นายวิษณุ เครืองาม |
ที่มา แนวหน้าออนไลน์
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 1 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านเกษะโกมล เขตบางซื่อ นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฝ่ายกฎหมาย ในฐานะหัวหน้าทีมร่างธรรมนูญปกครองชั่วคราว ได้เข้าชี้แจงเนื้อหาร่างธรรมนูญปกครองชั่วคราวต่อ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผบ.ทบ.ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช.หลังทีมร่างธรรมนูญฯส่งร่างธรรมนูญปกครองชั่วคราวให้กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ในฐานะหัวหน้า คสช.เมื่อวันที่ 30มิถุนายนที่ผ่านมา ก่อนนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุม คสช.เพื่อขับเคลื่อนการบริหาราชการแผ่นดินครั้งที่4/2557 ในวันที่ 2กรกฎาคมและก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช.นำขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป
"บิ๊กต๊อก"ยันคนละส่วนกับรธน.
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายากล่าวถึงการประชุมร่วมกับ นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษา คสช.ฝ่ายกฏหมายและกระบวนการยุติธรรม พร้อมทีมกฎหมายว่า ได้พูดถึงความคืบหน้าในการพิจารณากฎหมายและระเบียบที่หน่วยงานต่างๆ เสนอมาเพื่อสนับสนุนการทำงานและขจัดอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งนี้ คณะทำงานจะหารือว่า ประเด็นใดที่เร่งด่วนและควรออกเป็นประกาศ คสช.หรือส่วนใดควรเสนอเข้าสภานิติบัญญัติเพื่อให้เห็นชอบต่อไป โดยไม่ได้หารือเรื่องรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพราะเป็นคนละส่วนงานกัน ซึ่งเรื่องรัฐธรรมนูญเป็นส่วนของทีมที่ปรึกษา คสช.ซึ่ง นายวิษณุ ดูร่วมกับคณะทำงานร่างรัฐธรรมนูญ
เผยร่างรธน.ชั่วคราวมี45มาตรา
แหล่งข่าวจาก คสช.เปิดเผยถึงร่างธรรมนูญการปกครอง หรือร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี2557 ที่คณะทำงานยกร่างรธน.ชุด นายวิษณุ เครืองาม ส่งถึงมือ พล.อ.เประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ว่า กำลังรอสัญญาณจาก พล.อ.ประยุทธ์ ว่า จะเห็นชอบร่างทั้งหมดที่เสนอไปที่มี 45 มาตราแล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯภายในสัปดาห์นี้หรือไม่ หรือว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะขอให้พิจารณาปรับอีกครั้งก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งหากให้ปรับคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะในการนำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่ไม่น่าเกินกลางเดือนกรกฎาคมนี้
ติดปัญหาต้องทำประชามติหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ร่างที่เสนอ พล.อ.ประยุทธ์ มีประเด็นสำคัญที่สุดที่ให้ พล.อ.ประยุทธ์ตัดสินใจก็คือ เรื่องทำประชามติรัฐธรรมนูญฉบับถาวร หรือฉบับปี2558 ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพราะในส่วนคณะทำงานบางส่วนเห็นว่า สมควรต้องทำประชามติ แม้ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์และคสช.ยืนยันมาตลอดว่า ไม่เอาประชามติ ดังนั้นคณะทำงานจึงเสนอไป 2ส่วนให้ พล.อ.ประยุทธ์เลือกว่า จะเอาแบบไหน คือให้เอาแบบไม่มีประชามติ ก็จะไม่มีรายละเอียดว่า ต้องทำอย่างไร คือจะเขียนแค่ว่า หลังสภาปฏิรูปประเทศลงมติเห็นชอบแล้วให้นำร่างขึ้นทูลเกล้าฯได้เลย แต่หากจะทำประชามติก็จะมีรายละเอียดว่า ต้องทำอย่างไรบ้าง มีขั้นตอนยังไง ต้องทำภายในกี่วันหลังสภาปฏิรูปประเทศลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งหมดอยู่ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะตัดสินใจ
รธน.ปี58ใช้เวลาร่างไม่เกิน120วัน
แหล่งข่าวระบุด้วยว่า ร่างรัฐธรรมนญฉบับชั่วคราวดังกล่าวได้บัญญัติถึงเงื่อนเวลาในการทำงานของสภาปฏิรูปประเทศ (สปร.) ไว้เบื้องต้นว่า หลังมีสภาปฏิรูปประเทศแล้ว ให้เวลาสปร.ประมาณ 45-60วัน ในการส่งบทสรุปรายงานที่เป็นการรวบรวมความเห็น-ข้อเสนอแนะ-รายงานการวิจัยและมุมมองเรื่องการปฏิรูปประเทศ การแก้ไขปัญหาประเทศที่เป็นการรวบรวมจากฝ่ายต่างๆ ส่งไปให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 35คน จากนั้นพอคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ข้อสรุปทั้งหมดแล้วและเริ่มนัดประชุมครั้งแรก ให้นับระยะเวลาในการยกร่างรัฐธรรมนูญของกมธ.รวมแล้วต้องไม่เกิน 120วัน เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี2558 จากนั้นพอเสร็จแล้วก็ให้กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ส่งไปให้สภาปฏิรูปประเทศลงมติว่า จะเห็นชอบหรือไม่ โดยสภาปฏิรูปประเทศไม่มีอำนาจแก้ไขได้ ให้ลงมติแค่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเท่านั้น
