Suchart Sawadsri
10h·
.....
รำไพกุล คณานันต์
นายกต้องตอบ
Boygoldsilver Kgn
อยากรู้มากเลยคร้บ +หมุดคณะราษฎร์.ด้วยครับ
(นายกเศรษฐา เป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ผอ.รมน.) โดยตำแหน่ง)
.....
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน หายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย
ที่มา พันทิป
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือ อนุสาวรีย์ปราบกบฏ เป็นอนุสาวรีย์ที่เคยตั้งอยู่ ณ วงเวียนหลักสี่ จุดตัดระหว่างถนนพหลโยธินกับถนนแจ้งวัฒนะและถนนรามอินทรา ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญจัดสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองการปราบกบฏบวรเดช โดยมีการบรรจุอัฐิทหารและตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ภายในรวม 17 นาย จึงมีชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ อนุสาวรีย์ 17 ทหารและตำรวจ อนุสาวรีย์หลักสี่มีการปรับปรุงพื้นที่บริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญอยู่หลายครั้งโดยกรมทางหลวง เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดโดยรอบอนุสาวรีย์ อาทิ การปรับภูมิทัศน์เป็นสี่แยกและการขุดอุโมงค์ลอดอนุสาวรีย์ และการก่อสร้างสะพานลอยด้านข้างอนุสาวรีย์เพื่อเชื่อมต่อถนนแจ้งวัฒนะกับถนนรามอินทรา ปัจจุบันบริเวณอนุสาวรีย์มีการก่อสร้างสถานีวัดพระศรีมหาธาตุของทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายหมอชิต - คูคต และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ส่วนตัวอนุสาวรีย์นั้นถูกย้ายออกและไม่ทราบว่ามีการนำไปไว้ที่ใด
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญได้รับการออกแบบโดยหลวงนฤมิตรเลขการ อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยยึดหลักทางการเมืองของรัฐบาล 5 ประการ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กองทัพ และรัฐธรรมนูญ การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2479 มีการทำพิธีเปิดในวันที่ 15 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงประกอบพิธีเปิด
ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
กรมศิลปากร เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการผลักดันและสำรวจโบราณสถานทั่วประเทศเพื่อประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน นั้นในขณะนี้ สำนักโบราณคดี ได้สำรวจแหล่งโบราณสถาน เพื่อเสนอให้คณะกรรมการวิชาการเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานเห็นชอบประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในปี 2553 แล้ว 25 แห่ง แบ่งเป็นต่างจังหวัด 8 แห่ง เขต กรุงเทพฯ 17 แห่ง หนึ่งในนั้นประกอบด้วย อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
การปรับปรุงภูมิทัศน์
ในปี พ.ศ. 2553 กรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานลอยในบริเวณวงเวียนหลักสี่ ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องเคลื่อนย้ายตัวอนุสาวรีย์ออกไปจากบริเวณเดิม กลุ่มนักอนุรักษ์โบราณคดี และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนชาวบ้านได้รวมตัวกันคัดค้านการเคลื่อนย้ายดังกล่าว หากทว่ากรมทางหลวงได้อ้างว่าได้พูดคุยกับกรมศิลปากรแล้ว แต่กรมศิลปากรปฏิเสธและไม่มีนโยบายที่จะเคลื่อนย้ายโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว
ต่อมาวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ได้ย้ายอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญไปไว้ที่ศูนย์ก่อสร้างหนองบอน กรุงเทพมหานคร แต่นายศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ได้ปฏิเสธว่า ไม่ได้นำไปไว้ที่ศูนย์ก่อสร้างหนองบอน และไม่ทราบว่าปัจจุบันตัวอนุสาวรีย์เก็บไว้ที่ใด
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่:
https://th.wikipedia.org/wiki/อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
https://www.saphanmai.com/อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธร/
https://www.posttoday.com/social/general/34357
ที่มา พันทิป
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือ อนุสาวรีย์ปราบกบฏ เป็นอนุสาวรีย์ที่เคยตั้งอยู่ ณ วงเวียนหลักสี่ จุดตัดระหว่างถนนพหลโยธินกับถนนแจ้งวัฒนะและถนนรามอินทรา ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญจัดสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองการปราบกบฏบวรเดช โดยมีการบรรจุอัฐิทหารและตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ภายในรวม 17 นาย จึงมีชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ อนุสาวรีย์ 17 ทหารและตำรวจ อนุสาวรีย์หลักสี่มีการปรับปรุงพื้นที่บริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญอยู่หลายครั้งโดยกรมทางหลวง เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดโดยรอบอนุสาวรีย์ อาทิ การปรับภูมิทัศน์เป็นสี่แยกและการขุดอุโมงค์ลอดอนุสาวรีย์ และการก่อสร้างสะพานลอยด้านข้างอนุสาวรีย์เพื่อเชื่อมต่อถนนแจ้งวัฒนะกับถนนรามอินทรา ปัจจุบันบริเวณอนุสาวรีย์มีการก่อสร้างสถานีวัดพระศรีมหาธาตุของทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายหมอชิต - คูคต และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ส่วนตัวอนุสาวรีย์นั้นถูกย้ายออกและไม่ทราบว่ามีการนำไปไว้ที่ใด
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญได้รับการออกแบบโดยหลวงนฤมิตรเลขการ อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยยึดหลักทางการเมืองของรัฐบาล 5 ประการ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กองทัพ และรัฐธรรมนูญ การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2479 มีการทำพิธีเปิดในวันที่ 15 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงประกอบพิธีเปิด
ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
กรมศิลปากร เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการผลักดันและสำรวจโบราณสถานทั่วประเทศเพื่อประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน นั้นในขณะนี้ สำนักโบราณคดี ได้สำรวจแหล่งโบราณสถาน เพื่อเสนอให้คณะกรรมการวิชาการเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานเห็นชอบประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในปี 2553 แล้ว 25 แห่ง แบ่งเป็นต่างจังหวัด 8 แห่ง เขต กรุงเทพฯ 17 แห่ง หนึ่งในนั้นประกอบด้วย อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
การปรับปรุงภูมิทัศน์
ในปี พ.ศ. 2553 กรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานลอยในบริเวณวงเวียนหลักสี่ ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องเคลื่อนย้ายตัวอนุสาวรีย์ออกไปจากบริเวณเดิม กลุ่มนักอนุรักษ์โบราณคดี และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนชาวบ้านได้รวมตัวกันคัดค้านการเคลื่อนย้ายดังกล่าว หากทว่ากรมทางหลวงได้อ้างว่าได้พูดคุยกับกรมศิลปากรแล้ว แต่กรมศิลปากรปฏิเสธและไม่มีนโยบายที่จะเคลื่อนย้ายโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว
ต่อมาวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ได้ย้ายอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญไปไว้ที่ศูนย์ก่อสร้างหนองบอน กรุงเทพมหานคร แต่นายศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ได้ปฏิเสธว่า ไม่ได้นำไปไว้ที่ศูนย์ก่อสร้างหนองบอน และไม่ทราบว่าปัจจุบันตัวอนุสาวรีย์เก็บไว้ที่ใด
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่:
https://th.wikipedia.org/wiki/อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
https://www.saphanmai.com/อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธร/
https://www.posttoday.com/social/general/34357