Amnesty International Thailand
16h ·
วันนี้ อัญชัญ ปรีเลิศ อายุครบ 68 ปี
หากนับรวมครั้งก่อนที่เธอต้องถูกจำคุก ปีนี้เป็นปีที่ 5 ที่อัญชัญต้องฉลองวันเกิดในเรือนจำ
.
อัญชัญคือใคร?
อัญชัญคือผู้ที่ถูกพิพากษาจำคุกในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มากที่สุดในประวัติศาสตร์
.
อัญชัญ ปรีเลิศ ถูกจับกุมในเดือนมกราคม 2558 และถูกควบคุมตัวในค่ายทหารที่จังหวัดกาญจนบุรีเป็นเวลาห้าวันในช่วงแรก ด้วยคดี 112 ซึ่งอยู่ภายใต้การพิจารณาของ “ศาลทหาร” เดิมพันแรกระหว่างอิสรภาพและเสรีภาพในการแสดงออกจึงอยู่บนความไม่แน่นอนของการบังคับใช้กฎหมาย
.
โทษสูงสุดที่เธออาจได้รับ คือ 15 ปี x 29 กรรม เท่ากับว่าเธอจะถูกจำคุก 435 ปี จากคลิปทั้งหมด 29 คลิป ในความผิดทั้งหมดตามมาตรา 112 ทำให้เธอกลายเป็นผู้ถูกแจ้งข้อกล่าวหาเป็นจำนวนมากที่สุดในเครือข่ายคนที่ทางการไทยกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับเครือข่ายบรรพต และเป็นคดีมาตรา 112 ที่โทษหนักที่สุดนับแต่รัฐประหารปี 2557
.
หลังได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว อัญชัญถูกพิพากษาเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 โดยศาลอาญาสั่งจำคุก 43 ปี 6 เดือน
.
“มันขมขื่นจริง ๆนะ ขมขื่นใจ เราติดคุกซ้ำซ้อน ซ้ำไปซ้ำมา การอยู่ในนี้ก็รู้สึกกดดันกับสภาวะรอบข้างที่นี่ เราเครียด เราเครียดเรื่องสภาพแวดล้อมในนี้ เมื่อไหร่ฉันจะได้รับอิสระซักที มันขมขื่นใจ ทำไมชีวิตนี้ของฉันจะต้องทนทุกข์อยู่ในนี้ เมื่อไหร่จะได้เห็นแสงสว่าง” อัญชัญว่า
.
5 ปีแล้วที่ต้องฉลองวันเกิดคนเดียวในเรือนจำ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้มาก ทุกวันนี้ป้าก็ไม่ได้คิดจะทำอะไร เพราะมันทำอะไรไม่ได้ ถ้าอยู่ข้างนอกวันเกิดเราก้จะตื่นมาใส่บาตร แต่ที่นี่ไม่ได้ ป้าก็จะซื้อของให้กับผู้ต้องขังที่ไม่มีญาติมาเยี่ยม ตอนนี้ป้าก็ช่วยดูแลผู้ต้องขังที่ไม่มีญาติมาเยี่ยม เอาอาหารแบ่งให้เขา มีอะไรที่พอช่วยได้ ก็ช่วยๆ กันไป”
.
“ทุกวันนี้ก็พยายามไม่คิดมาก สวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน ทำใจให้สงบ ทำให้สุขภาพกายและใจแข็งแรง เพื่อที่เราจะไม่ได้ฟุ้งซ่าเมื่ออยู่ในนี้”
.
คำอวยพรของคุณจะเป็นกำลังใจให้กับอัญชัญ
ร่วมอวยพรให้กับอัญชัญ พร้อมติด #FreeAnchan
เราจะเซฟ และมอบคำอวยพรให้อัญชัญค่ะ
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
1d
·
บันทึกเยี่ยม ‘มาย-ธี-สุดใจ’ สามผู้ต้องขัง:
“ให้ติดกำไล EM ข้อเท้าสองข้างเลยก็ได้ หากได้ประกันตัว”
.
.
