สมเด็จพระจักรพรรดินีศรีศศิเฌอปรางวัชรสุภางควดี
8h
·
วิษณุแจงหลักการพระราชทานอภัยโทษ
"บุญทรง" ใช้เกณฑ์เก่า (หลักการให้คะแนน)
"วัฒนา" ใช้เกณฑ์ใหม่ (หลักจำคุกมาแล้ว 1 ใน 3 หรือ 8 ปี)
"ทักษิณ" ใช้เกณฑ์ใหม่กว่า (หลักพระราชอำนาจเบ็ดเสร็จ)
------------------------
เมื่อปีที่แล้ว อ.(อ่านว่า อี) วิษณุ ให้ส้มภาษณ์ว่าต่อไปนี้เกณฑ์ของ ครม. ในการพิจารณาพระราชทานอภัยโทษ คือ ต้องรับโทษมาแล้วอย่างต่ำ 1 ใน 3 หรือ 8 ปี แล้วแต่ว่าอันไหนถึงก่อนกัน เมื่อครบแล้วถึงเริ่มพิจารณาคะแนนว่าเป็นนักโทษชั้นดีหรือไม่ ต่อไปนี้นักโทษเด็ดขาดทุกกรณีจะใช้หลักเกณฑ์เดียวกันหมด จะไม่มีการใช้คะแนนอย่างเดียวแบบแต่ก่อน
พอมากรณีของทักษิณ เปลี่ยนคำพูดเฉยเลย บอกว่าเป็นพระบรมราชวินิจฉัยในการใช้พระราชอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อ.ห.
-----------------------
(เนื้อหาข่าว)
"นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ได้รายงานในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับการอภัยโทษ ซึ่งเป็นการปรับปรุงแนวทางการจัดชั้น เลื่อนชั้นนักโทษ เพื่อให้มีแนวทางที่ชัดเจนขึ้นว่า สรุปให้ ครม.รับทราบและนายกรัฐมนตรีรับทราบ
เมื่อถามถึงกรณีมีการเน้นย้ำถึงหลักเกณฑ์ว่าจะต้องได้รับโทษมาแล้ว 1 ใน 3 จึงจะดีกว่า นายวิษณุ กล่าวว่า จากนี้ไปศาลจะลงโทษเท่าไหร่ก็ตามต้องรับโทษอย่างน้อย 1 ใน 3 หรือ 8 ปี สุดแท้จะถึงกำหนดใดก่อนกัน เพราะบางคนถูกลงโทษจำคุก 50 ปี ถ้าคิดเป็น 1 ใน 3 ก็เกือบ 20 ปี ซึ่งบางคนเป็นนักโทษชั้นดี ชั้นเยี่ยมมาตลอด 8 ปีก็อาจออกมาได้ เมื่อนักโทษเข้าเรือนจำวันแรก จะมีการจัดชั้นว่าเป็นนักโทษชั้นเลว นักโทษชั้นกลาง นักโทษชั้นดี นักโทษชั้นดีมาก ที่สำคัญคือนักโทษชั้นเยี่ยม ซึ่งจัดเอาไว้อย่างนั้นเผื่อนำไปใช้พิจารณา เพื่อเป็นประโยชน์ ซึ่งในพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษระบุไว้ว่า นักโทษแต่ละประเภทได้ลดโทษเหลือจำนวนเท่าใด การมีระดับชั้นเหมือนมียี่ห้อและคะแนน
“ที่ผ่านมาเราไม่ได้ใช้หลักเกณฑ์รับโทษ 1 ใน 3 หรือ 8 ปี แต่ใช้คะแนนของนักโทษเป็นหลัก แต่บัดนี้หลักเกณฑ์ที่จะนำไปสู่การอภัยโทษคือการรับโทษ 1 ใน 3 หรือ 8 ปี แล้วจึงค่อยมาดูว่ามีคะแนนเท่าไหร่”
