะพาบน้ำประวัติศาสตร์ฮาร์ดคอร์
10h
·
Golden Boy จะได้กลับบ้านแล้ว
16ธันวาคม2566ข่าวดีประเทศไทย
พิพิธภัณฑ์"เมโทรโพลิแทน มิวเซียม ออฟ อาร์ต" (Metropolitan Musuem of Art)ในนิวยอร์กสหรัฐ จะส่งโบราณวัตถุเก่าแก่คืนให้กับไทย 2ชิ้นและหนึ่งในสองชิ้นที่สำคัญที่สุดที่จะส่งคืนให้ไทยก็คือ Golden Boy หรือประติมากรรมสำริดพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 กษัตริย์แห่งเมืองพิมายและและชิ้นที่2. ประติมากรรมสำริดเทวสตรี
โดยทั้ง 2 ชิ้นเป็นศิลปะท้องถิ่นอีสานใต้ ก่อนนครวัด
โดยประเทศไทยได้รวบรวมหลักฐานเพื่อทวงคืน “ประติมากรรมพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (Golden Boy)” จากสหรัฐอเมริกา โดยที่ฝั่งไทยมีหลักฐานชี้ชัดว่า ประติมากรรมรูปฉลองพระองค์พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ผู้สร้างปราสาทหินพิมาย คือ ผ้านุ่งที่เป็นครีบยาวลงมา เป็นประติมากรรมรูปคนไม่ใช่เทพเจ้า ชี้ชัดว่าศิลปะแบบพิมาย ซึ่งไม่พบในกัมพูชาแต่อย่างใด
พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 เป็นปฐมกษัตริย์สายราชสกุลมหิธรปุระ เป็นชาวพิมายในที่ราบสูงโคราช ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พระองค์นับถือศาสนาพุทธ หลังจากที่พระเจ้าหรรษวรรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองนครธมสวรรคต ทำให้เกิดความวุ่นวาย ตอนนั้นมีกษัตริย์ 3 พระองค์ขึ้นครองราชย์พร้อมกัน และต่างฝ่ายต่างขัดแย้งกัน พระองค์ได้ลงไปจัดการกบฏที่สร้างความวุ่นวายมานานหลายปี พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 จึงลงไปปราบกบฏและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเมืองนครธม พระองค์ใหม่ รวมถึงสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือ “มหิธรปุระ” อันมีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงโคราช
เชื้อสายของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 อยู่ปกครองเมืองนครธมมาอีก 250 ปี รวม 11 รัชกาล จนถึงสมัยของพระชัยวรมันที่ ๙ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง คือ “นายแตงหวาน” หรือ “ตระซอกปะแอม” ได้ทำการโค่นล้มราชวงศ์วรมัน และสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นกษัตริย์เขมร ทำให้ไม่มีสร้อยพระนามลงท้ายพระนามกษัตริย์ด้วย “วรมัน” มาจนถึงปัจจุบัน
เทวรูปชัยวรมันที่6
เทวรูปศิลปะของรัฐศรีจนาศะ ดินแดนที่ราบโคราช ประติมากรรมสำริด มีฉายาในวงการของเก่าว่าGolden Boy มีแหล่งกำเนิดใน จ.บุรีรัมย์ ของไทย เพราะเป็นประติมากรรมสำริดปิดทองเกือบทั้งองค์ ผิวเรียบ งดงาม ทำให้นักสะสมต้องการครอบครอง เทวรูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 หรือที่ฝรั่งตั้งฉายาให้ว่า "Golden Boy" เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมามีการซื้อ-ขายราคาพุ่งสูงถึง 1 ล้านบาท และเพราะยังมีฐานหินทรายที่ตั้ง หลักฐานชิ้นสำคัญเหลืออยู่ในบ้านยาง ต.ตาจง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ ปัจจุบันเทวรูปนี้มีมูลค่ากว่า 100ล้านบาท
หลักฐานคำบอกเล่าผู้ขุดพบเทวรูป Golden Boy คุณทนงศักดิ์ มั่นใจมากขึ้น เมื่อ Angela Chui นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ศิลปะในลอนดอน ส่งข้อมูลประติมากรรมสำริดขนาดใหญ่ ที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ The Metropolitan ของสหรัฐฯ เพราะความสวยงามโดดเด่นของประติมากรรมทำให้ได้ฉายา "GoldenBoy"
ขณะที่ ในหนังสือ Khmer Gold เขียนโดย Emma C.Bunker กับ Douglas Latchford อดีตพ่อค้าโบราณวัตถุสัญชาติไทย ที่พึ่งเสียชีวิตเมื่อปีที่ผ่านมา ในหนังสือยังระบุพิกัดพบที่บ้านยางอำเภอละหานอีกด้วย
การเดินทางมาพิสูจน์ความจริงครั้งนี้ ไทยพีบีเอสได้เจอกับครอบครัว "เป็ดสกุล" ผู้ที่ได้สัมผัส "Golden Boy" เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา ยังจดจำรายละเอียด และตำหนิ ได้อย่างแม่นยำ
ยายนิล วัย 67 ปี เล่าว่า พี่เขยขุดเจอเทวรูปจริง จากนั้นช่วยกันยกมาไว้บ้าน และเป็นคนไปตักน้ำในบ่อมาล้างดินออก แต่ชาวบ้านไม่รู้ว่าปลายทาง จะถูกส่งออกไปยังสหรัฐฯ
