จบแล้ว คสช.! การเลือกตั้งเปิดพื้นที่ให้คนใหม่ คนเก่าปรับตัว ประชาชนมีตัวเลือก
29 พ.ค. 2561
โดย iLaw
ต้นเดือนมีนาคม 2561 บรรยากาศการเมืองไทยกลับมาคึกคักและมีชีวิตชีวาอีกครั้ง เมื่อมีการเปิดให้ประชาชนตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป สามารถรวมตัวกันยื่นคำขอจดจองชื่อเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพียงแค่วันแรกก็มีจำนวนผู้ต้องการยื่นคำร้องเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ถึง 42 พรรค แม้การดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ของ (ว่าที่) พรรคการเมืองจะยังถูกจำกัดและต้องขออนุญาตจาก คสช. แต่ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไรมาขวางกั้นเหล่านักการเมืองหน้าใหม่ให้นิ่งเฉยทำตามคำสั่ง คสช. เท่านั้น
ขณะที่พรรคการเมืองเดิม แม้จะถูกหัวหน้า คสช. ออกคำสั่ง ม.44 ตัดตอนลดจำนวนสมาชิกพรรคเป็นจำนวนมาก และก็อยู่ในข้อจำกัดเดียวกับว่าที่พรรคการเมืองใหม่ แต่ด้วยบรรยากาศทางการเมืองที่เริ่มเปิดขึ้นทำให้พรรคการเมืองต่างๆ เริ่มออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ คสช. มากขึ้น และยังเสนอความคิดและนโยบายที่แตกต่างจากสี่ปีที่ผ่านของ คสช. ขณะที่หน้าข่าวก็เริ่มปรากฎคำพูดและบทบาทของนักการเมืองจากพรรคการเมืองต่างๆ มากขึ้นกว่าสี่ปีที่ผ่านมา บรรยากาศคึกคักเช่นนี้เป็นสัญญาณว่าการเลือกตั้งใกล้จะมาถึงแล้ว
คนหน้าใหม่ ความคิดใหม่เข้าสู่การเมืองอย่างคึกคัก
นับถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2561 เป็นเวลาเกือบสามเดือนที่มีเปิดให้มีการยื่นคำขอจดจองชื่อเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ ข้อมูลจาก กกต. ระบุว่ามีผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่จำนวน 101 พรรค จำนวนผู้ต้องการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ส่วนใหญ่ไม่ใช่คนที่มีชื่อเสียง หรือถ้ามีชื่อเสียงหน่อยก็ยังเป็นคนหน้าใหม่ที่ไม่เคยอยู่ในสนามการเมืองมาก่อน พรรคการเมืองใหม่จำนวนมากได้ช่วยสร้างบรรยากาศที่คึกคักให้การเมืองไทยกลับมาอีกครั้ง และพรรคการเมืองใหม่อีกจำนวนหนึ่งได้สร้างความหวังและเป็นทางเลือกใหม่ให้ประเทศไทยอีกครั้ง เช่น
- พรรคอนาคตใหม่ นำโดยธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับปิยบุตร แสงกนกกุล ชูความเป็นพรรคของคนรุ่นใหม่ที่จะนำประเทศไทยก้าวข้ามความขัดแย้งทางการเมืองในรอบ 12 ปีที่ผ่าน เสนอแนวคิดที่น่าสนใจ เช่น การปลดล็อดกฎระเบียบที่เอื้อให้ทุนผูกขาด การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้มากที่สุด สร้างอุตสาหกรรมใหม่อย่างเกมส์หรือหารทำระบบรางภายในประเทศ การแก้ไขทุจริตด้วย Open Data ข้อมูลภาครัฐต้องเปิดข้อมูลทุกอย่างบนเว็บไซต์ ฯลฯ
