หลังจากนายกรัฐมนตรีไทย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงมหาเศรษฐีไทย 20 คนเพื่อขอความคิดเห็น และความช่วยเหลือในการรับมือกับการระบาด COVID-19 ในตอนนี้ก็มีมหาเศรษฐีไทย 11 รายได้ตอบรับจดหมายจากนายกฯ และเริ่มดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวไทยบ้างแล้ว ซึ่งมหาเศรษฐีไทยทั้ง 11 รายมีดังนี้
.
4. เฉลิม อยู่วิทยา และครอบครัวอยู่วิทยา (เครือกระทิงแดง) ได้มอบเงินสนับสนุนเบื้องต้น จำนวน 300 ล้านบาท
- ริเริ่มโครงการ “พึ่งตน เพื่อชาติ” ช่วยเหลือประชาชนในช่วง COVID-19 โดยทางครอบครัวอยู่วิทยาจะมีการแถลงข่าวเพิ่มเติมอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
- จัดซื้อสิ่งของให้กับโรงพยาบาลที่มีความจำเป็น มูลค่ากว่า 70 ล้านบาท
- บริจาคอาหารและน้ำดื่มให้กับประชาชนที่ตกงาน ขาดแคลนรายได้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน เป็นเวลา 3 เดือน
ooo
คดีของทายาทกระทิงแดง นับเป็นคดีที่มีการวางแผนทางกฎหมายและใช้แท๊กติกทางกฎหมาย ใช้เครือข่ายคอนเนคชั่นทางอำนาจในการช่วยเหลือกัน
ถ้ามองในมุมของอาชีพนักกฎหมายหรือทนายความ คดีนี้การวางแผนต่อสู้คดี และ กลยุทธ์การช่วยเหลือทางกฎหมายอยู่ในขั้นว่า เป็นคดีคลาสสิค และต้องใช้เงินไม่น้อย
จุดพลิกทางคดีที่ทำให้อัยการกลับคำสั่งคดีที่เคยสั่งฟ้อง มาเป็นไม่สั่งฟ้องมันมีที่มาที่ไป และวางแผนอย่างแยบยล ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดาและอยู่ในภาวะบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยจะไม่มีทางพลิกได้แบบนี้
มาดูว่าเขาทำอย่างไรคดีถึงพลิกไปเป็นแบบนี้
ก่อนอื่นดูภาพ ดูรายชื่อกรรมาธิการชุดนี้ในยุค คสช.ไว้ และจำชื่อ “คณะกรรมาธิการตำรวจ การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ”ไว้ก่อน เพราะตัวละครที่เกี่ยวข้องอยู่ในนี้
เดิมคดีของบอส ทายาทกระทิงแดงนี้ ถูกตำรวจตั้งข้อหาเท่าที่จำได้คือ
1.เมาแล้วขับ
2.ขับรถเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด
3.ชนแล้วหนี
4.ขับรถประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
อีกข้อหาหนึ่งจำไม่ได้แล้ว
ถามว่า คดีขับรถประมาทชนคนตายมีเยอะมั้ยในบ้านเรา ที่จริงมันก็เกิดอยู่ทุกวันเป็นเรื่องปกตินั่นแหละ
ในทางคดีถ้าชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ตายจนญาติพี่น้องพอใจ พอส่งฟ้องศาลโดยทั่วไปศาลลงโทษจำคุกก็จะรอลงอาญา เพราะมีเหตุบรรเทาโทษ
แต่ถ้าทั้งเมาแล้วขับ ชนแล้วหนีไม่ช่วยเหลือ แล้วคนถูกชนตายด้วย แม้จะจ่ายให้ญาติจนพอใจค่าเสียหาย แต่ส่วนใหญ่จะไม่รอดคุก
คดีของบอสอยู่ในกลุ่มหลัง คือถ้าขึ้นศาล ใครเป็นทนายมีประสบการณ์ก็มองเห็นปลายทางคดีได้ไม่ยาก
คนวางแผนจัดการคดีจึงเริ่มจากเอาข้อหาเมาแล้วขับออกไปก่อน โดยให้ผู้ต้องหาให้การว่า ไม่ได้เมาแล้วขับ แต่มาเมาหลังจากชนแล้วเครียดเลยดื่มเหล้า ตรวจแอลกอฮอล์จึงเจอ และเป็นการมาตรวจภายหลังจากชนแล้วหนีมาแล้ว
ขั้นต่อไปคือทำให้ข้อหาชนแล้วหนีหมดอายุความ ส่วนขับรถเร็วเกินที่กฎหมายกำหนดไม่ได้เป็นสาระสำคัญ
และตอนแรกอัยการก็สั่งฟ้องคดี และเหลือคดีขับรถประมาทแล้วชนคนตายนี่แหละที่ยังไม่หมดอายุความ ถ้าหากถูกนำตัวมาขึ้นศาลแม้คดีชนแล้วหนีจะหมดอายุความไปแล้ว และ จำเลยจ่ายค่าเสียหายจนญาติพอใจแล้วก็ตาม ก็จะเป็นเหตุบรรเทาโทษไม่ได้ เพราะพฤติการณ์แห่งคดี และ เป็นคดีที่สังคมให้ความสนใจ โอกาสติดคุกมีสูง จึงจะให้คดีถึงศาลไม่ได้
กรรมาธิการชื่อยาวๆที่พูดถึงในตอนแรกจึงเข้ามาเป็นสารตั้งต้น โดยการเอาเรื่องเข้าร้องกรรมาธิการ
กรรมาธิการก็เรียกตำรวจที่ทำคดีมาชี้แจง
แล้วอ้างพบข้อเท็จจริงใหม่ในคดี แล้วร้องขอความเป็นธรรมในคดีไปที่อัยการ
อัยการพอได้รับหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ก็สั่งตำรวจสอบใหม่ สอบไปสอบมากลายเป็นว่า เป็นประมาทร่วม เราจึงได้เห็นหนังสือที่สั่งไม่ฟ้องว่าตำรวจคนที่ตายกลายเป็นผู้ต้องหาคนที 2
พอสำนวนออกมาเป็นแบบนี้เรื่องมาถึงอัยการอีกที ก็เลยออกมาที่สั่งไม่ฟ้อง แต่ไม่มีใครเห็นเหตุผลอธิบายอย่างไรว่า ทำไมถึงไม่ฟ้อง
ส่วนตำรวจที่ทำคดีหมดอายุความก็โดน ปปช.บอกว่า ผิดวินัยไม่ร้ายแรง แล้วรอดตัวไป
ถ้าไปดูในรูปในรายชื่อท่านก็จะเห็นว่า ใครเป็น ปปช.ที่นั่งอยู่ในคณะกรรมาธิการ
และถ้าท่านไปดูอีกที ท่านจะเห็นว่า มีใครเป็นอัยการอยู่ด้วย พอดีผมไม่รู้จัก
คดีที่พลิกแบบนี้ สารตั้งต้นอยู่ที่กรรมาธิการของ สนช.นี่แหละ ถ้าบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยโอกาสจะเป็นแบบนี้ยาก
แต่ในยุค คสช.อำนาจและทุนเขาเกื้อกูลกัน ดีเท่าไหร่แล้วที่ดาบตำรวจคนตายไม่กลายเป็นคนผิด ไปชนรถจนตัวเองตาย แล้วทำให้รถเขาเสียหายก็บุญเท่าไหร่แล้ว
...
Boycott Krating Daeng pic.twitter.com/QGvtljuQQl— Andrew MacGregor Marshall (@zenjournalist) July 24, 2020