วันพุธ, พฤศจิกายน 04, 2563

IO มั่ว ปั้นน้ำกุข่าวแกนนำปลดแอก ขอลี้ภัยในอเมริกา แถมบอก CIA ตอบรับแล้ว... 555 คุณดวงจำปาเลยให้ข้อมูลเรื่องลี้ภัย


Doungchampa Spencer-Isenberg
19h ·

วันนี้ตอนเช้ามีเพื่อนส่ง Status นี้มาให้อ่าน และถามความคิดเห็นของดิฉันว่าจริงเท็จแค่ไหน
.
ในฐานะที่ทำงานเป็นพนักงานของรัฐมาหลายปีกับกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐอเมริกา (Department of the Interior) ในเวลานี้และอีกหลายกระทรวงมาในอดีตมาก่อน อย่างเช่น Department of Justice และ Department of State ก็ขอตอบให้เป็นข้อๆ ทีละประโยคเลย เพราะฉะนั้น Status อาจจะยาวหน่อย แต่รวมรายละเอียดไว้ให้หมดทุกประการ:
.
.
1. การทำเรื่องลี้ภัย ไม่สามารถทำได้ เมื่อบุคคลเหล่านั้น ยังอยู่ในประเทศของตน สถานะของผู้ลี้ภัย (Asylees) ต่างกันกับผู้อพยพ (Refugees) เพราะผู้อพยพต้องถูกกระทำการจนอยู่ในประเทศตนเองไม่ได้
.
ตัวอย่างเช่น เมื่อในสมัยอดีต ประเทศกัมพูชาต้องแตกออกมาหลายฝ่าย และทางไทยจัดค่ายอพยพ ผู้คนที่หนีเข้ามาตามชายแดน และอยู่ในค่ายกักกันคือ ผู้อพยพ (Refugees) ไม่ใช่ผู้ลี้ภัย
.
2. ผู้ลี้ภัยจะต้องมีวีซ่าเดินทางเข้ามาในสหรัฐอเมริกาก่อน (เท่าที่ทราบมา มีเพียงสองสามประเทศในโลกที่อนุญาตให้บุคคลที่ต้องการลี้ภัยสามารถเดินทางออกมาโดยปราศจากวีซ่า และสามารถเข้าประเทศนั้นๆ ได้จากวีซ่าที่ออกให้โดยสถานทูตเป็นการชั่วคราว และจากนั้นไปส่งเรื่องขออนุมัติวีซ่าเพื่อการลี้ภัยกับทางการภายหลัง)
.
สำหรับของสหรัฐอเมริกา เมื่อผู้ขอลี้ภัยจะต้องเดินทางเข้ามา และผ่านการตรวจคนเข้าเมืองแล้วว่า มีวีซ่าทุกอย่างโดยเรียบร้อย จากนั้น ก็ขอทำเรื่องกันทีหลังว่า จะขอลี้ภัยกันอย่างไร (จริงๆ จะทำเรื่องหลังจากเข้าเลยตอนนั้นก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ทำกัน เพราะเหนื่อย หิว เวลาเปลี่ยน แถมอาจจะต้องไปอยู่ในห้องสอบสวนอีก ซึ่งใช้เวลานาน และอาจจะตกเครื่อง หากต้องต่อไปที่อื่นๆ กัน ส่วนใหญ่จะทำกันทีหลัง หลังจากถึงจุดหมายพักผ่อนกันแล้ว)
.
.
-----------------------------------------
.
.
3. หน่วยงานที่ประสานเกี่ยวกับเรื่องการลี้ภัยมีอยู่หน่วยงานเดียวคือ หน่วยงานของ USCIS หรือ United States Citizenship and Immigration Services ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิหรือ Department of Homeland Security
.
