การได้รับอิสรภาพหลังจากถูกจองจำ ด้วยข้อหาที่ไม่ควรจะเป็นความผิด
ของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข เมื่อ ๓๐ เมษายน
ไม่เพียงเพิ่มพลังใจแก่นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยอื่นๆ
ทั้งที่ยังติดคุกกันอยู่ และที่ยังไม่ถึงคราวบ้างอีกหลายคน
๗ ปี ที่เขาอดทนกับการเป็นนักโทษ ‘ทางความคิด’ ข้อหาร้ายแรง
สมรู้ร่วมคิดหมิ่นประมาทกษัตริย์ เพียงเพราะ “ผมอาจได้รับความเมตตาสงสารให้ได้รับอิสรภาพหากผมยอมรับสารภาพด้วยการปรักปรำตนเอง
หรือปรักปรำผู้อื่นตามความประสงค์ของผู้ที่อยู่เหนืออำนาจรัฐ...
หากเป็นเช่นนี้ อิสรภาพที่ได้มาจะมีคุณค่า
มีความหมายได้อย่างไรเล่า เพราะเท่ากับว่าผมต้องตกอยู่ในกรงขังแห่งมโนธรรมต่อตนเอง
และเป็นการกระทำความผิดต่อทุกคนที่ใฝ่ฝันถึงสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคตลอดไป...
ผมยอมสูญเสียอิสรภาพ
แต่จะไม่ยอมสูญเสียความเป็นคน สู้ดีกว่า...” เป็นปณิธานตรงมั่น
ดั่งลักขณาทำนองเสนาะ ที่ ‘จอม ไฟเย็น’
เขียนชื่นชมไว้
“จึงมิขอ สักเมตตา จากข้าฯศึก
จึงมิละ จิตสำนึก สักส่วนไหน
จึงมิลด ‘ความเป็นคน’ จนเป็นไท
จึงมิลบ ประกายใจ แห่งดวงดาว”
จึงมิละ จิตสำนึก สักส่วนไหน
จึงมิลด ‘ความเป็นคน’ จนเป็นไท
จึงมิลบ ประกายใจ แห่งดวงดาว”
(คัดจากโพสต์ของ Nithiwat
Wannasiri ๓๐ เมษา ๖๑)
ทันทีที่ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำแต่เช้าตรู่
เขาตอบคำถามของผู้สื่อข่าวที่เฝ้ารออยู่อย่างไม่สะทกสะท้านอันใด “ว่าต้องเดินหน้าทวงคืนความยุติธรรมและทวงคืนประชาธิปไตย”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อแนวความคิดของพรรคอนาคตใหม่ที่จะพิจารณานโยบายผลักดันให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๑๑๒ รวมทั้งการร่วมทำกิจกรรมกับผู้เรียกร้องประชาธิปไตยอื่นๆ
เขาบอกว่า “จะไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง
เพราะเห็นว่าเป็นสิทธิและเสรีภาพ” และ “การชุมนุมถือเป็นสีสันประชาธิปไตย
จึงอยากให้รัฐบาลเปิดใจกว้าง ไม่ควรไปขัดขวางการชุมนุม
พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการยกเลิกคำสั่ง คสช.
เพราะเกรงว่าจะนำไปสู่เหตุการณ์แบบพฤษภาทมิฬ ๒๕๓๕ และพฤษภาคม ปี ๒๕๕๓”
สมยศยังเปรยถึงประเด็นการเมืองอันย้อนแย้งอย่างยิ่งที่ว่า
“ผมผิดหวังหน่อยเดียวที่ออกมาแล้วไม่เจอกับประชาธิปไตย
เพราะยังอยู่ในบรรยากาศที่ถูกควบคุมโดยคำสั่ง คสช.