เมื่อถามว่า หลักเกณฑ์นี้ใช้กับนักโทษทุกประเภทใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า หลักเกณฑ์คือทุกกรณี แต่จะมีความเข้มงวดในคดีบางประเภท เช่น คดียาเสพติด คดีทุจริต และคดีอุกฉกรรจ์มหันตโทษ อย่างกรณีผู้อำนวยการโรงเรียนปล้นร้านทองและฆ่าคนตายในที่เกิดเหตุ โดยศาลลงโทษประหารชีวิต เมื่อนักโทษต้องโทษประหารชีวิตและได้ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ก็จะเปลี่ยนมาเป็นจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งกลุ่มนี้จะไม่มีการลดโทษอีก เพราะในแต่ละคดีมีความแตกต่างกัน แต่หากไม่มีการผ่อนอะไรเลยจะทำให้นักโทษล้นคุกและอยู่โดยไม่มีความหวังว่าจะมีโอกาสบรรเทาเบาบางโทษลงอย่างไร อาจจะนำไปสู่การก่อเหตุจลาจลในคุกได้ จึงต้องมีสิ่งจูงใจให้ทำความดีเพื่อให้ได้คะแนน
เมื่อถามว่า อาจจะกลายเป็นดาบสองคมทำให้คนไม่กลัว เพราะเมื่อทำความผิดจะติดคุกไม่นานหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า อย่างน้อยก็มีระยะเวลาปลอดภัยที่สังคมการันตีได้ว่าคนเหล่านี้จะไม่ออกมาเร็วเกินควร แต่ถ้าติดคุกแค่ 5 ปีหมายความว่า ไม่ใช่คดีสำคัญอยู่แล้ว ที่เป็นห่วงคือ นักโทษที่มีโทษหนักถูกจำคุก 50 ปี บางคนไม่ได้มีคดีเดียวอาจมีปัญหาว่าจะใช้หลักเกณฑ์ 1 ใน 3 ของคดีอะไร ซึ่งได้ตกลงกันแล้วว่า นักโทษนั้นต้องอยู่ในคุกกี่ปี เมื่อคำตอบคือ 50 ปีก็ให้คิด 1 ใน 3 จาก 50 ปี
วิษณุแจงหลักการพระราชทานอภัยโทษ
"บุญทรง" ใช้เกณฑ์เก่า (หลักการให้คะแนน)
"วัฒนา" ใช้เกณฑ์ใหม่ (หลักจำคุกมาแล้ว 1 ใน 3 หรือ 8 ปี)
"ทักษิณ" ใช้เกณฑ์ใหม่กว่า (หลักพระราชอำนาจเบ็ดเสร็จ)
------------------------
เมื่อปีที่แล้ว อ.(อ่านว่า อี) วิษณุ ให้ส้มภาษณ์ว่าต่อไปนี้เกณฑ์ของ ครม. ในการพิจารณาพระราชทานอภัยโทษ คือ ต้องรับโทษมาแล้วอย่างต่ำ 1 ใน 3 หรือ 8 ปี แล้วแต่ว่าอันไหนถึงก่อนกัน เมื่อครบแล้วถึงเริ่มพิจารณาคะแนนว่าเป็นนักโทษชั้นดีหรือไม่ ต่อไปนี้นักโทษเด็ดขาดทุกกรณีจะใช้หลักเกณฑ์เดียวกันหมด จะไม่มีการใช้คะแนนอย่างเดียวแบบแต่ก่อน
พอมากรณีของทักษิณ เปลี่ยนคำพูดเฉยเลย บอกว่าเป็นพระบรมราชวินิจฉัยในการใช้พระราชอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อ.ห.