ขอเสริมอีกนิดหนึ่งคือ หากผู้ลี้ภัยไม่ประสงค์ที่จะทำเรื่องที่ประเทศปลายทาง ตัวผู้ลี้ภัยสามารถยื่นเรื่องกับองค์กรอีกองค์กรหนึ่งชื่อว่า UNHCR (United Nations High Commissioners for Refugees) หรือสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติได้เช่นกัน แต่ต้องไปยื่นในประเทศอื่น จะทำเรื่องยื่นในประเทศของตนเองไม่ได้ แต่ถ้าเป็นแบบนี้ หากได้รับการอนุมัติ ทางเจ้าตัวอาจจะไป End up ในประเทศหนึ่งประเทศใดที่ตนเองอาจจะไม่ปรารถนาได้ และมันก็ยากที่จะเปลี่ยนประเทศอีก เรื่องแบบนี้ มีผู้ลี้ภัยไม่กี่คน ที่หาทางออกด้วยการใช้วิธีนี้ ส่วนตัวดิฉันเอง ไม่มีประสบการณ์ทำเรื่องกับ UNHCR แต่ก็ขอบันทึกไว้ให้ครบถ้วน
.
ส่วนหน่วยงาน Central Intelligence Agency หรือ CIA เป็นหน่วยงานของสำนักข่าวกรองกลาง และรายงานโดยตรงกับผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (Director of National Intelligence หรือ DNI) ซึ่งขึ้นโดยตรงกับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
.
พูดง่ายๆ คือ เรื่องการลี้ภัยเหล่านี้ ไม่มีการเกี่ยวข้องใดๆ กับองค์การ CIA เลย และดิฉันก็แปลกใจมากๆ ที่ข้อมูลของ CIA สามารถ “รั่วไหล” ออกมาจนผู้เขียนสามารถตั้ง Status ขึ้นมาเองได้
.
.
4. การอนุมัติผู้ลี้ภัยว่าใครจะได้หรือใครจะไม่ได้นั้น อยู่ที่ผลของการสัมภาษณ์ รวมไปถึงโควต้า (Quotas) ของจำนวนผู้ขอลี้ภัยในแต่ละปี และผสมกับความรุนแรงในแต่ละเคสที่ยื่นเรื่องส่งขึ้นไป
.
ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่ถูกทำร้ายร่างกาย (รวมทั้งถึงขนาดถูกตัดอวัยวะเพศจนฉีกขาด, ถูกทุ่มด้วยก้อนหิน และ หลบหนีความตายออกมาจากประเทศนั้นๆ) เคสประเภทนี้จะได้รับการพิจารณาจากมูลของความรุนแรง (Severity) และได้รับการพิจารณาขอสถานะให้ก่อน (Priority)
.
ตามปกติแล้ว โควต้าจะเต็มเร็วทุกปี และเคสที่ถูกพิจารณาแล้ว ก็จะถูกยกยอดไปอยู่ในปีหน้าหรือปีต่อๆ ไป
.
อย่าลืมว่า ไม่ใช่คนจากประเทศไทยประเทศเดียวที่ยื่นเรื่องขอการลี้ภัย มีประเทศอื่นๆ ทั่วโลกเช่นกัน เพราะฉะนั้น การได้รับอนุมัติไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และใช้เวลาอย่างรวดเร็ว ตามที่โพสต์ไว้เลย
.
.
-----------------------------------------
.
.
5. หลักที่สำคัญของการอนุมัติการลี้ภัย คือ ต้องมีการพิสูจน์ว่า หากกลับไปยังประเทศของตนแล้ว มีโอกาสถึงแก่ชีวิตจากการกระทำอันรุนแรงของรัฐบาลหรือกลุ่มผู้มีอำนาจในประเทศได้ (Life Threatening Situation) และการอนุมัติการลี้ภัยในแต่ละเคส จะขึ้นอยู่กับการประเมิน + การวิเคราะห์สถานการณ์ของรัฐบาลนั้นๆ ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศ (Department of State) จะมีการพิจารณากันในทุกๆ ปี
.
