วันพุธ, สิงหาคม 15, 2561

สำนึกความเป็นมนุษย์และความรับผิดชอบของธุรกิจเขื่อน กับการทวงความชอบธรรมให้กับเพื่อนบ้านที่ถูกภัยพิบัติ





สำนึกความเป็นมนุษย์และความรับผิดชอบของธุรกิจเขื่อน

ผมไม่รู้ว่าคนอื่นรู้สึกอย่างไร แต่ผมรู้สึกสะอิดสะเอียนทุกครั้งที่พวกธุรกิจพลังงานพร่ำพูดแต่เรื่องของผลกระทบจากเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยวิบัติ ที่มีต่อ MOU การซื้อไฟฟ้าของไทยจากลาว หรือบ้างก็บอกว่าเราอาจจะต้องใช้ไฟแพงขึ้น

ผมอยากถามพวกธุรกิจพลังงานว่า คุณรู้สึกอย่างไรที่มีคนเสียชีวิตซึ่งล่าสุดพบศพแล้ว 35 ราย ยังสูญหาย 100 ราย ซึ่งคาดว่าน่าจะเสียชีวิตไปแล้วทั้งหมด ประชาชน 6,000 คนในลาวยังอยู่อย่างยากลำบากแสนสาหัสจากการสูญเสียทุกอย่าง ซึ่งอาจจะต้องรอเวลานานหลายปีกว่าจะได้รับการฟื้นฟูสำเร็จ แต่บาดแผลจากการสูญเสียจะยังถูกจดจำไปตลอดชีวิต ขณะที่ในกัมพูชา ประชาชนอีก 5,000 คน ที่ถูกน้ำจากเขื่อนพัดพาพืชผลการเกษตรเสียหายหมด อาจขาดแคนอาหาร 1-2 ปี

ถึงวันนี้ผ่านมาสองสัปดาห์กว่าแล้ว ผมไม่เคยได้ยิน บ.ผลิตไฟฟ้า ราชบุรี โฮลดิ้ง ที่ถือหุ้น 25% กฟผ.ที่เป็นบริษัทแม่และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ รวมทั้งสหภาพแรงงาน บริษัทที่เป็นที่ปรึกษาการสร้างและทำ EIA สถาบันการเงินของไทยอีก 4 แห่ง ว่าจะรับผิดชอบโดยการเยียวยาสิ่งที่เกิดขึ้นกับประชาชนจำปาสัก อัตตะปือ และแสนปางในกัมพูชาอย่างไร

ผมคิดว่าเรื่องนี้ เราไม่ควรปล่อยให้ทุนไทยลอยนวลจากความรับผิดชอบในการทำธุรกิจที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

เราต้องอย่าให้ความเห็นแก่ตัวว่าเราจะไม่มีไฟฟ้าใช้ หรือใช้ในราคาแพงมาครอบงำความเป็นมนุษย์ของคนในสังคมเรา แต่เราควรคิดว่าประชาชนที่สูญเสียญาติ และสูญเสียทุกอย่างในประเทศเพื่อนบ้านของเราต้องได้รับความเป็นธรรมจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

ในฐานะผู้บริโภค เราต้องสำนึกว่าเราต้องไม่บริโภคพลังงานที่ผลิตจากเลือด เนื้อ และชีวิตของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โดยไม่แบ่งแยกประเทศ

สำนึกของความเป็นมนุษย์เท่านั้นคือสิ่งเดียวที่เราควรแสดงออกต่อการสูญเสียที่ใหญ่หลวงครั้งนี้ ไม่ใช่พร่ำพูดแต่ผลประโยชน์ด้านพลังงานโดยไม่ลืมหูลืมตา

ขอบคุณภาพจาก raosukunfung


Chainarong Setthachua


Wera Sakawe อย่าปล่อยให้การเห็นแก่ตัวของกลุ่มทุนพลังงานที่ไปสร้างภัยพิบัติให้กับเพื่อนมนุษย์ในประเทศเพื่อนบ้านแล้วเอามาแอบอ้างกับการขาดแคลนพลังงานเพื่อความชอบธรรมในการกระทำของกลุ่มทุนเอง......เราต้องทวงความชอบธรรมให้กับเพื่อนบ้านของเราด้วย....!!!

...





