วันศุกร์, ธันวาคม 15, 2566

นี่คือผลของการออกแบบสถานีรถไฟ ที่ไม่คำนึงถึงการใช้งานจริง แต่ก็ฝืนสร้างจนแล้วเสร็จ


Kornwithoon Chantarametakul
December 12·

นี่คือผลของการออกแบบสถานีรถไฟ
ที่ไม่คำนึงถึงการใช้งานจริง แต่ก็ฝืนสร้างจนแล้วเสร็จ
สถานีรถไฟ สวนสนประดิพัทธ์ สถานีที่มีการโดยสารสำคัญอย่างเดียวคือ รองรับนั่งท่องเที่ยว ที่จะมาเที่ยว สวนสนฯ กับ อุทยานราชภักดิ์
แต่กลับไม่มีการอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร ในการใช้สถานีรถไฟเลย ตัวสถานีอยู่ห่างจาก ที่หยุดรถเดิม และที่หยุดรถชั่วคราวเกือบ 400 เมตร
ไม่มีทางเดินจาก ชานชาลาที่ 2/3 ที่ขบวน 911 ต้องจอดเป็นประจำ ข้ามไปฝั่งสวนสน มีแต่ทางลอดจากที่จอดรถสถานี แต่ก็ต้องเดินอ้อมไป หรือต้องข้ามที่ถนนเท่านั้น
(รฟท. เคยให้ข้อมูลว่าเนื่องด้วยสถานีเหล่านี้มีผู้มาใช้บริการ เฉลี่ยไม่ถึงวันละ 20 คน /วัน เลยไม่จำเป็นต้องสร้างสะพานลอย )
แต่ก็มีการพยายาม ทำทางข้ามกลางชานชาลา มาฝั่งสถานี ด้วยการเจาะพื้นชานชาลา (เพื่อ!??) ซึ่งยังทำไม่เสร็จ แต่ถึงแล้วเสร็จก็ต้องเดินอ้อมไปที่ถนนอยู่ดี
ตามการใช้งานจริงที่ออกแบบ ผู้โดยสารต้องเดินไปข้ามที่หัวชาน แล้วเดินย้อนกลับมาที่อาคารสถานี ก่อนจะเดินตามทางหน้าสถานีย้อนไปที่ถนน เพื่อเดินข้ามทางรถไฟ ไปสวนสน (เพื่อ!!??)
แต่การใช้งานจริงวันแรก ผู้โดยสารส่วนมาก เดินลงที่หัวชาน แล้วเดินเท้าต่อตามทางรถไฟไปที่ถนน ซึ่งอันตราย แถมลำบากมาก แถมไกลมากด้วย และนี่คือสิ่งที่ผู้โดยสาร จะต้องเจออีกหลายปี
หลังคาชานชาลา ก็สั้นมาก ขบวน911 ที่พ่วงแค่ 3 คันยังยาวกว่าหลังคา แถมหลังคาอยู่กลางชานทำให้ขบวนรถต้องจอดที่หลังคา ทำให้ไกลหัวชานเข้าไปอีก
สร้างใหม่ยังไงให้ลำบากกว่าของเดิม
คิดว่าดีก็ทำต่อไป
...

Kornwithoon Chantarametakul
ตามที่่ออกแบบไว้ จะมีทางเดินลอดไปฝั่งสวนสน แต่ก็ต้องเดินอ้อมสถานีอยู่ดี

Boonlerd Mungmee
คนออกแบบเค้าใช้"เขา"คิดครับ...

Parinand Bird Varnasavang
ออกแบบได้โง่มาก

อานนท์ ไหมจุ้ย
เหมือนกำลังเดินเพื่อไปขึ้นสะพานกลับรถ เพื่อไปอีกฝั่งของสถานี


Somwasin Udomphol
ร้อนตับแลบ


Anawin Roongsaengjan
ล้อเข้าไปติดในร่อง ไม่มีใครช่วยเหลือ จบครับ


Kage Weerapol
สักแต่สร้างตามแบบแต่คนออกแบบลิงมาใช่งานเองไหมออกแบบนั่งหน้าคอมแต่ผมออกมาใช้งานไม่ผลผมไปดูมาแล้วจะเดินไปอีกชานต้องเดิน100ม.แทนที่จะทำทางลอดใต้ดินเหมือนสถานีรถไฟสายสีแดงตลิ่งชัน