วันอังคาร, พฤศจิกายน 07, 2566

ช่วยกันเข็น ระบบบำนาญถ้วนหน้า ร่วมกันลงลายมือเสนอ ร่าง พรบ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติฯ 10,000 รายชื่อ


บำนาญแห่งชาติ
15h
·
++update++นับตั้งแต่สภาฯ ส่งจดหมายมามื่อวันที่ 10 ต.ค.66 อนุญาตให้เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ เชิญชวนประชาชน 10,000 รายชื่อ เสนอร่าง พรบ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติฯ จนถึงตอนนี้ก็เกือบครบ 1 เดือนแล้วนั้น
.
มีประชาชนสนใจส่งเอกสารมาร่วมสนับสนุนร่างกฎหมายดังกล่าวแล้วประมาณ 4,2xx รายชื่อ ใกล้แตะครึ่งทาง แสดงว่า 10,000 รายชื่อ มาเสนอกฎหมายเพื่อสร้างสวัสดิการที่เป็นของประชาชนไม่น่าจะไกลเกินฝัน
.
วันที่ 11 พ.ย.นี้ จะเปิดช่องทางให้ลงลายมือชื่อสนับสนุนร่าง พรบ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติฯ ทางออนไลน์แล้ว ..เตรียมตัว...
.
หรือใครขี้เกียจรออาจต้องขอแรงให้พิมพ์แบบฟอร์ม โดยโหลดตามนี้ https://shorturl.asia/KnmXQ หรือตามนี้ https://shorturl.asia/qWwDS
.
"มาช่วยกันสร้าง #รัฐสวัสดิการ #บำนาญแห่งชาติ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศนี้ไม่ใช่แค่รอดตาย แต่ต้องอยู่ได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”


บำนาญแห่งชาติ
October 2
 ·
มาแล้ววววว.....มาร่วมกันลงลายมือเสนอ ร่าง พรบ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติฯ 10,000 รายชื่อเพียงแค่กรอกแบบฟอร์มแต่ "ไม่ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชน"
.
เกริ่นก่อน... เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 #เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ร่วมกับเครือข่าย We Fair สลัมสี่ภาคแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ ชนเผ่า สื่อมวลชน คนพิการ คนรุ่นใหม่ พีมูฟ ผู้บริโภค ผู้ติดเชื้อฯ นักวิชาการ ฯลฯ ได้ไปยื่นรายชื่อผู้ริเริ่ม 20 รายชื่อขอเสนอ ร่าง “พระราชบัญญัติผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ” (ฉบับที่..) พ.ศ. ... ที่รัฐสภา เพื่อต้องการบอกว่า ภาคประชาชน #พร้อมแล้ว ที่ล่ารายชื่อ 10,000 รายชื่อเสนอร่างกฎหมายที่เป็นหลักประกันทางรายได้ขั้นพื้นฐานให้กับผู้สูงอายุ
.
สาระสำคัญคร่าวๆ ของกฎหมายฉบับนี้ คือ
.
"พระราชบัญญัติผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....” (เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.ผู้สูงอายุฯ) เพื่อเปลี่ยนระบบการจ่ายเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุจาก “เบี้ยยังชีพ” เป็น “บำนาญ” ให้ผู้สูงอายุมีหลักประกันด้านรายได้แบบรายเดือนจากรัฐ
..
หลักการสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ เป็น “สิทธิ” ที่รัฐมีหน้าที่จัดสวัสดิการให้บุคคล #ทุกคน ที่มีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยจ่ายเป็นบำนาญที่เป็นรายได้แบบรายเดือนอย่างถ้วนหน้า ทั่วถึง และเป็นธรรม ซึ่งอัตราเงินบำนาญต้องไม่ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจนตามเกณฑ์สภาพัฒน์ฯ กำหนด และต้องจัดทําแผนบํานาญพื้นฐานแห่งชาติทุกสามปี
.
บริหารจัดการระบบมี “คณะกรรมการนโยบายและบริหารกองทุนบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ” ที่มีองค์ประกอบทั้งภาครัฐและผู้แทนองค์กรเอกชน เข้ามาช่วยมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายการจ่ายบํานาญพื้นฐานแห่งชาติที่เป็นธรรมและยั่งยืนสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเศรษฐกิจและสังคมที่ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม
.
แหล่งที่มาของเงิน จะมีการจัดตั้ง “กองทุนบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ” เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ มาจาก 14 แหล่ง เช่น เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ ภาษีสรรพสามิต สลากกินแบ่งรัฐบาล ส่วนแบ่งค่าสัมปทานคลื่นความถี่ ค่าภาคหลวงตามกฎหมายว่าด้วยแร่ เงินบํารุงภาษีรถยนต์ ส่วนแบ่งกฎหมายว่าด้วยการพนัน ส่วนแบ่งรายได้ขุดเจาะน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีความมั่งคั่ง ภาษีกำไรจากหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ ภาษีมรดก ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ (ภาษีลาภลอย) ภาษีเงินได้จากการยกเลิกบีโอไอ หรือสิทธิพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น
.
โดยให้ราชการส่วนท้องถิ่นยกเว้นองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีหน้าที่และอํานาจในการช่วยลงทะเบียนรายชื่อของผู้สูงอายุที่มีความประสงค์จะรับสิทธิดังกล่าว (เหมือนที่ขึ้นทะเบียนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ทำในตอนนี้)
.
การลงลายมือชื่อเพื่อเสนอกฎหมายของภาคประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้อยู่ที่ 10,000 รายชื่อ เพื่อความชัวร์ว่ารายชื่อของประชาชนที่สนใจสนับสนุนร่าง พรบ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติฯ จะใช้งานได้ไม่มีปัญหาเชิงเทคนิค อาจต้องขอแรงให้พิมพ์แบบฟอร์มออกมาตามคิวอาร์โค้ดในรูป หรือโหลดแบบฟอร์มตามนี้ https://shorturl.asia/KnmXQ หรือตามนี้ https://shorturl.asia/qWwDS
.
แล้วเขียนลายมือชื่อพร้อมเซ็นกำกับให้ชัดเจน
.
กรอกครบตามเอกสารแล้วส่งไปรษณีย์มาที่ เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ 48/282 ซ.รามคำแหง104 ถ.รามคำแหง แขวง/เขต สะพานสูง กรุงเทพฯ 10240
.
มาช่วยกันสร้าง #รัฐสวัสดิการ #บำนาญแห่งชาติ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศนี้ไม่ใช่แค่รอดตาย แต่ต้องอยู่ได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์