17 กุมภาพันธ์ 2560
การขาย"ตั๋วเงินคลังอายุ 28 วัน"โดยรัฐบาลเป็นการกู้ระยะสั้นเพื่อสภาพคล่อง เทียบได้กับผู้บริโภคที่รูดบัตรเครดิตซึ่งมียอดชำระทุกเดือน ต่างกันตรงที่ว่ารัฐบาลต้องจ่ายดอกเบี้ยแน่ๆแต่บัตรเครดิตไม่เก็บดอกเบี้ยถ้าชำระยอดทั้งหมดทุกเดือนไม่มียอดคงค้าง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเปิดเผยยอดการกู้ด้วยตั๋วเงินคลังอายุ 28 วันดังต่อไปนี้
ก.พ. 2560: 80,000 ล้านบาท ม.ค. 2560: 80,000 ล้านบาท ธ.ค. 2559: 20,000 ล้านบาท พ.ย. 2559: 25,000 ล้านบาท ต.ค. 2559: 10,000 ล้านบาท
ที่มา: http://www.pdmo.go.th/bond_treasury.php?m=bond
เมื่อเปรียบว่าเป็นการรูดบัตรเครดิตรายเดือน ก็แสดงว่ารูดบัตรเครดิตหน้ามืดตั้งแต่เข้าปี 2560 คือรูดบัตรเครติตรายเดือนเป็น 4 เท่าของเดือนธันวาคมปีก่อน กู้เดือนมกราคมปีนี้เดือนเดียวก็มากกว่ายอดกู้ทั้งหมดในไตรมาสสุดท้ายในปีที่แล้ว หมายเหตุ: ก) ข้อมูลนี้นับเฉพาะกู้ระยะสั้นเดือนชนเดือน ยังไม่ได้นับกู้ระยะยาวกว่านี้ ปริมาณการกู้เดือนชนเดือนบ่งบอกสภาพคล่องของรัฐบาลได้ชัดเจนกว่ากู้ระยะยาวกว่านี้ ข) ในปีงบประมาณ 2560 รัฐบาลวางแผนกู้เพื่อชดเชยขาดดุลประมาณ 552,000 ล้านบาท หรือประมาณ 4% ของจีดีพี ในขณะที่สภาพัฒน์ฯคาดการณ์ว่าจีดีพีไทยจะโต 3-4%
ค) ตามกรอบวินัยการคลังรัฐบาลกู้ได้จนหนี้สาธารณะถึง 60% ของจีดีพี จะถึงจุดนั้นเมื่อไรก็อ่านบทความ"ปริศนาหนี้สาธารณะ" (ลิงค์บทความ http://prachatai.com/journal/2017/02/70092) ดูได้ค่ะ
ง) ติดตามทัศนะโดย"กานดา นาคน้อย"ได้ที่ทวิตเตอร์ https://twitter.com/kandainthai
หรือเพจมายด์ https://www.minds.com/kandainthai