พร้อมเปิดฟังความเห็นทุกภาคส่วน
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวระบุว่า สำหรับรายละเอียดว่า ข้อเสนอแนะต่างๆที่สภาปฏิรูปประเทศจะส่งให้กมธ.ยกร่างฯเป็นอย่างไร มาจากหน่วยงานไหน จะไม่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคาว เพราะเป็นเรื่องที่สภาปฏิรูปประเทศและกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญจะไปคุยกันอีกที เนื่องจากเป็นเรื่องของรายละเอียดที่จะไม่มีการเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวอยู่แล้ว แต่ให้สมาชิกสภาปฏิรูปประเทศไปตกลงรายละเอียดอีกที เช่น อาจเป็นความเห็นจากสถาบันอุดมศึกษา องค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง ความเห็นคณะทำงานด้านปรองดองและปฏิรูปประเทศของ คสช.เป็นต้น
“เรื่องระยะเวลายกร่างรัฐธรรมนูญ 120วัน ก็มีบางส่วนบอกว่า จะน้อยเกินไปหรือไม่ เพราะปกติควรจะอยู่ที่ไม่เกิน 180วัน แต่ที่นับไม่เกิน 120วัน เพราะมีการบวกเวลาเรื่องการรับฟังความเห็น การรวบรวมข้อเสนอแนะจากฝ่ายต่างๆ ที่ให้เวลประมาณ 60วันไปแล้ว โดยการรับฟังความเห็นดังกล่าว ก็จะมาจากหลายส่วน เช่น การรับฟังความเห็นตัวสมาชิกสภาปฏิรูปประเทศ ที่จะมาจากการเลือกทางอ้อมจังหวัดละ 1คน รวม 77คน แล้วมาแสดงความเห็นในที่ประชุมสภาปฏิรูปประเทศ จนสภาปฏิรูปประเทศส่งไปให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็ถือว่า 120วันก็ค่อนข้างเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้ว โดยร่างที่ส่งไปสรุปแล้วสภาปฏิรูปประเทศจะมีเวลาในการทำหน้าที่ประมาณคร่าวๆ 9เดือน” แหล่งข่าว ระบุ
พ่วง”นิรโทษกรรม”คสช.ทั้งหมด
แหล่งข่าวยังยืนยันว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวจะมีเรื่องนิรโทษหรือการคุ้มครองคสช.ไว้ด้วย โดยจะอยู่ใน 2มาตราสุดท้ายของ 45มาตราดังกล่าว คือมาตราที่44 จะเขียนไว้ว่า ให้คำสั่งหรือประกาศต่างๆของคสช.ที่ออกมาทุกฉบับ ให้ถือว่าชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญหมดทุกอย่างเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย
แหล่งข่าวจาก คสช.อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า เหตุที่เขียนไว้เช่นนี้ก็เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้เพราะอย่าง เช่นการที่ คสช.สั่งโยกย้าย นายอรรถพล ใหญ่สว่าง ออกจากตำแหน่งอัยการสูงสุด ซึ่งโดยปกติแล้วการโยกย้ายข้าราชการอัยการ จะต้องทำโดยผ่านมติที่ประชุมคณะกรรมการอัยการ(ก.อ.) เนื่องจากสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถใช้อำนาจทางบริหารปกติมาย้ายได้ ดังนั้นในรธน.ฉบับชั่วคราวมาตรา44 จะเขียนไว้ว่า ให้ทุกคำสั่งและทุกประกาศรวมถึงสิ่งที่ คสช.ได้ทำไปให้ชอบด้วยกฎหมายทั้งหมด ไม่สามารถเอาผิดอะไรได้
ขณะที่มาตราสุดท้ายคือมาตรา45 จะเขียนไว้ว่า ทุกบรรดาการกระทำทั้งหลายที่ คสช.ได้กระทำในการเข้าควบคุมอำนาจการปกครองตั้งแต่วันที่ 22พฤษภาคม2557 ตลอดจนการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจาก คสช.หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำความผิดนั้นพ้นจากการรับผิดโดยสิ้นเชิง อันเป็นการเขียนไว้เพื่อคุ้มครองสิ่งที่คสช.ได้ทำมาทั้งหมดตั้งแต่ต้น จนถึงวันที่รธน.ฉบับชั่วคราวมีผลบังคับใช้ไม่ให้มีการเอาผิดใดๆเช่น การฟ้องร้อง เป็นต้น
หวั่นซ้ำรอยเสียมวยเหมือน”บิ๊กบัง”
แหล่งข่าวจากคสช.ย้ำอีกว่า ร่างรธน.ฉบับชั่วคราว จะมีมาตราเรื่องการให้อำนาจ คสช.มีอำนาจเท่ารัฐบาลรวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำกันมาเป็นปกติทุกครั้งเมื่อมีการใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราวหลังทำรัฐประหาร เพื่อให้คณะรัฐประหารสามารถควบคุมการบริหารงานของรัฐบาลที่เกิดจากคณะรัฐประหารได้ เพียงแต่รธน.ชั่วคราวปี2549 ได้ฉีกธรรมเนียมนี้ทิ้งไป ซึ่งก็ทำให้คสช.เห็นแล้วว่า การไม่มีมาตราดังกล่าวทำให้การทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คือ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.กับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกฯที่พล.อ.สนธิ แต่งตั้งขึ้น มีปัญหา เพราะคมช.ไม่สามารถควบคุมรัฐบาลได้อย่างที่ควรจะเป็น ทำให้ครั้งนี้ คสช.จึงมีการปิดจุดอ่อนดังกล่าวด้วยการให้เขียนให้คสช.มีอำนาจเทียบเท่ารัฐบาลไว้ด้วย
