วันพุธ, มิถุนายน 14, 2560

สํานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติขอ รบ.ไทยแก้ ก.ม. 112 - UN urges Thailand to revise laws against insults of monarchy





สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมีความกังวลอย่างมากต่อการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2557 ตลอดจนการลงโทษที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งรวมการจำคุกผู้กระทำความผิดรายหนึ่งสูงถึง 35 ปีเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ศาลทหารไทยตัดสินให้นายวิชัย เทพวงศ์ มีความผิดฐานโพสต์ภาพถ่าย 10 ภาพ วิดีโอและคอมเมนต์ในเฟซบุ๊คซึ่งถือว่าหมิ่นราชวงศ์ วิชัยถูกตัดสินจำคุก 70 ปี แต่ได้รับลดหย่อนโทษกึ่งหนึ่งหลังรับสารภาพ
บทลงโทษนี้ถือว่าหนักที่สุดนับตั้งแต่ศาลเคยตัดสินลงโทษในคดีมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งรู้จักกันในชื่อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ บทลงโทษสูงสุดก่อนหน้านี้เกิดขึ้นในปี 2558 หลังศาลทหารจำคุกผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดเดียวกัน 3 รายเป็นเวลา 25-30 ปี ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีบทลงโทษจำคุก 3-15 ปีต่อแต่ละกรรมที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นสถาบันกษัตริย์

ในช่วงปี 2554-2556 มีผู้ถูกสอบสวนว่าหมิ่นสถาบันกษัตริย์รวม 119 ราย ทว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2557-2559 ปรากฎตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า โดยมีจำนวนอย่างน้อยถึง 285 ราย

สถิติของทางการไทยชี้ให้เห็นว่าจำนวนผู้ประสบความสำเร็จในการสู้คดีหมิ่นพระบรมราชานุภาพลดลงอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ ในช่วงปี 2554-2556 ผู้ถูกกล่าวหาคดีหมิ่นฯ ประมาณ 24% สามารถสู้คดีจนสำเร็จ แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตัวเลขนี้ลดลงเหลือ 10% เท่านั้น ก่อนจะลดเหลือเพียง 4% ปีที่แล้ว

แม้สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ จะทราบดีว่าประเด็นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในไทยเป็นเรื่องซับซ้อนและอ่อนไหว แต่ตัวเลขการดำเนินคดีและการที่ศาลยังคงตัดสินลงโทษจำคุกผู้คนต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีเมื่อเทียบกับความผิดที่เกิดขึ้นทำให้เรากังวลอย่างยิ่ง คนทุกคนมีสิทธิแสดงความเห็นโดยเฉพาะในการวิพากษ์บุคคลสาธารณะ การถูกจำคุกเพียงเพราะคนเหล่านั้นใช้สิทธิแสดงความเห็นของตนจึงถือเป็นการละเมิดมาตรา 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งไทยให้ภาคยานุวัตรในปี 2539 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติซึ่งพิจารณาการปฏิบัติการตามกติการะหว่างประเทศฉบับดังกล่าวเมื่อเดือนมีนาคม 2560 เห็นว่าไทยควรทบทวนมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 19 ของกติการะหว่างประเทศฯ

สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รู้สึกกังวลกับการพิจารณาคดีนับตั้งแต่เกิดรัฐประหารในปี 2557 เป็นต้นมา กล่าวคือ คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพส่วนใหญ่มีการพิจารณาในศาลทหาร สาธารณชนไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าฟังการไต่สวน ผู้ถูกกล่าวหาส่วนใหญ่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว และหลายรายถูกควบคุมตัวเป็นเวลานานก่อนการไต่สวนคดีจะเริ่ม แม้ว่าสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ เห็นด้วยกับการตัดสินใจของรัฐบาลในเดือนกันยายน 2559 ที่ยุติการไต่สวนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในอนาคตที่จะเกิดขึ้นในศาลทหารก็ตาม แต่เราขอเรียกร้องอีกครั้งให้ทางการไทยยุติการไต่สวนคดีดังกล่าว ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาโดยศาลทหารในขณะนี้ทุกคดีโดยให้มีผลย้อนหลัง

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศทันที รวมทั้งขอเรียกร้องให้ไทยทบทวนคดีหมิ่นฯ ทุกคดีที่ฟ้องดำเนินคดีตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา

ภาพ: ไฟล์รูป ศาลทหารกรุงเทพ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2558

ที่มา FB


UN Human Rights - Asia


ooo

UN urges Thailand to revise laws against insults of monarchy


By Associated Press Via Washington Post
June 13, 2017

GENEVA — The U.N. human rights office says Thailand should bring its laws criminalizing insults against the monarchy in line with international law.

Office spokesman Rupert Colville made the appeal Tuesday, days after a Thai military court handed down what’s considered the longest-ever sentence for the offense of lese majeste: A 35-year prison sentence to man for social media posts deemed defamatory to the monarchy.

Colville said his office was “very concerned by the rise in the number of lese majeste prosecutions in Thailand since 2014 and the severity of the sentencing.”

It cited statistics provided by Thai authorities showing a sharp drop in the number of people who have successfully defended themselves against such charges, falling from about one-quarter of people charged in 2013 to just 4 percent last year.