ประชาพิจารณ์แบบเปิดกว้างไม่งุบงิบทั้งที
จะมาสี่ซ้าห้าคนก็กระไรอยู่ ต้องส่งไปกันเป็นพันนั่นละสิ
แต่นี่ไม่ใช่จำนวนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการจัดตั้ง ‘เขตอุตสาหกรรมพิเศษอำเภอจะนะ’ แต่มันเป็นหน่วยควบคุมฝูงชนของกองบัญชาการตำรวจภาคใต้
๗ จังหวัด
เช้าวันนี้ (๑๑ กรกฎา)
เจ้าหน้าที่กว่าพันคนตรึงกำลังพร้อมอยู่หน้าโรงเรียนจะนะวิทยาและสนาม อบต.ตลิ่งชัน
สถานที่จัดทำประชาพิจารณ์ แต่ชาวบ้านยังไม่พร้อม
เพราะทางการอนุญาตเฉพาะผู้อยู่อาศัยใน ๓ อำเภอที่จะตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมเท่านั้นเข้าฟัง
แม้นว่านิคมฯ เนื้อที่ ๑๖,๗๕๓ ไร่
พร้อมท่าเรือ ๓ ท่า โรงไฟฟ้า ๕ โรงขนาด ๓.๗๐๐ เมกะวัตต์
จะส่งกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และการทำมาหากินของชาวบ้าน
ซึ่งล้วนเป็นชาวประมงเกือบทั้งนั้น ออกไปกว้างไกรชิดข้ามอำเภอข้ามจังหวัด
ชาวสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง
ผ่านทางองค์กรภาคประชาชนอนุรักษ์ทรัพยากรและที่ทำกินหลายแห่ง
ทั่วทะเลอันดามันไปถึงสตูลและปาตานี จึงมีชาวสตูลเช่ารถทัวร์เดินทางจะไปร่วมฟังกันออกเดินทางแต่หัวรุ่งหมายจะไปถึงราว
๙ นาฬิกา ก็ถูกสกัด
นพ.สุภัทร
ฮาสุวรรณกิจ ผอ.โรงพยาบาลจะนะ นักกิจกรรมตัวยงเพื่ออนุรักษ์ท้องถิ่นภาคใต้แจ้งว่า
“พี่น้องสตูลก็มีอารมณ์ขันในท่ามกลางความหงุดหงิด โทรมาบอก...สงสัยจะไปถึงตอนบ่าย
มีด่านสกัดทุกอำเภอ ตรวจละเอียดทุกอำเภอเลยพี่น้อง เห้อ”
ชาวสตูลผูกพันกับจะนะเพราะ “พี่น้องจะนะเคยไปช่วยทีมสตูลค้านท่าเรือน้ำลึกปากบารา
เพราะท่าเรือน้ำลึกจะนะกับท่าเรือน้ำลึกปากบาราเชื่อมต่อกัน ด้วยแลนด์บริดจ์ทางรถไฟ...คนสตูลเขาไม่มีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นสัก
๕ นาทีเลยหรือ” หมอสุภัทรพ้อ
อย่าว่าแต่คนสตูลเลย
คนในพื้นที่ซึ่งรณรงค์คัดค้านการตั้งนิคมอุตสาหกรรมนี้มาแต่แรกก็ยังไม่มีสิทธิช่วงหนึ่งอาทิตย์ก่อนถึงวันนี้
‘ไอลอว์’ เผยว่า “ตำรวจและทหารเดินทางไปเยี่ยมบ้าน
ชาวบ้าน แกนนำ และนักวิชาการอย่างน้อยเจ็ดคน”
ได้แก่ บรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย
รุ่งเรือง ระหมันยะ นายกสมาคมรักษ์ทะเลจะนะ อัครเดช ฉากจินดา และประสิทธิ์ชัย
หนูนวล ผู้ประสานงานเครือข่ายปกป้องอันดามัน และสมพร ช่วยอารีย์ ม.สงขลา
วิทยาเขตปัตตานี เป็นต้น
โดยเฉพาะ ไครียะห์ ระหมันยะ หรือ ‘ยะห์’ นักเคลื่อนไหวต่อต้านนิคมอุตสาหกรรมจะนะ วัย
๑๗ ปี ที่ได้ฉายาว่า ‘ลูกสาวแห่งทะเลจะนะ’ อุตส่าห์เดินทางขึ้นกรุงเทพฯ เพื่อยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเรียกร้องยุติการเปลี่ยนผังเมืองอำเภอจะนะเป็นพื้นที่สีม่วง
(อุตสาหกรรม)
“ก็เพราะว่าเราอยู่ในพื้นที่แล้วเราส่งเสียงไม่ได้”
เธอเล่าว่า “หลังจากที่เราเริ่มเคลื่อนไหวก็มีมือปืนของผู้มีอิทธิพลในพื้นที่เข้ามาแถวบ้าน”
การเปลี่ยนจะนะจากพื้นที่สีเขียวเป็นอุตสาหกรรม เป็นความตกลงระหว่าง ศอ.บต. หรือศูนย์บริหารชายแดนใต้กับนายทุนอุตสาหกรรม
ตอนไปกรุงเทพฯ “ก็ไปนั่งไปยืนถือป้ายคนเดียว
นั่งไปไม่ถึงสิบนาทีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองก็มา มอไซต์ตำรวจก็มา เขาบอกข้อความนี้มันเป็นการโจมตีเกินไป”
เช่น “ศอ.บต.รับใช้ใคร” “ยกเลิกมติครม.นิคมอุตสาหกรรม” “หยุดเปลี่ยนผังเมือง”
ไปถึงทำเนียบมี ‘แรมโบ้อีสาน’ ออกมารับคำร้อง “เขาก็พูดดีนะ (แต่) สำหรับเราการพูดแบบนี้มันเป็นการขู่แบบนิ่มๆ”
บริกรตีนบันไดทำเนียบคนนี้บอกให้ยะห์กลับบ้านไปซะเถอะ “เดี๋ยวจะมีปัญหา...เดี๋ยวหมาย
พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มันจะมาที่บ้านนะ ผมเป็นห่วงจริงๆ”
(https://www.facebook.com/iLawClub/photos/a.10150540436460551/10164089657570551/?type=3&theater
และ https://www.thairath.co.th/news/local/south/1886925)
เอ๊ะ แบบนี้ไม่เหมือนกับที่ ‘เจ้ากรรมนายเวร’ คนปัจจุบันของ สุภรณ์ อัตถาวงศ์
กำลังพ่นพีอาร์อยู่น่ะสิ “จะต้องทำงานแบบนิวนอร์มอล...รับฟังความเห็นจากทุกๆ
ฝ่ายและทุกภาคส่วน” เริ่มด้วยเดินสายพบสื่อปรึกษาหาทางแก้เศรษฐกิจ (ที่พวก
คสช.ทำพัง)
ไปมาแล้วสองค่ายใหญ่ ‘เนชั่น’ กับ ‘มติชน’ เป็นข่าวฟู่ฟ่า โดยที่เนชั่นพนักงานแห่ขอเซลฟี่กับนายกฯ กันตรึม
จนค่ายว้อยซ์ถามหา มาที่นี่บ้างสิครับ ก็ดั๊นมีคนรู้ดี “ได้ข่าวมาบ่อยแล้ว
แต่ส่งลูกน้องมาไง” (กูสินรา @jj16bit @weeranan and @VoiceTVOfficial)
อ๋อ เอาอย่างจะนะ อะ