กำเนิดวันหยุดเขื่อนโลก

ผมอยากเล่าถึงประวัติศาสตร์ที่ย่อที่สุดของเขื่อนว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ธนาคารโลก และธนาคารต่างๆ ในแต่ละภูมิภาคของโลก ที่ตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อเป็นเครื่องมือให้ประเทศฝ่ายเหนือที่นำโดยสหรัฐฯ มีความชอบธรรมในการเข้าไปขูดรีดและฟื้นฟูเศรษฐกิจของตนเอง ในนามของการพัฒนา

ขณะเดียวกัน จีนและรัสเซีย 2 พี่เบิ้มค่ายสังคมนิยมก็เร่งสร้างเขื่อนเช่นกันเพราะถือว่าเขื่อนคือการพัฒนา

ค่ายสังคมนิยมที่นำโดยสหภาพโซเวียตสมัยที่ยังไม่แตก ยังได้เข้าสนับสนุนการสร้างเขื่อนในประเทศบริวารในหลายที่ เหมือนกับเป็นการแข่งขันกันระหว่างทุนนิยมและเสรีนิยม

หลังจากนั้น ประเทศฝ่ายใต้ (ที่ถูกอเมริกาและธนาคารโลกเรียกว่าประเทศด้อยพัฒนา-กำลังพัฒนา) เขื่อนถูกสร้างขึ้นราวกับดอกเห็ดในฤดูฝน โดยเฉพาะในประเทศที่ปกครองด้วยระบบเผด็จการ

เขื่อนที่เป็นเครื่องมือในการสะสมทุนของทุนในประเทศเสรีนิยมใหม่ และเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองสำหรับทั้งค่ายสังคมนิยมและเสรีนิยม ได้สร้างความเสียหายทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง แต่เขื่อนก็ถูกสร้างไปเรื่อยๆ โดยการผลักดันของชนชั้นนำในประเทศบริวารที่ร่วมมือกับประเทศศูนย์กลางและองค์เหนือรัฐอย่างธนาคารโลก

ในช่วงทศวรรษ 1980-1990 ได้มีการลุกขึ้นต่อสู้ของชาวนาในหลายพื้นที่ของโลกเพื่อต่อต้านเขื่อน ขณะที่บางที่ถูกล้อมปราบอย่างรุนแรง เช่น เขื่อนชิโคในฟิลิปปินส์ในยุคสมัยของจอมเผด็จการมาร์คอสที่หนุนหลังโดยอเมริกา นอกจากนั้น ขบวนการสิ่งแวดล้อมที่เติบโตจากชนชั้นกลางก็ได้เข้าร่วมต่อต้านเขื่อนด้วย เช่น ในออสเตรเลีย

กระแสการต่อต้านเขื่อนได้เกิดมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วทุกมุมโลก ตั้งแต่ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ไทย (โดยเฉพาะกรณีเขื่อนน้ำโจน) อินเดีย รัสเซีย ไปจนถึงชิลิ บราซิล หรือแม้แต่ในอเมริกาและยุโรปที่เป็นกลุ่มประเทศที่กำเนิดความคิดเขื่อนก็มีการเคลื่อนไหวให้รื้อเขื่อนทิ้ง

ในปี 1997 ระหว่างวันที่ 11-14 มีนาคม องค์กรเครือข่ายขนาดใหญ่ในแต่ละภูมิภาคประกอบด้วยขบวนการคัดค้านเขื่อนแห่งบราซิล (Movement de Atingidos por Barragens-MAB) เครือข่ายหยุดเขื่อนแห่งชิลี (Chile’s Biobio Action Group) เครือข่ายแม่น้ำนานาชาติ (International River Network-IRN) ขบวนการปกป้องนาร์มาดาแห่งอินเดีย (India’s Save the Narmada Movement) และเครือข่ายแม่น้ำแห่งยุโรป (European River Network-ERN) จึงได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดให้มีการประชุมนานาชาติของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนและพันธมิตร ครั้งที่ 1 ขึ้น ณ เมืองคิวริทิบา ประเทศบราซิล การประชุมที่เกิดขึ้นทั้ง 4 วัน นอกจากได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การต่อสู้เรื่องเขื่อนกันแล้ว ที่ประชุมยังได้ตกลงให้มีคำประกาศคิวริทิบาเพื่อ "ยืนหยัดการมีสิทธิความเป็นมนุษย์และวิถีชีวิตของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อน"

