วันเสาร์, สิงหาคม 04, 2561
อาเซียนจะต้องอับอายขายหน้าต่อหน้าชุมชนทั่วโลก เมื่อกลุ่มประเทศในภูมิภาค เสนอให้ ประยุทธ์ เป็นประธานในปีหน้า !!!!! อ่านคำต่อคำ เว็บไซต์เดอะจาการ์ตา โพสต์ เผยแพร่บทความ ที่มีชื่อว่า “อย่าปล่อยให้ผู้นำรัฐบาลทหารไทยเป็นประธานอาเซียนปีหน้า”
จาก FB
บรรจบ ขุมทอง
อาเซียนจะต้องอับอายขายหน้าต่อหน้าชุมชนทั่วโลก
เมื่อกลุ่มประเทศในภูมิภาค
เสนอให้ ประยุทธ์ เป็นประธานในปีหน้า !!!!!
เว็บไซต์เดอะจาการ์ตา โพสต์ เผยแพร่บทความ ที่มีชื่อว่า “อย่าปล่อยให้ผู้นำรัฐบาลทหารไทยเป็นประธานอาเซียนปีหน้า”
บทความแสดงความคิดเห็นโดยคอร์เนเลียส ปูร์บา นักวิชาการคอลัมนิสต์ของเดอะจาการ์ตาโพสต์ แสดงความคิดเห็นผ่านบทความโดยระบุว่า “ในปีหน้า เป็นคิวของประเทศไทยที่จะรับตำแหน่งประธานอาเซียนที่มีสมาชิก 10 ชาติ แทนที่สิงคโปร์ โดยนายกรัฐมนตรีลี เซียน หลุง ของสิงคโปร์มีกำหนดส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียนให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทยในเดือนพฤศจิกายนนี้ นับเป็นการยกระดับทางการเมืองครั้งสำคัญของนายทหารยศ พล.อ.ผู้นี้
อินโดนีเซียจะปล่อยให้สิ่งนี้เกิดขึ้นหรือ?
Will Indonesia just let it happen?
ในเวลานี้ ความเปลี่ยนแปลงนั้นมีความหมายมากกว่าการส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียน รัฐบาลทหารของไทยไม่คู่ควรกับตำแหน่งดังกล่าว ท่ามกลางกระแสความเป็นประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งในภูมิภาคนี้ เราเพิ่งได้เห็นมาเลเซียจัดการกับผู้นำที่ทุจริต เช่นเดียวกับพม่าที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยครั้งใหญ่ แม้ว่านางออง ซาน ซูจี ผู้นำที่แท้จริงจะยังไม่สามารถปกครองประเทศได้อย่างเต็มที่ ส่วนฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียก็เป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตย แม้จะมีปัญหาหลายประการในประเทศก็ตาม
ตามกฎบัตรอาเซียนที่เขียนขึ้นเมื่อปี 2007 เป็นหลักการพื้นฐานกำหนดเอาไว้ว่าอาเซียนยึดมั่นในนโยบายไม่แทรกแซงและมีฉันทามติร่วมกัน
พม่าเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนในปี 1997 พร้อมกับลาว ตามมาด้วยกัมพูชา ในปี 1999 เวียดนามเป็นสมาชิกในปี 1995 พม่าได้รับตำแหน่งประธานการประชุมสุดยอดอาเซียนในปี 2014 เพื่อเป็นรางวัลให้กับรัฐบาลพม่าแลกกับการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ประชาธิปไตยหลังการปกครองในระบอบเผด็จการเป็นเวลาหลายสิบปี ซึ่งเกิดขึ้น 3 ปีหลังจาก พล.อ.อาวุโส เต็ง เส่ง ขึ้นปกครองประเทศเป็นเวลา 3 ปี
ในปี 2015 นางออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้งทั่วไปในพม่า โดยนายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียในเวลานั้น ระบุว่า การปฏิรูปของพม่าทำให้มีความเป็นไปได้ที่พม่าจะได้รับตำแหน่งประธานอาเซียน
จะเป็นความขายหน้าโดยไม่จำเป็นของอาเซียนต่อหน้าประชาคมโลกเมื่ออาเซียนให้ พล.อ.ประยุทธ์ขึ้นเป็นประธานอาเซียนในปีหน้า
พล.อ.ประยุทธ์โค่นล้ม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งตามหลักการประชาธิปไตยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2014 ด้วยการรณรงค์ที่พุ่งเป้าไปที่ประเด็นหยุดยั้งการทุจริตที่ถูกกล่าวหา และการใช้อำนาจในทางมิชอบของน้องสาวอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เป็นความจริงที่ว่า พล.อ.ประยุทธ์ผู้เกษียณราชการแล้วนั้นมุ่งมั่นที่จะปราบปรามทุจริตอย่างจริงจัง แต่มีจุดประสงค์หลักที่การโค่นล้มผู้นำฝ่ายตรงข้ามลง
สำหรับชาวอินโดนีเซียที่เคยใช้ชีวิตอยู่ภายใต้การปกครองของซูฮาร์โต กลยุทธ์ปิดกั้นสื่อของ พล.อ.ประยุทธ์ การควบคุมหน่วยงานด้านกฎหมาย และการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและชุมนุมนั้นเป็นเรื่องที่คุ้นเคย แต่เพราะเหตุใดชาวไทย ซึ่งรวมไปถึงสื่อไทยดูเหมือนจะยอมรับรัฐบาลทหาร?