- พรรคกลาง นำโดย ชุมพล ครุฑแก้ว นักวิ่งมาราธอนชื่อดัง และอดีตผู้บริหารของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.หรือ NECTEC) และสุขทวี สุวรรณชัยรบ ที่ผ่านงานในองค์กรพัฒนานานาชาติหลายแห่ง แม้ชื่อพรรคจะยังไม่คุ้นหูมากนักแต่ก็ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนอยู่บ้าง พรรคกลางเสนอแนวคิดยุคใหม่โดยใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาของประเทศ ซึ่งเทคโนโลยีจะทำให้ประชาชนมีส่วนในการปกครองประเทศโดยตรง และจะทำให้เกิดความโปร่งใสช่วยลดการทุจริต
- พรรคเกรียน นำโดยสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ “บก.ลายจุด” แม้ผู้ก่อตั้งพรรคจะชื่อคุ้นหูสำหรับคนที่ติดตามการเมือง แต่แนวคิดการทำพรรคนับว่าล้ำหน้าและแหวกขนบเดิมของการเล่นการเมือง พรรคเกรียนขายสโลแกนพรรคว่า “เราเป็นจะเป็นผู้นำความบันเทิงสู่การเมืองไทย” และ “ไม่หาเสียง แต่หาเรื่อง” โดยการหาเรื่องคือการให้สมาชิกระดมสมองช่วยกันคิดค้นนโยบายเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ และนำเสนอออกสู่สังคม พรรคจะเป็นเหมือนคลังปัญญา (Think Tank) นำความคิดและนโยบายมาไว้ตรงกลางเปิดให้พรรคการเมืองอื่นนำสามารถไปใช้ประโยชน์ได้ แม้ชื่อพรรคเกรียนจะถูกปฏิเสธจาก กกต. แต่ถ้าพรรคนี้จะตั้งสำเร็จด้วยชื่อใดก็ตามการเมืองไทยก็จะสร้างสรรค์มากขึ้น
- พรรคสามัญชน เป็นการรวมตัวของนักกิจกรรมและเอ็นจีโอที่ทำงานคลุกคลีกับชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ แม้พรรคนี้จะยังไม่มีชื่อเสียงมากนัก แต่บรรดาผู้ก่อตั้งพรรคล้วนเป็นผู้รณรงค์และทำงานเกี่ยวกับปัญหาสังคมในประเด็นต่างๆ หลักการสำคัญของพรรคนี้คือประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียมเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอรูปธรรม เช่น การให้มีระบบสวัสดิการถ้วนหน้า การเปิดกัญชาเสรี และความเท่าเทียมทางเพศ
- พรรคพลังคนรุ่นใหม่ไทย นำโดยกันธิชา ฉิมศิริ นักธุรกิจ นักแข่งรถ และอดีตมิสซิสยูนิเวิร์สปี 2016 จากประวัติคร่าวๆ ของผู้นำหญิงพรรคนี้ เรียกว่าเธอข้ามจากสายบันเทิงมาสู่การเมือง โดยพรรคนี้มีข้อเสนอที่น่าสนใจ เช่น การสร้างสวรรค์นักช้อปโดยจะจัดพื้นที่ปลอดภาษีกระจายไปยังหัวเมืองตามภาคต่างๆ เพื่อดึงรายได้จากนักท่องเที่ยว การสนับสนุนสาวประเภทสองสามารถเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อได้ และการจัดกิจกรรมเกย์ เฟสติวัล เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว รวมถึงการออกกฎเกณฑ์ให้สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ต้องมีพื้นที่สำหรับคนพิการโดยเฉพาะ
- พรรคไทยศิวิไลซ์ นำโดย มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ และณัชพล สุขพัฒนะ หรือ “มาร์ค พิทบูล” หากใครติดตามพรรคนี้ในโลกออนไลน์ก็จะเห็นแกนนำผู้จัดตั้งเดินสายไปทั่วไปพบปะผู้คนและเดินหน้าตรวจสอบทุจริตตามพื้นที่ต่างๆ ซึ่งการปราบปรามการทุจริตคือแนวทางที่สำคัญของพรรคนี้นอกจากนี้การปฏิรูประบบยุติธรรมให้ประชาชนทุกฐานะเข้าถึงอย่างเท่าเทียมเป็นอีกแนวทางที่สำคัญของพรรคนี้