นอกจากนั้น ที่ประชุมยังกำหนดให้วันที่ 14 มีนาคมของทุกปีซึ่งเป็นวันหยุดเขื่อนของบราซิล เป็น "วันหยุดเขื่อนโลก" โดยมีคำขวัญที่ใช้ร่วมกันว่า "น้ำเพื่อชีวิตไม่ใช่เพื่อความตาย"

แม้ว่าขบวนการคัดค้านเขื่อนจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ในปัจจุบัน เขื่อนก็ยังผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็นในฤดูฝน โดยที่เขื่อนส่วนใหญ่ได้ถูกสร้างขึ้นในประเทศอดีตสังคมนิยมที่นำแนวคิดเสรีนิยมใหม่มาปฏิบัติและประเทศที่ปกครองโดยเผด็จการ รวมทั้งประเทศที่อำนาจทางการเมืองยังถูกผูกขาดอยู่ที่ชนชั้นนำ

ภาพ การประชุมนานาชาติของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนและพันธมิตร ครั้งที่ 1 ที่เมืองคิวริทิบา ประเทศบราซิล


Chainarong Setthachua

...





ยุคสมัยของการสร้างเขื่อนได้สิ้นสุดลงแล้ว (ทั่วโลกกำลังรื้อเขื่อนทิ้ง)

ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ

--------------------------------------------------

ตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา ขณะที่สังคมไทยมีความขัดแย้งเรื่องเขื่อนระหว่างนักการเมือง รัฐบาล นักสร้างเขื่อน กับประชาชน ได้ปรากฏ ว่ามีกระแสข่าวที่สำคัญเกี่ยวกับเขื่อน 2 ข่าวด้วยกัน

ข่าวแรก ในปี พ.ศ.2537 ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งน้ำแห่งสหรัฐอเมริกา(BuRec) ซึ่งเป็นหน่วยงานสร้างเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดใน สหรัฐและรับผิดชอบการสร้างเขื่อนทางฝั่งตะวันตกของสหรัฐ ฯ ได้เรียกร้องให้นักสร้างเขื่อนยุติการสร้างเขื่อนในคราวประชุม สมาคมนักสร้างเขื่อนโลกที่แอฟริกาใต้ ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งน้ำยังได้กล่าวอีกด้วยว่า"ยุคสมัยของการสร้างเขื่อนในสหรัฐ อเมริกาได้สิ้นสุดลงแล้ว"

ข่าวที่สอง ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าข่าวแรกก็คือ มีกระแสข่าวว่าอเมริกากำลังจะรื้อเขื่อน 2 แห่งบนแม่น้ำเอลวา(Elwha river)ทิ้ง เพื่อให้ปลาซัลมอนขึ้นไปวางไข่ได้ หลังจากมีกระแสข่าวนี้ หลายฝ่ายก็จับตามองว่าเมื่อไหร่ อเมริกาจึงจะมีการรื้อเขื่อนทิ้งกันจริง ๆ เพราะหากมีการรื้อเขื่อนทิ้งจริง ๆ นั่นหมายถึงว่ายุคสมัยของการสร้างเขื่อนมิได้สิ้นสุดลงเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการก้าวสู่"ยุคของ การรื้อเขื่อนทิ้ง"อีกด้วย

ทุกวันนี้ แม้ว่ายังไม่ได้มีการรื้อเขื่อน 2 แห่งที่กั้นแม่น้ำเอลวา แต่ความจริงแล้ว การรื้อเขื่อนในอเมริกาได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เครือข่ายอนุรักษ์แม่น้ำนานาชาติ (International River Network : IRN) ได้ระบุว่าตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบัน อเมริกาได้รื้อเขื่อนทั่วประเทศทิ้งไปแล้วถึง 35 เขื่อน ได้รับการอนุมัติให้รื้อแล้วและรอการรื้อทิ้ง 8 เขื่อน และอยู่ในระหว่างการตัด สินใจรื้อทิ้งอีก 56 เขื่อน เขื่อนเหล่านี้มีตั้งแต่เขื่อนขนาดเล็กไปจนถึงเขื่อนขนาดใหญ่ เป็นทั้งเขื่อนเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่าง เดียว เขื่อนเพื่อการชลประทาน และเขื่อนเอนกประสงค์ และเป็นทั้งเขื่อนที่รับผิดชอบโดยหน่วยงานของรัฐและของเอกชน

