มีคนทำตัวอย่างให้เห็นจะจะ
ว่ากฎหมายหมิ่นกษัตริย์ยุค ร.๑๐ นี่ ไม่ใช่ประมวลอาญามาตรา ๑๑๒ แน่นอน แต่เป็น
พรบ.คอมพิวเตอร์ ม.๑๔ ดังที่ผู้ใช้ชื่อเพจเฟชบุ๊ค อึ้งเอี๊ยะซือ เทื้อเอี้ยวเกีย V3 บอกว่า “ไปจัดมาเรียบร้อย”
นัยว่าเพจดังกล่าวเป็น ‘ไอโอ’ ของทัพบก ที่ช่วงต่อจากการอุ้มหาย
‘วันเฉลิม’ ผู้ลี้ภัยไทยในกัมพูชา
กลับมาคึกคักกับการ ‘จัดไป’ ในคดีหมิ่นพระบรมฯ
กันอีก อันตรง (ข้าม) กับท่าทีของ ผบ.สส. หัวหน้าใหญ่ (กว่า ผบ.ตร.) กำกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ใช้วิธี ‘นิ่มๆ’ (คำของ Wassana Nanuam) “ส่งสัญญานถึงขบวนการหมิ่นสถาบัน”
ว่า “ประเทศไม่สามารถเติบโตไปได้ด้วยความเกลียดชัง” ทั้งที่ ๕-๖ ปีนั้นผอมลงๆ
เพราะยึดอำนาจด้วยความเกลียดชังรัฐบาลเลือกตั้ง
เพจที่ ‘จัดมา’ คำราม “เพื่อนพี่อึ้งที่จังหวัดชายแดนใต้...แจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วย
พรบ.คอมพิวเตอร์ ม.๑๔ ซึ่งตำรวจจะเป็นพยาน อัยการจะเป็นทนาย ฟ้องร้องต่อศาล” อ้างด้วยว่า
“ได้ยินว่ามีโปรโมชั่นแถมให้อีกหลายคน
พวกปากเก่งไม่เกรงกฎหมายทั้งหลาย
ก็เตรียมปรึกษาคุณทนายไว้ล่วงหน้าได้เลย” อีกทั้งยืนยัน “มีรายชื่อพวกจาบจ้วงล่วงละเมิดมากมาย
กำลังไล่ติดตามมาดำเนินคดี” พร้อมเย้ยหยัน “เราก็มารอดูกันว่าใครจะเป็นผู้โชคดีรายต่อไป”
ใครบ้าง ‘ทนายน้อย’ อานนท์ นำภา
ใบ้ไว้แล้วว่า “โรม โตโต้ เพ็นกวิน และอานนท์” ซึ่งเจ้าตัวเป็นคนท้าไว้เองว่า “ไปฟ้องเลยครับ แล้วมาพิสูจน์กันว่าใครเท็จกันแน่
ผมบอกว่าสถาบันกษัตริย์ใช้เงินจากภาษีของประชาชน คุณบอกว่าไม่ได้ใช้
แล้วมาพิสูจน์กัน”
ถ้าแค่เรื่องว่าสถาบันกษัตริย์ใช้งบประมาณทีมาจากผลของการเก็บภาษีจากประชาชน
อย่างนั้นมันจะเป็นการแชร์ข้อมูล “จาบจ้วง...ใส่ร้ายป้ายสีสถาบันกษัตริย์เพื่อให้เกิดความเสื่อมเสีย”
ดังที่ อึ้งเอี๊ยซือฯ อ้างได้อย่างไร
ฉะนี้ ข้อที่อานนท์ว่า “เราไปพิสูจน์กันว่า
สถาบันกษัตริย์ได้ใช้เงินจากภาษีประชาชนหรือไม่ ถึงเวลาขึงพืดงบประมาณเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์เสียที
อะไรที่ไม่จำเป็นประชาชนจะได้รู้กัน...ถือว่าคุ้มมาก”
ต่อการที่เข้าไปเป็นคู่กรณีเสียเอง
อานนท์จึงเริ่มกระบวนการสู้คดีด้วยการเรียกร้องเอกสารจากรัฐบาล
“ในฐานะผู้ต้องหา ผมจำเป็นข้อแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อต่อสู้คดี” โดยบ่ายสองวันนี้
เขาจะไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ให้ส่งเอกสารเหล่านั้นให้พนักงานสอบสวนในคดี
ส่วนหนึ่งในคำร้อง
ขอให้คืนเงินเกินจำเป็นต่อการแก้วิกฤตโควิด-๑๙ “เช่น
เงินที่เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนิน (ค่าเดินทางทั้งในและต่างประเทศ)...เงินที่จัดสรรให้ส่วนราชการในพระองค์
รวมทั้งเงินที่กระทรวงพาณิชย์จัดเป็นค่าจัดงานประชาสัมพันธ์แฟชั่นยี่ห้อ Sirivannavari” ด้วย
เกี่ยวเนื่องกับคดีนี้
เป็นบทบาทของผู้ที่ถูกขู่ “จะเป็นผู้โชคดีรายต่อไป”
รังสิมันต์ โรม ส.ส.พรรคก้าวไกล ที่ปฏิบัติงานฝ่ายค้านอย่างข้นคลั่กอยู่ขณะนี้
ล่าสุดเสนอกฎหมาย ‘สถานการณ์ฉุกเฉิน’ ฉบับใหม่เข้าสภา โดยชี้ว่าฉบับที่ใช้อยู่นี้ไม่ถูกต้อง
เนื่องจากการใช้กฎหมาย “ฉุกเฉินโดยฝ่ายบริหารสามารถใช้บังคับได้ไม่เกิน
๓๐ วัน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรภายใน ๗ วันนับแต่วันประกาศ”
รวมทั้งการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยกระทำผิด ต้องใช้กฎหมายปกติ ‘วิอาญา’
นั่นคือควบคุมตัวได้เพียง ๔๙ ชั่วโมง
ในสถานีท้องที่ซึ่งญาติและทนายเข้าถึงได้ นอกจากนั้นยังให้ “ยกเลิกข้อยกเว้นให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง
ทางอาญา และทางวินัย เพื่อให้...ถูกตรวจสอบได้โดยองค์กรตุลาการ”
(https://www.facebook.com/photo.php?fbid=620767681924194&set=a.103187027015598&type=3&theater,
https://www.facebook.com/profile.php?id=100000942179021=nf
และ https://prachatai.com/journal/2020/06/88200)
ก่อนหน้านี้รังสิมันต์ก็ทำหน้าที่ฝ่ายค้านซักไซร้รัฐบาลถึงเรื่องการอุ้มหาย
วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับอานนท์ โตโต้ และเพ็นกวิน
เพราะเรื่องนี้เป็นข่าวโครมครามทั่วโลก หากแต่มีเสียงสะท้อน GB
ออกมา
จริงไม่จริงแค่ไหน
ไม่สำคัญเท่ามันสร้างความน่าสะพรึงกลัว ที่ว่าถ้าเกิดเป็นจริงขึ้นมาจะทำให้ประเทศกลายเป็นเมืองเถื่อนอย่างมหันต์
เมื่อมีการอ้าง แหล่งข่าวในวัง “กำลังกริ้วโกรธการแทรกแซงของรังสิมันต์ โรม
ในรัฐสภา”
และหัวหน้าองครักษ์ “จักรภพ ภูริเดช
ได้บอกผู้ร่วมงานว่า...ต้องการให้ลงโทษ โรม” ความน่ากลัวอยู่ที่ ลงโทษอย่างไร ใครๆ
พากันนึกถึง ‘วันเฉลิม’ และยุค
‘อัศวิน’ ทันใด ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคตรงข้ามคณะรัฐประหารกลายเป็นศพ
คนรุ่นพ่อจำกันได้ดี กึ่งพุทธกาล
อันธพาลครองชาติ