จากเสียงบวรศักดิ์ ถึงเสียงสะท้อน 4 ปี คสช. สูญเสียกันไปเท่าไหร่กับคำว่าปฏิรูป
ที่มา มติชนสุดสัปดาห์
ฉบับวันที่ 18 - 24 พฤษภาคม 2561
นึกถึงคำพูดของยอดนักเนติบริกรอย่างนายวิษณุ เครืองาม ที่พูดเรื่อง “ลงเรือแป๊ะต้องตามใจแป๊ะ” ทันที
หลังรับรู้เรื่องนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย นักนิติศาสตร์มืออันดับต้นของเมืองไทย ที่เข้าไปช่วยงาน คสช. ตั้งแต่ช่วงแรกของการยึดอำนาจ ออกมาให้สัมภาษณ์กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ และเผยอุปสรรคสำคัญของการปฏิรูป
นั่นคือการที่ผู้ที่เป็นปัญหาและควรต้องถูกปฏิรูปกลายเป็นผู้นำขับเคลื่อนการปฏิรูปเอง
เล่นเอา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีอาการหงุดหงิดไม่น้อย เพราะนายบวรศักดิ์ถือว่าเป็นคนในรัฐบาล เคยเป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงตำแหน่งล่าสุดก็ยังทำงานให้รัฐบาล แต่กลับพูดจาเหมือนจะไม่ตามใจแป๊ะ
“รัฐบาลคิดว่าต้องให้ส่วนราชการทำปฏิรูป ผมยังสงสัยอยู่ว่าถ้าคนที่ถูกปฏิรูปมาทำปฏิรูป มันจะสำเร็จหรือ เหมือนกับให้ผู้รับเหมาเป็นผู้ตรวจงาน เพราะจริงๆ แล้วการปฏิรูปต้องไม่ให้คนที่ถูกปฏิรูปมาทำโดยตรง แต่ให้เขามามีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น กระบวนการปฏิรูปต้องการการมีส่วนร่วมของผู้ถูกปฏิรูป แต่ไม่ควรให้ผู้ถูกปฏิรูปตันสินใจดำเนินการ ไม่ควรให้หน่วยงานราชการบอกว่าจะเสนอกฎหมาย”
นายบวรศักดิ์ระบุ
นี่คือคำกล่าวของนายบวรศักดิ์ซึ่งดูเหมือนจะเข้าใจโครงสร้างหลักของการแก้ปัญหาการปฏิรูประบบต่างๆ ในสังคมได้เป็นอย่างดี นั่นคือ หลักสำคัญคือต้องฟังและต้องการการมีส่วนร่วมของผู้ที่ถูกปฏิรูปนั้นเอง นายบวรศักดิ์ยังกล่าวย้ำชัดเจนถึงความล้มเหลวการปฏิรูปว่า
“ผมเข้าใจที่ พล.อ.ประยุทธ์ต้องหงุดหงิด เพราะงานมันไม่ค่อยออก คนก็เริ่มพูดแล้วว่า 4 ปี ไม่เห็นปฏิรูปเลย ก่อน 22 พฤษภาคม 2557 คนก็บอกว่าต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง หรือเลือกตั้งก่อนปฏิรูป ถ้าปฏิรูปไม่ออกก็จะมีปัญหาว่าทำไมนานนัก และคงจะมีส่วนด้วยที่ช่วงนี้ใกล้เลือกตั้ง จึงต้องเร่งการปฏิรูป อย่างน้อยก็จะพูดได้ว่าปฏิรูปแล้วนะ”
สร้างเสียงฮือฮาอย่างมากในสังคมการเมือง จนนักข่าวต้องหยิบไปถาม พล.อ.ประยุทธ์ หลังการประชุม ครม. เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
โดย พล.อ.ประยุทธ์โต้กลับนายบวรศักดิ์ ยืนยันว่ารัฐบาลมีผลงาน และมองว่าการพูดจาของนายบวรศักดิ์ทำให้สังคมสับสน ย้ำว่าถ้าจะมาทำงานร่วมกันแล้วก็ต้องทำตามนโยบายรัฐบาล