การรื้อเขื่อนในอเมริกานั้นมีพื้นฐานมาจากสังคมอเมริกันมีบทเรียนและประสบการณ์จากการสร้างเขื่อนมามากมาย และสังคมอเมริ กันได้เปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อแม่น้ำโดยมองว่าแม่น้ำที่ไหลอย่างอิสระนั้นมีประโยชน์มหาศาลเทียบกันไม่ได้เลยกับผลประโยชน์ที่ได้จาก เขื่อนที่มีเพียงน้อยนิด เหตุผลส่วนใหญ่ในการรื้อเขื่อนในอเมริกาจึงคล้าย ๆ กันนั่นก็คือ เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศน์แม่น้ำให้กลับ คืนมา โดยเฉพาะการฟื้นฟูคุณภาพน้ำ และต้องการให้ปลาที่เคยอพยพไปวางไข่ตามแม่น้ำต่าง ๆ เช่น ปลาเทร้าท์ ปลาซัลมอน ปลาสเตอร์เจียน ปลาสตีลเฮด ปลาไหลอเมริกัน และปลาอื่น ๆ ให้กลับคืนมา ซึ่งจะให้ผลประโยชน์มากกว่ากระแสไฟฟ้าหรือการ ชลประทานที่ได้จากเขื่อน ทั้งนี้ก็เพราะว่านักสร้างเขื่อนไม่สามารถแก้ปัญหาการอพยพของปลาในแม่น้ำได้ บันไดปลาโจนที่มีการ สร้างในแต่ละเขื่อนนั้นก็ล้วนแต่ล้มเหลวไม่สามารถทำให้ปลาต่าง ๆ เดินทางขึ้นไปวางไข่ทางต้นน้ำได้ การรื้อเขื่อนทิ้งจึงมักทำกัน ทั้งลุ่มน้ำดังเช่นการเสนอให้รื้อเขื่อน 4 แห่งบนแม่น้ำสเนค(Snake river)ในรัฐวอชิงตัน

เขื่อนบางแห่งเช่น เขื่อนเกลน แคนยอน บนแม่น้ำโคโลราโด ถูกเสนอให้ระบายน้ำออกและรื้อด้วยเหตุผลที่ว่า เพื่อต้องการหุบเขา เกลน แคนยอน ที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและยังเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญซึ่งถูกจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำกลับคืนมา

เหตุผลในการรื้อเขื่อนจำนวนมากในสหรัฐยังมาจากความไม่ปลอดภัยของเขื่อน การต้องการลดภาษีของประชาชนที่ต้องจ่ายไปกับ การบำรุงรักษาเขื่อน และเขื่อนหลายแห่งถูกเสนอให้รื้อทิ้งก็เนื่องมาจากมันถูกสร้างขึ้นมาในยุครัฐบาลที่เลวร้ายหรือไม่ก็สร้างขึ้นมา โดยการละเมิดกฎหมาย

แม้ว่าการรื้อเขื่อนอาจถูกขัดขวางจากนักสร้างเขื่อนที่ยังต้องการให้มีเขื่อนอยู่ต่อไป แต่รัฐบาลอเมริกันก็ตระหนักถึงเหตุผลความจำ เป็นของการรื้อเขื่อน เช่น เขื่อนเอ็ดเวอร์ด (Edwards dam) ซึ่งรัฐบาลสั่งให้รื้อเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วเพราะการแก้ปัญหาสิ่ง แวดล้อมต้องใช้เงินทุนสูงกว่าการรื้อเขื่อน และเขื่อนแห่งนี้จะทำการรื้อทิ้งในฤดูร้อนปีหน้านี้

ไม่เพียงแต่อเมริกาเท่านั้นที่มีการรื้อเขื่อนทิ้ง ในยุโรปก็มีการรื้อเขื่อนทิ้งแล้วเช่นกัน โดยรัฐบาลฝรั่งเศสได้แถลงถึงผลการตัดสินใจ เมื่อวันที่ 4 มกราคมปีนี้ว่าจะรื้อเขื่อน Saint-Etienne-du-Vigan เขื่อนสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าที่สร้างกั้นแม่น้ำ Allier ตอนบนเมื่อ ปลายศตวรรษที่ 19 และอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าของฝรั่งเศส ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมาก็ได้มีการระเบิดเขื่อน ที่สูง 44 ฟุตแห่งนี้ทิ้ง เหตุผลของการรื้อเขื่อนแห่งนี้ก็เช่นเดียวกับเหตุผลในการรื้อเขื่อนในสหรัฐ ฯ นั่นก็คือเพื่อฟื้นฟูแม่น้ำและเปิดทางให้ปลาซัลมอนแอตแลนติค(Atlantic Salmon)ที่ในแต่ละปีจะเดินทางอพยพจากแถบเกาะกรีนแลนด์ทางตอนเหนือของมหา สมุทรแอแลนติคถึง 4,000 ไมล์ให้สมารถเดินทางขึ้นไปวางไข่แถบต้นน้ำของแม่น้ำ Allier ได้

