วันอาทิตย์, ธันวาคม 17, 2566

ผลงานอันอื้อฉาวของ "นักต้มตุ๋นบันลือโลก" Douglas Latchford พ่อค้างานศิลปะชาวอังกฤษสัญชาติไทย


สงวน คุ้มรุ่งโรจน์
8h·

#ผลงานของหมอนี่อีกแล้ว

พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน แห่งนครนิวยอร์ก เตรียมส่งคืนรูปปั้นศิลปะเขมรจำนวน 14 ชิ้นคืนยังกัมพูชา และอีก 2 ชิ้นคืนให้แก่ไทย หลังพบว่าเป็นของที่ถูกขโมยลักลอบนำไปขายอย่างผิดกฎหมาย

โดยทั้งหมดเคยครอบครองโดย Douglas Latchford พ่อค้างานศิลปะชาวอังกฤษสัญชาติไทย มีชื่อไทย"ภัคพงษ์ เกรียงศักดิ์" ซึ่งถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดฐานค้าโบราณวัตถุผิดกฎหมายเมื่อปี 2019

Latchford เกิดในเมืองบอมเบย์ อินเดียยุคบริติชราช(British Raj) เป็นนักผจญภัยและนักเขียนซึ่งพำนักอยู่ในไทยนานกว่า 50 ปี เป็นพลเมืองไทยตั้งแต่ปี 1968 ภรรยาเป็นคนไทย
เขาเสียชีวิตในวัย 89 ที่กรุงเทพ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2020
เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนตแห่งประเทศไทยติดต่อกันหลายสมัย เคยได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสหพันธ์กีฬาเพาะกายแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

29 กันยายน 2021 วัตถุโบราณในศิลปะเขมรกลุ่มปราสาทเก่าเกาะแกร์ อาณาจักรอังกอร์ 5 ชิ้นแรกในจำนวนกว่า100 ชิ้นที่ถูกขโมย โดยครอบครัวของเขาเป็นผู้ครอบครอง ถูกส่งคืนไปกัมพูชา หลังจากเจรจานานถึง 3 ปี ปัจจุบันทางกัมพูชาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ราชธานีพนมเปญ

ขณะที่เจ้าตัวยังมีชีวิตอยู่ เคยโดนคดีค้าโบราณวัตถุในสหรัฐอเมริกา ข้อหาปลอมแปลงที่มาของโบราณวัตถุหลายชิ้น แต่ผู้ต้องหาเองก็เสียชีวิตลงในกรุงเทพก่อนที่คดีจะสิ้นสุด

นักวิชาการและนักโบราณคดีไม่น้อย เคยตั้งข้อสงสัยว่าเขาคือ"นักต้มตุ๋นบันลือโลก"
โบราณวัตถุในบ้านของเขาในกรุงเทพอาจมีที่มาไม่โปร่งใส และหน่วยงานของไทยก็ไม่ยอมร่วมมือกับทางกัมพูชาตรวจสอบการค้าโบราณวัตถุผิดกฏหมายหรือปลอมแปลงที่มาของโบราณวัตถุจากเขมร

Douglas Latchford เป็นน้องชายของ Trevor ผู้จัดการ Bangkok Post ยุคบุกเบิก ต่อมาถูกทางบริษัทไล่ออก เนื่องจากโกงเงินกระดาษหนังสือพิมพ์

นอกจากนี้ เคยเป็นผู้จัดการ Wheelock and Company
ส่วนตัวก็เคยพัวพันคดีการลักลอบส่งบ้านเชียงและอื่นๆออกจากเมืองไทย แต่อาศัย"ผู้ใหญ่"ในกรมศิลปากร ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่กล้าแตะต้อง
เขาจึงไปแสวงโชค สร้างอิทธิพลในกัมพูชา ซึ่งขณะนั้นยังตกอยู่สภาวะสงครามกลางเมือง

(สงวน คุ้มรุ่งโรจน์)