ซึ่งมีข้อจำกัดการแสดงความคิดเห็น”
ซึ่งบางคนเย้ยว่าย่ำแย่กว่าเมื่อตอนก่อนเขาเข้าคุกด้วยซ้ำ
สมยศเป็นนักกิจกรรมทั้งต่อต้านรัฐประหาร
(ปี ๔๙) และเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของผู้ประกอบอาชีพใช้แรงงานมาก่อนที่จะเป็นบรรณาธิการนิตยสาร
‘Voice of Taksin’ อันเป็นข้ออ้างกล่าวหาว่าเขาละเมิด
ม.๑๑๒
แม้ขณะอยู่ในคุกที่เขาถูกปฏิเสธให้ประกันเพื่อปล่อยตัวชั่วคราวถึง
๑๖ ครั้ง สมยศก็ได้ต่อสู้กับระเบียบวิธีอันไม่เป็นธรรมบางอย่าง เช่นเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของนักโทษ
แม้ว่าการเรียกร้องไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะเงียบหายไปยิ่งกว่าคลื่นกระทบฝั่ง
อีกทั้งเขายื่นฟ้องศาลปกครองเอาไว้ ต่อการวางกฏเกณฑ์เข้มงวดเรื่องพิจารณาพักโทษผู้ต้องหาคดีการเมือง
ยากยิ่งขึ้นหลังจากการรัฐประหารปี ๒๕๕๗ ยังมิทันศาลจะมีคำตัดสิน เขาก็พ้นโทษออกมาเสียก่อน
หลังจากที่ติดคุกครบ ๗ ปีตามคำพิพากษาศาลฎีกาลดโทษจากเดิม ๑๑ ปี
เขาถูกจับกุมที่ด่านขณะนำคณะทัวร์กำลังจะเดินทางข้ามเขตแดนไปชมนครวัดในกัมพูชา
ก่อนหน้านั้น ๕ วัน
เขาได้ร่วมรณรงค์ล่ารายชื่อเพื่อให้รัฐสภายกเลิกกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ครบ ๑
หมื่นรายชื่อ สมยศเลือกทางสู้คดีให้ถึงที่สุด โดยไม่ยอมรับสารภาพเพื่อให้ลดโทษแม้จะไม่ผิด
อันเป็นครรลองขัดแย้งกติกาสากลที่ผู้ต้องหาคดีเช่นนี้จำใจต้องเลือก
ระหว่างการให้สัมภาษณ์สื่อหลายแหล่งซึ่งตามไปคุยที่บ้านเกี่ยวกับข้อหาตีพิมพ์บทความอันมีนัยยะหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์รัชกาลที่
๙ ในนิตยสาร ‘Voice of Taksin’
เขาเล่าถึงเหตุการณ์ระหว่างถูกควบคุมตัวร่วมกับสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
นักวิชาการประชาธิปไตยผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง
ว่ามีความพยายามโน้มน้าวให้เขาปรักปรำอดีตนายกฯ
ทักษิณ ชินวัตร ว่าเป็นผู้ออกทุนการจัดทำนิตยสาร
แล้วเขาจะได้รับการกันตัวออกไปเป็นพยาน แต่สมยศปฏิเสธ “มันเป็นศีลธรรม
จะให้พูดได้ยังไงก็มันไม่ใช่ นิตยสารตอนนั้นขายดีมาก
มันได้กำไรโดยตัวมันเองอยู่แล้ว”
เมื่อนักข่าวท้าวความต่อเขาเมื่อออกมาจากเรือนจำถึงนิตยสารฉบับดังกล่าว
ว่าจะทำต่ออีกไหม เขาตอบทีเล่นแบบยียวนว่า “ทำแต่ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น Voice
of Yingluck”
ไม่ว่าการต่อสู้กับความโหดร้ายและขาดหลักนิติธรรมสากลของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกษัตริย์ไทยของสมยศ
จะ ‘ไม่ชนะ’
และทำให้เขาสูญเสียอิสรภาพไปเป็นเวลาเนิ่นนาน ๗ ปี