เท่านั้นยังไม่พอรัฐบาลฝรั่งเศสยังมี แผนรื้อเขื่อน Maisons-Rouges เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าที่ถูกสร้างกั้นแม่น้ำ Vienne สาขาของแม่น้ำ Allier เป็นเขื่อนต่อไป แม้ว่าแผน นี้ต้องล่าช้าออกไปเนื่องจากถูกคัดค้านจากนักการเมืองในท้องถิ่น แต่รัฐบาลฝรั่งเศสก็ได้กำหนดเวลาที่จะรื้อเขื่อนแห่งนี้ทิ้งใน เดือนสิงหาคมนี้เอง

สำหรับที่อื่น ๆ แม้ว่ายังไม่มีการรื้อเขื่อน แต่ก็ได้มีการเรียกร้องให้ปล่อยน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำของเขื่อนหลายแห่ง เช่น ในออสเตร เลีย และรัสเซีย เหตุผลในการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนก็เพื่อการฟื้นฟูบริเวณอ่างเก็บที่ถูกน้ำท่วมที่มีคุณค่าทางระบบนิเวศน์และเพื่อ ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ลำน้ำท้ายเขื่อนให้กลับคืนมา

ด้วยเหตุที่กระแสการรื้อเขื่อนทิ้งเกิดขึ้นหลายมุมโลก เมื่อวันที่ 23-25 กรกฎาคม 2541 เครือข่ายอนุรักษ์แม่น้ำนานาชาติจึงได้จัด สัมมนาเชิงปฏิบัตินานาชาติเรื่องการปลดระวางเขื่อนและการรื้อเขื่อน(International Workshop on Dams Decommissioning and Removal) โดยมีนักกิจกรรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อม 18 คน จาก 7 ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป(รวมทั้งรัสเซีย) ออสเตรเลีย และเอเซีย เข้าร่วม

การประชุมได้มีขึ้นที่วอล์คเกอร์เกรก พาเทลูมา รัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อพิจารณาถึงความจำเป็นและความเป็นไปได้ ในการรื้อเขื่อน รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์การรณรงค์ให้มีการรื้อเขื่อน ผลการสัมมนาได้นำไปสู่การรวมตัวกันเป็นพันธมิตร นานาชาติเพื่อการฟื้นฟูแม่น้ำและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อน โดยพันธมิตรนี้จะมุ่งไปที่การรักษาแม่น้ำและชุมชนที่พึ่งพา แม่น้ำ และได้เรียกร้องให้ปลดระวางเขื่อนและรื้อเขื่อนทิ้ง

ประเด็นข้อเรียกร้องของที่ประชุมที่สำคัญและน่าสนใจก็คือ

1)ให้มีการประเมินอย่างอิสระและโปร่งใสเพื่อแยกแยะว่าเขื่อนไหนที่ควรใช้งานต่อ เขื่อนไหนควรแก้ไขผลกระทบ และเขื่อนไหน ควรปลดระวางหรือรื้อทิ้ง เขื่อนแต่ละแห่งที่จะใช้งานต่อจะต้องพิสูจน์ในประเด็นของผลกระทบทางนิเวศน์วิทยาและสังคม เศรษฐศาสตร์ และด้านความปลอดภัย

2)ให้เตรียมแผนการปลดระวางเขื่อนทุกเขื่อนทั้งที่สร้างไปแล้ว กำลังก่อสร้าง หรือยังไม่ได้สร้าง แผนนี้จะต้องครอบคลุมถึงการรื้อ เขื่อนทิ้ง การฟื้นฟูแม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ และพื้นที่ชุ่มน้ำ รวมไปถึงกลไกในการระดมทุนซึ่งจำเป็นจะต้องใช้สำหรับเขื่อนที่ปลดระวาง และรื้อทิ้ง

