วันอังคาร, พฤศจิกายน 17, 2563

อ่านข้อเสนอ #แก้รัฐธรรมนูญ โดยประชาชน ที่ไม่มีในร่างอื่น และสาเหตุที่แท้จริงที่ต้องคว่ำร่าง iLaw



iLaw
11h ·

ข้อเสนอ #แก้รัฐธรรมนูญ โดยประชาชน ที่ไม่มีในร่างอื่น
(ทำความเข้าใจข้อเสนอของประชาชนทั้งหมด ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/5780)
.
++ 1. ยกเลิก ส.ว. 250 คน ที่ คสช. เลือกมา ++
.
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ได้กำหนดให้ยกเลิก ส.ว. ชุดพิเศษ 250 คนที่มาจากการคัดเลือกของ คสช. และลดจำนวนส.ว. เหลือ 200 คน โดยต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดและใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง การคำนวณจำนวน ส.ว. ต่อหนึ่งจังหวัด ยึดระบบเดียวสัดส่วนตามจำนวนประชากรเหมือนกับระบบเลือกตั้งส.ว. ในรัฐธรรมนูญ 2540
.
++ 2. ยกเลิก แผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิรูปประเทศ ของ คสช. ++
.
ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนได้ยกเลิกมาตรา 65 และ 275 ที่ให้ คสช. แต่งตั้งคนของตัวเองขึ้นมาเขียนแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ขีดชะตาอนาคตประเทศด้วยการกำหนดให้การจัดทำงบประมาณแผ่นดิน / นโยบายรัฐบาล / การทำงานของหน่วยงานราชการ ต้องเป็นไปตามแผนการนี้
.
และยกเลิก หมวด 16 การปฏิรูปประเทศด้วยแผนที่เขียนโดยคนของ คสช. คลายล็อคที่กำหนดให้ ครม. ต้องคอยแจ้งความคืบหน้าการทำตามแผนปฏิรูปประเทศต่อรัฐสภาทุก 3 เดือน ตัดอำนาจ ส.ว. ในการติดตาม / เสนอแนะ / เร่งรัดแผนปฏิรูปประเทศ
.

++ 3. ยกเลิก ที่มาองค์กรตรวจสอบ ให้สรรหาใหม่ ++
.
ปรับกระบวนการสรรหาองค์กรอิสระจากที่ให้คนในองค์กรอิสระหมุนเวียนเก้าอี้เลือกกันเอง เปลี่ยนมาเป็นกระบวนการสรรหาให้เหมาะสมตามภารกิจของแต่ละองค์กร ยกเลิกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เขียนโดยคนของ คสช. ทั้ง 7 ฉบับ ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระชุดปัจจุบันพ้นจากตำแหน่ง แต่ยังคงให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่ และสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและกกต. ชุดใหม่ โดยวิธีตามรัฐธรรมนูญ 2540
.
++ 4. เปิดทางตั้ง สสร. จากการเลือกตั้ง 100% ไม่แบ่งเขตจังหวัด ++
.
ร่างรัฐธรรมนูญประชาชน ได้เปิดทางให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน 100% โดยสสร. จะสมัครเป็นรายบุคคลหรือเป็นตัวแทนกลุ่มก็ได้ ประชาชน 1 คนเลือก สสร. ได้เพียง 1 คนหรือ 1 กลุ่ม
ไม่แบ่งเขตเลือกตั้งตามท้องที่หรือจังหวัดเหมือนการเลือกตั้งสสร. ในอดีตและการแบ่งเขตเลือกสสร. ของร่างรัฐบาลกับร่างเพื่อไทย แต่ใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ด้วยสูตรคำนวณแบบสัดส่วนจำนวนประชาชนที่เลือกต่อสสร. และกำหนดให้สสร.ต้องจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ประชาชนมีส่วนร่วมให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน
.
++ 5. เปิดทางร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ทุกหมวดทุกมาตรา ++
.
ร่างรัฐธรรมนูญฝ่ายค้านได้กำหนดห้ามไม่ให้สสร. ทำร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลแก้หมวด 1 บททั่วไป และ หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ส่วนร่างของรัฐบาลเขียนไว้ว่าจะจัดทำร่างรัฐธรรมนูญที่แก้หมวด 1 และหมวด 2 “ไม่ได้”
ร่างรัฐธรรมนูญของภาคประชาชน “ไม่ห้าม” สสร. ในการร่างรัฐธรรมนูญที่เปลี่ยนแปลงเนื้อหาทั้งสองหมวด สสร. ที่มาจากประชาชน มีอิสระในการจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่สอดคล้องกับเจตจำนงของประชาชน ร่างได้ทุกหมวด ทุกมาตรา ในอดีตเองก็มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในหมวด 1 เช่น ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 กำหนดให้อำนาจอธิปไตย “มาจาก” ปวงชนชาวไทย ส่วนในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 อำนาจอธิปไตย “เป็นของ” ปวงชนชาวไทย ดังนั้น สสร. จึงต้องแก้ไขได้ทุกหมวด ทุกมาตรา โดยมีข้อห้ามสองประการ คือห้ามเปลี่ยนเรื่องรูปแบบของรัฐและระบอบการปกครอง 

