วันอาทิตย์, กันยายน 10, 2566

เหล้าเก่าในขวดใหม่ นโยบายใช้นักเลงคุมนักเลง มีใช้มานามแล้ว ในประวัติศาสตร์ไทย

หนังสือที่อ้างอิงถึง

Parit Chiwarak
9h
·
ธรรมทานรายวันว่าด้วยผู้มีอิทธิพลในประวัติศาสตร์ไทย
รัฐสยาม/ไทยมีนโยบายใช้นักเลงคุมนักเลงมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์เป็นอย่างช้า เนื่องจากตัวรัฐส่วนกลางมีศักยภาพจำกัดในการควบคุมปกครองประชากรโดยตรงจึงต้องอาศัยผู้มีอิทธิพลในแต่ละท้องที่ให้ควบคุมกันเอง แล้วค่อยพยายามดึงผู้มีอิทธิพลดังกล่าวเข้าสู่ระบบการปกครองของรัฐ ในสมัยศักดินาก็ใช้วิธีแต่งตั้งให้เป็นขุนนางระดับล่างหรือกรมการเมือง อยู่ภายใต้อาณัติของเจ้าเมืองที่เป็นขุนนางส่วนกลาง ต่อมาสมัยรัฐสมบูรณาญาสิทธิก็ใช้วิธีแต่งตั้งผู้นำชาวนาเป็นกำนันผู้ใหญ่บ้านให้อยู่ภายใต้อำนาจปกครองของนายอำเภอข้าหลวง ส่วนพวกที่ไม่ยอมเข้าร่วมระบบโครงสร้างนี้ก็กลายเป็น “เสือ” ต่าง ๆ ไป สมัยประชาธิปไตยจึงเริ่มมีพลวัตต่าง ๆ นานามาจนปัจจุบัน ซึ่งจะยังไม่ค่อยกล่าวถึงเพราะไม่ได้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้
ดังนั้น นโยบายการขึ้นทะเบียนผู้มีอิทธิพลจึงเป็นแนวนโยบายโบราณที่ปรากฏมานานแล้วในประวัติศาสตร์ไทย เพียงแต่แต่งรูปลักษณ์และรายละเอียดให้เป็นไปตามยุคสมัย กล่าวคือเป็นเหล้าเก่าในขวดใหม่นั่นเอง
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ไชยันต์ รัชชกูล, อาณานิคมสมบูรณาญาสิทธิราชย์. แปลโดยพงศ์เลิศ พงศ์วนานต์ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: อ่าน, 2564.