“กำลังให้เขาสรุป ถ้าไม่รู้เรื่องจะถือว่าพูดกันคนละภาษาแล้วไม่เข้าใจกัน ผมพูดภาษาไทย ผมถือว่าในเมื่อจะทำงานร่วมกัน ทุกคณะต้องทำงานตามนโยบายของรัฐบาลทั้งสิ้น ไม่ว่าจะปฏิรูปอะไร ถามว่าการปฏิรูปบุกรุกป่า จัดการปัญหาที่ดิน บริหารจัดการน้ำ ไม่ได้ทำเลยเหรอ ผมอยากจะทราบว่าอะไรคือไม่ทำ อะไรคือทำ อยากรู้ว่าวิธีการทำเป็นยังไง การพูดจาบางทีอาจทำให้สังคมเข้าใจผิด”
“อย่ามาบอกว่าไม่ได้ปฏิรูปอะไรเลย ถ้าไม่ปฏิรูปแล้วจะอยู่ไปทำไมถึง 4 ปี” พล.อ.ประยุทธ์กล่าวด้วยอารมณ์สีหน้าที่ค่อนข้างจะฉุนเฉียว
แต่ถึงกระนั้นในฝั่งผู้ที่สนับสนุน คสช. อย่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการกลุ่ม กปปส. ก็ได้ออกโรงปกป้องผลงานของบิ๊กตู่ ยืนยันว่ารัฐบาลมีผลงาน อย่างน้อยก็รัฐธรรมนูญฉบับนี้ และมองว่าที่ปฏิรูปไม่สำเร็จดังหวังเพราะถูกระบบเก่าขัดขวางเป็นอุปสรรค
“ผมเห็นใจ พล.อ.ประยุทธ์ที่ตั้งใจปฏิรูปประเทศ แต่กลับมีอุปสรรค มีคนต่อต้าน มีคนเข้าเกียร์ว่าง เข้าเกียร์สโลว์ ทำให้การปฏิรูปไม่สามารถดำเนินการไปได้อย่างที่คาดหวัง” นายสุเทพกล่าว
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เพราะเรื่องการปฏิรูปคือวาระหลักและเป็นข้ออ้างของรัฐบาลนี้ในการยึดอำนาจ
ที่สำคัญคือขณะนี้ล่วงเลยมาเป็นเวลากว่า 4 ปีแล้ว สูญเสียทรัพยากรทางเศรษฐกิจและโอกาสไปเป็นจำนวนมากกับการลงทุนที่ผ่านมา ทั้งตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. เข้ามาทำงาน จากนั้นก็ยังมีการตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ เข้ามารับช่วงต่อ สุดท้ายเป็นการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปด้านต่างๆ จำนวน 11 คณะ เมื่อคนในรัฐบาลเองบอกว่ามันไม่สำเร็จ
นี่แหละจึงบอกว่าเป็นเรื่องใหญ่
หันไปฟังเสียงอย่างอดีตแกนนำเสื้อเหลืองที่เคยหนุนโรดแม็ปการปฏิรูปของ คสช. อย่างสุริยะใส กตะศิลา ก็ออกมาระบุว่า
“4 ปี คสช. ถ้าจะเรียกว่าการปฏิรูปค้างเติ่งก็คงได้ เพราะมีแต่แผนการ มีวาระ มีพิมพ์เขียว แต่ยังขาดการปฏิบัติการให้เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการปฏิรูปในระดับโครงสร้างซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปประเทศ โมเมนตัมและแรงส่งของการปฏิรูปจึงถดถอยลง”
หรืออีกหนึ่งความเห็นจากบรรยง พงษ์พานิช อดีตคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ผู้ที่เคยร่วมงานกับรัฐบาล ก็ออกมาระบุว่า เกิดจากการไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของการปฏิรูป
“เอานักกฎหมาย ทหาร กับข้าราชการ นำการปฏิรูปก็จะเป็นอย่างนี้แหละครับ…เหมือนพายเรือวนในอ่าง เหมือนเล่นชิงช้าสวรรค์ เหมือนมอเตอร์ไซค์ไต่ถัง…ทำไปทำมา ทุกอย่างอยู่ที่เดิม” นายบรรยงกล่าว
ขณะที่ฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ อย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ให้ภาพเปรียบเทียบผลงานการปฏิรูป 4 ปีซึ่งเป็นข้ออ้างสำคัญในการยึดอำนาจว่า คสช. เหมือนเด็กทำวิทยานิพนธ์ แล้วส่งงานไม่ทันก็มาขอขยายเวลา แถมงานก็ดูเหมือนจะไม่มีคุณภาพ
“เหมือนเด็กทำวิทยานิพนธ์ ทำแล้วส่งงานไม่ทัน แล้วมาขอยืดเวลาหน่อย ซึ่งอาจารย์ก็แบ่งได้ว่าเด็กบางคนไปทำเรื่องยากเกินไป เขาพยายามทำแล้ว ถ้ามีเวลาอีกสักนิดหน่อยเขาจะสำเร็จ และมีเด็กอีกประเภทที่อาจารย์ที่ปรึกษาดูแล้วว่าถึงต่อเวลาไปอีกกี่ปีก็ไม่เสร็จ หรือคุณภาพก็ไม่ได้ เปลี่ยนเรื่องเสียดีกว่า หรือเปลี่ยนคนทำก็อีกเรื่องหนึ่ง ผมก็ต้องบอกว่าอารมณ์ของคนทั่วไปในขณะนี้จะใกล้เคียงกับเด็กคนหลังมากกว่าคนแรก” นายอภิสิทธิ์กล่าว
หรือเทพไท เสนพงศ์ อีกหนึ่งนักการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ให้ความเห็นชัดเจนในเรื่องนี้โดยโพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ระบุว่า
“คสช. คุมประเทศ 4 ปี คือ 1 เทอมของรัฐบาลเลือกตั้ง มีอำนาจล้นฟ้า มี ม.44 อยู่ในมือ แค่ระบบทักษิณยังทำอะไรไม่ได้ นับประสาอะไรกับเรื่องปฏิรูปประเทศ คสช. ไม่มีข้ออ้างใดๆ นอกจากอยากเสพอำนาจต่อไป” และว่า “ระยะเวลา 4 ปี คือ 1 เทอมของการบริหารประเทศ ช่วยยกผลงานของ คสช. ให้เห็นเป็นรูปธรรมสัก 1 เรื่อง แม้แต่การขายลอตเตอรี่เกินราคา สุดท้ายก็ล้มเหลว เศร้าครับประเทศไทย”
ขณะที่เสียงจากพรรคการเมืองขนาดกลาง อย่างนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา เห็นว่าการปฏิรูป 4 ปีมีแค่ตัวหนังสือ ไม่เหมือนกับตอนยึดอำนาจที่พูดเรื่องหลักการไว้ดูดี
“ตอนยึดอำนาจฟังดูหลักการดีหมด ทุกคนอยากเห็นประเทศไทยก้าวข้ามวิกฤตด้วยการปฏิรูปประเทศ แต่ 4 ปีที่ผ่านมาดูเหมือนการปฏิรูปประเทศเป็นการปฏิรูปบนตัวหนังสือเท่านั้น ทิศทางการปฏิบัติจริงยังมองไม่เห็น”
มีเสียงสะท้อนจากนักวิชาการอย่าง อ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ ที่วิเคราะห์ปัญหาของการปฏิรูปในยุค คสช. โดยระบุว่าเกิดจากวิธีการที่ผิดพ่อ เป็นการปฏิรูปที่ไม่ได้เกิดจากการเห็นพ้อง แต่เกิดจากการเน้นการสั่ง
