วันพุธ, ธันวาคม 20, 2566

ความงั่งสุดหัวสุดตีนของครูสงขลาในเรื่องให้แม่บ้านแสดงความยินดีให้บัณฑิต ชี้ทำแบบนี้ไม่เหมาะสม ทำลายพระเกียรติฯ

Somyot Pruksakasemsuk
16h
·
ความงั่งสุดหัวสุดตีนของครูสงขลาในเรื่องให้แม่บ้านแสดงความยินดีให้บัณฑิต

คนที่สำเร็จการศึกษาไม่ไช่เพียงความสำเร็จส่วนบุคคล แต่ปัจจัยที่ทำให้เป็นบัณฑิตได้แท้จริงแล้วล้วนมาจากภาษีอากรของประชาชน ให้มีมหาวิทยาลัย ครู-อาจารย์ และบรรดา แม่บ้าน คนทำงานด้านต่างๆในมหาวิทยาลัย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ทำให้สำเร็จการศึกษา ถ้าไม่มีแม่บ้าน คนทำงานในส่วนต่างๆ ครูอาจารย์ก็สอนกันไม่ได้ นักศึกษาก็ไม่ได้เรียน โดยที่บรรดาแม่บ้านเหล่านี้ทำงานหนักแต่ได้เงินเดือนน้อย มีความอดทนทำงานให้เต็มที่ พวกเขาเหล่านี้คือปัจจัยแห่งความสำเร็จของบรรดาบัณฑิตทั้งหลายอย่างแท้จริง

ไม่ใช่ไปประเคนความสำเร็จให้คนใดคนหนึ่งหรือไปสรรเสริญเยินยอคนใดคนหนึ่งจนเกินความเป็นจริง มองข้ามคนทำงานอีกหลายคนไป ความคิดเช่นนี้ทำให้หลายคนจบการศึกษาออกไปจึงเป็นบัณฑิตที่เห็นแก่ตัว เย่อหยิ่ง โง่เขลา ไม่เอาไหน

เพราะความคิดเหยียดชนชั้นของครูท่านหนึ่งในจังหวัดสงขลานั่นแหละคือ ผลผลิตความล้มเหลวของการศึกษาไทยจึงได้คนงั่งแบบสุดหัวสุดตีนอยู่ในระบบการศึกษาที่ทำให้คนงั่งกันเต็มบ้านเะต็มเมืองกันต่อไป


