วันจันทร์, ธันวาคม 11, 2566

บทเรียนจากพรรคประชาธิปัตย์วันนี้ ทุกพรรคสามารถเป็นเหมือนประชาธิปัตย์ได้เหมือนกัน


Thanapol Eawsakul
19h ·

บทเรียนจากพรรคประชาธิปัตย์วันนี้
ทุกพรรคสามารถเป็นเหมือนประชาธิปัตย์ได้เหมือนกัน
.....
Nonglak Koomkamhaeng
พรรคที่ตระบัดสัตย์กับประชาชน
ตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร
ร่วมรัฐบาบเผด็จการ
มีพรรคที่เลวร้ายกว่านี้อีก
ต้มตุ๋นประชาชน
หลับนอนกับศัตรู
หัวหน้าพูดจาข่มพรรคอื่น ทั้งๆที่ตัวเองพูดไม่รู้เรื่อง
มีพ่อทำลายกระบวนการยุติธรรม
.....
Thanapol Eawsakul
20h·

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สุเทพ เทือกสุบรรณในวันตัดสินใจครั้งสำคัญที่นำมาสู่หายนะในวันนี้ "บอยคอตเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549"
.......
ความล้มเหลวของพรรคประชาธิปัตย์ในวันนี้เริ่มต้นมาจากการตัดสินใจการบอยคอตเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรค (5 มีนาคม 2548 – 24 มีนาคม 2562) ขณะนั้น ซึ่งมีสุเทพ เทือกสุบรรณเป็นเลขาธิการพรรค (5 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
ภายหลังจากที่ทักษิณ ชินวัตรประกาศยุบสภา 24 กุมภาพันธ์ 2549
การบอยคอตการเลือกตั้ง เป็นสิ่งที่ไม่ควรอยู่ในหัวของนักการเมืองหรือพรรคการเมืองใด เพราะนั่นเท่ากับการทำลายพื้นที่การต่อสู้ของตัวเอง
ถ้าพรรคการเมืองไม่ลงเลือกตั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องมีพรรคการเมือง ไปจัดตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวไปเลยก็ได้
ซึ่งกลุ่มการเมืองในขณะนั้นคือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยภายใต้การนำของสนธิ ลิ้มทองกุล
คำถามก็คือว่าคนฉลาดและมีประสบการณ์การเมืองอย่างอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหรือแม้กระทั่งชวน หลีกภัยที่บอกว่ายึดมั่นในระบบรัฐสภาไม่รู้เลยหรือว่าจะนำมาสู่ความเสียหายอย่างยิ่งใหญ่
คำตอบก็คือรู้
แต่นี่คือการเดิมพันครั้งสำคัญที่จะกลับมาชนะพรรคไทยรักไทยในขณะนั้นได้
(ซึ่งก็ได้ผลระยะสั้นจริงๆคือนำมาสู่การเป็นนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และการเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลของประชาธิปัตย์ในช่วงสั้นๆ17 ธันวาคม 2551 – 5 สิงหาคม 2554)
และที่สำคัญคือคนเดินเกมล้มรัฐบาลไทยรักไทย และทักษิณ ชินวัตร ในหลากหลายรูปแบบไม่ใช่ใครที่ไหน
ก็คือเปรม ติณสูลานนท์ นอกจากเป็นประธานองคมนตรีในขณะนั้นแล้วยังเป็นคนที่พรรคประชาธิปัตย์ให้ความเกรงใจ
และที่ตลกร้ายก็คือคนที่ไม่เห็นด้วยกับการบอยคอตเลือกตั้งในปี 2549 นั้นก็คือสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง
เหตุผลสำคัญคือสุเทพ เทือกสุบรรณเป็นนักการเมืองคนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้นที่มีความสนิทสนมเป็นการส่วนตัวกับทักษิณ ชินวัตร
ถึงขนาดว่าทักษิณ ชินวัตรเคยชวนมาร่วมพรรคไทยรักไทยตั้งแต่ก่อตั้งพรรคมาในปี 2541 ด้วยซ้ำ
แต่เมื่อดีลระหว่างทักษิณและสุเทพไม่สำเร็จ
ทุกอย่างคือจุดเริ่มต้นของความหายนะทั้งพรรคประชาธิปัตย์และอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนับแต่นั้นมา