การไม่มีการจัดการเลือกตั้งยาวนานถึงเจ็ดปีและการลดบทบาทของพรรคการเมืองมาสี่ปีทำให้สังคมไทยขาดความเป็นไปได้และขาดตัวเลือกใหม่ๆ ในการขับเคลื่อนประเทศ สี่ปีที่ผ่านการเมืองไทยไม่มีตัวเลือกอะไรนอกจากจำใจต้องยอมรับสองนายพลวัยเกษียณอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ครั้นจะมองกลับไปสู่การเลือกตั้งก็เห็นแต่พรรคการเมืองและนักการเมืองหน้าเดิมที่พาประเทศไทยวนเวียนอยู่ในความขัดแย้งตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้การเปิดให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่และเปิดให้คนหน้าใหม่จึงทำให้การเมืองไทยดูมีความหวังขึ้นมาเล็กๆ
พลังออนไลน์สร้างปรากฎการณ์ธนาธร
เพียงหนึ่งอาทิตย์ก่อน คสช. จะอนุญาตให้มีการจองชื่อพรรคการเมือง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นักธุรกิจเจ้าของฉายา “ไพร่หมื่นล้าน” ประกาศตัวว่าจะตั้งพรรคการเมือง การประกาศตัวของเขาสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้ที่สนใจการเมืองอย่างมาก ด้วยวัยเพียง 39 ปี ประกอบบุคคลที่โดดเด่น และความคิดที่ทันสมัย ทำให้ตัวเขาได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกออนไลน์ ความนิยมของธนาธรปรากฎชัดเมื่อ 5 มีนาคม2561 ผ่านจำนวนยอดผู้ชมกว่าสองแสนคนที่ดูการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการครั้งแรกของเขาผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ The101.world แม้ในขณะนั้นเขาจะยังไม่มีชื่อพรรค แต่เพียงหนึ่งวันต่อมาในโลกออน์ไลน์ก็เกิดกระแสตั้งแฮชแท็ก #ช่วยธนาธรตั้งชื่อพรรค โดยแฮชแท็กนี้ได้ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของทวิตเตอร์ประเทศไทยในวันนั้น
วันที่ 15 มีนาคม 2561 ธนาธรเปิดตัวพรรคอนาคตใหม่อย่างเป็นทางการพร้อมกับทีมงานผู้ร่วมก่อตั้งพรรคจำนวน 26 คน กระแสของพวกเขาไม่ได้ขึ้นแต่ในโลกออนไลน์ เพราะหลังจากเปิดตัวพรรคไม่ถึงเดือนชื่อของธนาธรและพรรคอนาคตใหม่ก็ก้าวขึ้นมามีคะแนนนิยมผ่านโพลต่างๆ เช่น วันที่ 18 มีนาคม นิด้าโพลล์ เผยผลสำรวจ “ประชาชนอยากให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรี” จากผลสำรวจ ธนาธร ได้รับคะแนนนิยมเป็นลำดับที่สี่เป็นรองเพียง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ จากพรรคเพื่อไทย และอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น ขณะที่ วันที่ 25 มีนาคม กรุงเทพโพลล์ เผยผลสำรวจ “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจะเลือกพรรคการเมืองใด” จากผลสำรวจพรรคอนาคตใหม่ ได้รับความนิยมเป็นลำดับที่สามเป็นรองเพียงพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น
กระแส “คนรุ่นใหม่” พรรคเก่าปรับตัว
หลังจากสี่ปีที่ผ่านการเมืองไทยอยู่ภายใต้การนำของคนรุ่นเก่า การเปิดตัวของพรรคอนาคตใหม่ด้วยทีมงานผู้ร่วมก่อตั้งที่มีอายุเฉลี่ยอยู่เพียง 31 ปี จึงปลุกกระแสคนรุ่นใหม่ในสนามการเมืองและเป็นแรงกระตุ้นให้พรรคการเมืองเก่าแต่ละพรรคต้องนำเสนอคนรุ่นใหม่เพื่อแข่งขันกันแย่งคะแนนนิยมเพื่อเป็นตัวเลือกให้ประชาชน นี่เป็นครั้งแรกในยุค คสช. ที่นักการเมืองรุ่นใหม่ (ที่บางคนก็หน้าใหม่บางคนก็หน้าเก่า) เริ่มมีปากมีเสียงและปรากฎตัวต่อสาธารณะมากขึ้นผ่านทีวี สิ่งพิมพ์ ออนไลน์ หรืองานเสวนาสาธารณะต่างๆ