1d ·

1) เมื่อวันก่อนมีข่าวของ #มหาวิทยาลัยขอนแก่น #ป้ามัส แม่บ้านได้ขึ้นกล่าวคำอวยพรบัณฑิตใหม่ที่จะจบการศึกษาในปี 2566 แต่ไม่ค่อยเห็นคนแชร์ quote ของป้ามัสเท่าไหร่ และก็ชื่นชมคุณป้า แต่เราเห็นว่าเรื่องนี้มีส่วนน่าสนใจเลยอยากแวะมาชวนคุยกันครับ
2) ป้าให้สัมภาษณ์สำนักข่าวว่า "ในวันดังกล่าว รองศาสตราจารย์วนิดา แสงสารพันธ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เชิญตนเองได้ไปพูดอวยพรกับบัณฑิตจบใหม่ โดยในวันนั้นตนไม่ทันตั้งตัวเพราะไม่มีเสื้อผ้าที่สวยๆ ใส่ไป เพราะเป็นชุดปกติที่ตนใส่ไปทำงานตามปกติ" สะท้อนว่าทางมหาวิทยาลัยก็อยากให้เป็นการไปแบบสบายๆจริงๆ ไม่ได้ให้คุณป้าต้องตระเตรียมคำพูดสวยหรู หรือต้องแต่งตัวใดๆเป็นพิเศษ จึงเป็นชุดลูกจ้างแม่บ้านที่เป็นชุดทำงานปกติ ในวันแสนจะปกติของคุณป้าเอง
3) เราเห็นว่า event แบบนี้มันกลับมา Branding ตัวมหาวิทยาลัยขอนแก่น แบบตรงๆเลยว่า "เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งใจส่งเสริมคุณค่าความเป็นมนุษย์ และมองเห็นคุณค่าของทุกคนในสังคม ทุกอาชีพ อย่างเท่าเทียมกัน" ซึ่งเราว่าโคตรเจ๋งเลย ที่จัดงาน และสร้าง big impact ให้เกิด viral contents บางอย่างในสังคม จากสิ่งที่ตั้งใจให้ป้าขึ้นไปพูด กลายเป็น Brand DNA ของมหาลัยถูก establish ในใจคนว่าคุณส่งเสริมเรื่องอะไรอยู่ในสังคม โคตรดีเลย ชื่นชมครับ
4) มันสะท้อนเหมือนกันนะว่าให้เราได้ลองกลับมาฉุกคิดว่า "คนที่จะขึ้นเวทีไปพูดสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนมีอำนาจ ใหญ่โต การศึกษาสูงกว่าใคร เงินเดือนหลักแสน หรือเป็นคนดังที่มีชื่อเสียง จริงๆคุณเป็นใครก็ได้ เป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง ก็สามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ มอบสิ่งที่มีค่าให้คนอื่นได้เสมอเลย" คนตัวเล็กๆทุกคน เป็นฟันเฟืองสำคัญของสังคม และมีคุณค่าในงาน ในบทบาท และในความเป็นมนุษย์ของตัวเขา
5) เรามองต่อไปอีกว่า คำที่ป้าพูดก็น่าสนใจ "คือการส่งมอบความปรารถนาดีที่ป้ามีในใจ ส่งมอบให้บัณฑิต อยากให้เอาความรู้ไปใช้ และอยากให้ได้ดิบได้ดี" คำว่า 'เจ้าคนนายคน' ที่ป้าใช้พูด สะท้อนมุมมองของตัวป้าที่อยากเห็นลูกหลานเติบโต ก้าวหน้า และสุขสบาย เป็นคนที่มีงานมีการที่ดีทำ นี่คือคำพูดที่ออกมาจากใจ และเป็นความจริงใจจริงๆ ที่ไม่ได้ปรุงแต่งประดิษฐ์อะไรให้สวยหรู หรือท่องจำมาพูดให้บัณฑิต
6) คนจะมองอย่างผิวเผิน และฉาบฉวยก็ได้ว่า ก็แค่เอาป้าแม่บ้านมาขึ้นพูดให้มหาวิทยาลัยดูเก๋ๆ ทำให้มันมี Gimmick เป็นที่พูดถึง แค่นั้นเอง แต่เรามองว่า "การให้ความสำคัญ ให้เกียรติคนอื่น ให้คุณค่าความเป็นคนอย่างเท่าเทียม ไม่ใช่เรื่อง Gimmick เก๋ๆ แต่เป็นเรื่องที่เราควรส่งเสริมกันในสังคม พูดกันให้เป็นเรื่องปกติ ให้เวทีต่อกันให้ทุกคนได้มีพื้นที่ยืนหยัด มีพื้นที่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติบนความเท่าเทียมกัน" ถ้าเรามองเห็นตรงนี้ เราจะชื่นชมบุคลากรทางมหาวิทยาลัย ที่ส่งเสริมสิ่งนี้แก่ตัวบัณฑิต ผ่านการเชิญคุณป้าขึ้นเวที
7) เรามองว่าสิ่งที่จริง และขาดหายไปในสังคม คือ การมองคุณค่าของคนแต่ละคนอย่างแท้จริง ป้ามัส อาจจะเป็นป้าแม่บ้านของคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัย แต่สิ่งที่ป้าทำคือการทำให้มหาวิทยาลัยสะอาด ซึ่งเป็นภาระงานที่ไม่ได้มีบุคลากรอื่นๆทำ นอกจากตำแหน่งแม่บ้าน ความเป็นจริงคือ ในวันที่นิสิตนักศึกษา และครูอาจารย์ไม่ได้ลงมาทำความสะอาดตึกเอง ทุกคนต้องพึ่งพาแม่บ้าน จึงจะมีคณะและตึกเรียนที่สะอาดน่าใช้งาน มันสะท้อนว่า
"สังคมเราต้องการคนทุกฟันเฟือง ทุกหน้าที่มีบทบาทสำคัญเสมอ และเราขาดใครไปไม่ได้หรอก" ทุกคนล้วนสำคัญเสมอ
'จงใส่ใจ และเห็นคุณค่าของคนทุกชีวิต เท่าเทียมกัน'
น่าชื่นชมมากๆ
FB / IG / TW / YT : Tootsyreview
#ตุ๊ดส์review
ภาพ : LAW KKU_News





 


Tanet Charoenmuang
17h
·
เห็นละยังครับ คนเช่นทรงชัย ณ ยะลา คัดค้านสังคมกึ่งศักดินาเมื่อปี 2523
สังคมไทยปี 2566 ย่าง2567 หรือ43 ปีผ่านไป ชนชั้นสูงยังออกมาต้านจนท สามัญชน ออกมายืนพูดอวยพรเหล่าบัณฑิต หาว่าเปนชนชั้นล่าง ไม่มีสิทธิพูดในมหาลัย ที่เงียบไม่พูดออกมา ยังมีเหลืออีกเท่าไหร่หนอ พวกนิยมลัทธิเทวราชาจากเขมร

Pitv Press
20h
·
ฝากถึงคนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นครูบาอาจารย์บางคน สติปัญญามืดบอดยึดติดอยู่กับความเป็นทาสถึงขนาดกล้าโพสท์ประจานตัวเอง น่าสงสารสังคมประเทศนี้จริงๆ
จงใส่ใจ และเห็นคุณค่าของคนทุกชีวิตเท่าเทียมกัน มองคุณค่าของคนอย่างมีเกียรติบนความเท่าเทียมกัน ขอบคุณ #ป้ามัส แม่บ้านมหาวิทยาลัยขอนแก่น