ไม่สนผลวิจัยจุฬาฯ ที่ว่าไม่คุ้ม ทั่นนายกฯปักหลักดันแลนด์บริดจ์ฝ่าปลัก เริ่มจากบอกว่าเวลานี้ช่องแคบมะละกาแออัด แลนด์บริดจ์จะช่วยลดทั้งเวลา (รอ) อย่างน้อยๆ ๓ วัน และประหยัดค่าใช้จ่ายถึง ๔% อันนี้หมายถึงโดยใช้เรือเล็ก
นั่นเป็นสินค้ามาจากแถบทะเลจีนใต้ อันมี จีน ไต้หวัน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ต้องใช้เรือฟี้ดเดอร์ เพราะเรือใหญ่ไม่ได้มา ใช้ฟี้ดเดอร์จากต้นทางมาส่งฟีดเดอร์อีกลำที่มะละกา แต่ถ้าเป็นสินค้าจากอีกทาง ไทย ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์
“จะขนถ่ายตู้สินค้าผ่านเครือข่ายคมนาคมของประเทศไทยเข้ามา แล้วไปส่งต่อตรงแลนด์บริดจ์ สามารถจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากถึง ๓๕% เปอร์เซ็นต์ และประหยัดเวลาได้ถึง ๑๔ วัน” นี่ดูเหมือนเพิ่มคุณค่าจากเดิมที่ประหยัดเงิน ๑๕% และเวลา ๗ วัน
เอาเฉพาะการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย พอดีมีนักวิชากรพูดไว้อีกคนออกรายการ สุทธิชัย หยุ่น บอกว่า “ต้นทุนมีสองตัว คือระหว่างเดินเรือในทะเลกับขณะเทียบท่า ดังนั้นยิ่งใช้เรือขนาดใหญ่เท่าไร ต้นทุนต่อหน่วยของการขนส่งจะถูกลง
ขณะความจุเพิ่ม ๕ เท่า ต้นทุนเพิ่มแค่ ๓ เท่า” ดังนั้นสินค้าจากแถบทะเลจีนใต้จะมาเรือใหญ่ขนาดความจุเป็นหมื่นตู้ ถ้าใช้เรือเล็กจุแค่ ๑-๒ พันตู้ สิ้นเปลืองและขนได้น้อยกว่ากัน ๕ เท่า ทีนี้ถ้าไปแลนด์บริดจ์ เรือขนาดใหญ่เอาลงได้ทีละ ๑-๒ พันตู้
จึงต้องเทียบท่าอยู่ ๖-๗ วันกว่าจะขนลงหมด เลยชัดเจนว่าไม่ประหยัดเวลา ครั้นตอนขนตู้ลงจากเรือก็ต้องเอาหมื่นตู้กองรอไว้บนท่าก่อนขนย้ายไปยังท่าอีกฝั่ง มีค่าขนขึ้นรถไฟ ค่าเดินทางบนรถไฟ ค่าขนลงจากรถไฟเมื่อถึงท่าอีกฝั่ง
แล้วยังค่าขนขึ้นเรือใหญ่อีกลำ ค่าใช้จ่ายประมาณ ๕ พันบาทต่อตู้ จำนวนหมื่นตู้ก็ ๕๐ ล้านบาทเบาะๆ ตกลงเมื่อให้เรือแม่ลำใหญ่แล่นไปถ่ายของที่แลนด์บริดจ์ ต้นทุนเพิ่มอีก ๕๐ ล้านบาท เสียเวลาอีก ๑ อาทิตย์ ใครจะอยากไป
ใช้ช่องมะละกาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาเพิ่มส่วนนี้ ส่วนที่เพิ่มจากการใช้แลนด์บริดจ์ น่าจะเป็นค่าใช้จ่ายไม่ใช่คุณค่าราคาและเวลา ไม่นับส่วนที่บทวิเคราะห์เขาบอกด้วยว่า ชาติที่จะมาใช้แลนด์บริดจ์ นอกจากไทยแล้วก็มีลาว พม่า กับกัมพูชา
ไม่มาแน่ๆ คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ เวียดนาม
(ขอบคุณ เธรดของ https://twitter.com/Jniisss_zJo/status/1736918125395038349)