คำถามที่สำคัญที่สุดคือ Do you fear harm or mistreatment if you return to your home country? แปลง่ายๆ คือ ท่านมีความหวาดกลัวที่จะถูกปฏิบัติอย่างรุนแรงหรือเลวร้ายหรือไม่ หากท่านเดินทางกลับไปยังประเทศบ้านเกิดของท่าน? ผู้ลี้ภัยทุกคนจะต้องตอบคำถามข้อนี้ด้วยการอธิบายรายละเอียด เพื่อเป็นหลักประกันต่อการถูกปฏิเสธคำขอร้อง (ไม่ถึงกับถูกส่งตัวกลับ แต่จะมีเรื่องการอุทธรณ์ขึ้นมาอีก ซึ่งใช้เวลานานมากๆ อาจจะเป็นปีๆ ด้วย)
.
เรื่องนี้ สามารถถามผู้ลี้ภัยในสหรัฐอเมริกาได้ทุกราย เพราะบางคน รอมาเป็นเวลานานหลายปี กว่าจะได้รับอนุมัติกัน บางคนก็สัมภาษณ์ไปนานกว่าสามปีแล้ว ยังไม่ได้รับการอนุมัติเลย ยังรอผลกันอยู่ด้วย
.
.
6. คำว่า “เด็กเหล่านี้จะไปชุบตัว และไปเรียนหนังสือต่อ” นั้น เป็นการดูถูกคนที่เข้ามาเรียนกันในสหรัฐอเมริกามากๆ เหตุผลง่ายๆ คือ สถานศึกษาต่างๆ จะอนุมัติให้นักศึกษาต่างชาติเข้าเรียนได้นั้น ตัวนักศึกษาต่างชาติเอง จะต้องผ่านการทดสอบความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษกันก่อน อย่างเช่น TOEFL, GRE, GMAT ฯลฯ ที่เราเห็นคนไทยไปเรียนกวดวิชาภาษากัน เพื่อเตรียมตัวสอบเรื่องนี้
.
.
ไม่มีสถาบันไหนรับนักศึกษาต่างชาติที่ไม่สามารถเข้าใจภาษาอังกฤษอย่างดีพอ เข้าไปเรียนตามหลักสูตรที่สถาบันกำหนดไว้ได้ เพราะจะกลายเป็น “ตัวถ่วง” ให้กับนักศึกษาคนอื่นๆ ในชั้นเรียนกัน บางคนต้องไปเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มกันอีกหลายเทอม กว่าจะได้รับอนุมัติให้ลงเรียนวิชาจริงได้ การเรียนรู้และเข้าใจภาษาอังกฤษอย่างถ่องแท้ ใช้เวลานาน ไม่ใช่ปีเดียว รวมทั้งการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตประจำวันที่นี่ด้วย ไม่ว่าจะอยู่รัฐไหนก็ตาม
.
.
-----------------------------------------
.
.
7. “ทุนของสหรัฐอเมริกา” เรื่องนี้ ยิ่งแย่มากๆ เพราะทุนการศึกษาหรือ Scholarship เป็นทุนที่บุคคลหรือองค์กรต่างๆ ให้กับทางมหาวิทยาลัยกัน (ไม่ใช่มาจาก “รัฐบาลกลาง” เพราะสหรัฐอเมริกา ไม่ใช่ "รัฐเดี่ยว" แบบไทย) และขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละสถาบันและของรัฐ
.
ทุนการศึกษาส่วนใหญ่นั้น นักศึกษาชาวอเมริกันทั่วไปจะต้องมีสิทธิ์สมัครได้ด้วย ไม่อย่างนั้นจะถูกฟ้องเรื่อง การเลือกที่รักมักที่ชัง (Discrimination) ซึ่งไม่มีใครต้องการแบบนั้น (อาจจะมีทุนการศึกษาเล็กๆ ประเภท Ethnics อย่างเช่น Asian, Hispanic, Black ฯลฯ เข้ามา เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาชนกลุ่มน้อยแบบ Minority กัน แต่ไม่ใช่ประเภทเป็นพันๆ เหรียญต่อเทอมแบบนั้น)
.
