ต่อการที่มีประกาศราชกิจจานุเบกษาพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ เมื่อวันที่
๑๔ พ.ค. แล้วนั้น ดร.โสภณ พรโชคชัย เขียนวิจารณ์โต้แย้งอย่างละเอียดหลายมาตรา
ตีพิมพ์ทาง prachatai.com/journal/2018
ว่า “เป็นการปูทางสู่ศักราชใหม่ของการขายชาติอย่างแท้จริงหรือไม่”
ดังนี้
มาตรา ๖ ให้พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชลบุรีและระยอง และ “พื้นที่อื่นใดที่อยู่ในภาคตะวันออกที่กำหนดเพิ่มเติม” โดยพระราชกฤษฎีกาเป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก...
ดร.โสภณบอก แสดงว่าไม่ได้จำกัดเฉพาะ
๓ จังหวัดตามที่โฆษณาไว้แล้ว แต่เป็นตรงไหนก็ได้ และ “ต่อไปลามไปทั้งภาคตะวันออก
รวมถึงสระแก้ว ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด โดยไม่ต้องตราเป็น พรบ.อีกต่อไป
มาตรา ๓๓ ในกรณีที่มีความจําเป็นที่จะต้องดําเนินการใดเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษ...“ไม่ว่าการนั้นจําเป็นต้องดําเนินการภายในหรือภายนอกเขตฯ”...ให้คณะกรรมการนโยบายเป็นผู้พิจารณาอนุมัติหรืออนุญาตหรือให้ความเห็นชอบแทนหน่วยงานของรัฐ
นี่ก็สามารถดำเนินการนอกพื้นที่
๗ จังหวัดได้อีก เท่ากับคณะกรรมการนโยบายอยู่เหนือหน่วยราชการอื่นใดในประเทศไทย
มาตรา ๓๕ ให้มีการยกเว้น “ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย”
หมายความว่า “นี่ใช่การขายชาติหรือเปล่า” ดร.โสภณชี้ว่า
“ชาติอื่น เช่น สิงคโปร์
แค่ต่างชาติมาซื้อห้องชุดยังต้องเสียภาษีซื้อ ๑๕% ฮ่องกง ๓๐% แต่ไทยเราจะไม่เก็บค่าธรรมเนียม
แถมภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ร่างกันอยู่ก็ต่ำจนแทบไม่ต้องเสีย
อย่างนี้เราเสีย ‘สิทธิสภาพนอกอาณาเขต’ ไหม”
มาตรา ๓๖
ให้คณะกรรมการนโยบายมีอำนาจอนุญาตให้เข้าใช้ประโยชน์ที่ดินซึ่งกำหนดไว้เพื่อการปฏิรูปเกษตรกรรมได้
เช่นนี้ “แสดงว่าเกษตรกรผู้ที่ถือครองที่ ส.ป.ก.๔-๐๑ ก็จะขาดความมั่นคงในการถือครองที่ดินแล้ว”
เกี่ยวเนื่องกันในมาตรา ๕๒
ซึ่งว่าถึงการให้เช่าหรือเช่าช่วงที่ดินและอสังหาริมทรัพย์
ว่าไม่ให้นำกฎหมายแพ่งมาตรา ๕๔๐ และกฎหมายเช่าอสังหาฯ มาตรา ๕ มาบังคับใช้ (โดยห้ามเช่าเกิน
๕๐ ปี และห้ามต่ออายุเกิน ๔๙ ปี)
ในเมื่อกฎหมายเดิมให้ต่อสัญญาได้เมื่อหมดอายุสัญญาเดิมแล้วเท่านั้น
แบบนี้ ดร.โสภณว่า “เท่ากับจะทำให้การ ‘งุบงิบ’ ทำสัญญาซ้อนเป็นการถูกกฎหมายใช่ ไหม
ยิ่งกว่านั้นยังปล่อยให้เช่าช่ วงได้อีก
พวกต่างชาติไม่ใช่ที่ดินแล้ว ยังปล่อยให้เช่าช่วงอีก แต่ทีที่ดิน ส.ป.ก.๔-๐๑ เกษตรกรไม่ใช้ทำเกษตรแล้วยังต้องคืนหลวง
นี่ปล่อยให้พวกต่างชาติมาหากิ นกับที่ดินไทย”
มาตรา ๓๙ ให้กรรมการนโยบายเป็นผู้กำหนดชนิดอุตสาหกรรมนอกเหนือจากอุตสาหกรรมเป้าหมายอีกก็ได้
เช่นด้านบริการ ท่องเที่ยว และจัดประชุม ซึ่ง ดร.โสภณแย้งว่า “มันเกี่ยวกับเทคโนโลยีชั้นสูงและสิ่งแวดล้อมตรงไหน”
นั่นจะเป็นการเปิดทางให้ต่างชาติเข้ามา ‘ฆ่า’ อุตสาหกรรมที่ไทยทำได้อยู่แล้ว
“ส่วนที่อ้างเรื่องยานยนต์สมัยใหม่
อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ ดิจิทัล การแพทย์ครบวงจร
ก็ไม่ต้องไปไกลถึงภาคตะวันออก ตั้งในนิคมอุตสาหกรรมใกล้ๆ ก็ได้
ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณไปมหาศาลแบบ ‘ขี่ช้างจับตั๊กแตน’ แบบนี้” ดร.โสภณแซะ
มาตรา ๔๘, ๔๙ และ ๕๑
เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่มอบให้แก่ผู้ประกอบการหรืออยู่อาศัยในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
เช่นการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและอสังหาฯ โดยคนต่างด้าว
การนำคนต่างด้าวเข้ามาอยู่อาศัย “การได้รับยกเว้นและลดหย่อนภาษี”
“โดยไม่ต้องได้รับอนุ ญาตตามประมวลกฎหมายที่ดิน
หรือภายใต้การจำกัดสิทธิของคนต่ างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด” และ “รวมทั้งคู่สมรส
บุพการี และบุตร...อาจได้รับการลดหย่อนภาษี สิทธิเกี่ยวกับการเข้าเมื องและการขออนุญาตทํางาน
และสิทธิอื่นเพิ่มเติม”
เหล่านี้ ดร.โสภณเห็นว่า เป็นเขตเช่า
๙๙ ปีของคนต่ างชาติไปแล้วหรือไม่...ประเคนให้ทั้งที่ก็ไม่เห็นมีใครเรียกร้ อง”
หนำซ้ำมาตรา ๕๘ ยังให้ผู้ประกอบการในเขตเศรษฐกิจ “ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุ มการแลกเปลี่ยนเงิน”
เท่ากับ “ต่างชาติสามารถใช้เงินตราสกุ ลของเขาเองได้...เหมือนกัมพูชาที่เดี๋ยวนี้ ใช้แต่เงินดอลลาร์
กลายเป็นประเทศราชทางการเงิ นของมหาอำนาจ”