วันศุกร์, มกราคม 12, 2567

หนุ่มเรดนนท์ เล่าเรื่อง เกี่ยวกับขั้นตอนการรับการรักษาในเรือนจำ จากประสบการณ์ของตัวเองที่เคยอยู่ในคุก 3 ปี ส่วนตัวเชื่อมากๆ ว่า การออกไปรับการรักษานอกเรือนจำนั้น เป็นเรื่องยากมาก และทำไมถึงรับไม่ได้ในกรณีชั้น 14


(https://twitter.com/noomrednon/status/1745453569342591312)
หนุ่มเรดนนท์ @noomrednon

ขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการรับการรักษาในเรือนจำ จากประสบการณ์ของตัวเองที่เคยอยู่ในคุก 3 ปีเศษ ส่วนตัวเชื่อมากๆ ว่าคนที่เคยเข้าคุกมาก่อนจะรู้ดีเลยว่า การออกไปรับการรักษานอกเรือนจำนั้น เป็นเรื่องยากขนาดไหน?
และทำไมเราถึงรับไม่ได้ในกรณีชั้น 14 อ่านจบแล้วค่อยด่าก็ได้นะ

อันดับแรกเลย เข้าคุกแล้วเกิดป่วยขึ้นมา ถ้าเป็นโรคเบสิคทั่วไป ก็อาจจะขอยาพาราที่ทำการแดนได้ แต่ยาที่ทำการแดนก็ใช่จะมีให้ตลอด เพราะ ผข. (ผู้ต้องขัง) ขอกันเยอะ ทั้งพวกที่ขอเพราะป่วยจริง และพวกที่ขอเพื่อไปขายต่อ ดังนั้นผู้คุมจึงตัดปัญหาให้ ผข ไปขอกันเองที่ สถานพยาบาลในเรือนจำ (พบ.)

Step ต่อมาถ้าป่วยซับซ้อนขึ้นมาอีกหน่อย ผข ต้องติดต่อที่ทำทการแดน เพื่อลงทะเบียนขอออกนอกแดน เพื่อพบแพทย์ที่ พบ. ซึ่ง ผข แต่ละคนจะไป พบ. ได้สัปดาห์ละ 1 วัน คือวันพฤหัส ต้องใส่ชุดสีฟ้า และเดินต่อแถวกันออกไปตรวจที่แดน 7 (พิเศษกรุงเทพฯ) บางครั้งใช้เวลาทั้งวันกว่าจะได้ตรวจ

กรณีอากง SMS ก็ไปตาม Step นี้ แกมีอาการปวดท้อง ถ่ายไม่ออก ก็ต่อคิวไป พบ. แบบ ผข. ทั่วไป ไปครั้งแรก ก็ได้ยาพารากลับมา กับแอนตาซิล กลับมากินก็ไม่หาย สัปดาห์ต่อมาจึงทำออกไปใหม่ แต่ที่นั่นก็ยังให้ยาแบบเดิมกลับมา จนแกโมโหว่าทำไมไม่ตรวจแกให้ดีๆ ให้แต่ยาพารามาอย่างเดียว

ขอหมายเหตุไว้นิดนึง เกี่ยวกับสถานพยาบาลในเรือนจำ (พบ.) ส่วนตัวไม่เคยออกไปที่นั่นในฐานะผู้ป่วยนะ ตลอด 3 ปีเศษที่อยู่ในนั้น แต่เคยออกไปในฐานะผู้ช่วยผู้คุมที่พาเพื่อน ผข. ออกไป เท่าที่เห็น และสอบถามคนที่ไปรับการตรวจ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า คนมาตรวจอาจไม่ใช่หมอก็ได้

อาจเป็นบุรุษพยาบาล ที่พอมีความรู้บ้างเข้ามาทำการตรวจ และคนพวกนี้ปฏิบัติกับ ผข. แบบไม่ให้เกียรติ ไม่กล้าสัมผัสตัว สีหน้าท่าทาง แสดงออกอย่างดูถูก แต่ ผข. อย่างเราไม่มีทางเลือก และส่วนใหญ่ที่ไป พบ. กลับมาก็จะได้ยาพารามาเป็นยารักษา เรียกว่ายาพารานี่ เป็นยาวิเศษรักษาได้ทุกโรคจริงๆ