อีกประการหนึ่งคือ นักศึกษาผู้ได้รับทุนการศึกษาจากใครก็ตาม ก็จะต้องไฟล์ภาษีรายได้ว่า ระบุว่าทุนเหล่านี้มาจากไหน จะมีฟอร์มเรียกว่า 1098-T ซึ่งเป็นทุน Scholarship ส่งมาตอนหลังปีใหม่อีกด้วย เรื่องเหล่านี้มีที่ไปที่มาเสมอ เพราะเป็นความโปร่งใสเองว่า ทุนการศึกษา และทุนการเล่าเรียนเหล่านี้ มาจากที่ไหนบ้าง (ป้องกันเรื้องการได้รับทุนการศึกษาจากการฟอกเงิน, การก่อการร้าย, จากเรื่องมิจฉาชีพ ฯลฯ)
.
.
8. ลำดับสุดท้าย กล่าวว่า “คงจะกลับมาเป็นอาจารย์ที่ธรรมศาสตร์” อีก เรื่องนี้ยิ่งเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากเหตุผลย่อยๆ ดังต่อไปนี้คือ:
.
8.1. หลักแรกของการขอลี้ภัยคือ ผู้ขอลี้ภัยจะเดินทางกลับไปประเทศที่ตนออกมาแล้ว “ไม่ได้” เพราะไม่อย่างนั้น จะไปขัดกันกับหลักการเรื่อง “ความปลอดภัยของชีวิต” (Do you fear harm or mistreatment if you return to your home country?) ตามเอกสารที่ยื่นให้ครั้งแรกกับทางการเรื่องการขอลี้ภัย
.
8.2. หากได้รับอนุมัติการลี้ภัยแล้ว เจ้าตัวจะได้รับเอกสารฉบับหนึ่ง เรียกว่า “เอกสารการเดินทาง” หรือ Travel Document ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับ Passport และใช้เดินทางข้ามประเทศได้ แต่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากๆ เพราะต้องขอวีซ่าเข้าประเทศที่ตนเองต้องการไป และน้อยประเทศที่ออกวีซ่าประเภท Visa on Arrival ให้
.
8.3. เอกสารการเดินทางจะระบุในนั้นเลยว่า ผู้ถือเอกสารไม่สามารถเดินทางไปประเทศไหนได้บ้าง สมมติว่า ผู้ลีัภัยเดินทางออกมาจากประเทศไทย เอกสารจะระบุทันทีว่า THAILAND เป็นชื่อประเทศที่เอกสารนี้ ซึ่งตัวผู้ลีภัยเองไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางได้
.
8.4. หากตัวผู้ลีภัยตัดสินใจเดินทางไปยังประเทศไทย การไฟล์เรื่องครั้งแรกว่า “มีอันตรายถึงชีวิต” ก็จะกลายเป็นเรื่อง “โกหก” และตัวผู้ลี้ภัยเอง จะถูกฟ้องทางแพ่งและทางอาญา เพราะมีค่าเสียหาย, ค่าเลี้ยงดูจากการอนุมัติให้ใบอนุญาตการทำงาน, การแย่งโควตาของบุคคลที่สมควรได้รับอนุมัติการลี้ภัยไป ฯลฯ อีกมาก
.
ผู้ที่ได้รับการลี้ภัยแล้ว จะไม่ทำอย่างนั้น คือ เจ้าตัวจะรอจนกระทั่งได้รับ Green Card และดำเนินเรื่องเพื่อการของการเป็นพลเมืองถือสัญชาติในประเทศสหรัฐอเมริกากันต่อไป
.
8.5. หากอยากจะกลับไปสอนหนังสืออย่างที่ระบุไว้ และเป็นพลเมืองของสหรัฐอเมริกา ก็จะโดนเรื่องภาษีรายได้อีก เพราะบุคคลสัญชาติสหรัฐอเมริกาจะต้องยื่นภาษีรายได้ ไม่ว่ารายได้จะมาจากที่ไหนในโลก
.