https://www.facebook.com/iLawClub/photos/a.10150540436460551/10164655472340551/
.....

Atukkit Sawangsuk
6h ·

ร่าง iLaw เป็นฉบับเดียวที่ไม่ห้ามแก้หมวด 1 หมวด 2
เปิดช่องให้เสนอปฏิรูปสถาบันผ่านกระบวนการ สสร.-ลงประชามติ
คุยกับยิ่งชีพ ที่จริง iLaw ล่าชื่อมาก่อนม็อบเสนอปฏิรูปสถาบัน
ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าม็อบจะไปถึงขั้นติดเพดาน
แต่มันเป็นเรื่องปกติ ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ จะไม่จำกัดว่าห้ามแก้หมวดหนึ่งหมวดใด
การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแล้วตั้งเงื่อนไขห้ามแก้หมวดนั้นหมวดนี้ต่างหาก
ที่เป็นเรื่องประหลาดวิปริต
.......................
นี่ต่างหาก สาเหตุที่แท้จริงที่ต้องคว่ำร่าง iLaw

Voice TV - ใบตองแห้งOnAir
7h ·

ไม่ Compromise ล้มร่าง iLaw

250 ส.ว. พรรคพลังประชารัฐ และพรรคร่วมรัฐบาล น่าจะคว่ำร่างรัฐธรรมนูญของ iLaw ที่ประชาชนแสนคนร่วมลงชื่อ โดยให้ร้ายป้ายสี รับทุนต่างชาติ ปล่อยคนโกง ฯลฯ แต่ความจริงคือ ร่าง iLaw เป็นฉบับเดียวที่ไม่ปิดทางแก้หมวด 1 หมวด 2 เปิดโอกาสให้เสนอ “ปฏิรูปสถาบัน” ตามกระบวนการรัฐธรรมนูญ
นี่เท่ากับประยุทธ์ 250 ส.ว. รัฐบาล นักการเมือง ผูกข้อเรียกร้อง 3 ข้อเข้าด้วยกัน ไม่ยอมรับเลยสักข้อ อ้างว่า “ปฏิรูปสถาบัน=ล้มเจ้า” แล้วไปบังอยู่ข้างหลัง ประยุทธ์ไม่ออก 250 ส.ว.ไม่คายอำนาจ โดยอ้างว่าม็อบล้มเจ้า ซึ่งก็จะยิ่งทำให้ม็อบมีประเด็นผลักดัน รวมพลังฝ่ายต่างๆ สู้กับรัฐ
ตัวอย่างเช่น ร่าง iLaw ก็มาจากความร่วมมือของภาคประชาสังคม ซึ่งประกาศร่วมม็อบราษฎรโดยไม่แยแสคำแถลงของ ส.ว.หมอพลเดช