“เพราะปัญหาทุกอย่างในประเทศที่ต้องปฏิรูปเกิดจากคน จึงต้องให้คนมาเปลี่ยน มาตกลงกันว่าเรื่องไหนเป็นปัญหาแล้วพร้อมใจกันทำก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น วิธีการปฏิรูปที่ถูกต้องจึงไม่ได้เกิดจากการเขียนแผนแล้วจะเกิดขึ้นได้ การสั่งการก็จะได้แค่ชั่วครั้งชั่วคราว พอเลิกสั่งก็เลิกทำ การชักชวนคนที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันลงมือทำจะเกิดผลในทางปฏิบัติและยั่งยืนกว่า”
อ.ปริญญาระบุ
นี่ยังไม่ได้พูดถึงความเห็นของฟากพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามชัดเจนกับทหาร ที่ถึงขนาดยกระดับแกนนำตั้งโต๊ะแถลงชำแหละ
แต่ทั้งหมดทั้งมวล ฟังดูแล้วก็น่าหนักใจมิใช่น้อย โดยเฉพาะปัจจุบันผลงานการปฏิรูปด้านต่างๆ ต้องยอมรับว่ามีคนพูดถึงน้อยมาก สิ่งที่รัฐบาลพยายามพูด เช่น การปฏิรูปที่ดิน สร้างถนน ประปา รัฐบาลปกติก็ทำได้ ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงระบบที่คนคาดหวัง
นี่จึงเป็นเหตุผลให้หลายฝ่ายในสังคมตั้งคำถามกับรัฐบาลแม้แต่คนที่เคยเชียร์ เพราะเขากังวลว่ามันจะเสียเวลา เสียทรัพยากรของส่วนรวม การปฏิรูปไม่เดินหน้า แถมในเรื่องการเมืองหลายเรื่องยังถอยหลังไปไกลลิบ
การที่มีวัยรุ่นจัดคอนเสิร์ตดนตรีพังก์ใช้ชื่อว่า “จะ 4 ปีแล้วนะ…” จนถูกตำรวจรวบ ก็มีต้นเหตุทางการเมืองดังที่กล่าวมา เพื่อกระทุ้งถามและตอบโต้กับวาทกรรม “ขอเวลาอีกไม่นาน” ของรัฐบาลนั่นเอง
นึกถึงคำพูดของยอดนักเนติบริกรอย่างนายวิษณุ เครืองาม ที่พูดเรื่อง “ลงเรือแป๊ะต้องตามใจแป๊ะ” ทันที
หลังรับรู้เรื่องนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย นักนิติศาสตร์มืออันดับต้นของเมืองไทย ที่เข้าไปช่วยงาน คสช. ตั้งแต่ช่วงแรกของการยึดอำนาจ ออกมาให้สัมภาษณ์กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ และเผยอุปสรรคสำคัญของการปฏิรูป
นั่นคือการที่ผู้ที่เป็นปัญหาและควรต้องถูกปฏิรูปกลายเป็นผู้นำขับเคลื่อนการปฏิรูปเอง
เล่นเอา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีอาการหงุดหงิดไม่น้อย เพราะนายบวรศักดิ์ถือว่าเป็นคนในรัฐบาล เคยเป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงตำแหน่งล่าสุดก็ยังทำงานให้รัฐบาล แต่กลับพูดจาเหมือนจะไม่ตามใจแป๊ะ
“รัฐบาลคิดว่าต้องให้ส่วนราชการทำปฏิรูป ผมยังสงสัยอยู่ว่าถ้าคนที่ถูกปฏิรูปมาทำปฏิรูป มันจะสำเร็จหรือ เหมือนกับให้ผู้รับเหมาเป็นผู้ตรวจงาน เพราะจริงๆ แล้วการปฏิรูปต้องไม่ให้คนที่ถูกปฏิรูปมาทำโดยตรง แต่ให้เขามามีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น กระบวนการปฏิรูปต้องการการมีส่วนร่วมของผู้ถูกปฏิรูป แต่ไม่ควรให้ผู้ถูกปฏิรูปตันสินใจดำเนินการ ไม่ควรให้หน่วยงานราชการบอกว่าจะเสนอกฎหมาย”