หลังจากที่ไม่สามารถจะทำตามคำมั่นในการจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม พล.อ.ประยุทธ์ให้คำมั่นอีกครั้งว่า จะทำให้ดีที่สุดเพื่อให้ประเทศมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น และเป็นไปได้สูงว่าเขาจะไม่เคารพต่อคำพูดของตัวเอง เพื่อนบ้านของไทยควรช่วยกันกอบกู้ชื่อเสียงกลับคืนมา ไม่เพียงในฐานะแบบอย่างของการพัฒนาเศรษฐกิจและธรรมาภิบาลที่ดี แต่ควรเป็นประเทศที่ทำให้แน่ใจว่าประชาชนคือผู้ที่มีอำนาจปกครองประเทศที่แท้จริง
ประเทศไทยเป็นสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งอาเซียนขึ้นพร้อมกับอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ บทความของประเทศไทยในอาเซียน ซึ่งก่อตั้งขึ้นในกรุงเทพฯเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1967 มักจะมีความสำคัญ ประเทศไทยมีการเลือกตั้งทั่วไปมาแล้ว 25 ครั้ง มีการรัฐประหารมาแล้ว 19 ครั้ง และมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับนับตั้งแต่ปี 1932
หลายคนเชื่อว่ารัฐบาลนี้เป็นหนึ่งในรัฐบาลทหารที่กดขี่มากที่สุด และยาวนานถึง 4 ปี ประเทศไทยอยู่ในฐานะที่เป็นที่เคารพอย่างมากและมีบทบาทสำคัญในอาเซียน อีกทั้งยังเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ไม่เคยต้องเจอกับความขมขื่นจากการเป็นเมืองขึ้นของประเทศล่าอาณานิคม การห้ามผู้นำทหารขึ้นเป็นประธานอาเซียนไม่ได้เป็นการลงโทษประชาชน แต่เป็นการลงโทษผู้นำทหาร
ประยุทธ์ ใช้ประโยชน์จากความขัดแย้งของผู้สนับสนุนทักษิณ (เสื้อแดง) และผู้สนับสนุนกลุ่มอำมาตย์และทหาร (เสื้อเหลือง) อย่างฉลาด ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ 2001-2006 ก่อนถูกทหารโค่นล้ม แต่เขายังคงมีอำนาจมากภายใต้พรรคการเมืองหลากหลายชื่อ แต่ก็สามารถชนะการเลือกตั้งได้ถึง 6 ครั้ง
ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ดำรงตำแหน่งนายกฯตั้งแต่ปี 2011-2014 ก่อนถูก พล.อ.ประยุทธ์โค่นล้มและนำตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ขึ้นศาล แต่ภายหลังก็ยอมปล่อยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์หนีออกจากประเทศไทยก่อนหน้าที่ศาลจะมีคำตัดสินออกมา
กว่า 17 ปีที่ทักษิณถูกกองทัพและผู้สนับสนุนมองว่าเป็นศัตรูของชาติ แต่ข้อเท็จจริงที่ทักษิณชนะการเลือกตั้งหลายครั้ง แสดงให้เห็นว่าประชาชนต้องการให้ทักษิณเป็นผู้นำของพวกเขา ประเทศไทยควรหวนคืนสู่ประชาธิปไตย ไม่ใช่การถูกทหารยึดครอง
ในสัปดาห์นี้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เปิดการประชุมประจำปีที่สิงคโปร์ แต่ละชาติจะได้หารือกับประเทศมหาอำนาจหลักของโลก ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ เรตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียจะหยิบยกประเด็นปัญหาเรื่องรัฐบาลทหารกับประเทศสมาชิกอาเซียน
ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด จะต้องใช้กลยุทธ์การทูตแบบเงียบกับผู้นำชาติอื่นๆ เกี่ยวกับบทบาทของประเทศไทย วิโดโดต้องดำเนินการตามวิถีอาเซียนที่เป็นความเห็นชอบร่วมกัน
ประเทศไทยมีสิทธิที่จะเป็นประธานอาเซียน แต่ไม่ใช่ภายใต้รัฐบาลทหารที่ยังคงยึดมั่นในอำนาจที่ปล้นมาจากประชาชนเมื่อ 4 ปีก่อน ก่อนหน้าที่ พล.อ.ประยุทธ์จะเป็นประธานอาเซียนในปีหน้า ควรจะทำตามคำมั่นที่เคยให้ไว้ว่าจะจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีและเป็นประชาธิปไตยขึ้น ถ้าไม่เป็นไปตามนั้นก็ไม่ควรที่จะนั่งเป็นประธานอาเซียนในปีหน้า”
😲😆😆😆😆😆😆😆😆😆😆
The Jakarta Post
Commentary: Don't let Thai junta chief chair ASEAN next year
Next year, Thailand will get its turn chairing the 10-member ASEAN, replacing Singapore. Singapore Prime Minister Lee Hsien Loong is scheduled to hand over his chairmanship to Thailand Prime Minister Prayuth Chan-ocha this November. It will be a major political boost for the general.
