วันจันทร์, ธันวาคม 04, 2566

การศึกษาแบบบังคับให้เด็กต้องคิดเหมือนๆ กัน ยิ่งเรียนยิ่งโง่


Puangthong Pawakapan
15h
·
ปัญหาของข้อสอบปรนัยกับเนื้อหาว่าด้วยชีวิตและสังคมในโรงเรียนไทย ต้องมีคำตอบที่ถูกต้องมีเพียงหนึ่งเดียว ทั้งๆ ที่ในชีวิตจริง การตัดสินใจของมนุษย์แตกต่างหลากหลายได้ การบังคับให้เด็กต้องเลือกตอบเพียงข้อเดียว มันทำลายความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ทำลายความสามารถในการเข้าใจว่าแต่ละสิ่งแต่ละเรื่องราวมีหลากหลายมิติ
ข้อสอบปรนัยเหมาะกับคำถามเกี่ยวกับความจำเท่านั้น เช่น วัดพระแก้วตั้งอยู่ที่จังหวัดใด มันมีปัญหาทุกครั้งที่เอามาใช้กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ สมัยที่ลูกเราอยู่ ป.2 ก็เคยเจอกับข้อสอบทำนองนี้ – ทำนองว่า
เวลาที่นักเรียนสวมใส่เครื่องแต่งกาย นักเรียนต้องคำนึงถึงข้อใด
ก. ความสะอาด
ข. ความสวยงาม
ค. ราคาแพง
ง. กาละเทศะ
ลูกเราเลือก ก.ความสะอาด ก็เด็กเล็กอ่ะนะ คงเพราะแม่มันก็พร่ำสอนเรื่องความสะอาดเป็นหลักเพราะกลัวลูกติดโรคไม่สบาย แต่ถ้าจะมีเด็กผู้หญิงเลือกข้อ ข. ความสวยงาม จะผิดไหม ไม่ผิดแน่นอน แต่ผิดสำหรับ ศธ. ค่ะ
คำตอบที่ถูกต้องคือ ง.กาละเทศะ 55555 คงเป็นความผิดของเราเองที่ดันไม่สอนลูกอายุ 7 ขวบว่า ถ้าจะไปกาลาดินเนอร์ต้องใส่สูท จะไปวัดห้ามใส่ขาสั้น – แต่คำตอบข้อนี้ก็ไม่ผิดนะ ถ้าเด็กเข้าใจว่ากาลเทศะคืออะไร ก็ตอบได้เช่นกัน



แล้วเราตั้งคำถามเรื่องชีวิตกับเด็กได้ไหม ได้ค่ะ ควรถามมากๆ ด้วย แต่ไม่ใช่เอามาออกข้อสอบปรนัยแบบนี้ ที่ควรเป็นคือครูตั้งคำถาม กรณีตัวอย่างข้อสอบในภาพ ครูควรชวนนักเรียนคุยว่าคิดกับเรื่องนี้อย่างไร มันเกี่ยวกับการแสดงน้ำใจอย่างไร? การมี “น้ำใจ” ต่อกันดีอย่างไร? นร.สามารถแสดงน้ำใจต่อกันได้อย่างไรบ้าง? มันช่วยประหยัดอย่างไร? ทำไมเราจึงควรประหยัด? ผลไม้ปลูกเอง อาหารทำเองดีกว่าอย่างไร? มันปลอดภัยกว่า สะอาดกว่าใช่ไหม?
ถ้าครูถามเป็น โจทย์ข้อเดียวชวนเด็กคุยได้ยาวเลย แถมจะทำให้ครูรู้จักเด็กของตัวเองดีขึ้นด้วย ทำให้เด็กกล้าแสดงความเห็นมากขึ้นด้วย แต่ครูไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกฝึกฝนให้สอนหนังสือแบบนี้ ออกข้อสอบปรนัยง่ายกว่าเยอะ ชัดเจน ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องเถียงกัน ฉันมีอำนาจให้คะแนนก็แล้วกัน
การศึกษาแบบนี้ไม่สามารถสร้างพลเมืองที่เคารพความแตกต่างหลากหลายทางความคิด มันบังคับให้เด็กต้องคิดเหมือนๆ กัน มันบังคับให้เด็กต้องเดาว่าผู้มีอำนาจต้องการให้ตอบไหนกันแน่ มันทำลายความสามารถในการใช้เหตุผล มันทำให้เราไม่ทนกับคนที่คิดต่าง ถ้าใครคิดต่างกลายเป็นสิ่งผิด เป็นปัญหา เป็นความไม่สามัคคี-ไม่มั่นคง นี่คือวิธีคิดที่สร้างชาติไทยตั้งแต่ยุคที่เริ่มมีการศึกษาสมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน การศึกษาไทยมีปัญหาเยอะเหลือเกิน
...
สายพิน แก้วงามประเสริฐ

เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ คำตอบไม่ควรมีคำตอบเดียว การตั้งคำถามให้ชวนคิดแล้วช่วยกันหาเหตุผลหลายๆแบบก็น่าจะเป็นฝึกคิดได้ แต่ระบบราชการในประเทศเราไม่ได้ต้องการให้คนคิดต่างคิดหลายๆ แบบ เพราะผู้มีอำนาจไม่ชอบฟังคนคิดต่าง ระบบการศึกษาของไทยจึงได้แค่นี้ค่ะ

Puangthong Pawakapan
สายพิน แก้วงามประเสริฐ 
ต้องปฏิรูปทั้งระบบค่ะ ตั้งแต่ตำรา และการฝึกฝนครู ที่ไม่ได้แปลว่าไล่ครูที่มีอยู่ออกหมดนะคะ ในต่างประเทศ เขาจะมีระบบที่ฝึกฝนครูตลอด อธิบายว่าจุดมุ่งหมายของหัวข้อนี้คืออะไร ผลิตคู่มือการสอนหัวข้อนั้น วิธีตั้งคำถามในห้องเรียน วิธีให้เด็กมีส่วนร่วม บอกแหล่งทรัพยากรที่สามารถใช้ประกอบการสอนต่างๆ เขาไม่ได้ปล่อยให้ครูมะงุมมะหงารา หลงทางกันเอง - เราเชื่อว่าครูจำนวนมาก ยังสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ และน่าจะยินดีกับการใช้เวลาเพื่อการสอนที่มีคุณภาพ มากกว่าเอาเวลาไปทำเปเปอร์เวิร์คบ้าบอตอบสนอง ศธ.
อย่างในอเมริกามีหน่วยงานที่เรียกว่า National Council of the Social Studies เว็บไซต์ของหน่วยงานนี้มีทุกอย่างที่ว่ามา เขาระบุไว้ชัดเจนว่าเป้าหมายของการเรียนวิชาสังคมศึกษาคือ Using an inquiry-based approach, social studies helps students examine vast human experiences through the generation of questions, collection and analysis of evidence from credible sources, consideration of multiple perspectives, and the application of social studies knowledge and disciplinary skills. As a result of examining the past, participating in the present, and learning how to shape the future, social studies prepares learners for a lifelong practice of civil discourse and civic engagement in their communities. Social studies centers knowledge of human rights and local, national, and global responsibilities so that learners can work together to create a just world in which they want to live.

สายพิน แก้วงามประเสริฐ
Puangthong Pawakapan 
บ้านเราต้องปฏิรูปคนที่จะมาดูแลกระทรวงศึกษาก่อนค่ะ ไม่ใช่มาถึงก็จ้องแต่เรื่องการสอนประวัติศาสตร์ ศีลธรรม หน้าที่พลเมือง แก้ปัญหาหนี้สินครู วนไม่กี่เรื่อง ไม่มีอะไรใหม่ ถ้าใหม่ก็แบบทำให้โรงเรียนปวดหัว เช่น ตอนนี้เอาเรื่องจัดซื้อจัดจ้างโรงเรียนขนาดเล็กไปอยู่กับเขตทำให้โรงเรียนยุ่งกว่าเดิม ต้องวิ่งไปวิ่งมาระหว่างโรงเรียนกับเขตเรื่องเซ็นเอกสาร ถ้าแบบเดิมจบที่โรงเรียน แล้วยิ่งเกลี่ยธุรการอีกเงินเดือนก็น้อยต้องย้ายโรงเรียนไปไกลบ้าน ใครรับไม่ได้ก็ออกไป มีอำนาจอยากทำไงก็ได้ ปวดหัวมากกับระบบแบบนี้

Puangthong Pawakapan
สายพิน แก้วงามประเสริฐ 
ไม่รู้เมื่อไรจะได้ปฏิรูปประเทศกันนะคะ เด็กก็รับกรรมไปก่อน

Kerawit Somchaipeng
ยิ่งเรียนยิ่งโง่แหละครับ