นายบวรศักดิ์ระบุ
นี่คือคำกล่าวของนายบวรศักดิ์ซึ่งดูเหมือนจะเข้าใจโครงสร้างหลักของการแก้ปัญหาการปฏิรูประบบต่างๆ ในสังคมได้เป็นอย่างดี นั่นคือ หลักสำคัญคือต้องฟังและต้องการการมีส่วนร่วมของผู้ที่ถูกปฏิรูปนั้นเอง นายบวรศักดิ์ยังกล่าวย้ำชัดเจนถึงความล้มเหลวการปฏิรูปว่า
“ผมเข้าใจที่ พล.อ.ประยุทธ์ต้องหงุดหงิด เพราะงานมันไม่ค่อยออก คนก็เริ่มพูดแล้วว่า 4 ปี ไม่เห็นปฏิรูปเลย ก่อน 22 พฤษภาคม 2557 คนก็บอกว่าต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง หรือเลือกตั้งก่อนปฏิรูป ถ้าปฏิรูปไม่ออกก็จะมีปัญหาว่าทำไมนานนัก และคงจะมีส่วนด้วยที่ช่วงนี้ใกล้เลือกตั้ง จึงต้องเร่งการปฏิรูป อย่างน้อยก็จะพูดได้ว่าปฏิรูปแล้วนะ”
สร้างเสียงฮือฮาอย่างมากในสังคมการเมือง จนนักข่าวต้องหยิบไปถาม พล.อ.ประยุทธ์ หลังการประชุม ครม. เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
โดย พล.อ.ประยุทธ์โต้กลับนายบวรศักดิ์ ยืนยันว่ารัฐบาลมีผลงาน และมองว่าการพูดจาของนายบวรศักดิ์ทำให้สังคมสับสน ย้ำว่าถ้าจะมาทำงานร่วมกันแล้วก็ต้องทำตามนโยบายรัฐบาล
“กำลังให้เขาสรุป ถ้าไม่รู้เรื่องจะถือว่าพูดกันคนละภาษาแล้วไม่เข้าใจกัน ผมพูดภาษาไทย ผมถือว่าในเมื่อจะทำงานร่วมกัน ทุกคณะต้องทำงานตามนโยบายของรัฐบาลทั้งสิ้น ไม่ว่าจะปฏิรูปอะไร ถามว่าการปฏิรูปบุกรุกป่า จัดการปัญหาที่ดิน บริหารจัดการน้ำ ไม่ได้ทำเลยเหรอ ผมอยากจะทราบว่าอะไรคือไม่ทำ อะไรคือทำ อยากรู้ว่าวิธีการทำเป็นยังไง การพูดจาบางทีอาจทำให้สังคมเข้าใจผิด”
“อย่ามาบอกว่าไม่ได้ปฏิรูปอะไรเลย ถ้าไม่ปฏิรูปแล้วจะอยู่ไปทำไมถึง 4 ปี” พล.อ.ประยุทธ์กล่าวด้วยอารมณ์สีหน้าที่ค่อนข้างจะฉุนเฉียว
แต่ถึงกระนั้นในฝั่งผู้ที่สนับสนุน คสช. อย่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการกลุ่ม กปปส. ก็ได้ออกโรงปกป้องผลงานของบิ๊กตู่ ยืนยันว่ารัฐบาลมีผลงาน อย่างน้อยก็รัฐธรรมนูญฉบับนี้ และมองว่าที่ปฏิรูปไม่สำเร็จดังหวังเพราะถูกระบบเก่าขัดขวางเป็นอุปสรรค
“ผมเห็นใจ พล.อ.ประยุทธ์ที่ตั้งใจปฏิรูปประเทศ แต่กลับมีอุปสรรค มีคนต่อต้าน มีคนเข้าเกียร์ว่าง เข้าเกียร์สโลว์ ทำให้การปฏิรูปไม่สามารถดำเนินการไปได้อย่างที่คาดหวัง” นายสุเทพกล่าว
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เพราะเรื่องการปฏิรูปคือวาระหลักและเป็นข้ออ้างของรัฐบาลนี้ในการยึดอำนาจ