วัดใจ”บิ๊กตู่”จะแก้ไขอีกหรือไม่
“ทั้งหมดคือหัวใจสำคัญของร่างรธน.ฉบับชั่วคราวปี57 ซึ่งก็ยังมีโอกาสที่ พล.อ.ประยุทธ์อาจไม่เห็นด้วยในบางเรื่องกับที่เสนอไปแล้ว อาจขอให้แก้ไขปรับปรุงถ้อยคำบางส่วน แต่ส่วนใหญ่หลายเรื่องได้ข้อสรุปไปหมดแล้ว คุยกันมาก่อนแล้ว ก่อนจะส่งร่างไป ดังนั้นการปรับอะไรคงไม่มาก ยกเว้นบางเรื่องที่ พล.อ.ประยุทธ์ อาจอยากทราบเหตุผล เช่น เรื่องทำประชามติว่า ทำไม คณะทำงานบางส่วนจึงเสนอมาว่า ควรให้ทำประชามติ แต่ที่ผ่านมาฝ่าย คสช.ก็บอกตลอดว่า ไม่เอาประชามติ” แหล่งข่าวจาก คสช.กล่าว
ผบ.ทบ.กำชับล่าพวกหมิ่นสถาบัน
ด้าน พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบ.ตร.พร้อมด้วย พล.ต.ต.วรัญวัส การุณยธัช รอง ผบช.น.และพล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ช่วยราชการ รอง บช.น.เปิดเผยหลังประชุมความมั่นคงว่า หัวหน้า คสช.กำชับให้เร่งจับกุมบุคคลตามหมายจับที่ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.และหมายจับที่เคยออกไว้ โดยจะจับกุมทุกกรณีและจะไม่เลือกปฏิบัติต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง กรณีของ นายจักรภพ เพ็ญแข ทางตำรวจได้ออกหมายจับแล้วในข้อหาเกี่ยวกับอาวุธสงคราม หรือเตรียมจัดหาอาวุธสงคราม ซึ่งต้องประสานงานขอส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน อีกทั้ง นายจักรภพ เคยมีหมายจับของ สน.สามเสน เหตุเกิดวันที่ 22กรกฎาคม2550 กรณีนำมวลชนไปปิดล้อมบ้านสี่เสาเทเวศร์ โดยพนักงานสืบสวนได้ออกหมายจับและพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้อง โดยขั้นตอนต่อไปพนักงานสืบสวนจะรวบรวมหลักฐานส่งไปกองการต่างประเทศ จากนั้นจะส่งข้อมูลทั้งหมดไปที่สำนักอัยการสูงสุดและส่งต่อไปยังกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนต่อไป
เร่งสอบ”พล.ท.มนัส”โยงชุดดำ
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีศาลทหารบกจังหวัดสระบุรีอนุมัติหมายจับ พล.ท.มนัส เปาริก อดีตรองแม่ทัพภาคที่3 เมื่อวันที่ 25ถุนายนที่ผ่านมา จะเชื่อมโยงไปถึงกรณีชายชุดดำที่ก่อเหตุในช่วงที่มีการชุมนุมปี2553 ของกลุ่มคนเสื้อแดงจนนำไปสู่การสลายการชุมนุมสร้างสูญเสียจำนวนมากหรือไม่ พล.ต.อ.สมยศ ตอบว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างติดตามจับกุมตามหมายจับ กรณีเกี่ยวข้องกับอาวุธสงคราม พร้อมทั้งเร่งสืบสวนสอบสวนว่า มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับกลุ่มชายชุดดำตามที่สังคมสงสัยหรือไม่ หากเกี่ยวข้องก็จะต้องดำเนินคดีไปตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดต่อไป
ตั้งรองอสส.ตามลากคอ”จักรภพ”
ขณะที่ นายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด กล่าวถึงแนวทางการติดตามตัวผู้ต้องหาในคดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 ที่อยู่นอกราชอาณาจักร ว่า ต้องรอให้พนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ( สตช.)รวบรวมพยานหลักฐานและส่งสำนวนคดีมาให้กับอัยการพิจารณาและมีความเห็นสั่งคดีก่อน หากอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหานั้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะขอศาลออกหมายจับ จากนั้นอัยการสูงสุดในฐานะผู้ประสานงานกลางตามกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนจะนำมาใช้ประสานหน่วยงานตำรวจและกระทรวงการต่างประเทศเพื่อดำเนินการตามกระบวนการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนต่อไป
ใช้สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
อัยการสูงสุด กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยมี นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์ รองอัยการสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะทำงาน หากเป็นกรณีกระทำผิดนอกราชอาณาจักรต้องส่งเรื่องมาให้ตนในฐานะอัยการสูงสุดพิจารณาสั่งคดีชี้ขาด ส่วนกระบวนการขั้นตอนการขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้น ต้องศึกษาข้อกฎหมาย หรือสนธิสัญญาที่มีกับประเทศนั้นๆ ที่ผู้ต้องหาพำนักอยู่ด้วยว่า มีสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนต่อกันหรือไม่
คุม"จ่าโก"ชี้จุดพบอาวุธสงคราม
ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ท.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญ พล.ม.2 รอ.พร้อมสารวัตรทหารและพ.ต.อ.สุวัฒน์ แสงนุ่ม พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ บก.ป.ควบคุมตัว จ.ส.อ.ภคภูมิ โกศินานนท์ หรือจ่าโก อดีตนายสิบการข่าว สังกัดกรมทหารม้าที่1 ซึ่งเป็น 1ใน8ผู้ต้องหาที่ถูกศาลทหาร จ.สระบุรี ออกหมายจับข้อหาร่วมกันมีอาวุธปืนและวัตถุระเบิดไว้ในครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ไปตรวจค้นห้องเก็บของลานไนน์ ต.คลอง6 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี จุดที่พบอาวุธสงคราม เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานประกอบสำนวนคดีเพิ่มเติม ก่อนนำตัวไปขออำนาจศาลทหารฝากขังผลัดแรกในวันที่ 2กรกฎาคมนี้
6ที่ปรึกษาสำนักนายกฯรายงานตัว
วันเดียวกัน บุคคลที่รายชื่อแต่งตั้งโยกย้ายมาที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย ตามคำสั่ง คสช.รวม 6คน ได้ทยอยเข้ารายงานตัวกับ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้า คสช.ฝ่ายกิจการพิเศษ ครบทั้งหมดแล้ว ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ประกอบด้วย 1.นายปรีชา กันธิยะ อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม 2.นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน 3.นายทศพร ศิริสัมพันธ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา 4.นายอภิชาต จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5.นายสมชัย ศิริวัฒนโชค อดีตปลัดกระทรวงคมนาคมและ6.นายโชติ ตราชู อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย พล.ต.อ.อดุลย์ ได้ขอให้ทุกคนช่วยกันทำงาน
“บิ๊กตู่”ยันย้ายตามความเหมาะสม
ทางด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.กล่าวว่า การปรับย้ายข้าราชการระดับสูงที่เกิดขึ้นเป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมเช่นเดียวกับการโยกย้ายในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ไม่ใช่การรังแกข้าราชการ หรือหน่วยงานใด จึงขอความร่วมมือทุกคนให้เกียรติซึ่งกันและกัน พร้อมร่วมกันทำงานเพื่อประเทศต่อไปและนับจากวันนี้ คสช.ขอยืนยันว่า จะไม่มีการทุจริต หรือ เรียกร้องผลประโยชน์แม้แต่บาทเดียว หากใครพบหรือถูกเรียกรับใด ๆ ให้แจ้งมาจะดำเนินการตรวจสอบและลงโทษทันที
"อุเทน”แถลงปิด”พรรคคนไทย”
ที่โรงแรมรอยัลปริ้นเซส หลานหลวง นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย แถลงข่าวยุติพรรคคนไทย เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยต่อการทำกิจกรรมพรรค
“ผมในฐานะที่อยู่การเมืองมานาน ขอใช้เวทีนี้ประกาศยุติพรรคฅนไทย ยอมแพ้กับวิธีคิด วิธีการของสังคมที่ยอมรับกับการสร้างภาพ สังคมที่ไม่เคยเรียนรู้ ผมอึดอัดกับเหตุการณ์ตลอด 40-50วันที่ผ่านมา ยืนยันว่าสองมาตรฐานยังไม่หมดไป อย่างไรก็ตาม เมื่อเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ ผมจะประกาศยุบพรรคอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ส่วนใครจะมาขอใช้พรรคฅนไทยยต่อนั้น ส่วนตัวไม่ว่าแต่ผมไม่เอาแล้ว แต่ยังไม่ออกจากการเมือง หลังจากนี้อาจทำหน้าที่วิพากษ์การเมือง ส่วนจะกลับเข้าพรรคเพื่อไทยอีกหรือไม่ เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าจะไม่มีพรรคเพื่อไทยอยู่ แต่หากพรรคเพื่อไทยเปลี่ยนไปเป็นพรรคอื่นแล้วจะเข้าร่วมด้วยหรือไม่นั้น ก็มีความเป็นไปได้ เพราะทุกพรรคการเมืองผมก็มีเพื่อนพี่น้องอยู่ทั้งนั้นและเชื่อว่า ยังคงมีนักการเมืองน้ำดีอยู่” นายอุเทน กล่าว
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 1 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านเกษะโกมล เขตบางซื่อ นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฝ่ายกฎหมาย ในฐานะหัวหน้าทีมร่างธรรมนูญปกครองชั่วคราว ได้เข้าชี้แจงเนื้อหาร่างธรรมนูญปกครองชั่วคราวต่อ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผบ.ทบ.ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช.หลังทีมร่างธรรมนูญฯส่งร่างธรรมนูญปกครองชั่วคราวให้กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ในฐานะหัวหน้า คสช.เมื่อวันที่ 30มิถุนายนที่ผ่านมา ก่อนนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุม คสช.เพื่อขับเคลื่อนการบริหาราชการแผ่นดินครั้งที่4/2557 ในวันที่ 2กรกฎาคมและก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช.นำขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป
"บิ๊กต๊อก"ยันคนละส่วนกับรธน.