.....
Thanapol Eawsakul
18h·

อนิจจะลักษณะประชาธิปัตย์
28 กุมภาพันธ์ 2561 หรือเมื่อ 5 ปีที่แล้ว เขียนเรื่องประชาธิปัตย์ต่ำ 100 ไม่มีใครเชื่อ
จนนำมาสู่วงพนันหลายวง
ผลเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ประชาธิปัตย์ 53
ผลเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 ประชาธิปัตย์ 25
การเลือกตั้งครั้งหน้า (2557-2570)
ถ้าจะบอกวาประชาธิปัตย์ต่ำ 10
คงไม่มีใครกล้ารอง
...

Thanapol Eawsakul
February 28, 2018 ·

ประชาธิปัตย์ ต่ำ 100
(แล้วพรรคไหนจะได้ที่นั่งที่หายไปของประชาธิปัตย์)
ในฐานะแฟนพรรคประชาธิปัตย์ ผมมีข้อสังเกตว่า พรรคประชาธิปัตย์มีธรรมชาติอย่างหนึ่งคือเมื่อมีความขัดแย้งในพรรคแล้ว การเลือกตั้งครั้งต่อไป ก็จะได้คะแนนเสียงลดลงอย่างมาก
พิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เรียกว่าเป็นการลงโทษจากประชาชน
ด้านหนึ่งก็สะท้อนว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นสถาบันการเมืองมากกว่าพรรคการเมืองอื่น
ลองมาดูการเลือกตั้งย้อนหลัง 42 ปี
การเลือกตั้ง 12 มกราคม 2519 จากส.ส.ทั้งหมด 279 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ได้มาถึง 114 เสียง หรือคิดเป็น 40.86 % ซึ่งถือว่าสูงมาก
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3...
อย่างที่ทราบกันดีกว่าหลังจากนั้นได้เกิดความแตกแยกกับระหว่างปีกขวาที่นำโดยสมัคร สุนทรเวช สมบุญ ศศิธร กับปีกซ้ายที่นำโดย ดำรง ลัทธิพิพัฒน์ สุรินทร์ มาศดิตถ์ ชวน หลีกภัย โดยหัวหน้าพรรคคือเสนีย์ ปราโมช ทำได้แต่เพียงเป็น ฤาษีเลี้ยงลิง และจบด้วยรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519
และความตกต่ำของพรรคประชาธิปัตย์ก็มาเยือน
เมื่อถึงการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 22 เมษายน 2522 พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.เพียง 39 ที่นั่ง จาก 301 ที่นั่งหรือคิดเป็น 12.95 % เท่านั้น หรือลดลงถึง 27.91 %
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3...
นี่อาจจะเป็นการตกต่ำครั้งแรก
ต่อมาการเลือกตั้ง 2526 ตะแนนเสียงพรรคประชาธิปัตย์กระเตื้องขึ้นมาเป็น 56 จาก 324 ที่นั่งหรือคิดเป็น 17.28 %
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3...
เมื่อวัฎจักรการเมืองย้อนมา พรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมอย่างสูงอีกครั้งในการเลือกตั้ง 27 กรกฎาคม 2529 คือได้ 99 ที่นั่ง จาก ส.ส. 347 ที่นั่ง หรือคิดเป็น 28.53 %
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3...
ซึ่งแม้จะห่างจากปี 2519 ที่ได้ 40.86 % แต่ก็เป็นครั้งแรกที่เกิน 25 %
แต่อย่างที่ทราบหลังจากนั้นแม้พรรคประชาธิปัตย์จะร่วมจัดตั้งรัฐบาล แต่นายกรัฐมนตรีคือคนนอกชื่อเปรม ติณสุลานนท์ และตามมาด้วยการเกิดกลุ่ม 10 มกรา ซึงถือเป็นความขัดแย้งครั้งสำคัญ เฉลิมพันธุ์ ศรีวิกรณ์ และวีระ มุสิกพงษ์ คู่หูที่แพ้เลือกตั้งในพรรคออกไปตั้งพรรคประชาชน
ดังนั้นในการเลือกตั้ง 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ทั้งหมด 357 ที่นั่งในรัฐสภาไทยพรรคประชาธิปัตย์จึงได้เพียง 48 หรือคิดเป็น 13.44 % เท่านั้น หายไป 27.42 %
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3...
นี่อาจจะเป็นการตกต่ำครั้งที่สอง ต่อจากปี 2522
