วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 17, 2561

๘ ปี ทหารปราบประชาชน ๔ ปี ทหารครองเมือง

ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
ซักวันมันต้องเผยความจริง...คือ?
ทหารบุกสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง
พ.ค. 2553

https://www.facebook.com/sictichai/videos/1005348846281714/?t=135

#8ปีที่แล้ว ถนนราชปรารภ : ชาญณรงค์ พลศรีลา อุทัย อรอินทร์ และ ธนากร ปิยะผลดิเรก
(ภาพประกอบ ขณะที่ ชาญณรงค์ พลศรีลา ถูกยิงบริเวณหน้าปั้มเชลล์ ถนนราชปรารภ )
เวลา 15.00 – 16.30 น. ของวันที่ 15 พ.ค.53 ในเหตุการณ์สลายการชุมนุม นปช. โดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์นั้น มีผู้ถูกยิงและเสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าว 3 คน
เวลา 15.00 น. อุทัย อรอินทร์ 39 ปี อาชีพค้าขาย ศปช. ระบุว่า เขาถูกกระสุนปืนลูกโดดบริเวณหลังทะลุเข้าหัวใจ บาดแผลกระสุนปืนลูกโดด 1 แห่ง บริเวณกลางหลังเยื้องมาด้านขวาเล็กน้อยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2 ซม. ทิศทางจากหลังไปหน้า จากส่วนล่างขึ้นส่วนบนของร่างกาย พบบาดแผลทางออกบริเวณหน้าอกส่วนบนเยื้องมาทางด้านซ้าย ขนาด 0.5×0.7 ซม. สำหรับสถานที่เกิดเหตุ สามเหลี่ยมดินแดง ถ.ราชปรารภ เยื้องบริษัทวิริยะประกันภัย สำหรับคดียังไม่มีความคืบหน้า โดยเมื่อวันที่ 4 ก.ย.56 ดีเอสไอ ออกมาระบุว่า มีพยานหลักฐานน่าเชื่อว่าการเสียชีวิตอีก 28 ศพ (ซึ่ง อุทัย รวมอยู่ในนั้น) เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐ ทางพนักงานสอบสวนดีเอสไอก็จะส่งให้บช.น.สอบสวนเพิ่มเติม
เวลา 15.52 น. ชาญณรงค์ พลศรีลา คนขับแท็กซี่ ซึ่งเมื่อ 26 พ.ย.55 ถูกยิงบริเวณ ปั้มเชลล์ ถนนราชปรารภ โดยศาลมีคำสั่งในการไต่สวนการตาย ระบุเสียชีวิตจากกระสุนปืนเล็กกลขนาด .223 หรือ 5.56 มิลลิเมตร ที่บริเวณช่องท้องและแขน เป็นเหตุให้เสียชีวิต แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นทหารคนใดหรือสังกัดใดที่ทำให้ชาญณรงค์เสียชีวิต
เวลา 16.30 น. ธนากร ปิยะผลดิเรก 50 ปี อาชีพค้าขาย ข้อมูลจาก ศปช. ระบุว่า เสียชีวิตจากบาดแผลกระสุนปืนความเร็วสูงที่แก้มข้างขวาทะลุออกคอด้านซ้ายตัดเส้นเลือดคอ จุดเกิดเหตุคือ คอนโด เดอะคอมพลีท ชั้น 27 ซอยรางน้ำ
คดีของ ธนากร ยังไม่คืบหน้า รวมทั้งผู้เสียชีวิตอื่นๆ อีกหลายรายที่คดียังไม่เสร็จสิ้นก่อนการรัฐประหาร 57 นั้น ตามที่ข่าวสดออนไลน์ รายงานไว้เมื่อ 31 ธ.ค.57 ระบุว่า ภายหลังการโยกย้าย ธาริต เพ็งดิษฐ์ พ้นเก้าอี้อธิบดีดีเอสไอ ตามด้วยการยุบศูนย์บริหารคดีเสื้อแดง ที่ตั้งขึ้นสมัย ธาริต พร้อมเปลี่ยนแปลงทีมผู้รับผิดชอบคดี ยังมีกรณี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม สั่งรื้อมาตรฐานการรับคดีพิเศษ ที่จะต้องเสนอและผ่านความเห็นชอบจากบอร์ด กคพ.ทุกครั้ง เป็นเหตุให้คดีที่อยู่ระหว่างการสอบสวนของดีเอสไอ 29 ราย ไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ในจำนวนนั้นรวมคดีของ ธนากร ด้วย
นอกจากนี้ ช่วงเวลา 22.00 – 23.30 น. บริเวณ ปากซอยสวนพลู ศปช. ระบุว่า วงศกร แปลงศรี 40 ปี อาชีพรับจ้าง เสียชีวิตด้วยกระสุนปืนทำลายขั้วปอดและปอดขวา สำหรับคดียังไม่มีความคืบหน้า โดยเมื่อวันที่ 4 ก.ย.56 ดีเอสไอ ออกมาระบุว่า มีพยานหลักฐานน่าเชื่อว่าการเสียชีวิตอีก 28 ศพ (ซึ่ง อุทัย รวมอยู่ในนั้น) เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐ ทางพนักงานสอบสวนดีเอสไอก็จะส่งให้บช.น.สอบสวนเพิ่มเติม
เรื่องที่เกี่ยวข้อง :
- ดีเอสไอระบุน่าเชื่ออีก 28 ศพ เม.ย.-พ.ค.53 ตายโดยจนท.รัฐ เตรียมส่งบช.น.สอบเพิ่ม https://prachatai.com/journal/2013/09/48591
- ศาลสั่งแล้วคดีที่2 ! สลายชุมนุมแดง 'ชาญณรงค์ พลศรีลา' เสียชีวิตจากทหาร https://prachatai.com/journal/2012/11/43874
- ไต่สวนการตาย ‘ชาญณรงค์’ ช่างภาพเนชั่น-โพสต์ทูเดย์-TPBS ยันกระสุนมาจากฝั่งทหาร http://prachatai.com/journal/2012/07/41360
- 2 นักข่าวเยอรมันให้การกรณีแท็กซี่ถูกยิงที่ราชปรารภ ยันกระสุนมาจากฝั่งทหาร http://prachatai.com/journal/2012/06/41140
- ลูกเหยื่อสลายชุมนุมที่ราชปรารภพบ "นิค นอสติทซ์" ฟังนาทีพ่อถูกยิง http://prachatai.com/journal/2010/06/30026
- ศปช. : ความตายที่ราชปรารภในวันที่ 15 (รางน้ำ – ดินแดง) http://www.pic2010.org/langnam-15/