ที่สำคัญคือขณะนี้ล่วงเลยมาเป็นเวลากว่า 4 ปีแล้ว สูญเสียทรัพยากรทางเศรษฐกิจและโอกาสไปเป็นจำนวนมากกับการลงทุนที่ผ่านมา ทั้งตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. เข้ามาทำงาน จากนั้นก็ยังมีการตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ เข้ามารับช่วงต่อ สุดท้ายเป็นการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปด้านต่างๆ จำนวน 11 คณะ เมื่อคนในรัฐบาลเองบอกว่ามันไม่สำเร็จ
นี่แหละจึงบอกว่าเป็นเรื่องใหญ่
หันไปฟังเสียงอย่างอดีตแกนนำเสื้อเหลืองที่เคยหนุนโรดแม็ปการปฏิรูปของ คสช. อย่างสุริยะใส กตะศิลา ก็ออกมาระบุว่า
“4 ปี คสช. ถ้าจะเรียกว่าการปฏิรูปค้างเติ่งก็คงได้ เพราะมีแต่แผนการ มีวาระ มีพิมพ์เขียว แต่ยังขาดการปฏิบัติการให้เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการปฏิรูปในระดับโครงสร้างซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปประเทศ โมเมนตัมและแรงส่งของการปฏิรูปจึงถดถอยลง”
หรืออีกหนึ่งความเห็นจากบรรยง พงษ์พานิช อดีตคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ผู้ที่เคยร่วมงานกับรัฐบาล ก็ออกมาระบุว่า เกิดจากการไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของการปฏิรูป
“เอานักกฎหมาย ทหาร กับข้าราชการ นำการปฏิรูปก็จะเป็นอย่างนี้แหละครับ…เหมือนพายเรือวนในอ่าง เหมือนเล่นชิงช้าสวรรค์ เหมือนมอเตอร์ไซค์ไต่ถัง…ทำไปทำมา ทุกอย่างอยู่ที่เดิม” นายบรรยงกล่าว
ขณะที่ฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ อย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ให้ภาพเปรียบเทียบผลงานการปฏิรูป 4 ปีซึ่งเป็นข้ออ้างสำคัญในการยึดอำนาจว่า คสช. เหมือนเด็กทำวิทยานิพนธ์ แล้วส่งงานไม่ทันก็มาขอขยายเวลา แถมงานก็ดูเหมือนจะไม่มีคุณภาพ
“เหมือนเด็กทำวิทยานิพนธ์ ทำแล้วส่งงานไม่ทัน แล้วมาขอยืดเวลาหน่อย ซึ่งอาจารย์ก็แบ่งได้ว่าเด็กบางคนไปทำเรื่องยากเกินไป เขาพยายามทำแล้ว ถ้ามีเวลาอีกสักนิดหน่อยเขาจะสำเร็จ และมีเด็กอีกประเภทที่อาจารย์ที่ปรึกษาดูแล้วว่าถึงต่อเวลาไปอีกกี่ปีก็ไม่เสร็จ หรือคุณภาพก็ไม่ได้ เปลี่ยนเรื่องเสียดีกว่า หรือเปลี่ยนคนทำก็อีกเรื่องหนึ่ง ผมก็ต้องบอกว่าอารมณ์ของคนทั่วไปในขณะนี้จะใกล้เคียงกับเด็กคนหลังมากกว่าคนแรก” นายอภิสิทธิ์กล่าว
หรือเทพไท เสนพงศ์ อีกหนึ่งนักการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ให้ความเห็นชัดเจนในเรื่องนี้โดยโพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ระบุว่า