8.6. หากเดินทางกลับไปอย่างว่า และเกิดเหตุการณ์ปราบปรามอีก บุคคลเหล่านี้จะไม่สามารถสมัครเรื่องขอการลี้ภัยได้อีกเป็นครั้งที่สอง เพราะทำการสละสิทธิ์จากการเดินทางเข้าประเทศบ้านเกิดอันเป็นที่ "ต้องห้าม" ตามเอกสารไปเรียบร้อยแล้ว
.
8.7. ดิฉันมั่นใจว่า หากดำเนินการจนกลายเป็นพลเมืองของประเทศหรือแม้แต่ได้รับ Green Card แล้ว ก็ยังสงสัยเหมือนกันว่า จะกลับไป “สอนหนังสือในธรรมศาสตร์” และได้รับ “ค่าตอบแทน” แบบเงินไทยกันทำไม เพราะต้องไปเริ่มสวัสดิการใหม่ ถูกขุดประวัติเรื่องต่างๆ ในอดีตขึ้นมา มีแต่เสียกับเสียทุกอย่าง และอาจจะถูกกีดกันเรื่องความก้าวหน้าและเสียโอกาสทำมาหากินในชีวิตต่อไปอีก
.
.
-----------------------------------------
.
.
9. ขอเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่ง คือ หลักฐานที่สำคัญที่สุดในการขอลี้ภัยในสหรัฐอเมริกาเพื่อประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ ผู้ขอลี้ภัยต้องมี "หมายจับ" หรือ Arrest Warrant ออกมาจากทางการไทยก่อน เพราะจะต้องแสดงเหตุผลว่า ถูกหมายจับเพราะอะไร (ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการแสดงออกทางการเมือง) เรื่องนี้ ผู้ทำการขอลี้ภัยในสหรัฐฯ ทราบกันดีว่า นี่คือหลักฐานที่สำคัญมากๆ ต่อโอกาสที่จะได้รับการอนุมัติหลังจากการสัมภาษณ์แล้ว
.
.
เพราะฉะนั้น มันก็จะไปขัดกันอีกว่า หากมี "หมายจับ" และ "หลบหนี" ออกมาแล้ว ทางไทยจะไป "รับกลับมาสอนหนังสือที่ธรรมศาสตร์" ได้อย่างไร? เพราะตามกฎหมายแล้ว พวกนี้จะถูกจับเข้าคุกก่อนหลังจากลงเครื่องจากสนามบินอย่างแน่นอน และไม่มีทางที่จะเดินเตร่ไปไหนได้ง่ายๆ เพราะต้อง ถูกรวบตัวหรือนำตัวเข้าคุกอย่างรวดเร็วที่สุด...
.
.
-----------------------------------------
.
.
จากเหตุผลที่กล่าวมาทุกอย่าง ดังนั้น จากรายละเอียดที่เขียนให้อ่านแล้ว ดิฉันมั่นใจว่า ผู้เขียน Status ท่านนั้น มีความประสงค์อยู่สองอย่างคือ:
.
1. ต้องการโจมตีว่า สหรัฐอเมริกาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของนักเรียน, นิสิต, นักศึกษาเหล่านี้ และ
.
2. ต้องการโจมตีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งสอนให้นักศึกษาเหล่านี้มีความคิดความอ่านอยู่นอกระบบที่เคยสร้างกันไว้ แค่นั้นเอง
.
จึงขอเขียน Status ไว้แห่งเดียว เพื่อให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวอ้างเหล่านี้กัน ขอบคุณที่อ่านจนถึงบรรทัดสุดท้ายค่ะ
.
.
Have a great and Pleasant Tuesday. Stay safe ค่ะ
.
.
Doungchampa Spencer-Isenberg


https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3546541328722189&id=804632636246419