ถ้าไม่นับพรรคอนาคตใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ คือ พรรคการเมืองแรกที่เปิดตัวคนรุ่นใหม่อย่าง พริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ “ไอติม” เขาเดินทางไปในทุกเวทีในนามของประชาธิปัตย์ยุคใหม่ พร้อมกับเสนอแนวทางการพัฒนาประเทศ เช่น การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ให้แต่ละจังหวัดเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อบริหารจัดการตัวเอง หรือเรื่องเศรษฐกิจ ที่ต้องเปลี่ยนตัวชี้วัดใหม่ทางเศรษฐกิจให้ตอบโจทย์ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เพราะที่ผ่านการใช้จีดีพีไม่ได้ทำคนผู้มีรายได้น้อยรู้สึกเศรษฐกิจดีขึ้น ฯลฯ
ขณะพรรคเพื่อไทย แม้จะยังไม่มีบุคคลที่จะนำในด้านนี้แต่แนวคิดของพรรคก็ได้ปรากฎผ่าน ปรีชาพล พงษ์พานิช อดีต ส.ส.จังหวัดขอนแก่น เขากล่าวว่า ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจโลก ซึ่งการศึกษาเป็นพื้นฐานของการสร้างเศรษฐกิจ ประเทศไทยควรเริ่มจากการกระจายอำนาจบริหารการศึกษาสู่ท้องถิ่น การเพิ่มโรงเรียนสองภาษา และใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มากขึ้น ฯลฯ
รายงานสถิติจำนวนประชากรประจำปี 2560 แสดงให้เห็นว่าการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นจะมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. จำนวน 5,616,261 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 52,457,576 คน จำนวนตัวเลขผู้สิทธิเลืือกตั้งหน้าใหม่ขนาดนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่แต่ละพรรคการเมืองจะไม่ยอมตกกระแสคนรุ่นใหม่
นอกจากนี้ความล้มเหลวตลอดสี่ปีที่ผ่านมา คสช. จะทำให้พรรคการเมืองการเมืองแต่ละพรรคจะต้องคิดค้นนโยบายและแข่งขันกันเพื่อซื้อใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศ แน่นอนว่านโยบายเหล่านี้จะไม่มาจากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือแผนปฏิรูปประเทศของ คสช. แต่เกิดจากความต้องการของคนแต่รุ่นแต่วัยที่ต้องเผชิญกับปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกัน
การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น เราเห็นพรรคการเมืองใหม่เสนอการเป็นตัวเลือกที่แตกต่างจากอดีตที่ผ่่าน เราเห็นพรรคการเมืองเก่าที่พยายามปรับตัวให้ทันสถานการณ์และความต้องการของประชาชน เราเห็นคนหน้าใหม่ที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงประเทศ การเลือกตั้งครั้งหน้าคือความหวังเราจะมีตัวเลือกและเลือกได้กว่าสี่ปีที่ผ่านมา
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
พรรคการเมืองประสานเสียง ล้างมรดกเผด็จการ-ไม่เอานายกฯ คนนอก
เครื่องมือตามรัฐธรรมนูญใหม่ รู้ไว้เพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ (กับประชาชน)