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายากล่าวถึงการประชุมร่วมกับ นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษา คสช.ฝ่ายกฏหมายและกระบวนการยุติธรรม พร้อมทีมกฎหมายว่า ได้พูดถึงความคืบหน้าในการพิจารณากฎหมายและระเบียบที่หน่วยงานต่างๆ เสนอมาเพื่อสนับสนุนการทำงานและขจัดอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งนี้ คณะทำงานจะหารือว่า ประเด็นใดที่เร่งด่วนและควรออกเป็นประกาศ คสช.หรือส่วนใดควรเสนอเข้าสภานิติบัญญัติเพื่อให้เห็นชอบต่อไป โดยไม่ได้หารือเรื่องรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพราะเป็นคนละส่วนงานกัน ซึ่งเรื่องรัฐธรรมนูญเป็นส่วนของทีมที่ปรึกษา คสช.ซึ่ง นายวิษณุ ดูร่วมกับคณะทำงานร่างรัฐธรรมนูญ
เผยร่างรธน.ชั่วคราวมี45มาตรา
แหล่งข่าวจาก คสช.เปิดเผยถึงร่างธรรมนูญการปกครอง หรือร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี2557 ที่คณะทำงานยกร่างรธน.ชุด นายวิษณุ เครืองาม ส่งถึงมือ พล.อ.เประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ว่า กำลังรอสัญญาณจาก พล.อ.ประยุทธ์ ว่า จะเห็นชอบร่างทั้งหมดที่เสนอไปที่มี 45 มาตราแล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯภายในสัปดาห์นี้หรือไม่ หรือว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะขอให้พิจารณาปรับอีกครั้งก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งหากให้ปรับคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะในการนำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่ไม่น่าเกินกลางเดือนกรกฎาคมนี้
ติดปัญหาต้องทำประชามติหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ร่างที่เสนอ พล.อ.ประยุทธ์ มีประเด็นสำคัญที่สุดที่ให้ พล.อ.ประยุทธ์ตัดสินใจก็คือ เรื่องทำประชามติรัฐธรรมนูญฉบับถาวร หรือฉบับปี2558 ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพราะในส่วนคณะทำงานบางส่วนเห็นว่า สมควรต้องทำประชามติ แม้ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์และคสช.ยืนยันมาตลอดว่า ไม่เอาประชามติ ดังนั้นคณะทำงานจึงเสนอไป 2ส่วนให้ พล.อ.ประยุทธ์เลือกว่า จะเอาแบบไหน คือให้เอาแบบไม่มีประชามติ ก็จะไม่มีรายละเอียดว่า ต้องทำอย่างไร คือจะเขียนแค่ว่า หลังสภาปฏิรูปประเทศลงมติเห็นชอบแล้วให้นำร่างขึ้นทูลเกล้าฯได้เลย แต่หากจะทำประชามติก็จะมีรายละเอียดว่า ต้องทำอย่างไรบ้าง มีขั้นตอนยังไง ต้องทำภายในกี่วันหลังสภาปฏิรูปประเทศลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งหมดอยู่ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะตัดสินใจ
รธน.ปี58ใช้เวลาร่างไม่เกิน120วัน
แหล่งข่าวระบุด้วยว่า ร่างรัฐธรรมนญฉบับชั่วคราวดังกล่าวได้บัญญัติถึงเงื่อนเวลาในการทำงานของสภาปฏิรูปประเทศ (สปร.) ไว้เบื้องต้นว่า หลังมีสภาปฏิรูปประเทศแล้ว ให้เวลาสปร.ประมาณ 45-60วัน ในการส่งบทสรุปรายงานที่เป็นการรวบรวมความเห็น-ข้อเสนอแนะ-รายงานการวิจัยและมุมมองเรื่องการปฏิรูปประเทศ การแก้ไขปัญหาประเทศที่เป็นการรวบรวมจากฝ่ายต่างๆ ส่งไปให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 35คน จากนั้นพอคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ข้อสรุปทั้งหมดแล้วและเริ่มนัดประชุมครั้งแรก ให้นับระยะเวลาในการยกร่างรัฐธรรมนูญของกมธ.รวมแล้วต้องไม่เกิน 120วัน เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี2558 จากนั้นพอเสร็จแล้วก็ให้กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ส่งไปให้สภาปฏิรูปประเทศลงมติว่า จะเห็นชอบหรือไม่ โดยสภาปฏิรูปประเทศไม่มีอำนาจแก้ไขได้ ให้ลงมติแค่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเท่านั้น
พร้อมเปิดฟังความเห็นทุกภาคส่วน