วันที่ 13-17 พ.ย. 2566 ทนายความได้เข้าเยี่ยม 3 ผู้ต้องขังทางการเมืองที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้แก่ ‘มาย’ ชัยพร ‘ธี’ ถิรนัย และ ‘สุดใจ’ ทั้งสามคนรับรู้ว่ามีเพื่อนผู้ต้องขังทางการเมืองได้รับการปล่อยตัวเพิ่มอีกสามคนและรู้สึกยินดี ขณะเดียวกันก็รอคอยที่จะได้รับโอกาสให้ประกันตัวบ้าง
.
‘ธี’ ถึงกับบอกว่าเขายอมติดกำไล EM สองอันเลยก็ได้ ส่วน ‘มาย’ ค่อนข้างสนใจ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และหวังว่าหาก พ.ร.บ.นี้ ผ่านจะเกิดประโยชน์กับผู้ต้องขังทางการเมืองทุกคนอย่างเท่าเทียม ขณะที่ ‘สุดใจ’ ยังสดใสแข็งแรง มีกำลังใจในการต่อสู้กับชีวิตในเรือนจำ
.
.
อ่านต่อบนเว็บไซต์ : https://tlhr2014.com/archives/61599
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
16h
·
บันทึกเยี่ยม 6 ผู้ต้องขังคดี ม.112: “ทุกครั้งที่มีคนได้ประกัน ก็หวังว่าจะได้ออกกันทั้งหมดสักที”
.
.
ระหว่างวันที่ 9-15 พ.ย. 2566 ทนายความได้เข้าเยี่ยมผู้ต้องขังทางการเมืองซึ่งถูกคุมขังในคดีมาตรา 112 ได้แก่ “เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง, ‘อารีฟ’ วีรภาพ วงษ์สมาน, สมบัติ ทองย้อย, ‘แม็กกี้’, เวหา แสนชนชนะศึก ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และเยี่ยม ‘วุฒิ’ ที่เรือนจำพิเศษมีนบุรี
.
ในภาพรวมผู้ต้องขังบางรายมีปัญหาด้านสุขภาพจากอาการไอ และเจ็บคอ เนื่องจากสภาพแวดล้อมและความไม่ค่อยสะอาดของการอยู่ในเรือนจำ ส่วนสภาพจิตใจมี “อารีฟ” ที่รู้สึกเครียดบ้างก่อนร่างกายจะตอบสนองด้วยอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ ระหว่างนอน แต่ทุกคนยังรู้สึกถึงความหวังว่าจะได้ออกมาอยู่ในโลกภายนอก ได้เจอกับคนที่พวกเขาคิดถึง เป็นที่แน่นอนว่า พวกเขาดีใจที่มีคนได้ประกันออกไปบ้าง ทั้งหวังยิ่งว่าสักวันหนึ่งจะได้กันทั้งหมดสักที
.
.
อ่านต่อบนเว็บไซต์ : https://tlhr2014.com/archives/61661
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
12h
·
“ภูมิ” อาเจียนปนเลือด อ่อนเพลียมาก ระหว่างอดอาหารประท้วงที่บ้านเมตตา เผยดื่มเพียงน้ำเกลือแร่ เดินหน้าต่อวันที่ 6
.
.
เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2566 ที่ปรึกษากฎหมายได้เข้าเยี่ยม “ภูมิ หัวลำโพง” นักกิจกรรมและอาสากู้ภัยวัย 20 ปี ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ที่บ้านเมตตาในคดี ม.112 ของศาลเยาวชนฯ นานกว่า 1 เดือนแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการอดอาหารประท้วงมาตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. เป็นต้นมา
.
ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2564 ขณะภูมิอายุ 17 ปีเศษ เขาถูกกล่าวหาในคดี ม.112 จากกรณีร่วมกิจกรรมเรียกร้องให้ปล่อยตัว “นิว” สิริชัย นาถึง ซึ่งถูกจับกุมไปยัง สภ.คลองหลวง เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2564
.