ต้นเดือนมีนาคม 2561 บรรยากาศการเมืองไทยกลับมาคึกคักและมีชีวิตชีวาอีกครั้ง เมื่อมีการเปิดให้ประชาชนตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป สามารถรวมตัวกันยื่นคำขอจดจองชื่อเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพียงแค่วันแรกก็มีจำนวนผู้ต้องการยื่นคำร้องเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ถึง 42 พรรค แม้การดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ของ (ว่าที่) พรรคการเมืองจะยังถูกจำกัดและต้องขออนุญาตจาก คสช. แต่ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไรมาขวางกั้นเหล่านักการเมืองหน้าใหม่ให้นิ่งเฉยทำตามคำสั่ง คสช. เท่านั้น
ขณะที่พรรคการเมืองเดิม แม้จะถูกหัวหน้า คสช. ออกคำสั่ง ม.44 ตัดตอนลดจำนวนสมาชิกพรรคเป็นจำนวนมาก และก็อยู่ในข้อจำกัดเดียวกับว่าที่พรรคการเมืองใหม่ แต่ด้วยบรรยากาศทางการเมืองที่เริ่มเปิดขึ้นทำให้พรรคการเมืองต่างๆ เริ่มออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ คสช. มากขึ้น และยังเสนอความคิดและนโยบายที่แตกต่างจากสี่ปีที่ผ่านของ คสช. ขณะที่หน้าข่าวก็เริ่มปรากฎคำพูดและบทบาทของนักการเมืองจากพรรคการเมืองต่างๆ มากขึ้นกว่าสี่ปีที่ผ่านมา บรรยากาศคึกคักเช่นนี้เป็นสัญญาณว่าการเลือกตั้งใกล้จะมาถึงแล้ว
คนหน้าใหม่ ความคิดใหม่เข้าสู่การเมืองอย่างคึกคัก
นับถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2561 เป็นเวลาเกือบสามเดือนที่มีเปิดให้มีการยื่นคำขอจดจองชื่อเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ ข้อมูลจาก กกต. ระบุว่ามีผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่จำนวน 101 พรรค จำนวนผู้ต้องการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ส่วนใหญ่ไม่ใช่คนที่มีชื่อเสียง หรือถ้ามีชื่อเสียงหน่อยก็ยังเป็นคนหน้าใหม่ที่ไม่เคยอยู่ในสนามการเมืองมาก่อน พรรคการเมืองใหม่จำนวนมากได้ช่วยสร้างบรรยากาศที่คึกคักให้การเมืองไทยกลับมาอีกครั้ง และพรรคการเมืองใหม่อีกจำนวนหนึ่งได้สร้างความหวังและเป็นทางเลือกใหม่ให้ประเทศไทยอีกครั้ง เช่น
- พรรคอนาคตใหม่ นำโดยธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับปิยบุตร แสงกนกกุล ชูความเป็นพรรคของคนรุ่นใหม่ที่จะนำประเทศไทยก้าวข้ามความขัดแย้งทางการเมืองในรอบ 12 ปีที่ผ่าน เสนอแนวคิดที่น่าสนใจ เช่น การปลดล็อดกฎระเบียบที่เอื้อให้ทุนผูกขาด การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้มากที่สุด สร้างอุตสาหกรรมใหม่อย่างเกมส์หรือหารทำระบบรางภายในประเทศ การแก้ไขทุจริตด้วย Open Data ข้อมูลภาครัฐต้องเปิดข้อมูลทุกอย่างบนเว็บไซต์ ฯลฯ
