วันเสาร์, ธันวาคม 16, 2566

เพจ คณิตศาสตร์อย่างที่ควรจะเป็น หลังจากอ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง "ควบรวมแผลงฤทธิ์ TRUE-DTAC เน็ตช้าลง ค่าบริการแพงขึ้น?" เลยอยากเอามาเล่าขยายความให้ฟัง




คณิตศาสตร์อย่างที่ควรจะเป็น
Yesterday ·

ต้องออกตัวอย่างนี้ก่อนนะครับว่าตัวผมเองไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายอะไรมากมายอะไร และนี่คือเพจคณิตศาสตร์อย่างที่ควรจะเป็น ไม่ใช่เพจกฎหมายอย่างที่ควรจะเป็นแต่อย่างใด
เพียงแค่ผมได้ไปฟังคลิปเรื่อง "ควบรวมแผลงฤทธิ์ TRUE-DTAC เน็ตช้าลง ค่าบริการแพงขึ้น?" ของช่อง The Standard ที่อ้างถึงรายงานวิจัยเรื่อง "กสทช. กับการ (ไม่?) บังคับใช้ตามมาตรการควบรวม TRUE-DTAC" ของ 101PUB มา
แล้วดันไปได้ยินประเด็นทางคณิตศาสตร์อันหนึ่งที่คิดว่าน่าสนใจ เลยอยากเอามาเล่าขยายความให้ฟังในโพสท์นี้ฮะ

สิ่งนี้คัดลอกมาจากมติที่ประชุมกสทช.เมื่อวันที่ 20 ตุลาปีที่แล้ว

ซึ่งตอนนั้นหลายคนที่กังวลว่าการควบรวมจะทำให้เกิดการกินรวบและขึ้นราคา มาตรการนี้ก็น่าจะพอทำให้สบายใจกันไปได้บ้าง

แต่ความน่าสนใจคือ อะไรคือวิธีการเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก แล้วมันสำคัญยังไงที่ต้องคิดแบบนี้


อันนี้เป็นตัวอย่างเลขกลม ๆ ให้เห็นภาพนะฮะ ไม่ได้อ้างจากข้อมูลจริงของบริษัทใด


จะเห็นว่าการกำหนดในมาตรการว่าให้ใช้ค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักนั้นเป็นไอเดียที่ดีมาก เพราะจากหน้าที่แล้วถ้าเฉลี่ยตรง ๆ นั้นผลที่ได้จะโดนราคา 450 ดึงให้ต่ำลง ทั้งที่จริงอาจจะแทบไม่มีคนใช้แพ็กเกจนี้ด้วยซ้ำ

การเฉลี่ยแบบถ่วงน้่ำหนักตามจำนวนผู้ใช้แพ็กเกจจึงน่าจะสะท้อนราคาจริง ๆ ของผู้ใช้ทั้งหมดได้ดีกว่า



ใช่ไหมฮะ ถ้าไม่ใช่สองวิธีนี้จะเป็นวิธีไหนได้อีก ไม่ต้องคิดเลขตามก็ได้ กะเอาด้วยสายตาก็น่าจะเห็นได้ไม่ยาก

ไม่รู้ว่าทรูทำยังไงเหมือนกัน แต่ตามข้อมูลที่ทรูแจ้งกับกสทช.นั้นระบุว่าราคาค่าบริการโทรศัพท์ลดลงราว 15% และราคาค่าบริการอินเทอร์เน็ตลดลงราว 80%

ปัญหาก็คือสิ่งนี้ดันขัดกับความรู้สึกของผู้ใช้น่ะสิ และถ้าอ้างจากข้อมูล TDRI ที่เปรียบเทียบราคาค่าบริการก่อนและหลังควบรวมพบว่าแทบทุกโปรโมชั่นมีราคาสูงขึ้นหมดเลย


