วันพุธ, ธันวาคม 20, 2566

ทำไมคน Gen Z ไม่เชื่อมั่นรัฐบาลเศรษฐา ด้านเศรษฐกิจ-ประชาธิปไตย?



ทำไมคน Gen Z ไม่เชื่อมั่นรัฐบาลเศรษฐา ด้านเศรษฐกิจ-ประชาธิปไตย?

"ธำรงศักดิ์โพล" สำรวจพบคน Gen Z มัธยมปลายและมหาวิทยาลัยส่วนมาก ไม่เชื่อมั่น รัฐบาลเศรษฐาจะนำชาติให้ดีขึ้นด้านประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ ความยุติธรรม และด้านเศรษฐกิจ

18 ธันวาคม 2566
เดลินิวส์ออนไลน์

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ผลสำรวจหัวข้อ “ท่านเชื่อมั่นในรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ว่าจะนำชาติไทยให้เจริญ ด้านประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมมากขึ้นระดับใด” มีรายละเอียดดังนี้

“อาจารย์ธำรงศักดิ์โพล” เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคน Gen Z (ช่วงอายุ 15-19 ปี) ที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 504 คน (13 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม 2566) และจากคน Gen Z ช่วงอายุ 18-26 ปี ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย จำนวน 500 คน (13-15 กันยายน 2566)



ข้อคำถามว่า “ท่านเชื่อมั่นในรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ว่าจะนำชาติไทยให้เจริญ ด้านประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมมากขึ้นระดับใด”

ผลการวิจัยพบว่าเมื่อพิจารณาภาพรวม คน Gen Z มัธยมปลาย ไม่เชื่อมั่น รวม (น้อยและน้อยที่สุด) ร้อยละ 45.4 ขณะที่เชื่อมั่น รวม (มากและมากที่สุด) ร้อยละ 7.8 ส่วนคน Gen Z มหาวิทยาลัย ไม่เชื่อมั่น รวม (น้อยและน้อยที่สุด) ร้อยละ 55.8 ขณะที่เชื่อมั่น รวม (มากและมากที่สุด) ร้อยละ 13.5
  1. คน Gen Z มัธยมปลาย เชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 2.8 (14 คน) เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 7.0 (35 คน) เชื่อมั่นปานกลาง ร้อยละ 44.8 (225 คน) เชื่อมั่นน้อย ร้อยละ 26.9 (135 คน) เชื่อมั่นน้อยที่สุด ร้อยละ 18.5 (93 คน)
  2. คน Gen Z มหาวิทยาลัย เชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 2.5 (12 คน) เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 11.0 (55 คน) เชื่อมั่นปานกลาง ร้อยละ 30.7 (153 คน) เชื่อมั่นน้อย ร้อยละ 30.7 (153 คน) เชื่อมั่นน้อยที่สุด ร้อยละ 25.1 (125 คน)
  3. จากการสัมภาษณ์เชิงลึก การให้ความเชื่อมั่นระดับปานกลางของ Gen Z มัธยมปลายและมหาวิทยาลัย โดยทั่วไปหมายถึง ให้รัฐบาลได้ทำงานไปอีกระยะหนึ่งก่อน


ข้อคำถามว่า “ท่านเชื่อมั่นในรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ว่าจะนำชาติไทยให้เจริญด้านเศรษฐกิจ ระดับใด”

ผลการวิจัยพบว่าเมื่อพิจารณาภาพรวม คน Gen Z มัธยมปลาย ไม่เชื่อมั่น รวม (น้อยและน้อยที่สุด) ร้อยละ 37.2 ขณะที่เชื่อมั่น รวม (มากและมากที่สุด) ร้อยละ 11.9 ส่วนคน Gen Z มหาวิทยาลัย ไม่เชื่อมั่น รวม (น้อยและน้อยที่สุด) ร้อยละ 42 ขณะที่เชื่อมั่น รวม (มากและมากที่สุด) ร้อยละ 16.6
  1. คน Gen Z มัธยมปลาย เชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 3.3 (17 คน) เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 8.6 (43 คน) เชื่อมั่นปานกลาง ร้อยละ 50.9 (255 คน) เชื่อมั่นน้อย ร้อยละ 22.8 (114 คน) เชื่อมั่นน้อยที่สุด ร้อยละ 14.4 (72 คน)
  2. คน Gen Z มหาวิทยาลัย เชื่อมั่นมากที่สุด ร้อย 3.3 (17 คน) เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 13.3 (66 คน) เชื่อมั่นปานกลาง ร้อยละ 41.4 (206 คน) เชื่อมั่นน้อย ร้อยละ 27.5 (137 คน) เชื่อมั่นน้อยที่สุด ร้อยละ 14.5 (72 คน)
  3. จากการสัมภาษณ์เชิงลึก การให้ความเชื่อมั่นระดับปานกลางของ Gen Z มัธยมปลายและมหาวิทยาลัย โดยทั่วไปหมายถึง ให้รัฐบาลได้ทำงานไปอีกระยะหนึ่งก่อน

รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ “ธำรงศักดิ์โพล”