- พรรคกลาง นำโดย ชุมพล ครุฑแก้ว นักวิ่งมาราธอนชื่อดัง และอดีตผู้บริหารของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.หรือ NECTEC) และสุขทวี สุวรรณชัยรบ ที่ผ่านงานในองค์กรพัฒนานานาชาติหลายแห่ง แม้ชื่อพรรคจะยังไม่คุ้นหูมากนักแต่ก็ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนอยู่บ้าง พรรคกลางเสนอแนวคิดยุคใหม่โดยใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาของประเทศ ซึ่งเทคโนโลยีจะทำให้ประชาชนมีส่วนในการปกครองประเทศโดยตรง และจะทำให้เกิดความโปร่งใสช่วยลดการทุจริต
- พรรคเกรียน นำโดยสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ “บก.ลายจุด” แม้ผู้ก่อตั้งพรรคจะชื่อคุ้นหูสำหรับคนที่ติดตามการเมือง แต่แนวคิดการทำพรรคนับว่าล้ำหน้าและแหวกขนบเดิมของการเล่นการเมือง พรรคเกรียนขายสโลแกนพรรคว่า “เราเป็นจะเป็นผู้นำความบันเทิงสู่การเมืองไทย” และ “ไม่หาเสียง แต่หาเรื่อง” โดยการหาเรื่องคือการให้สมาชิกระดมสมองช่วยกันคิดค้นนโยบายเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ และนำเสนอออกสู่สังคม พรรคจะเป็นเหมือนคลังปัญญา (Think Tank) นำความคิดและนโยบายมาไว้ตรงกลางเปิดให้พรรคการเมืองอื่นนำสามารถไปใช้ประโยชน์ได้ แม้ชื่อพรรคเกรียนจะถูกปฏิเสธจาก กกต. แต่ถ้าพรรคนี้จะตั้งสำเร็จด้วยชื่อใดก็ตามการเมืองไทยก็จะสร้างสรรค์มากขึ้น
- พรรคสามัญชน เป็นการรวมตัวของนักกิจกรรมและเอ็นจีโอที่ทำงานคลุกคลีกับชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ แม้พรรคนี้จะยังไม่มีชื่อเสียงมากนัก แต่บรรดาผู้ก่อตั้งพรรคล้วนเป็นผู้รณรงค์และทำงานเกี่ยวกับปัญหาสังคมในประเด็นต่างๆ หลักการสำคัญของพรรคนี้คือประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียมเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอรูปธรรม เช่น การให้มีระบบสวัสดิการถ้วนหน้า การเปิดกัญชาเสรี และความเท่าเทียมทางเพศ
- พรรคพลังคนรุ่นใหม่ไทย นำโดยกันธิชา ฉิมศิริ นักธุรกิจ นักแข่งรถ และอดีตมิสซิสยูนิเวิร์สปี 2016 จากประวัติคร่าวๆ ของผู้นำหญิงพรรคนี้ เรียกว่าเธอข้ามจากสายบันเทิงมาสู่การเมือง โดยพรรคนี้มีข้อเสนอที่น่าสนใจ เช่น การสร้างสวรรค์นักช้อปโดยจะจัดพื้นที่ปลอดภาษีกระจายไปยังหัวเมืองตามภาคต่างๆ เพื่อดึงรายได้จากนักท่องเที่ยว การสนับสนุนสาวประเภทสองสามารถเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อได้ และการจัดกิจกรรมเกย์ เฟสติวัล เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว รวมถึงการออกกฎเกณฑ์ให้สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ต้องมีพื้นที่สำหรับคนพิการโดยเฉพาะ
- พรรคไทยศิวิไลซ์ นำโดย มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ และณัชพล สุขพัฒนะ หรือ “มาร์ค พิทบูล” หากใครติดตามพรรคนี้ในโลกออนไลน์ก็จะเห็นแกนนำผู้จัดตั้งเดินสายไปทั่วไปพบปะผู้คนและเดินหน้าตรวจสอบทุจริตตามพื้นที่ต่างๆ ซึ่งการปราบปรามการทุจริตคือแนวทางที่สำคัญของพรรคนี้นอกจากนี้การปฏิรูประบบยุติธรรมให้ประชาชนทุกฐานะเข้าถึงอย่างเท่าเทียมเป็นอีกแนวทางที่สำคัญของพรรคนี้