ต้องออกตัวก่อนว่าผมก็ไม่เคยเห็นข้อมูลจำนวนแพ็กเกจก่อนและหลังควบรวมจริง ๆ ว่ามันเป็นตามนี้จริงไหม อันนี้ผมอ้างมาจากรายงานวิจัยของ 101PUB และคลิปของ The Standard

แต่ถ้าเป็นตามนี้จริง ๆ ผมว่าก็น่าสนใจอยู่

https://101pub.org/wp-content/uploads/2023/09/กสทช.-กับการ-ไม่-บังคับใช้ตามมาตรการควบรวม-TRUE-DTAC.pdf

https://www.youtube.com/watch?v=Qy3OfRmasjY


เข้าใจผมยัง

ถ้าใครยังไม่เข้าใจ ลองคิดเลขตาม ในสถานการณ์แบบนี้ ราคาทั้งหมดจะเป็น 450x50+1150x1000+2000x500 เท่าเดิม แต่จำนวนแพ็กเกจซึ่งเป็นตัวหารของค่าเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นจาก 1150 กลายเป็น 2300 คน เพราะทุกคนถือกันคนละสองแพ็จเกจ

และใช่ฮะ ราคาเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักก็จะลดลงเหลือแค่ครึ่งเดียวไปเลยฉ่ำ ๆ ทั้งที่ผู้ใช้ไม่ได้จ่ายเงินลดลงเลยแม้แต่น้อย


นี่แหละฮะคือประเด็นทางกฎหมายที่ผมไม่ได้มีความรู้

เพราะถ้าอ่านมาตรการตามตัวอักษร การบอกว่าถ่วงน้ำหนักตามจำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละแพ็กเกจก็เหมือนจะเป็นการเปิดช่องให้บริษัททำอย่างนี้ได้จริง ๆ

คือเพิ่มแพ็กเกจผีขึ้นมา ลูกค้าไม่เสียเงินเพิ่ม ไม่ได้เน็ตเพิ่ม แต่มาเป็นตัวหารเพื่อให้ค่าเฉลี่ยลดลงเฉย ๆ


ไม่รู้เหมือนกันว่านี่คือช่องโหว่ กลคณิตศาสตร์ หรือความเข้าใจผิดไปเองของคนที่ตั้งข้อสงสัยกันแน่

.....
Puntudis Thongouppakarn
ใช้ dtac มาตั้งแต่สมัย 01-
สมัยยังมี dtac family meeting ด้วยซ้ำ
เปลี่ยนเป็นใบพัด .. บริการห่วยลง สัญญาณแย่ขึ้น หลุดบ่อยหนัก
พอควบรวม .. กลายเป็นเตี้ยอุ้มค่อม ห่วยจนเก็บไว้เป็นเบอร์สำรองเท่านั้น
เพราะ ais ก้อมีเบอร์สวยอยู่แล้ว
###
ก่อนควบรวม คือ ร้านขายทุเรียน
ขายลูกเล็ก 100 กับลูกใหญ่ 200
ขายแต่ละอย่าง ได้พอๆ กัน
พอเฉลี่ยราคาคือ ลูกละ 150
###
พอควบรวมกะร้านลำไย
บอกขอขึ้นราคาเป็นลูกเล็ก 150 ลูกใหญ่ 250
แต่ทุกลูก "ขายแถม" ลำไย 1 เม็ด
ราคาลำไย ลูกละ 50 บาท "เท่านั้น"
แต่ถ้าซื้อพร้อมทุเรียน
ขายลำไยแค่ 0 บาท
ราคาทุเรียน 2 ลูก + ลำไย 2 ลูก = 150+250 + 50 + 50 = 500
แต่เราขายพร้อมกัน 4 ลูก ราคาแค่ 150 + 250 + 0 + 0 = 400
หรือ
** เฉลี่ยลูกละ 100 เดียวเอง**
ลดให้ขนาดนี้ คุ้มสุดๆ !
ยังมีใครว่า เราเอาเปรียบลูกค้า?
หา !?!?