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวระบุว่า สำหรับรายละเอียดว่า ข้อเสนอแนะต่างๆที่สภาปฏิรูปประเทศจะส่งให้กมธ.ยกร่างฯเป็นอย่างไร มาจากหน่วยงานไหน จะไม่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคาว เพราะเป็นเรื่องที่สภาปฏิรูปประเทศและกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญจะไปคุยกันอีกที เนื่องจากเป็นเรื่องของรายละเอียดที่จะไม่มีการเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวอยู่แล้ว แต่ให้สมาชิกสภาปฏิรูปประเทศไปตกลงรายละเอียดอีกที เช่น อาจเป็นความเห็นจากสถาบันอุดมศึกษา องค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง ความเห็นคณะทำงานด้านปรองดองและปฏิรูปประเทศของ คสช.เป็นต้น
“เรื่องระยะเวลายกร่างรัฐธรรมนูญ 120วัน ก็มีบางส่วนบอกว่า จะน้อยเกินไปหรือไม่ เพราะปกติควรจะอยู่ที่ไม่เกิน 180วัน แต่ที่นับไม่เกิน 120วัน เพราะมีการบวกเวลาเรื่องการรับฟังความเห็น การรวบรวมข้อเสนอแนะจากฝ่ายต่างๆ ที่ให้เวลประมาณ 60วันไปแล้ว โดยการรับฟังความเห็นดังกล่าว ก็จะมาจากหลายส่วน เช่น การรับฟังความเห็นตัวสมาชิกสภาปฏิรูปประเทศ ที่จะมาจากการเลือกทางอ้อมจังหวัดละ 1คน รวม 77คน แล้วมาแสดงความเห็นในที่ประชุมสภาปฏิรูปประเทศ จนสภาปฏิรูปประเทศส่งไปให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็ถือว่า 120วันก็ค่อนข้างเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้ว โดยร่างที่ส่งไปสรุปแล้วสภาปฏิรูปประเทศจะมีเวลาในการทำหน้าที่ประมาณคร่าวๆ 9เดือน” แหล่งข่าว ระบุ
พ่วง”นิรโทษกรรม”คสช.ทั้งหมด
แหล่งข่าวยังยืนยันว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวจะมีเรื่องนิรโทษหรือการคุ้มครองคสช.ไว้ด้วย โดยจะอยู่ใน 2มาตราสุดท้ายของ 45มาตราดังกล่าว คือมาตราที่44 จะเขียนไว้ว่า ให้คำสั่งหรือประกาศต่างๆของคสช.ที่ออกมาทุกฉบับ ให้ถือว่าชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญหมดทุกอย่างเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย
แหล่งข่าวจาก คสช.อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า เหตุที่เขียนไว้เช่นนี้ก็เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้เพราะอย่าง เช่นการที่ คสช.สั่งโยกย้าย นายอรรถพล ใหญ่สว่าง ออกจากตำแหน่งอัยการสูงสุด ซึ่งโดยปกติแล้วการโยกย้ายข้าราชการอัยการ จะต้องทำโดยผ่านมติที่ประชุมคณะกรรมการอัยการ(ก.อ.) เนื่องจากสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถใช้อำนาจทางบริหารปกติมาย้ายได้ ดังนั้นในรธน.ฉบับชั่วคราวมาตรา44 จะเขียนไว้ว่า ให้ทุกคำสั่งและทุกประกาศรวมถึงสิ่งที่ คสช.ได้ทำไปให้ชอบด้วยกฎหมายทั้งหมด ไม่สามารถเอาผิดอะไรได้
ขณะที่มาตราสุดท้ายคือมาตรา45 จะเขียนไว้ว่า ทุกบรรดาการกระทำทั้งหลายที่ คสช.ได้กระทำในการเข้าควบคุมอำนาจการปกครองตั้งแต่วันที่ 22พฤษภาคม2557 ตลอดจนการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจาก คสช.หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำความผิดนั้นพ้นจากการรับผิดโดยสิ้นเชิง อันเป็นการเขียนไว้เพื่อคุ้มครองสิ่งที่คสช.ได้ทำมาทั้งหมดตั้งแต่ต้น จนถึงวันที่รธน.ฉบับชั่วคราวมีผลบังคับใช้ไม่ให้มีการเอาผิดใดๆเช่น การฟ้องร้อง เป็นต้น
หวั่นซ้ำรอยเสียมวยเหมือน”บิ๊กบัง”
แหล่งข่าวจากคสช.ย้ำอีกว่า ร่างรธน.ฉบับชั่วคราว จะมีมาตราเรื่องการให้อำนาจ คสช.มีอำนาจเท่ารัฐบาลรวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำกันมาเป็นปกติทุกครั้งเมื่อมีการใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราวหลังทำรัฐประหาร เพื่อให้คณะรัฐประหารสามารถควบคุมการบริหารงานของรัฐบาลที่เกิดจากคณะรัฐประหารได้ เพียงแต่รธน.ชั่วคราวปี2549 ได้ฉีกธรรมเนียมนี้ทิ้งไป ซึ่งก็ทำให้คสช.เห็นแล้วว่า การไม่มีมาตราดังกล่าวทำให้การทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คือ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.กับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกฯที่พล.อ.สนธิ แต่งตั้งขึ้น มีปัญหา เพราะคมช.ไม่สามารถควบคุมรัฐบาลได้อย่างที่ควรจะเป็น ทำให้ครั้งนี้ คสช.จึงมีการปิดจุดอ่อนดังกล่าวด้วยการให้เขียนให้คสช.มีอำนาจเทียบเท่ารัฐบาลไว้ด้วย
