วันเสาร์, ธันวาคม 09, 2566

ลำดับเหตุการณ์คร่าวๆ: ทำไมฝีหมูเถื่อนจึงแตก?


Baryee Taow
December 6
·
ลำดับเหตุการณ์คร่าวๆ: ทำไมฝีหมูเถื่อนจึงแตก?

ผู้กระทำการอย่างน้อยต้องมีและทราบข้อมูลการผลิต การตลาด โรคระบาดแบบปัจจุบัน จนสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เพราะสินค้าประเภทต้องเก็บรักษาในห้องเย็นจำนวนมากนานๆ ย่อมมีความเสี่ยงเน่าเสีย และตลาดหมู/เนื้อหมูก็ใช่ว่าผู้เล่นรายใหม่ๆ จะเข้ามาในตลาดกันได้ง่ายๆ และสมดุลในประเทศเกินนิดๆ ด้วยซ้ำ —>
 
และสิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็เป็นเช่นนั้น —> หมูขาดตลาด/ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด —> ไม่อนุญาตให้นำเข้าระยะสั้นเพื่อแก้ไขปัญหา —> จึงกลายเป็นว่าใครสามารถนำเข้าได้อย่างไม่ถูกต้อง มีศักยภาพทำได้ ทำ —> บทสรุปคือเนื้อหมูนำเข้าไม่ถูกต้องเต็มท้องตลาด ไม่เคยขาดแคลน —>

ปี สองปีแรกไปได้สวย ส่งผลดีสำหรับเกือบทุกฝ่าย: เนื้อหมูบริโภคมีไม่ขาดตลาด จะซื้อตามตลาดสด หรือตาม shop หรือตามห้างขายส่งก็มีเนื้อหมูขายให้ตลอด เต็มชั้นวาง ราคาเนื้อหมูแพง (ประชาชนเดือดร้อน แต่แล้วไงอ่ะ จัดหมูธงฟ้าไปสิ) ราคาหมูมีชีวิตแพง ตัวเลขบัญชีปกติเป็นบวก ตัวเลขบัญชีไม่ปกติก็เป็นบวก เงินยังหมุนเวียนสะพัดเช่นเดิม —>

ขึ้นปีที่สาม เดือน สองเดือนแรก เรียกได้ว่าทุกฝ่ายดีและไปได้สวยกันถ้วนหน้า: แม้หมูมีชีวิตและเนื้อหมูราคาเริ่มถูกลง แต่ยังค้าขายมีกำไรปกติ อีกทั้งที่ผ่านมาฝ่ายที่มีศักยภาพในการผลิตก็ลงทุนเพิ่มและขยายกำลังการผลิตทดแทนที่เสียหายและเลิกกิจการจากโรคระบาด asf ไปด้วย —>

ทว่า เมื่อเวลาล่วงเลยเข้าสู่เดือนที่สาม ที่สี่ มีบางฝ่ายเริ่มเดือดร้อน หรือกลุ่มเกษตรกรรายเล็กรายย่อยและรายกลางเริ่มเดือดร้อนแล้ว เมื่อราคาหมูมีชีวิตเริ่มดิ่งแบบหัวทิ่มลง ซ้ำร้ายต้นทุนการผลิต (อาหารสัตว์+พันธุ์สัตว์) เคยสูงอย่างไรก็สูงอยู่อย่างนั้น การเปิดเผยเรื่องหมูเถื่อนจึงเริ่มเสียงดังขึ้น —> การรวมกลุ่มประท้วง การเข้าร้องเรียน เข้ายื่นหนังสือจึงเกิดขึ้น —>
 
กระนั้น หลายฝ่ายก็ยังอยู่กันอย่างปกติ เนื้อหมูราคาถูก (ผู้บริโภคเฮ) ยังค้าขายพอมีกำไร แต่ถึงไม่มีกำไรก็ยังขาดทุนไม่มาก (ผู้ค้ายืดอกอยู่ได้) และในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอสำหรับผู้มีสายป่านยาวและเข้าใจวัฏจักรการผลิตการค้าสัตว์เป็นอย่างดี (ก็แค่เรื่องปกติและระยะสั้น) กล่าวคือ หมูมีชีวิตราคาถูก ต้นทุนการผลิตสูง ขาดทุนต่อเนื่อง ผู้ผลิตสายป่านสั้นก็จะทยอยเจ๊ง เลิกกิจการ ผู้ผลิตสายป่านยาวก็จะเข้ามารับช่วงการผลิตเพื่อทดแทน รุกคืบ กินนิ่มๆ —> อีกไม่นานทุกอย่างก็จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติเอง —>