“คสช. คุมประเทศ 4 ปี คือ 1 เทอมของรัฐบาลเลือกตั้ง มีอำนาจล้นฟ้า มี ม.44 อยู่ในมือ แค่ระบบทักษิณยังทำอะไรไม่ได้ นับประสาอะไรกับเรื่องปฏิรูปประเทศ คสช. ไม่มีข้ออ้างใดๆ นอกจากอยากเสพอำนาจต่อไป” และว่า “ระยะเวลา 4 ปี คือ 1 เทอมของการบริหารประเทศ ช่วยยกผลงานของ คสช. ให้เห็นเป็นรูปธรรมสัก 1 เรื่อง แม้แต่การขายลอตเตอรี่เกินราคา สุดท้ายก็ล้มเหลว เศร้าครับประเทศไทย”
ขณะที่เสียงจากพรรคการเมืองขนาดกลาง อย่างนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา เห็นว่าการปฏิรูป 4 ปีมีแค่ตัวหนังสือ ไม่เหมือนกับตอนยึดอำนาจที่พูดเรื่องหลักการไว้ดูดี
“ตอนยึดอำนาจฟังดูหลักการดีหมด ทุกคนอยากเห็นประเทศไทยก้าวข้ามวิกฤตด้วยการปฏิรูปประเทศ แต่ 4 ปีที่ผ่านมาดูเหมือนการปฏิรูปประเทศเป็นการปฏิรูปบนตัวหนังสือเท่านั้น ทิศทางการปฏิบัติจริงยังมองไม่เห็น”
มีเสียงสะท้อนจากนักวิชาการอย่าง อ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ ที่วิเคราะห์ปัญหาของการปฏิรูปในยุค คสช. โดยระบุว่าเกิดจากวิธีการที่ผิดพ่อ เป็นการปฏิรูปที่ไม่ได้เกิดจากการเห็นพ้อง แต่เกิดจากการเน้นการสั่ง
“เพราะปัญหาทุกอย่างในประเทศที่ต้องปฏิรูปเกิดจากคน จึงต้องให้คนมาเปลี่ยน มาตกลงกันว่าเรื่องไหนเป็นปัญหาแล้วพร้อมใจกันทำก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น วิธีการปฏิรูปที่ถูกต้องจึงไม่ได้เกิดจากการเขียนแผนแล้วจะเกิดขึ้นได้ การสั่งการก็จะได้แค่ชั่วครั้งชั่วคราว พอเลิกสั่งก็เลิกทำ การชักชวนคนที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันลงมือทำจะเกิดผลในทางปฏิบัติและยั่งยืนกว่า”
อ.ปริญญาระบุ
นี่ยังไม่ได้พูดถึงความเห็นของฟากพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามชัดเจนกับทหาร ที่ถึงขนาดยกระดับแกนนำตั้งโต๊ะแถลงชำแหละ
แต่ทั้งหมดทั้งมวล ฟังดูแล้วก็น่าหนักใจมิใช่น้อย โดยเฉพาะปัจจุบันผลงานการปฏิรูปด้านต่างๆ ต้องยอมรับว่ามีคนพูดถึงน้อยมาก สิ่งที่รัฐบาลพยายามพูด เช่น การปฏิรูปที่ดิน สร้างถนน ประปา รัฐบาลปกติก็ทำได้ ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงระบบที่คนคาดหวัง
นี่จึงเป็นเหตุผลให้หลายฝ่ายในสังคมตั้งคำถามกับรัฐบาลแม้แต่คนที่เคยเชียร์ เพราะเขากังวลว่ามันจะเสียเวลา เสียทรัพยากรของส่วนรวม การปฏิรูปไม่เดินหน้า แถมในเรื่องการเมืองหลายเรื่องยังถอยหลังไปไกลลิบ
การที่มีวัยรุ่นจัดคอนเสิร์ตดนตรีพังก์ใช้ชื่อว่า “จะ 4 ปีแล้วนะ…” จนถูกตำรวจรวบ ก็มีต้นเหตุทางการเมืองดังที่กล่าวมา เพื่อกระทุ้งถามและตอบโต้กับวาทกรรม “ขอเวลาอีกไม่นาน” ของรัฐบาลนั่นเอง