วัดใจ”บิ๊กตู่”จะแก้ไขอีกหรือไม่
“ทั้งหมดคือหัวใจสำคัญของร่างรธน.ฉบับชั่วคราวปี57 ซึ่งก็ยังมีโอกาสที่ พล.อ.ประยุทธ์อาจไม่เห็นด้วยในบางเรื่องกับที่เสนอไปแล้ว อาจขอให้แก้ไขปรับปรุงถ้อยคำบางส่วน แต่ส่วนใหญ่หลายเรื่องได้ข้อสรุปไปหมดแล้ว คุยกันมาก่อนแล้ว ก่อนจะส่งร่างไป ดังนั้นการปรับอะไรคงไม่มาก ยกเว้นบางเรื่องที่ พล.อ.ประยุทธ์ อาจอยากทราบเหตุผล เช่น เรื่องทำประชามติว่า ทำไม คณะทำงานบางส่วนจึงเสนอมาว่า ควรให้ทำประชามติ แต่ที่ผ่านมาฝ่าย คสช.ก็บอกตลอดว่า ไม่เอาประชามติ” แหล่งข่าวจาก คสช.กล่าว
ผบ.ทบ.กำชับล่าพวกหมิ่นสถาบัน
ด้าน พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบ.ตร.พร้อมด้วย พล.ต.ต.วรัญวัส การุณยธัช รอง ผบช.น.และพล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ช่วยราชการ รอง บช.น.เปิดเผยหลังประชุมความมั่นคงว่า หัวหน้า คสช.กำชับให้เร่งจับกุมบุคคลตามหมายจับที่ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.และหมายจับที่เคยออกไว้ โดยจะจับกุมทุกกรณีและจะไม่เลือกปฏิบัติต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง กรณีของ นายจักรภพ เพ็ญแข ทางตำรวจได้ออกหมายจับแล้วในข้อหาเกี่ยวกับอาวุธสงคราม หรือเตรียมจัดหาอาวุธสงคราม ซึ่งต้องประสานงานขอส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน อีกทั้ง นายจักรภพ เคยมีหมายจับของ สน.สามเสน เหตุเกิดวันที่ 22กรกฎาคม2550 กรณีนำมวลชนไปปิดล้อมบ้านสี่เสาเทเวศร์ โดยพนักงานสืบสวนได้ออกหมายจับและพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้อง โดยขั้นตอนต่อไปพนักงานสืบสวนจะรวบรวมหลักฐานส่งไปกองการต่างประเทศ จากนั้นจะส่งข้อมูลทั้งหมดไปที่สำนักอัยการสูงสุดและส่งต่อไปยังกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนต่อไป
เร่งสอบ”พล.ท.มนัส”โยงชุดดำ
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีศาลทหารบกจังหวัดสระบุรีอนุมัติหมายจับ พล.ท.มนัส เปาริก อดีตรองแม่ทัพภาคที่3 เมื่อวันที่ 25ถุนายนที่ผ่านมา จะเชื่อมโยงไปถึงกรณีชายชุดดำที่ก่อเหตุในช่วงที่มีการชุมนุมปี2553 ของกลุ่มคนเสื้อแดงจนนำไปสู่การสลายการชุมนุมสร้างสูญเสียจำนวนมากหรือไม่ พล.ต.อ.สมยศ ตอบว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างติดตามจับกุมตามหมายจับ กรณีเกี่ยวข้องกับอาวุธสงคราม พร้อมทั้งเร่งสืบสวนสอบสวนว่า มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับกลุ่มชายชุดดำตามที่สังคมสงสัยหรือไม่ หากเกี่ยวข้องก็จะต้องดำเนินคดีไปตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดต่อไป
ตั้งรองอสส.ตามลากคอ”จักรภพ”
ขณะที่ นายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด กล่าวถึงแนวทางการติดตามตัวผู้ต้องหาในคดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 ที่อยู่นอกราชอาณาจักร ว่า ต้องรอให้พนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ( สตช.)รวบรวมพยานหลักฐานและส่งสำนวนคดีมาให้กับอัยการพิจารณาและมีความเห็นสั่งคดีก่อน หากอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหานั้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะขอศาลออกหมายจับ จากนั้นอัยการสูงสุดในฐานะผู้ประสานงานกลางตามกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนจะนำมาใช้ประสานหน่วยงานตำรวจและกระทรวงการต่างประเทศเพื่อดำเนินการตามกระบวนการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนต่อไป
ใช้สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