Step ที่ 3 คือกรณีพบว่าป่วยจริง แบบต้องป่วยจริงๆ แบบมีอาการปางตาย ก็จะได้มีโอกาสส่งตัวไป รพ. ราชทัณฑ์ ที่อยู่นอกเรือนจำ ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งตลอดเวลาที่เราอยู่ที่นั่นก็เห็นน้อยมากที่จะได้ไป และพวกที่ได้ไปแทบทั้งหมดก็อยู่ไม่นานก็จะกลับมา เขาไม่ให้อยู่นาน

กรณีเพื่อน ผข. สูงอายุ 2 รายที่เรารู้จัก ออกไปผ่าตัดหัวใจ กับผ่าตัดท่อปัสสาวะ ไปได้ 7-8 วัน หลังผ่าตัดเสร็จก็กลับมา เข้าเรือนจำปกติ ทั้งๆ ที่แผลยังไม่หายสนิท สองคนนี้ยังโชคดีที่ไปแล้วยังได้กลับมา ไม่เหมือนอากงที่ไปแล้ว ก็ไปเลยไม่มีโอกาสกลับมาอีก

อย่างกรณีผู้ต้องขังที่ทำร้ายตัวเอง กินแฟ๊บจนน้ำลายฟูมปาก ชัดดิ้นชักงอ อาการปางตาย (ในคุกจะมีคนคิดสั้นด้วยการกินแฟ๊บฆ่าตัวตายเยอะ) ขนาดอาการหนักขนาดนี้ ยังไปจบแค่ พบ. เท่านั้น เพราะการพา ผข. ออกนอกเรือนจำ เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ชีวิตของคนคุก มันไม่ค่อยมีค่าอะไรสำหรับพวกเขาหรอก

กรณีเสี่ยชื่อดัง คดีเกี่ยวกับสร้างพระ ที่เชื่อมโยงกับวัดสุทัศน์ ก็เคยคิดสั้นฆ่าตัวตายโดยการกินยาพาราหลายสิบเม็ด สุดท้ายก็แค่ถูกส่งตัวไปรักษาข้างนอกไม่กี่วันก็กลับมาที่เดิม ขนาดเสี่ย อ. ที่ได้ชื่อว่าทุนหนา มีห้องครัวส่วนตัวทำอาหารกินเองได้ในเรือนจำ ยังรักษาที่ รพ. นอกได้ไม่นานเลย

ยังมีอีกหลายกรณี ที่ไม่ได้รับการปฏิบัติที่ดีทางการแพทย์ เรายกตัวอย่างมาได้ไม่หมดหรอก คำถามคืออะไรที่ทำให้ ผข. ทั่วไปต่างจากคนที่ชั้น 14 ทั้งๆ ที่เป็น นช. (นักโทษชาย) เหมือนกัน ถ้านี่จะเป็นมาตรฐานใหม่ของราชทัณฑ์ เราก็รู้สึกยินดีด้วยนะ แต่คิดว่าไม่ใช่หรอก อันนี้อภิสิทธิ์ชนล้วนๆ

เราบอกกับทุกคนว่า วันนั้นที่เราออกมาสู้ในนามคนเสื้อแดง แรงบันดาลหนึ่งเดียวในวันนั้น คือคนที่ชั้น 14 คนนี้ถูกรังแก (เรากล้าถึงขนาดพาลูกไปชุมนุมด้วย) และเคียงบ่าเคียงไหล่กับฝ่ายแดงตลอดมาจนกระทั่งเราเองต้องติดคุก ต้องพลัดพรากจากลูก 3 ปีลี้ภัยอีก 8 ปี นี่แหละที่เราเสียใจ

ลืม Step สุดท้ายไปเลย กรณีที่ไป รพ. ตำรวจ ตอนเราอยู่ เห็นมีเคส อ.สุรชัย แซ่ด่าน คนเดียวที่ได้ไปที่นั่น แต่ อ.สุรชัย แกป่วยหลายโรคจริงๆ เดินก็ลำบาก ใครเคยเจอเขา คงทราบเรื่องสุขภาพแกดี แกไปไม่กี่วันก็กลับมาแดน 1 เหมือนเดิม 
และนี่คือทั้งหมดที่อยากเล่า หวังว่าจะเห็นความแตกต่างนะ