ต่อมา เมื่อคดีขึ้นถึงชั้นศาล ในวันที่ 18 ต.ค. 2566 ภูมิตัดสินใจกลับคำให้การเป็นรับสารภาพตามฟ้อง โดยศาลเยาวชนฯ มีคำสั่งเห็นควรให้ใช้มาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดี ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง มาตรา 132 วรรค 2 กำหนดให้ส่งตัวจำเลยไปที่สถานพินิจฯ เป็นเวลา 1 ปี ระหว่างนั้นให้อบรมหลักสูตรวิชาชีพ 2 หลักสูตร และให้ ผอ.สถานพินิจฯ รายงานความประพฤติจำเลยให้ศาลทราบทุก 3 เดือน ทำให้เขาถูกนำตัวไปควบคุมยังบ้านเมตตาตั้งแต่วันดังกล่าว
.
ทว่า ระหว่างที่ภูมิถูกควบคุมตัวอยู่ที่บ้านเมตตาเกือบ 1 เดือน เขายังคงไม่ได้อบรมวิชาชีพตามที่ศาลมีคำสั่ง โดยเจ้าหน้าที่บ้านเมตตาแจ้งว่าจะต้องรอเวลาประมาณ 60-90 วัน ถึงจะรับการอบรมได้ แต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้แจ้งเหตุผลว่าเหตุใดจึงต้องรอนานขนาดนั้น
.
ความล่าช้าที่เกิดขึ้นทำให้ภูมิรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรม เขาจึงเริ่มต้นอดอาหารประท้วงในช่วงเย็นวันที่ 15 พ.ย. เป็นต้นมา ซึ่งนับเป็นวันที่ 28 ของการถูกควบคุมตัวอยู่ที่บ้านเมตตา
.
.
บันทึกการเข้าเยี่ยมภูมิ
.
ที่ปรึกษากฎหมายเข้าเยี่ยมภูมิผ่านการวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เนื่องจากภูมิอยู่ระหว่างกักกันโรค จากการถูกเบิกตัวออกไปศาลเมื่อวันที่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา วันนี้ภูมิดูอ่อนเพลีย เขาสวมเสื้อแขนยาวลายทางสีม่วงตัดสลับสีเทา ยูนิฟอร์มดูแปลกตาเหมือนเป็นชุดลำลองปกติ ภูมิบอกว่านี่เป็นเสื้อกันหนาวของบ้านเมตตา เจ้าหน้าที่เอาออกมาให้ใส่เพราะช่วงนี้อากาศเริ่มเย็นแล้ว
.
ภูมิเริ่มต้นอดอาหารประท้วงมาตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 15 พ.ย. ภายหลังเดินทางกลับจากศาลถึงบ้านเมตตา โดยเริ่มต้นดื่มเพียงน้ำเปล่าเท่านั้น กระทั่งเมื่อวันที่ 18 พ.ย. เวลาประมาณ 2 ทุ่ม ภูมิรู้สึกว่าร่างกายอ่อนแรงมาก รู้สึกหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม จึงได้ตัดสินใจทานอาหาร ซึ่งเป็นกับข้าวตั้งแต่มื้อเที่ยงของวันนั้น
.
เมื่อทานอาหารเข้าไปได้เพียงนิดเดียว ภูมิรู้สึกว่าปวดท้องจึงหยุดทาน เพียงครู่เดียวเขาได้อาเจียนอาหารที่ทานเข้าไปออกมาเกือบหมด โดยอาเจียนบางส่วนมีเลือดปนอยู่ด้วย เมื่อภูมิแจ้งกับทางบ้านเมตตา เจ้าหน้าที่ได้นำเกลือแร่มาให้ภูมิจิบเพื่อบรรเทาอาการ
.
ต่อมา ในวันที่ 19 พ.ย. มีเจ้าหน้าที่พยาบาลขึ้นมาดูอาการภูมิที่ห้องพัก พยาบาลบอกกับภูมิว่า หากหลังจากนี้ภูมิยังอดอาหารต่อไปร่างกายจะมีการตอบสนองอย่างไรบ้าง และได้จ่ายเกลือแร่ให้ภูมิไว้จิบบรรเทาอาการ ปัจจุบันภูมิรู้สึกวิงเวียนศีรษะตลอดเวลา อ่อนเพลีย รู้สึกว่าแขนขาไม่ค่อยมีแรง จึงอยู่แต่ในห้องกักกันโรค ทั้งยังรู้สึกปวดท้องเกร็งและปวดบิดอีกด้วย
.
ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2565 ภูมิเคยถูกคุมขังในคดีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกและการชุมนุมมาแล้ว 1 ครั้ง โดยถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ พร้อมกับคู่คดี รวม 8 คน นานกว่า 104 วัน ในคดีที่ศาลอาญา จากกรณีร่วมชุมนุมบริเวณดินแดง ในวันที่ 14 มิ.ย. 2565 โดยคดีนี้เขาถูกฟ้องในฐานะอายุเกิน 18 ปีแล้ว และศาลสืบพยานเสร็จสิ้นไปแล้วระหว่างวันที่ 4-5 ต.ค. ที่ผ่านมา และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 31 ม.ค. 2567
.
ภูมิตั้งข้อสังเกตว่าที่บ้านเมตตาไม่เหมือนกับเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ที่นั่นเจ้าหน้าที่มีการรับมือกับผู้อดอาหารประท้วงได้ค่อนข้างดี อาจเป็นเพราะเคยมีผู้ต้องขังในเรือนจำทำการอดอาหารประท้วงมาแล้วหลายครั้ง ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เวลามีคนอดอาหารประท้วงจะมีพยาบาลเข้ามาตรวจเช็คความเป็นปกติของร่างกายตลอด อาทิ ค่าน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต สัญญาณชีพจร ฯลฯ หากพบว่าร่างกายผู้ประท้วงเริ่มมีสัญญาณที่ผิดปกติเรือนจำจะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลราชทัณฑ์ทันที แต่ภูมิตั้งข้อสังเกตว่าที่บ้านเมตตาเหมือนจะไม่มีแผนรองรับผู้อดอาหารประท้วง
.
ภูมิยืนยันว่าจะอดอาหารประท้วงต่อไป โดยจะดื่มเพียงน้ำผสมเกลือแร่เพื่อประทังชีวิตเท่านั้น และจะขอปฏิเสธอาหารทุกอย่าง และหวังว่าจะได้อธิบายเหตุผลเบื้องหลังของการประท้วงครั้งนี้โดยละเอียดในครั้งต่อไปที่ถูกเบิกตัวออกไปศาล
.
ปัจจุบัน (20 พ.ย.) ภูมิถูกควบคุมตัวอยู่ที่บ้านเมตตาเข้าสู่วันที่ 34 และอดอาหารประท้วงเข้าสู่วันที่ 6 แล้ว
.
.
อ่านต่อบนเว็บไซต์ : https://tlhr2014.com/archives/61676
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
16h ·
ในฐานะแม่คนหนึ่ง คำกล่าวที่ว่า “ลูกของแม่เป็นเด็กพิเศษ” คงเป็นคำกล่าวที่ทำให้คนเป็นแม่รู้สึกทุกข์ใจ กระอักกระอ่วน สับสน และไม่อยากที่จะยอมรับความจริง แต่ไม่ว่าลูกจะเป็นเช่นไร หน้าที่ของคนเป็นแม่ก็คือการเลี้ยงดูลูกอย่างดีที่สุด เช่นเดียวกับแม่ของ “ปุญญพัฒน์” ผู้ป่วยสมาธิสั้นและพัฒนาการช้า วัย 31 ปี หนึ่งในจำเลยคดีมาตรา 112 ซึ่งถูกศาลชั้นต้นตัดสินจำคุก 4 ปี 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา
.
หลังจากที่ปุญญพัฒน์ถูกแจ้งข้อกล่าวหาในคดีมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 ที่ สภ.บางแก้ว กรณีถูกกล่าวหาว่าโพสต์เฟซบุ๊ก 4 ข้อความ ลงในกลุ่ม “รอยัลลิสต์มาร์เกตเพลส” โดยข้อความกล่าวถึงรัชกาลที่ 10 และการพำนักอยู่ที่ประเทศเยอรมนี ชีวิตของเขาก็ต้องวนเวียนอยู่กับการขึ้นศาล โดยมี ‘แม่’ คอยให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด
.
ไม่ว่าจะเป็นการขับรถรับส่งเขาจากจังหวัดกำแพงเพชรมายังศาลจังหวัดสมุทรปราการ พื้นที่ที่เขาถูกกล่าวหา การพาเขาเข้าไปคุยกับเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงบอกเล่าอาการของเขาให้คนรอบข้างฟัง เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงความคิดและพฤติกรรมที่ “พิเศษ” กว่าคนอื่นของลูกชาย
.
ทั้งนี้ ก่อนที่ปุญญพัฒน์จะเดินหน้าฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ในวันที่ 21 พ.ย. 2566 นี้ ทางศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงชวนพูดคุยกับ “แม่” ของเขา ถึงความสัมพันธ์ในครอบครัวและการใช้ชีวิตของปุญญพัฒน์หลังถูกดำเนินคดี รวมถึงลูกชายคนนี้เป็นเช่นไรในสายตาของแม่
.
.
อ่านบนสัมภาษณ์บนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/61492
อานนท์ นำภา
10h ·
“ย่างเข้าสู่เดือนที่ 2 ของการจองจำในระลอกที่ 5 ลมหนาวพัดมาจางๆ จากตะวันออกเฉียงเหนือ ท่ามกลางผู้คนมากมายหากเพื่อนรู้ใจมีเพียงนับนิ้วมือ”
.
จดหมายฉบับลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ถึงปราณและอิสรานนท์ลูกรัก
.
ภายในสิ้นเดือนนี้ จะมีการพิจารณาคดี 112 ของพ่อเสร็จอีก 2 คดีและภายในสิ้นปี โทษจากมาตรา 112 ของพ่อจะเพิ่มจาก 4 ปี เป็น 12 ปี อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จวบจนสิ้นปีหน้าอีกปี โทษที่จะลงสำหรับพ่อคงมากกว่า 80 ปีในอีก 13 คดีที่เหลือ
.
ต้นฟักในแดน 4 ถูกปลูกไว้ที่หน้าแดนค่อยๆผลิใบจาก 1 เป็น 2 จาก2 เป็น 3,4,5 ค่อยๆ เลื้อยเป็นซุ้มปกคลุมลานพระหน้าแดน สักพักมันจะสูงขึ้นและคลุมทั้งลานเหมือนที่มันเคยเป็นในทุกปีก่อนหน้า ดำรงอยู่สักพักไม่ทันลมหนาวจะผ่านไปมันจะผลิดอก ออกผล โรยราไร้คนจดจำ
.
โทษทัณฑ์สำหรับพ่อมันก็เป็นเหมือนฟักต้นนั้น เหมือนจะดำรงค์อยู่แต่ก็รอวันล่มสลาย เหมือนเปี่ยมความหมายแต่ก็ไร้ความหมายในที่สุด และเมื่อมันล่มสลายก็ไร้คนจดจำ
.
มีเพียงความจริงเท่านั้นที่ดำรงอยู่เหมือนองค์พระ ความจริงที่ว่าการต่อสู้ของพวกคนรุ่นพ่อมันมุ่งหมายให้ได้มาซึ่งสังคมที่ดีงาม สิ่งที่พวกเราเรึยกว่า เสรีภาพ ความเสมอภาค จะเกิดขึ้นในที่สุด ดำรงอยู่ และ ทำหน้าที่สร้างสันติภาพให้เพื่อนมนุษย์
.
ทุกเช้าพ่อกับน้าเก็ทจะนั่งจิบกาแฟ มองต้นฟักต้นนั้น รอดูมันเติบโตแล้วโรยราลงสู่ดิน
.
รักและคิดถึงลูกทั้งสอง
อานนท์ นำภา
แดน 4 เรือนจำพิเศษกรุงเทพ