อัยการสูงสุด กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยมี นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์ รองอัยการสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะทำงาน หากเป็นกรณีกระทำผิดนอกราชอาณาจักรต้องส่งเรื่องมาให้ตนในฐานะอัยการสูงสุดพิจารณาสั่งคดีชี้ขาด ส่วนกระบวนการขั้นตอนการขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้น ต้องศึกษาข้อกฎหมาย หรือสนธิสัญญาที่มีกับประเทศนั้นๆ ที่ผู้ต้องหาพำนักอยู่ด้วยว่า มีสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนต่อกันหรือไม่
คุม"จ่าโก"ชี้จุดพบอาวุธสงคราม
ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ท.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญ พล.ม.2 รอ.พร้อมสารวัตรทหารและพ.ต.อ.สุวัฒน์ แสงนุ่ม พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ บก.ป.ควบคุมตัว จ.ส.อ.ภคภูมิ โกศินานนท์ หรือจ่าโก อดีตนายสิบการข่าว สังกัดกรมทหารม้าที่1 ซึ่งเป็น 1ใน8ผู้ต้องหาที่ถูกศาลทหาร จ.สระบุรี ออกหมายจับข้อหาร่วมกันมีอาวุธปืนและวัตถุระเบิดไว้ในครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ไปตรวจค้นห้องเก็บของลานไนน์ ต.คลอง6 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี จุดที่พบอาวุธสงคราม เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานประกอบสำนวนคดีเพิ่มเติม ก่อนนำตัวไปขออำนาจศาลทหารฝากขังผลัดแรกในวันที่ 2กรกฎาคมนี้
6ที่ปรึกษาสำนักนายกฯรายงานตัว
วันเดียวกัน บุคคลที่รายชื่อแต่งตั้งโยกย้ายมาที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย ตามคำสั่ง คสช.รวม 6คน ได้ทยอยเข้ารายงานตัวกับ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้า คสช.ฝ่ายกิจการพิเศษ ครบทั้งหมดแล้ว ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ประกอบด้วย 1.นายปรีชา กันธิยะ อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม 2.นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน 3.นายทศพร ศิริสัมพันธ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา 4.นายอภิชาต จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5.นายสมชัย ศิริวัฒนโชค อดีตปลัดกระทรวงคมนาคมและ6.นายโชติ ตราชู อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย พล.ต.อ.อดุลย์ ได้ขอให้ทุกคนช่วยกันทำงาน
“บิ๊กตู่”ยันย้ายตามความเหมาะสม
ทางด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.กล่าวว่า การปรับย้ายข้าราชการระดับสูงที่เกิดขึ้นเป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมเช่นเดียวกับการโยกย้ายในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ไม่ใช่การรังแกข้าราชการ หรือหน่วยงานใด จึงขอความร่วมมือทุกคนให้เกียรติซึ่งกันและกัน พร้อมร่วมกันทำงานเพื่อประเทศต่อไปและนับจากวันนี้ คสช.ขอยืนยันว่า จะไม่มีการทุจริต หรือ เรียกร้องผลประโยชน์แม้แต่บาทเดียว หากใครพบหรือถูกเรียกรับใด ๆ ให้แจ้งมาจะดำเนินการตรวจสอบและลงโทษทันที
"อุเทน”แถลงปิด”พรรคคนไทย”
ที่โรงแรมรอยัลปริ้นเซส หลานหลวง นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย แถลงข่าวยุติพรรคคนไทย เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยต่อการทำกิจกรรมพรรค
“ผมในฐานะที่อยู่การเมืองมานาน ขอใช้เวทีนี้ประกาศยุติพรรคฅนไทย ยอมแพ้กับวิธีคิด วิธีการของสังคมที่ยอมรับกับการสร้างภาพ สังคมที่ไม่เคยเรียนรู้ ผมอึดอัดกับเหตุการณ์ตลอด 40-50วันที่ผ่านมา ยืนยันว่าสองมาตรฐานยังไม่หมดไป อย่างไรก็ตาม เมื่อเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ ผมจะประกาศยุบพรรคอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ส่วนใครจะมาขอใช้พรรคฅนไทยยต่อนั้น ส่วนตัวไม่ว่าแต่ผมไม่เอาแล้ว แต่ยังไม่ออกจากการเมือง หลังจากนี้อาจทำหน้าที่วิพากษ์การเมือง ส่วนจะกลับเข้าพรรคเพื่อไทยอีกหรือไม่ เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าจะไม่มีพรรคเพื่อไทยอยู่ แต่หากพรรคเพื่อไทยเปลี่ยนไปเป็นพรรคอื่นแล้วจะเข้าร่วมด้วยหรือไม่นั้น ก็มีความเป็นไปได้ เพราะทุกพรรคการเมืองผมก็มีเพื่อนพี่น้องอยู่ทั้งนั้นและเชื่อว่า ยังคงมีนักการเมืองน้ำดีอยู่” นายอุเทน กล่าว