วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 15, 2561

ค่าตอบแทนที่คอยช่วยเหลือมาโดยตลอด? “ศาล-องค์กรอิสระ”เฮ!!! ครม.อนุมัติขึ้นค่าตอบแทน 10% ย้อนหลังถึงปี 57!!!




“ศาล-องค์กรอิสระ”เฮ!!! ครม.อนุมัติขึ้นค่าตอบแทน 10% ย้อนหลังถึงปี 57!!!


BY BOURNE 
ON FEBRUARY 14, 2018

ที่มา ISPACE THAILAND


แม้ว่าเศรษฐกิจจะไม่ดี แต่ดูเหมือนว่าการทำงานของกลุ่มบุคคลในศาล และองค์กรอิสระจะเข้าตาคณะรัฐมนตรี เพราะล่าสุด คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบปรับปรุงค่าตอบแทนให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในศาล และองค์กรอิสระ มากถึง 10% โดยมีผลย้อนหลังไปถึงปี 2557 ยกเว้นศาลรัฐธรรมนูญที่มีผลย้อนหลังไปถึงปี 2555





พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้มีการปรับปรุงค่าตอบแทนของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ตามร่าง พ.ร.บ.เงินเดือนประจำตำแหน่ง และผลตอบแทนอื่น ของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานและคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ประธานและผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานและกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ประธานและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ข้าราชการฝ่ายอัยการ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม(ก.พ.ค.) และ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์หรือวินิจฉัยร้องทุกข์





โดยทั้งหมดจะได้รับการปรับค่าตอบแทนขึ้น 10% มีผลย้อนหลังถึงปี 2557 ยกเว้น ศาลรัฐธรรมนูญที่ให้มีผลย้อนหลังถึงปี 2555 การปรับค่าตอบแทนครั้งนี้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้กับข้าราชการที่ไม่ได้รับการปรับขึ้นก่อนหน้าที่ คสช. จะเข้ามาบริหารเหมือนกับข้าราชการประจำ ซึ่งการปรับขึ้นค่าตอบแทนครั้งนี้จะไม่รวมข้าราชการการเมืองทั้งหมด

ทั้งนี้ การปรับขึ้นเงินค่าตอบแทนตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด จะได้ปรับเพิ่มเป็น 83,090 บาท จากเดิม 75,590 บาท ประธานกรรมการในองค์กรอิสระและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ได้รับ 81,920 บาท จากเดิม 74,420 บาท ขณะที่อัยการสูงสุด รองประธานศาลฎีกาหรือเทียบเท่า รองประธานศาลปกครองสูงสุดหรือเทียบเท่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้รับ 81,920 จากเดิม 73,240 บาท

ด้านประธานก.พ.ค. กรรมการในองค์กรอิสระและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ได้รับ 80,540 บาท จากเดิมได้รับ 73,240 บาท ตุลาการศาลยุติธรรมตำแหน่งอื่นชั้น 4 ตุลาการศาลปกครองตำแหน่งอื่นชั้น 3 ได้รับ 76,800 บาท จากเดิม 69,810 บาท โดยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด แต่จะตัดเงินเพิ่มพิเศษที่เคยได้รับให้ไปอยู่กับเงินค่าตอบแทนที่ได้เพิ่มขึ้น เพื่อประหยัดงบประมาณ โดยจะมีผลหลังจากกฎหมายใช้บังคับ

อย่างไรก็ตามการปรับค่าตอบแทนครั้งนี้ แม้จะอ้างเรื่องความเหลื่อมล้ำ แต่ก็อาจจะทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงผลงานขององค์กรต่างๆไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางด้านศาล และองค์กรอิสระเหล่านี้ ว่าสมควรหรือไม่ที่จะมีการปรับขึ้นค่าตอบแทน หรือแม้แต่คำถามเรื่องการปรับค่าตอบแทนครั้งนี้เนื่องมาจากผลงานด้านใด

หากมองในแต่ละองค์กรจะเห็นได้ว่า องค์กรอิสระหลายองค์กรมีส่วนสำคัญในการจัดการนักการเมืองจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ พรรคเพื่อไทย เช่น ศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองสูงสุด ที่เคยตัดสินคดีไว้หลายครั้ง ยกตัวอย่างเช่น การวินิจฉัยคดีนโยบายบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท การวินิจฉัยคดีการใช้งบประมาณในนโยบายปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน 2.2 ล้านล้านบาท





ในขณะที่ ป.ป.ช.และอัยการสูงสุด ก็มีผลงานที่โดดเด่นในการดำเนินคดีโครงการจำนำข้าวที่รวดเร็ว จนสามารถถอดถอน เอาผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ รวมไปถึงรัฐมนตรีอีกหลายคนได้ ซึ่งหากพิจารณาตามผลงานแล้วก็น่าจะเข้าตารัฐบาลคสช. แม้ว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมว่าเป็นการดำเนินคดีของ ป.ป.ช. และอัยการสูงสุดนั้นเลือกปฎิบัติ มุ่งดำเนินการกับคนจากฝากฝั่งของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ในขณะที่คดีที่เกิดขึ้นกับคนของรัฐบาลคสช.หรือกลุ่มอื่นๆกลับไม่มีการดำเนินการที่รวดเร็ว





มองไปที่องค์กรด้านการจัดการเลือกตั้ง หรือ กกต. ที่ก็ได้รับผลประโยชน์ในครั้งนี้ไปด้วย ทั้งๆที่ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงวันนี้ กกต. แทบไม่ได้ทำงานหรือมีผลงานอะไรเลย เพราะประเทศไทยไม่มีการจัดการเลือกตั้ง และอยู่ในภาวะที่ประเทศปกครองด้วยรัฐบาลทหาร





แต่ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ มีผลงานหรือไม่มี เมื่อรัฐบาลคสช.อนุมัติแล้วเช่นนี้ “ศาล-องค์กรอิสระ” เหล่านี้ก็ย่อมได้รับผลประโยชน์กันไป!!!

Reference

https://prachatai.com/journal/2018/02/75421

http://www.komchadluek.net/news/politic/195100

https://thaipublica.org/2014/04/mega-projects-constitutional-court/

...

Kenny Piyawat Poonlarbphermpoon เอ้า.. ช่วยกันหน่อย ยิ่งไม่มีเลือกตั้ง เด่วจะเบิ้ลให้ทุกปี 😁😂 ส่วน ปชช ช่างมัน