“จำได้หมด เหมือนกับในรูปพี่ชายไปขุดเจอ หลังจากขุดเจอก็มีชาวต่างชาติมาบอกให้ชาวบ้านขุดต่อ แต่ก็เจอแค่องค์เดียว”
ในสมัยนั้น กลุ่มนายทุนว่าจ้างให้ชาวบ้านขุดหาสมบัติถึงวันละ 100 บาท ทำให้ปราสาทบ้านยาง กลายเป็นบ่อน้ำขนาดใหญ่ ปัจจุบันไม่เหลือสภาพ เดิมให้เห็น ชาวบ้านปรับเป็นลานเอนกประสงค์ ทำให้กรมศิลปากร ไม่ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
Gloden Boy มีความสูง 110 เซนติเมตร ที่สันนิษฐานว่าประติมากรรมรูปฉลองพระองค์พระเจ้าชัยวร มันที่ 6 ผู้สร้างปราสาทหินพิมาย คือผ้านุ่งที่เป็นครีบยาวลงมา ชี้ชัดว่าศิลปะแบบพิมาย ไม่พบในกัมพูชา และเป็นประติมากรรมรูปคนไม่ใช่เทพเจ้า
สอดคล้องกับข้อมูล พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 นับถือศาสนาพุทธ ชาวบ้านยังให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทวงคืนระบุว่าเมื่อปี 2558 มีชาวต่างชาติ เดินทางมาที่บ้านยาง เพื่อตามหาแหล่งกำเนิด Gloden Boy
“เขาก็มาถามผม ก็บอกว่าถ้ามีความผิดผมไม่บอก เขาต้องการรู้ว่าใช่องค์เดียวกันไหม ยืนยันว่าองค์เดียวกัน แต่รูปถ่ายเขาเผาทิ้ง กลัวความผิด ”
แม้จะมีพยานบุคคล และการบันทึกข้อมูลจากภัณฑ์รักษ์ และนายทุนต่างชาติ ประติมากรรมสำริด พบที่ปราสาทบ้านยาง นับเป็นเบาะแสสำคัญในการเริ่มต้น ทวงคืนสมบัติชาติจากสหรัฐฯอีกครั้ง
นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ระบุว่า หลักฐานการทวงคืนยังขาดความสมบูรณ์ ได้มอบหมายให้ คณะกรรมการติดตามคืนโบราณวัตถุฯ ทำข้อมูลเพิ่มก่อน ก่อนรีบเร่งทวงคืน เพราะไม่อยากให้กระทบกับความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ
ดังนั้นหน้าที่ต่อไปของ ทนงศักดิ์ คือเร่งทำรายละเอียด พร้อมหลักฐาน เสนอคณะกรรมการติดตามคืนโบราณวัตถุฯ เพื่อนำสมบัติชาติ กลับคืนสู่อ้อมกอดชาวบ้านยางอีกครั้ง เพราะหากพิสูจน์ได้ว่าเป็นการลักลอบค้าโบราณวัตถุอย่างผิดกฎหมาย "Golden Boy" อาจจะเป็นสมบัติชาติอีกชิ้น ที่ได้กลับคืนมาเหมือนทับหลังหนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ และทับหลังเขาโล้น จ.สระแก้ว
รูปปั้นสำริดเป็นพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ศิลปะแบบพิมาย ไม่พบศิลปะนี้ในกัมพูชา พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 เป็นคนพิมาย เป็นขุนนางผู้ดูแลรัฐศรีจนาศะ ดินแดนที่ราบโคราชเป็นกษัตริย์พระองค์แรกในราชวงศ์มหิธรปุระที่ลงไปปกครองเขมรนครธม ก่อนหน้าท่านคือพระเจ้าหรรษวรรมันที่ 3 เป็นคนละราชวงศ์กับมหิธรปุระ โดยพระเจ้าชัยวรที่ 6 จากเมืองพิมาย เป็นผู้เข้ามาปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ที่เมืองนครธม หลังจากที่พระเจ้าหรรษวรรมันที่ 3 สวรรคต โดยพระองค์ได้กำจัดคู่แข่งที่เป็นเขื้อสายของหรรษวรรมันที่ 3 ทิ้งทั้งหมด และกำจัดได้อย่างราบคาบ
ราชวงศ์มหิธรปุระอยู่ยาวมาจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 ก็ถูกนายแตงหวานโค่นล้ม และสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์กัมพูชา โดยไม่มีสร้อยพระนาม “วรมัน” ต่อท้ายชื่อกษัตริย์อีกเลยจนถึงปัจจุบัน
Cr.
https://thaiza.com/variety/interest/533870/
คลิป
https://www.facebook.com/groups/144920937559393/permalink/421614829890001/
Cr.
https://www.facebook.com/100039677396371/posts/1091568105509092/?mibextid=Nif5oz
.....

'โกลเด้นบอย'ศิลปะของไทยที่เขมรอยากได้ ! : ความคิดเห็นชาวกัมพูชา

Up Comment

Jul 8, 2022 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Thai PBS และเพจโบราณนานมาครับ 
เพจโบราณนานมา 
.....

Tanongsak Hanwong
13h.

ป้ายชื่อของGolden Boy วันนี้ดูแปลกไป
พิพิธภัณฑ์เมท อธิบายว่า รูปพระศิวะ ในป้ายจัดแสดง, หรือรูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ในหนังสือที่พิมพ์จำหน่าย, หรือรูปโกลเดน บอย ในหนังสือการค้าโบราณวัตถุของดักลาส แลดซ์ฟอร์ด
ทั้งหมดไม่สำคัญเท่ากับ บรรทัดท้ายสุดที่พิพิธภัณฑ์เมทเขียนไว้ว่า "ถูกปลดออกจากการจัดแสดงเพื่อเตรียมส่งกลับประเทศไทย ปี 2023
เฮ้ย....มันปีนี้นี่นา
ขอบคุณข้อมูล จากคุณแองเจิลล่า ชิว นักประวัติศาสตร์ศิลป์ จากต่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือติดตามโบราณวัตถุไทย