Thairath Plus - ไทยรัฐพลัส
12h
·
วันที่ 17 พฤศจิกายน วันครบรอบ 3 ปีที่ ‘เป็ดเหลือง’ เรือยางรูปเป็ดถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันน้ำผสมสารเคมีจากรถจีโน่ และแก๊สน้ำตา ในการสลายการชุมนุมเยาวชนเมื่อปี 2563
การสลายการชุมนุมของรัฐทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งแก๊สน้ำตา กระสุนยาง และการสลายการชุมนุมที่ดูจะไม่เรียงลำดับจากเบาไปหนักยังเกิดขึ้นในม็อบ ‘ราษฎรหยุด APEC 2022’ มีผู้ชุมนุมถูกกระสุนยางยิงในแนวราบจนตาบอด และสื่อมวลชนถูก คฝ. ทำร้าย
เพื่ออธิบายความรุนแรงในสังคมไทย โดยเฉพาะในการสลายการชุมนุม จึงต้องศึกษาอดีต และคำตอบบางส่วนถูกรวบรวมไว้ใน ‘ถอดรหัสความรุนแรงในสังคมไทย: รัฐ สื่อ สังคม และระบบกฎหมาย’ ผลงานของ รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประจักษ์ยืนยันว่า รัฐมีความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรง แต่ประจักษ์ ผู้ทำวิจัยเรื่องความรุนแรงโดยรัฐ ก็ชวนตั้งคำถามต่อว่า
“จะเกิดอะไรขึ้นถ้ารัฐที่เป็นผู้ผูกขาดทรัพยากรและบุคลากรในการใช้ความรุนแรงมีศักยภาพในการใช้ความรุนแรงสูงมาก แต่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมาย ไม่อยู่ภายใต้การตรวจสอบของประชาชน สามารถใช้ความรุนแรงนอกกฎหมายได้” ประจักษ์ยืนยันว่า เมื่อนั้นรัฐจะเป็นอาชญากรเสียเอง
อ่านบทสัมภาษณ์ ประจักษ์ ก้องกีรติ ว่าด้วยความรุนแรงอันแสนชอบธรรมในมือรัฐ เมื่อกล้าลงมือปราบปราม ลงมือสลาย ลงมือยิง แต่ไร้ผู้รับผิดชอบต่อความตาย ปราศจากคำขอโทษ ไม่มีอะไรมากไปกว่าคำว่าก้าวข้ามความขัดแย้ง สมานฉันท์ ประวัติศาสตร์ไทยการเมืองจึงมีรอยเลือดแปดเปื้อนเสมอมา
อ่านต่อได้ที่นี่ : https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/103935
#ไทยรัฐพลัส #ThairathPlus #WeSPEAKtoSPARK