วันอังคาร, พฤศจิกายน 21, 2566

เถียงกันจะเป็นจะตาย จีดีพีโต ๑.๕% ไตรมาส ๓ ฝ่ายค้านว่าแค่โตต่ำ แต่รัฐบาลต้องการให้เป็นวิกฤต กฤษฎีกาไม่สน บอกเป็นนักกฎหมายไม่ใช่นักการเมือง

ดูเหมือนนี่เป็นกรณีแรกในการเมืองไทย ที่ฝ่ายค้านพยายามชี้ให้เห็นว่า สภาพัฒนฯ เพิ่งเผยตัวเลข จีดีพี ไตรมาส ๓ ของปีนี้ ขยายตัว ๑.๕ เปอร์เซ็นต์ หมายความว่าแค่ โตต่ำ แต่รัฐบาลกลับต้องการให้เป็น วิกฤต

เพราะอะไร ดูจากทวี้ตของ Srettha Thavisin @Thavisin “1.5% Q3, ในขณะที่ประเทศคู่แข่งในอาเซี่ยนโตอย่างต่ำ 2 เท่าของเราวิกฤตครับ” เช่นกันกับ หมอเลี้ยบ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ยืนกรานค้าน ศิริกัญญา ตันสกุล ที่ว่าแค่นี้ไม่ถึงวิกฤตหรอกค่ะ

“ไม่มีใครเถียงว่าเศรษฐกิจไทยแย่ เศรษฐกิจไทยโตช้า และโตต่ำกว่าที่คาด ดิฉันเองก็เห็นด้วยและพูดเรื่องนี้มาโดยตลอด...คือภาคอุตสาหกรรม (เป็น sector ที่ใหญ่ที่สุด) เกิดหดตัวลง -4% เลยดึงใน GDP ของไทยโตต่ำ

ที่ติดลบหนักที่สุดคืออุตสาหกรรม เพื่อการส่งออก โดยเฉพาะ Hard Disk Drive และชิ้นส่วนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนภาคบริการขยายตัวได้ดีมาก ในด้านที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โรงแรม และร้านอาหาร โตขึ้นถึง 14.9%

การค้าปลีกและค้าส่งขยายตัว 3.3% ขนส่งโต 6.8%” เธอจึงยืนกรานว่าช้าก่อน เศรษฐกิจยังไม่วิกฤตนะ แต่รัฐบาลต้องการเดินนโยบายแจกเงินหมื่น และออก พรบ.เงินกู้ ๕ แสนกว่าล้านบาท จำเป็นต้องพิสูจน์ให้เห็นโดยชัดเจนว่า

“ตอนนี้มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อแก้วิกฤตอย่างต่อเนื่อง และตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่ทัน” จึงต้องกู้อีก แต่เลขาธิการกฤษฎีกา คนที่จะตีความเนื้อหาร่าง พรบ.เงินกู้นี้ บอกว่า มีประเด็นเดียวที่กฤษฎีกาจะวินิจฉัย

นั่นคือ “เข้าเงื่อนไขกู้ได้หรือไม่ได้! ส่วนเศรษฐกิจวิกฤตหรือไม่ ไม่มีหน้าที่ตอบ” แถมบอกอีกว่าพิจารณาตามหลักกฎหมายเท่านั้น ไม่ใช้หลักการเมือง เข้าใจนะ

(https://twitter.com/SirikanyaTansa1/status/1726478037594857578)