วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 09, 2566

ขอชวนทุกคนร่วมลงชื่อสนับสนุน #กฎหมายPRTR หรือ ร่าง พ.ร.บ.การรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อควบคุมแก้ไขปัญหามลพิษ คุ้มครองสุขภาพ ประชาชนและสิ่งแวดล้อม


Thanagorn Atpradit
9h·

เชิญชวนทุกคนร่วมลงชื่อสนับสนุน #กฎหมายPRTR
เราต้องการ 10,000 รายชื่อ เพื่อยื่นเสนอกฎหมาย PRTR ภาคประชาชน
.
หยุดปกปิดมลพิษ!
ข้อมูลมลพิษ คือสิทธิที่ประชาชนต้องเข้าถึงได้
.
กฎหมาย PRTR คืออะไร ?
กฎหมาย PRTR (Pollutant Release and Transfer Registers) หรือ ร่าง พ.ร.บ.การรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ คือ กฎหมายที่กำหนดให้มีการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเปิดเผยต่อสาธารณชนเกี่ยวกับชนิดและปริมาณของสารเคมีหรือมลพิษที่มีการปลดปล่อยจากแหล่งกำเนิดมลพิษสู่ตัวกลางสิ่งแวดล้อม ทั้งอากาศ ดิน น้ำ รวมถึงข้อมูลการนำน้ำเสียหรือของเสียที่มีสารเคมีหรือมลพิษออกจากแหล่งกำเนิด ไปบำบัดหรือกำจัดด้วย
.
ทำไมต้องมีกฎหมาย PRTR?
กว่า “50 ประเทศ” ทั่วโลกมีการใช้กฎหมายนี้ เพื่อควบคุมแก้ไขปัญหามลพิษ คุ้มครองสุขภาพ ประชาชนและสิ่งแวดล้อม ขณะที่บางประเทศยังอยู่ในระหว่างการพัฒนากฎหมายดังกล่าว
โดยประเทศแรกที่บังคับใช้ คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งริเริ่มขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลในรัฐเวสท์-เวอร์จิเนีย ที่ทำให้คนงานและชุมชนที่มีโรงงานตั้งอยู่ใกล้เคียงต่างเรียกร้องให้โรงงานเปิดเผยข้อมูลการใช้สารเคมีอันตรายให้แก่สาธารณชนได้รับทราบ ขณะที่ #ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายนี้
.
เพื่อพัฒนาระบบการรายงานข้อมูลการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และรับรองสิทธิของชุมชนและประชาชนในการเข้าถึง รับรู้และตรวจสอบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม และสารเคมีอันตราย
.
ประชาชนสามารถรู้ข้อมูลแหล่งที่มาของมลพิษและประเมินสถานการณ์และปัญหา มลพิษได้อย่างถูกต้องและสามารถจัดการปัญหาได้อย่างทันท่วงที เพื่อประโยชน์ในการป้องกันตนเองและชุมชน จากมลพิษเมื่อเกิดอุบัติภัยสารเคมี
และจะเป็นเครื่องมือส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อจัดการปัญหามลพิษ และตัดสินใจต่อการดำเนินโครงการซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
ร่วมสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลมลพิษ เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น #PM25 ที่ต้นทาง
.
ลงชื่อและอ่านร่างกฎหมาย ได้ที่ www.thaiprtr.com
หรือ SCAN QR CODE ภาพด้านล่าง
#ThaiPRTR #OpenDataมลพิษ