วันศุกร์, กรกฎาคม 11, 2557

Walk This Way: ให้กำลังใจ BBC และกลุ่ม FB ที่ร่วมทะลวงด่านข้อมูลข่าวสารให้พวกเราชาวไทย

RUN-DMC - Walk This Way


https://www.youtube.com/watch?v=4B_UYYPb-Gk

FB BBC Thai
https://www.facebook.com/BBCThai

สืบเนื่องจากข่าวนี้ (ขอบคุณที่ให้เกียดไทยอีนิวส์)

เปิดงานวิจัย 'การควบคุมข้อมูลข่าวสารในไทยหลังรัฐประหาร'


เครือข่ายพลเมืองเน็ต แปลและเรียบเรียง
ที่มา ประชาไท

Citizen Lab มหาวิทยาลัยโตรอนโต แคนาดา เผยแพร่งานวิจัย “การควบคุมข้อมูลข่าวสารในประเทศไทยนับแต่รัฐประหาร 2557(Information controls during Thailand’s 2014 Coup)” ผ่านเว็บไซต์

Citizen Lab ได้ทดสอบการเข้าถึงเว็บไซต์ในประเทศไทยระหว่าง 22 พฤษภาคม-26 มิถุนายน 2557 โดยใช้วิธีการทดสอบหลายวิธีเพื่อดูว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตคัดกรองการเข้าถึงเว็บไซต์อย่างไร และวิเคราะห์การรวมศูนย์ของโครงสร้างพื้นฐานในการคัดกรองเนื้อหา

การควบคุมข้อมูลข่าวสารในงานวิจัยนี้พิจารณาจากการ 1) ปฏิเสธเนื้อหาบางอย่าง เช่น การคัดกรองเว็บไซต์ 2) การขัดขวางการเข้าถึง 3) การทำให้ช้าลง 4) ความปลอดภัย 5) การสอดส่องเฝ้าระวังข้อมูลเพื่อผลลัพธ์ทางการเมือง เช่น การสอดแนมบุคคลที่เป็นเป้าหมาย การควบคุมข้อมูลข่าวสารอาจจะเป็นได้ทั้งทางเทคนิคและการดำเนินการผ่านกฎหมายและแนวทางการกำกับดูแลอื่นๆ รวมถึงการกดดันอย่างไม่เป็นทางการต่อบริษัทเอกชน

การควบคุมข้อมูลข่าวสารสัมพันธ์กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง ได้แก่ การเลือกตั้ง การชุมนุมประท้วง หรือความขัดแย้งอื่นๆ สำคัญต่อการควบคุมข้อมูลข่าวสาร และมีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐ บริษัทเอกชน หน่วยงานทางทหารหรืออาชญากรรม และกลุ่มประชาสังคม

Citizen Lab มองว่า นี่เป็นช่วงที่ข้อมูลข่าวสารมีคุณค่ามากที่สุด และท้าทายมากที่สุดด้วย

ก่อนหน้านี้ Citizen Lab เคยทำงานวิจัยการควบคุมข้อมูลข่าวสารในประเทศไทยมาแล้ว โดยพบว่าการคัดกรองเว็บไซต์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยนั้นไม่สอดคล้องกันอย่างมาก ตัวอย่างเช่นในปี 2550 จากการสุ่มเข้าเว็บไซต์ 1,700 ยูอาร์แอล จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 3 ราย พบว่า จำนวนเว็บที่ถูกบล็อคไม่เท่ากัน ส่วนในปี 2553 ซึ่งมีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จากการสลายการชุมนุม เว็บของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลถูกบล็อคเป็นจำนวนมาก และเช่นเดียวกับปี 2550 ที่การบล็อคของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแต่ละรายแตกต่างกัน

ผู้วิจัยทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 433 ยูอาร์แอล ด้วยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้ 3BB, INET และ ServeNet และทดสอบตัวอย่าง 4 เว็บไซต์ด้วย CAT และ TOT.

ผลปรากฏว่ามี 56 เว็บไซต์ที่ถูกบล็อคจากผู้บริการอินเทอร์เน็ตทุกราย เนื้อหาของเว็บไซต์ที่ถูกบล็อคมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง เช่น สื่ออิสระในประเทศ สื่อต่างประเทศที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์รัฐประหาร บัญชีผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์บางรายที่เผยแพร่เนื้อหาต่อต่านรัฐประหาร รวมทั้งเครื่องมือหลบเลี่ยงต่างๆ เว็บไซต์การพนัน และอนาจาร

ผลการวัดการคัดกรองเว็บของเครือข่าย:
- งานวิจัยนี้ทดสอบหลายวิธี ได้แก่ การวัดด้วยเว็บเบราว์เซอร์ VPN และ Proxy บนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต่อไปนี้ : 3BB (client-based and proxy-based tests) INET (VPN-based tests) ServeNet (VPN-based tests), CAT (Proxy-based tests) and TOT (proxy-based tests)

- การทดสอบด้วย VPN: จากการใช้ INET พบว่า บ่ายวันที่ 27 พฤษภาคมเป็นครั้งแรกที่เจอความพยายามบล็อคเว็บไซต์ โดยมีแบนเนอร์ขึ้นบนหน้าเว็บว่า ปิดชั่วคราวตามคำสั่งกองรักษาความสงบเรียบร้อย จากการทดสอบด้วยวิธีนี้ได้ผลว่า มีเว็บที่ถูกบล็อค 56 ยูอาร์แอล

- การวัดด้วยเว็บเบราว์เซอร์: พบว่า 33 ยูอาร์แอล จาก 433 ยูอาร์แอล ถูกบล็อค

- การทดสอบด้วย Proxy: พบว่ามี 4 เว็บที่ถูกบล็อค

ตอนท้ายของข้อสรุปในรายงานนี้ Citizen Lab ให้ความเห็นว่าเหตุการณ์ต่างๆ เช่น รัฐประหาร และภายใต้สภาพแวดล้อมด้านข้อมูลและการสื่อสารที่ท้าทายนี้ ซึ่งรวมถึงพลเมืองและบริษัทเอกชนต่างๆ ด้วย จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดสถานการณ์ไอซีทีในประเทศไทยในหลายเดือนข้างหน้านี้ Citizen Lab ก็จะเฝ้าดูพัฒนาการของประเทศไทย และจะรายงานข้อค้นพบใหม่ให้ทราบต่อไป

อ่านรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีวิจัยและผลการวิจัยได้ที่เว็บไซต์ของ Citizen Labhttps://citizenlab.org/2014/07/information-controls-thailand-2014-coup/

Citizen Lab เป็นศูนย์ทดลองแบบบูรณาการ ตั้งอยู่ที่ Munk School of Global Affairs แห่งมหาวิทยาลัยโตรอนโต แคนาดา Citizen Lab ศึกษาการควบคุมข้อมูล เช่น เครือข่ายการสอดแนม และการคัดกรองเนื้อหา ซึ่งกระทบต่อความปลอดภัยและความเปิดกว้างของอินเทอร์เน็ตซึ่งรวมถึงการคุกคามต่อสิทธิมนุษยชน

Citizen Lab ทำงานกับ ศูนย์วิจัย องค์กรต่างๆ และปัจเจกบุคคลทั่วโลก และใช้ “วิธีแบบผสมผสาน” ซึ่งรวมทั้งการสืบสวนทางเทคนิค การวิเคราะห์ด้วยงานวิจัยภาคสนาม การวิจัยทางสังคมศาสตร์ และวิธีวิเคราะห์ทางกฎหมายและนโยบาย