การไม่มีการจัดการเลือกตั้งยาวนานถึงเจ็ดปีและการลดบทบาทของพรรคการเมืองมาสี่ปีทำให้สังคมไทยขาดความเป็นไปได้และขาดตัวเลือกใหม่ๆ ในการขับเคลื่อนประเทศ สี่ปีที่ผ่านการเมืองไทยไม่มีตัวเลือกอะไรนอกจากจำใจต้องยอมรับสองนายพลวัยเกษียณอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ครั้นจะมองกลับไปสู่การเลือกตั้งก็เห็นแต่พรรคการเมืองและนักการเมืองหน้าเดิมที่พาประเทศไทยวนเวียนอยู่ในความขัดแย้งตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้การเปิดให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่และเปิดให้คนหน้าใหม่จึงทำให้การเมืองไทยดูมีความหวังขึ้นมาเล็กๆ
พลังออนไลน์สร้างปรากฎการณ์ธนาธร
เพียงหนึ่งอาทิตย์ก่อน คสช. จะอนุญาตให้มีการจองชื่อพรรคการเมือง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นักธุรกิจเจ้าของฉายา “ไพร่หมื่นล้าน” ประกาศตัวว่าจะตั้งพรรคการเมือง การประกาศตัวของเขาสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้ที่สนใจการเมืองอย่างมาก ด้วยวัยเพียง 39 ปี ประกอบบุคคลที่โดดเด่น และความคิดที่ทันสมัย ทำให้ตัวเขาได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกออนไลน์ ความนิยมของธนาธรปรากฎชัดเมื่อ 5 มีนาคม2561 ผ่านจำนวนยอดผู้ชมกว่าสองแสนคนที่ดูการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการครั้งแรกของเขาผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ The101.world แม้ในขณะนั้นเขาจะยังไม่มีชื่อพรรค แต่เพียงหนึ่งวันต่อมาในโลกออน์ไลน์ก็เกิดกระแสตั้งแฮชแท็ก #ช่วยธนาธรตั้งชื่อพรรค โดยแฮชแท็กนี้ได้ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของทวิตเตอร์ประเทศไทยในวันนั้น
วันที่ 15 มีนาคม 2561 ธนาธรเปิดตัวพรรคอนาคตใหม่อย่างเป็นทางการพร้อมกับทีมงานผู้ร่วมก่อตั้งพรรคจำนวน 26 คน กระแสของพวกเขาไม่ได้ขึ้นแต่ในโลกออนไลน์ เพราะหลังจากเปิดตัวพรรคไม่ถึงเดือนชื่อของธนาธรและพรรคอนาคตใหม่ก็ก้าวขึ้นมามีคะแนนนิยมผ่านโพลต่างๆ เช่น วันที่ 18 มีนาคม นิด้าโพลล์ เผยผลสำรวจ “ประชาชนอยากให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรี” จากผลสำรวจ ธนาธร ได้รับคะแนนนิยมเป็นลำดับที่สี่เป็นรองเพียง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ จากพรรคเพื่อไทย และอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น ขณะที่ วันที่ 25 มีนาคม กรุงเทพโพลล์ เผยผลสำรวจ “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจะเลือกพรรคการเมืองใด” จากผลสำรวจพรรคอนาคตใหม่ ได้รับความนิยมเป็นลำดับที่สามเป็นรองเพียงพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น
กระแส “คนรุ่นใหม่” พรรคเก่าปรับตัว
หลังจากสี่ปีที่ผ่านการเมืองไทยอยู่ภายใต้การนำของคนรุ่นเก่า การเปิดตัวของพรรคอนาคตใหม่ด้วยทีมงานผู้ร่วมก่อตั้งที่มีอายุเฉลี่ยอยู่เพียง 31 ปี จึงปลุกกระแสคนรุ่นใหม่ในสนามการเมืองและเป็นแรงกระตุ้นให้พรรคการเมืองเก่าแต่ละพรรคต้องนำเสนอคนรุ่นใหม่เพื่อแข่งขันกันแย่งคะแนนนิยมเพื่อเป็นตัวเลือกให้ประชาชน นี่เป็นครั้งแรกในยุค คสช. ที่นักการเมืองรุ่นใหม่ (ที่บางคนก็หน้าใหม่บางคนก็หน้าเก่า) เริ่มมีปากมีเสียงและปรากฎตัวต่อสาธารณะมากขึ้นผ่านทีวี สิ่งพิมพ์ ออนไลน์ หรืองานเสวนาสาธารณะต่างๆ