ส่วนพรรคประชาชนมี ส.ส.เพียง 19 คน หรือ 5.32 % เท่านั้น
เมื่อถึงการเลือกตั้ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 จากทั้งหมด 360 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังไม่ฟื้นได้มาเพียง 44 ที่นั่ง 12.22 % โดยมาเป็นลำดับที่ 4 ตามหลังพรรคสามัคคีดธรรม ชาติไทย และความหวังใหม่
และมากกว่าพพรรคพลังธรรมที่ลงเลือกตั้งครั้งแรก ที่ได้ 41 ที่นั่งเพียง 3ีที่นั่ง เท่านั้น
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3...
แต่เมื่อการเลือกตั้ง 13 กันยายน พ.ศ. 2535 หลังเหตุการณ์พฤษภา 2535 พรรคสามัคคีธรรมล่มสลาย พรรชาติไทยบางส่วน แตกออกมาเป็นพรรคชาติพัฒนา
พรรคประชาธิปัตย์อาศัยวาทกรรม "ผมเชื่อมั่นในระบบรัฐสภา" เพื่อดิสเครดิตคู่แข่งอย่างพรรคพลังธรรม ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนมาเป็นอันดับ 1 คือ 79 ที่นั่งจาก 360 หรือคิดเป็น 13.44 %
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3...
แต่คะแนนนั้นมากกว่าพรรคชาติไทยที่มีพลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสารเป็นหัวหน้าที่เป็นอันดับ 2 เพียงแค่ 2 ที่นั่งคือพรรคชาติไทยได้ 76 ที่นั่ง
ขณะที่พรรคชาติพัฒนา ของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ 60 ที่นั่ง
น่าคิดว่าถ้าทั้ง 2 พรรคยังรวมกันอาจจะได้ส.ส. ถึง 136 ที่นั่งก็ได้
แต่รัฐนาวาชวน หลีกภัยก็ล่มด้วยปัญหา ส.ป.ก. 4-01
และเมื่อมาถึงการเลือกตั้ง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
พรรคชาติไทย ของบรรหาร ศิลปอาชา ชนะด้วย 92 ที่นั่ง จาก 391 หรือคิดเป็น 23.27 % โดยที่ พรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายชวน หลีกภัย ได้ 86 ที่นั่ง หรือ 21.99 %
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3...
ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้แค่เป็นพรรคฝ่ายค้าน
และที่น่าสนใจคือนับตั้งแต่การเลือกตั้ง 2538 จนถึงปัจจุบัน 23 ปี พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังไม่เคยชนะเลือกตั้งเลย
การเลือกตั้ง 17 พฤศจิกายน 2539 แม้พรรคประชาธปัตย์จะก้าวกระโดยคือ ได้ ส.ส. 123 จาก 393 ที่นั่ง 31.29 % แต่ก็แพ้ให้กับ พรรคความหวังใหม่ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธที่ได้ 125 เสียง 31.80 % ไปเพียง 2 ที่นั่ง
หรือคิดเป็น 0.51 %
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3...
ต่อมามีการ "ปฏิรูปการเมือง" ในปี 2540 และตามมาด้วยการเลือกตั้ง 6 มกราคม 2544 ปรากฎว่าพรรคไทยรักไทย ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ 224 ที่นั่ง หรือ 44.8 % ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย ได้ 121 ที่นั่ง หรือ 24.2 % หรือคะแนนห่างกัน เกือบ 20 %
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3...
หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนหัวหน้าพรรคจากนายชวน หลีกภัยที่ครองตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2534 หรือร่วม 10 กว่าปี พรรคประชาธิปัตยฺได้พบกับความแตกแยกอีกครั้ง เมือ่มีการแข่งขันชิงหัวหน้าพรรคระหว่าง นายบัญญัติ หัวหน้ากลุ่มทศวรรษใหม่ โดยมี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ สนับสนุนกับกลุ่มผลัดใบ ที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ กับสุเทพ