Will Indonesia just let it happen?
This time, the change is much more than a regular transfer of chairmanship. The Thai junta does not deserve the position amid strong waves of democratization in this region. We just witnessed how Malaysians responded to a corrupt leader. Myanmar is also undergoing a major transformation of democracy, although de facto leader Aung San Suu Kyi has not been able to fully control the country. The Philippines and Indonesia belong to a club of democratic nations despite domestic problems.
ASEAN is quite rigid in practicing non-interference and mutual consensus. The 2007-written ASEAN Charter lays out the basic rules.
Myanmar joined ASEAN in 1997 along with Laos, followed by Cambodia in 1999. Vietnam became a member in 1995. Myanmar was given the chair of the ASEAN Summit in 2014 — three years after the country was led by Thein Sein — as a reward for transforming the country into a democracy after decades of dictatorship.
In 2015, opposition leader Aung San Suu Kyi won the Myanmar general election. According to then-Indonesian foreign minister Marty Natalegawa, Myanmar’s reforms made it possible for the country to assume the chairmanship role.
ASEAN will unnecessarily humiliate itself in front of the global community when the regional grouping introduces Prayuth as the chair next year.
The general toppled democratically elected prime minister Yingluck Shinawatra in May 2014 with a campaign centered on stopping alleged rampant corruption and abuses of power by the younger sister of the ousted leader, Thaksin Shinawatra. It is true that the retired general has taken strong measures against alleged corruptors, but he prioritized taking down opposition leaders.
For Indonesians who experienced life under Soeharto, Prayuth’s tactics to silence the media, manipulate legislative bodies and oppress freedom of speech and assembly are familiar. But why do Thais, including the media, seem to “accept” the junta?
After failing to fulfill his promise of holding free and fair elections, Prayuth renewed recently his commitment to do his best to ensure that the country eventually holds elections. It is highly unlikely that he honors his word. Thailand’s neighbors should help it to regain its reputation as not just a role model for economic development and good governnance, but also as a nation that ensures civilian supremacy.
Thailand is a founding member of ASEAN along with Indonesia, Malaysia, the Philippines and Singapore. The country’s role in ASEAN, which was established in Bangkok on Aug. 8, 1967, has always been crucial. Thailand has gone through 25 general elections, 19 coups d’état and 20 constitutions since 1932.
Many believe that this regime is one of the most repressive juntas, having oppressed the nation for four years. Thailand has a very respectable position and plays an instrumental role in ASEAN. It is the only nation in the region that has never experienced the bitterness of colonialism. Preventing the Thai junta chief from chairing ASEAN is not meant to punish the people, but the military generals.
Prayuth has cleverly manipulated prolonged conflicts between the supporters of Thaksin Shinawatra (Red Shirts) and the supporters of the elites, the military and, to a certain extent, the monarchy (Yellow Shirts). Thaksin was the prime minister from 2001 to 2006 before he was ousted by the military. But he remains very powerful and, under various party names, has won six elections.
His younger sister Yingluck Shinawatra served as prime minister from 2011 to 2014. Prayuth toppled her government and brought her to court, but later allowed her to flee Thailand before the court issued its verdict.
For more than 17 years, Thaksin has been regarded as an enemy of the nation by the military and its supporters. But the fact that he won several elections shows that the people want him as their leader. The country should turn to democracy, not military takeovers.
This week, ASEAN foreign ministers hold their annual meeting in Singapore. They will also meet their dialogue partners from major powers. This is a good opportunity for Foreign Minister Retno Lestari Priansari Marsudi to raise the junta problem with her ASEAN colleagues.
President Joko “Jokowi” Widodo needs to use a strategy of silent diplomacy in discussing with other leaders Thailand’s role. He must, of course, act according to the consensual ASEAN way.
Thailand deserves the right to chair ASEAN, but not under a junta that has continued to cling on to powers it robbed from the people four years ago. Before he chairs ASEAN next year, Prayuth should fulfill his commitment of holding a free and democratic election. If he does not do so, he should not chair the trade bloc next year.
http://www.thejakartapost.com/…/commentary-dont-let-thai-ju…
https://www.matichon.co.th/foreign/news_1070801