วันจันทร์, กันยายน 11, 2566

‘ซ้อฟพาวเวอร์’ คืออะไร รัฐมนตรีไทยชอบสะเพร่าเรียกว่า ‘ซ้อฟแวร์’ ที่แท้มันคือ ‘อำนาจนุ่ม’ หรือ ‘พลังละมุน’ นั่นเอง

ภาษาไหนๆ ย่อมผันไปตามพลวัต ภาษาไทยก็เช่นกัน เดี๋ยวนี้เห็นมีใช้ทับศัพท์ฝรั่งอิงลิชไม่น้อย จนทำให้คนรุ่นเก่า โดยเฉพาะรัฐมนตรีเอาไปใช้สลับสับสนอยู่บ่อยๆ เช่นคำว่า ซ้อฟพาวเวอร์ ที่ชอบเผลอไผลไปเป็น ซ้อฟแวร์ กันประจำ

พอดีมีนักอ่านท่านหนึ่งนำมาอธิบาย จากหนังสือของ “Joseph Nye Jr. นักรัฐศาสตร์และศาสตราจารย์ชาวอเมริกัน...เขาได้แนะนำแนวคิดนี้ครั้งแรกในบทความปี 1990...ต่อมาได้รับการขยายความในหนังสือของเขาในปี 2004 เรื่อง "Soft Power: The Means to Success in World Politics

Bow Kajeeporn Techataveekijkul ทำงานวิจัยเรื่อง Soft Power และเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ไว้ในภาคภาษาไทยว่า “เป็นแนวคิดในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและรัฐศาสตร์ที่อ้างถึงความสามารถของประเทศในการโน้มน้าวผู้อื่นด้วยวิธีการที่ไม่บีบบังคับ”

โดยใช้แรงดึงดูดทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือ ในบริบทที่ตรงข้ามกับ Hard Power (ซึ่งยังไม่เห็นรัฐมนตรีคนไหนเอาไปใช้สับสนกับคำ ‘Hard Core’) เนื่องจากว่า อำนาจหนัก (คำที่คุณโบว์ใช้เรียกนี้) หมายถึงการใช้กำลังทางกายภาพที่เหนือกว่าบังคับ

ข้อเขียนของคุณโบว์ยกตัวอย่างการใช้ซ้อฟพาวเวอร์หลายอย่าง เช่นภาพยนตร์เรื่อง James Bond หรือหนังฮอลลีหวูดเรื่อง Rocky IV ว่ามันเป็นความสามารถแบบแฝงเร้น และพลังความอดทน มุ่งมั่นปักหลักสู้จนถึงที่สุด

เธอยังอ้างถึง “การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม” เช่น อเมริกาในสงครามเย็นใช้ดนตรีแจ๊สเป็นตัวนำร่องครอบครองกำแพงต้านในภาวะจิตใจของฝ่ายตรงข้าม ใน ‘Cold War’ นั้น เช่นกันกับ สถาบันขงจื้อ เป็นหัวหอกทะลวงค่านิยมในประเทศเขตอิทธิพล

สำหรับประเทศไทย นอกจากรับเอาอำนาจนุ่มของดนตรีแจ๊สอเมริกันผ่านทางประมุของค์ก่อนแล้ว ยังซึมซับกับพลัง ‘Cool Japan’ ของญี่ปุ่น กับ ความเก๋ไก๋ของ ‘K-Pop’ จากเกาหลีใต้ เอาไว้อย่างแนบแน่นอีกด้วย

ไม่เท่านั้นภาพยนตร์ซีรี่ส์เกาหลีใต้ ก็เป็นอิทธิพลไม่เบาต่อภูมิปัญญาไทย จนทำให้มีความพยายามของรัฐบาลชุดใหม่นี้ ที่จะสร้างซ้อฟพาวเวอร์ต่างๆ ขึ้นมาเป็นสัญญลักษณ์ให้เห็นความ คูล แบบไทยๆ แต่ก็ยังไปไม่คล่อง

จึงใคร่เสนอแนะเพิ่มเติมไว้ตรงนี้ ให้จัดการแก้ปัญหาการใช้ศัพท์สับสน โดยนำคำไทยๆ มาทดแทนเสียบ้างก็จะดี โดยเฉพาะคำ Soft Power นี้อาจจะแปลตามตัวว่า อำนาจนุ่ม หรือดัดแปลงเล็กน้อยเป็น พลังละมุนยังได้

ผู้เชียนสังเกตุว่าคำไทยพื้นบ้านหลายอย่าง คนรุ่นใหม่ชอบเอามาใช้กัน ไฉนคนรุ่นเก่าที่กระตือรือล้นอยู่ในตำแหน่งอำนาจ ไม่รู้จักหยิบฉวยมาใช้บ้าง แทนที่จะรอให้ ราชบัณฑิต คิดแทน เอา ศัพท์แขก อ่านยากเขียนยาก มาสวม

(https://www.facebook.com/photo/?fbid=10160133445113393&set=a.495612238392)