ผลปรากฎว่า กลุ่มทศวรรษใหม่ ที่นำโดยนายบัญญัติ ชนะได้เป็นหัวหน้าพรรค แต่ก่อให้เกิดความแตกแยกในพรรค
ในการเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ขณะที่พรรคไทยรักไทยได้คะแนนเสียง 375 ที่นั่ง หรือ 75 % พรรคประชาธิปัตย์กลับได้เพียง 96 ที่นั่งหรือ 19.2 % เท่านั้น
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3...
เป็นการชนะกันที่ห่างที่สุดในปรวัติศาสตร์การเมืองไทย
แน่อนนอนว่าคะแนนเลือกตั้ง คงจะมาจากคะแนนความนิยมอย่างสูงของพรรคไทยรักไทย แต่ขณะเดียวกันความสามัคคีในพรรคประชาธิปัตย์ก็มีผลไม่่น้อยที่ทำให้แพ้ขนาดนี้
(และเป็นเหตุให้พรรคประชาธิปัตยเริ่มไม่เชื่อมั่นในระบอบรัฐสภา หันไปร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตร มีการบอยคอตเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 เพื่อปูทางให้เกิดรัฐประหาร 19 กันยา 2549)
การเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ภายหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และรัฐธรรมนุญ 2550 ที่ออกแบบมาเอื้อให้พรรคประชาธิปัตย์ และการยุบพรรคไทนรักไทยไปก่อนหน้า
แต่ปรากฎว่าพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังแพ้พรรคพลังประชาชนที่แปลงร่างมาจากพรรคไทยรักไทยนั่นเอง
จาก ส.ส. 480 คนในสภา พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส. 162 ที่นั่ง คิดเป็น 33 %็ แพ้พรรคพลังประชาชนที่ได้ 233 ที่นั่งคิดเป็น 48.54 %
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3...
จำนวนนี่นั่งห่างกัน 13.54 % นี่คือระยะห่างที่แคบที่สุดนับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา
แต่การอาศัยการทรยศหักหลัง เพื่อตั้งรัฐบาลขึ้นในค่ายทหารในปี 2551 และการล้อมปราบเมษา พฤษภา 2553 ก็ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการปฏิเสธจากคนจำนวนหนึ่ง
ในการเลือตกั้ง 3 กรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทย ได้ 265 เก้าอี้หรือ 53%ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ 159 เก้าอี้หรือ 31.8%
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3...
ระยะห่างกลับมาเป็น 21.2 %
นี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมกับบกปปส.ในปี 2556 และบอยคอตเลือกตั้ง 2557 จนนำไปสู่รัฐประหาร 22 พฤษภา 2557
แต่รัฐธรรมนูญ 2560 กลับเป็นโทษกับพรรคประชาธิปัตย์มากกว่า เพราะแม้จะลงโทษพรรคใหญ่ แต่การที่พรรคประชาธิปัตย์มีความแตกแยกอีกครั้งคือการที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ออกมาตั้งพรรคมวลมหาประชาชน
"ธานี” ยัน กปปส.ตั้งพรรค “มวลมหาประชาชนฯ” - “สุเทพ” เป็นเพียงสมาชิกพรรคไม่รับตำแหน่งใดทั้งสิ้น
https://mgronline.com/politics/detail/9610000020280
แน่นอนว่าจะทำให้คะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
เมื่อผนวกกับการออกแบบรัฐธรรมนุญ 2560 แล้วอาจจะมีผลอย่างมากที่จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนต่ำกว่า 100 เสียง หรือต่ำกว่า 20 %
คำถามคือถ้าพรรคประชาธิปัตย์ต่ำ 100 แล้วจำนวนที่นั่งเดิมที่เคยได้จะไปอยู่ที่พรรคไหน
คงจะไม่ใช่พรรคเพื่อไทย แต่อาจจะเป็นพรรคการเมืองอื่น ๆ ที่ลงแข่งขัน