-----------------------
(เนื้อหาข่าว)
"นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ได้รายงานในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับการอภัยโทษ ซึ่งเป็นการปรับปรุงแนวทางการจัดชั้น เลื่อนชั้นนักโทษ เพื่อให้มีแนวทางที่ชัดเจนขึ้นว่า สรุปให้ ครม.รับทราบและนายกรัฐมนตรีรับทราบ
เมื่อถามถึงกรณีมีการเน้นย้ำถึงหลักเกณฑ์ว่าจะต้องได้รับโทษมาแล้ว 1 ใน 3 จึงจะดีกว่า นายวิษณุ กล่าวว่า จากนี้ไปศาลจะลงโทษเท่าไหร่ก็ตามต้องรับโทษอย่างน้อย 1 ใน 3 หรือ 8 ปี สุดแท้จะถึงกำหนดใดก่อนกัน เพราะบางคนถูกลงโทษจำคุก 50 ปี ถ้าคิดเป็น 1 ใน 3 ก็เกือบ 20 ปี ซึ่งบางคนเป็นนักโทษชั้นดี ชั้นเยี่ยมมาตลอด 8 ปีก็อาจออกมาได้ เมื่อนักโทษเข้าเรือนจำวันแรก จะมีการจัดชั้นว่าเป็นนักโทษชั้นเลว นักโทษชั้นกลาง นักโทษชั้นดี นักโทษชั้นดีมาก ที่สำคัญคือนักโทษชั้นเยี่ยม ซึ่งจัดเอาไว้อย่างนั้นเผื่อนำไปใช้พิจารณา เพื่อเป็นประโยชน์ ซึ่งในพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษระบุไว้ว่า นักโทษแต่ละประเภทได้ลดโทษเหลือจำนวนเท่าใด การมีระดับชั้นเหมือนมียี่ห้อและคะแนน
“ที่ผ่านมาเราไม่ได้ใช้หลักเกณฑ์รับโทษ 1 ใน 3 หรือ 8 ปี แต่ใช้คะแนนของนักโทษเป็นหลัก แต่บัดนี้หลักเกณฑ์ที่จะนำไปสู่การอภัยโทษคือการรับโทษ 1 ใน 3 หรือ 8 ปี แล้วจึงค่อยมาดูว่ามีคะแนนเท่าไหร่”
เมื่อถามว่า หลักเกณฑ์นี้ใช้กับนักโทษทุกประเภทใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า หลักเกณฑ์คือทุกกรณี แต่จะมีความเข้มงวดในคดีบางประเภท เช่น คดียาเสพติด คดีทุจริต และคดีอุกฉกรรจ์มหันตโทษ อย่างกรณีผู้อำนวยการโรงเรียนปล้นร้านทองและฆ่าคนตายในที่เกิดเหตุ โดยศาลลงโทษประหารชีวิต เมื่อนักโทษต้องโทษประหารชีวิตและได้ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ก็จะเปลี่ยนมาเป็นจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งกลุ่มนี้จะไม่มีการลดโทษอีก เพราะในแต่ละคดีมีความแตกต่างกัน แต่หากไม่มีการผ่อนอะไรเลยจะทำให้นักโทษล้นคุกและอยู่โดยไม่มีความหวังว่าจะมีโอกาสบรรเทาเบาบางโทษลงอย่างไร อาจจะนำไปสู่การก่อเหตุจลาจลในคุกได้ จึงต้องมีสิ่งจูงใจให้ทำความดีเพื่อให้ได้คะแนน
เมื่อถามว่า อาจจะกลายเป็นดาบสองคมทำให้คนไม่กลัว เพราะเมื่อทำความผิดจะติดคุกไม่นานหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า อย่างน้อยก็มีระยะเวลาปลอดภัยที่สังคมการันตีได้ว่าคนเหล่านี้จะไม่ออกมาเร็วเกินควร แต่ถ้าติดคุกแค่ 5 ปีหมายความว่า ไม่ใช่คดีสำคัญอยู่แล้ว ที่เป็นห่วงคือ นักโทษที่มีโทษหนักถูกจำคุก 50 ปี บางคนไม่ได้มีคดีเดียวอาจมีปัญหาว่าจะใช้หลักเกณฑ์ 1 ใน 3 ของคดีอะไร ซึ่งได้ตกลงกันแล้วว่า นักโทษนั้นต้องอยู่ในคุกกี่ปี เมื่อคำตอบคือ 50 ปีก็ให้คิด 1 ใน 3 จาก 50 ปี