3)ให้เจ้าของเขื่อนและผู้ได้รับผลประโยชน์จากเขื่อนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หากจะใช้งานเขื่อนต่อ ทั้งค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อม ค่าใช้จ่ายสำหรับการฟื้นฟูความเสียหายที่ผ่านมา และค่าใช้จ่ายในการปลดระวางหรือการรื้อเขื่อน และจะต้องตั้งกลไก การระดมทุนขึ้นมาเพื่อหาค่าใช้จ่ายในการปลดระวางเขื่อนที่ถูกปล่อยทิ้งไว้หรือเขื่อนที่เจ้าของเขื่อนขาดเงินทุน นอกจากนั้นองค์กร นานาชาติ(เช่น ธนาคารโลกและธนาคารในเครือ) ที่ได้ให้เงินทุนสนับสนุนการสร้างเขื่อนจะต้องร่วมรับผิดชอบต่อการปลดระวาง หรือรื้อเขื่อนทิ้งด้วย

4)ให้มีการพัฒนาและบังคับใช้มาตรฐานความปลอดภัยของเขื่อนที่เข้มงวด ซึ่งรวมถึงการเตรียมความพร้อม การเปิดเผยพื้นที่ที่จะถูก น้ำท่วมและแผนฉุกเฉินในการอพยพประชนหากเขื่อนพัง รวมทั้งต้องจัดให้มีการประกันภัย บันทึกเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยของ เขื่อนจะต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยของเขื่อนจะต้องมาจากเจ้าของเขื่อน และผู้ที่ได้รับประโยชน์จากเขื่อนรวมทั้งองค์กรนานาชาติที่เกี่ยวข้อง

5)ให้มีการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านนิเวศวิทยา และด้านสังคมที่เกี่ยวกับเขื่อน โดยการศึกษานี้จะต้องได้รับการสนับสนุนจาก รัฐบาลและองค์กรสร้างเขื่อน

นอกจากนั้น ที่ประชุมยังได้เสนอแนวคิดในการจัดการลุ่มน้ำและพลังงานโดยเรียกร้องให้แผนการจัดการลุ่มน้ำและพลังงานจะต้อง ดำเนินการโดยยึดกระบวนการการมีส่วนร่วมและต้องโปร่งใส โดยแผนการจัดการลุ่มน้ำจะต้องรวมเอาการเกษตรและการประมง ที่ยั่งยืน การวางผังเมือง การจัดการน้ำท่วม การประปา และการรักษาสิ่งแวดล้อม ส่วนแผนพลังงานจะต้องรวมเอาการจัดการด้าน ความต้องการ(DSM)และตระหนักถึงต้นทุนและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนรุ่นต่อไปเข้าไปด้วย

การรื้อเขื่อนและข้อเรียกร้องนี้ กล่าวได้ว่าเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งที่ทำให้เรารู้ว่าเขื่อนที่มีการโต้แย้งกันมานานหลายทศตวรรษนั้น แท้ที่จริงแล้วมันคือเทคโนโลยีที่ล้าสมัย และแม่น้ำตามธรรมชาตินั้นมีคุณค่ามหาศาลที่ไม่ควรจะแลกกับเขื่อนที่ให้ประโยชน์น้อย แล้วยังก่อให้เกิดผลกระทบที่กว้างขวางทั้งทางสังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งอันตราย และถึงที่สุดแล้วเขื่อนก็ต้องหมดอายุตามวันเวลา ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมการปลดระวางและรื้อเขื่อนทั้งในด้านงบประมาณ รวมทั้งให้เจ้าของเขื่อน ผู้ที่ได้รับประโยชน์หรือ องค์กรที่ให้ทุนสร้างเขื่อนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนี้

สำหรับบ้านเรา อีกไม่นานเราคงได้เห็นการรื้อเขื่อนทิ้ง เพราะปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่ามีเขื่อนหลายแห่งที่ได้ไม่คุ้มเสีย อันตรายเนื่อง จากก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน และไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นได้ และอีก ๆ หลายเขื่อนกำลังเดินเข้าสู่ช่วงวัยชรา

ภาพการรื้อเขื่อน Saint-Etienne-du-Vigan ในฝรั่งเศส เมื่อ 24 มิถุนายน 2541 ขอบคุณภาพจาก ERN

หมายเหตุ บทความนี้ ผู้เขียนเขียนขึ้นหลังจากการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติว่าด้วยการรื้อและยกเลิกการใช้เขื่อน (International Workshop on Dams Decommissioning and Removal, July,23-25,1998, Walker Greek, Pateluma, California.)


ที่มา FB

นิเวศวิทยาการเมือง - Political Ecology