9 hrs · 
ตั้งแต่เช้า ส่งแถลงการณ์ขององค์การคนไทยต่างแดนเพื่อประชาธิปไตย (Thai Overseas for Democracy ) ในโอกาสครบ 4 ปีรัฐประหาร ถึงบุคคลและองค์การที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยทั้งของรัฐและเอกชน
คำขวัญ “4 ปีรัฐประหาร เผด็จการกินเมือง”
Statement on the 4th Anniversary of the Coup d’État in Thailand.
May 22, 2018 is the four year anniversary of the coup d'état which installed a military dictatorship as Thailand’s ruling regime. Over this four year period the Human Rights situation in Thailand has continued to deteriorate. The junta orchestrated constitution and imposed 20 yearnational military plan, side-lines democracy and entrenches authoritarian control by the military regime’s own appointed institutional bodies. Its regime is more dictatorial after the King Vajiralongkorn ascended on December 1,2016 to the throne as King Rama X of the Chakri dynasty. Since this date it has become more apparent that Thailand is steadily moving towards a return to Absolute Monarchy. Thailand now sees a very forceful monarch who is moving to consolidate Royal power, including the ability and confidence to impose on executive and legislative power.
During the last 4 years the junta government, led by General Prayuth Chan-ocha, continues to use authoritarian Article 44 of the interim military constitution ignoring the rule of law and due process. Article 44 is a favourite regime tool and is often used as a means of oppression to swiftly enforce legislative, administrative, and judicial powers. The lésé majesty law, article 112, is widely implemented, regime authorities continue to arrest, persecute and jail democracy activists including United Front for Democracy against Dictatorship’s leaders. Student leaders who took part in anti-coup protests, human rights lawyers and others have been charged by both military and civilian courts. Former PM, Yingluck Shinawatra has now left Thailand after being forced to leave by unrelenting illegal persecution from the dictatorial military regime.
I would like to point out that Thailand is going backwards in political, social and economic aspects.The principal conflict between authoritarian royalist and pro-democracy groups, ongoing for the past 12 years, will continue, and it seems likely that the military will use this division as an excuse to extend their powers.
Finally it will be no surprise that predictably the promised general election have being delayed again until 2019. Since overthrowing the elected government in 2014, Thailand’s military junta and General-come-Prime Minister Prayuth Chan-ocha have repeatedly used a familiar mix of false promises and outright lies to suppress the Thai people’s right to a democratic vote. The National Legislative Assembly, Thailand’s rubber-stamped parliamentary body appointed by the junta, voted on January 25th to postpone the election by another 90 days after its promulgation in the official gazette. This would mean a vote in late February 2019, but observers think it also can be postponed. Elections were first promised in 2015, only to be delayed as the junta rewrote the nation’s constitution, increasing the military’s tight grip on Thailand’s political institutions.
The main reason to delay the general election is that the Junta and all elite class even the majority of Thai middle class do not believe in Democracy any more. In tactical terms, the benefit to delaying the election is simple - it gives the junta more time figure out how to preserve power beyond 2019.
However, public opinion is increasing against the junta with the Thai people getting fed up of the constant lies, deceit and corruption. In late January -April over a thousand pro-democracy activists gathered in a rare show of dissent to protest the authoritarian regime. Considering the latest developments, demonstrations in late January in February and March the Junta issued criminal charges to over 100 activist leaders.
Thai Overseas for Democracy is calling for the international community to demand that the junta keeps its promise by holding elections in November 2018.
Finally, I request the international communities continue to closely monitor Thailand and apply pressure on the regime to comply with the UN Universal Declaration of Human Rights, of which Thailand is a signatory. ​

Jaran Ditapichai
Coordinator of Thai Overseas for Democracy
Former National Human Rights Commissioner .

https://www.facebook.com/sictichai/videos/1005348846281714/