สิ่งที่ผิดคาด หรือประเมินต่ำเกินไปก็คือการกัดไม่ปล่อย สู้ไม่ถอยของกลุ่มเกษตรกรรายเล็กรายย่อยและรายกลาง —> ไล่เปิดโปง ไล่จี้ ไล่ตามเรื่อง จนกรมศุลกากรต้องส่ง 161 ตู้ให้สอบสวนกลางทำคดี —> สอบสวนกลางส่งต่อไปยัง dsi ให้ทำคดีต่อ —> หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเริ่มกระตือรือร้นตาม —> dsi สอบสวน เริ่มจับกุม —> มอบตัวและหนีออกนอกประเทศ —> เนื้อหมูลักลอบที่สต๊อกไว้เทระบายออกมา กำลังการผลิตกลับมาปกติ ราคาหมูมีชีวิตดิ่งไปแตะ 48 บาท/กก. รับซื้อจริง —> dsi ขยายผลจากการจับกุม ขยายการตรวจค้น พบมีผู้เกี่ยวข้องพัวพันทุกระดับและล้วนแต่ระดับตอม่อทั้งนั้น ทั้งเป็นผู้เคลียร์ทางให้โล่ง ทั้งผู้สั่งการให้มีการลักลอบนำเข้า ทั้งเป็นผู้ปลอมแปลงเอกสารใบอนุญาต ทั้งเป็นผู้ให้พื้นที่เก็บสต๊อกสินค้า และทั้งเป็นผู้เคยรับซื้อมาจำหน่ายต่อ —> ระเบิดบึ้ม! บึ้ม! บึ้ม! —>

—> ย้ายอธิบดี dsi ที่ทำคดี —> เปลี่ยนคนทำคดีแทน —> เสียงระเบิดค่อยๆ เงียบลง (อย่างน้อยๆ ก็หนึ่งสัปดาห์นี้ที่แทบจะไม่มีเสียงอะไร) —>

โปรดติดตามตอนต่อไป —>

ภาพประกอบ (1) และ (2) จะพบว่า:
ในช่วงภาวะปกติ ไม่มีโลกภัยเบียดเบียน
ปี 2020 การผลิตอยู่ที่ 20.45 ล้านตัว (เฉลี่ย 1.70 ล้านตัว/เดือน)
ในช่วงภาวะไม่ปกติ โรคภัยเบียดเบียน
ปี 2021 = 18.24 ล้านตัว (1.52 ล้านตัว/เดือน) ลดลง -2.21 ล้านตัวจากปี 2020
ปี 2022 = 15.84 ล้านตัว (1.32 ล้านตัว/เดือน) ลดลง -4.61 ล้านตัวจากปี 2020
ในภาวะกลับคืนสู่ปกติ โรคภัยคลี่คลาย
ปี 2023 (10 เดือนแรก) = 16.6 ล้านตัว (1.66 ล้านตัว/เดือน) และคาดถึงสิ้นสุดปีไม่น้อยกว่า 19.92 ล้านตัว ซึ่งจะกลับมาใกล้เคียงกับปี 2020 อีกครั้ง
หรือผู้ใด หน่วยงานใด องค์กรใด หรือกลุ่มก้อนใดก็ตามที่มีและทราบข้อมูลเหล่านี้ (รวมถึงข้อมูลการระบาดของโรค asf และการสูญเสียในแต่ละวันช่วงปี 2021-2022) แบบ realtime ย่อมสามารถคาดสถานการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในอนาคต
และหากมีศักยภาพมากพอและหากต้องการเอาเปรียบผู้อื่นและแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวเพียงลำพังและโดยมิชอบ ย่อมสามารถทำได้อย่างง่ายดาย หรือกระทั่งนำไปสู่การทำธุรกิจโดยหมิ่นเหม่ต่อกฎหมายและธรรมาภิบาลก็ย่อมได้ด้วยเช่นกัน.