ถ้าไม่นับพรรคอนาคตใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ คือ พรรคการเมืองแรกที่เปิดตัวคนรุ่นใหม่อย่าง พริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ “ไอติม” เขาเดินทางไปในทุกเวทีในนามของประชาธิปัตย์ยุคใหม่ พร้อมกับเสนอแนวทางการพัฒนาประเทศ เช่น การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ให้แต่ละจังหวัดเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อบริหารจัดการตัวเอง หรือเรื่องเศรษฐกิจ ที่ต้องเปลี่ยนตัวชี้วัดใหม่ทางเศรษฐกิจให้ตอบโจทย์ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เพราะที่ผ่านการใช้จีดีพีไม่ได้ทำคนผู้มีรายได้น้อยรู้สึกเศรษฐกิจดีขึ้น ฯลฯ
ขณะพรรคเพื่อไทย แม้จะยังไม่มีบุคคลที่จะนำในด้านนี้แต่แนวคิดของพรรคก็ได้ปรากฎผ่าน ปรีชาพล พงษ์พานิช อดีต ส.ส.จังหวัดขอนแก่น เขากล่าวว่า ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจโลก ซึ่งการศึกษาเป็นพื้นฐานของการสร้างเศรษฐกิจ ประเทศไทยควรเริ่มจากการกระจายอำนาจบริหารการศึกษาสู่ท้องถิ่น การเพิ่มโรงเรียนสองภาษา และใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มากขึ้น ฯลฯ
รายงานสถิติจำนวนประชากรประจำปี 2560 แสดงให้เห็นว่าการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นจะมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. จำนวน 5,616,261 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 52,457,576 คน จำนวนตัวเลขผู้สิทธิเลืือกตั้งหน้าใหม่ขนาดนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่แต่ละพรรคการเมืองจะไม่ยอมตกกระแสคนรุ่นใหม่
นอกจากนี้ความล้มเหลวตลอดสี่ปีที่ผ่านมา คสช. จะทำให้พรรคการเมืองการเมืองแต่ละพรรคจะต้องคิดค้นนโยบายและแข่งขันกันเพื่อซื้อใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศ แน่นอนว่านโยบายเหล่านี้จะไม่มาจากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือแผนปฏิรูปประเทศของ คสช. แต่เกิดจากความต้องการของคนแต่รุ่นแต่วัยที่ต้องเผชิญกับปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกัน
การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น เราเห็นพรรคการเมืองใหม่เสนอการเป็นตัวเลือกที่แตกต่างจากอดีตที่ผ่่าน เราเห็นพรรคการเมืองเก่าที่พยายามปรับตัวให้ทันสถานการณ์และความต้องการของประชาชน เราเห็นคนหน้าใหม่ที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงประเทศ การเลือกตั้งครั้งหน้าคือความหวังเราจะมีตัวเลือกและเลือกได้กว่าสี่ปีที่ผ่านมา
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
พรรคการเมืองประสานเสียง ล้างมรดกเผด็จการ-ไม่เอานายกฯ คนนอก
เครื่องมือตามรัฐธรรมนูญใหม่ รู้ไว้เพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ (กับประชาชน)