วันศุกร์, กรกฎาคม 31, 2563

จริงๆ แล้วถ้ามองย้อนประวัติศาสตร์ ก่อนมีกลุ่มกระทิงแดง นักเรียนอาชีวะก็ไม่ชอบเผด็จการ เข้าร่วมไล่ถนอมประภาสเมื่อ 14 ตุลา จนหลัง 14 ตุลาฝ่ายขวาเข้ามายุแยง ฉวยโอกาสที่คนมองศูนย์นิสิตเป็นพระเอกมองไม่เห็นศูนย์นักเรียนอาชีวะ จึงแยกเป็นสองกลุ่ม




การที่เราหัวร่อกลิ้ง ม็อบอาชีวะกลายเป็น วิ่งๆๆ เถอะนะฟันปลอม
ไม่ถือเป็นการดูหมิ่นเด็กอาชีวะนะ
คนที่คิดว่าเขาจะออกมาต่างหาก ดูผิด
เด็กเทคนิคทุกวันนี้เป็นราชมงคลไปแล้ว ก็ไล่ตู่คึกคัก
ส่วนเด็กช่างกลช่างก่อสร้าง ที่สังคมมองเป็น "นักเรียนตีกัน"
ก็ใช่ว่าเขาจะชอบระบอบทหารตำรวจ
ยุครัฐประหารที่ชอบอ้าง "คนดีย์" ปกครองบ้านเมือง
สร้างผลงานจัดระเบียบเอาใจคนชั้นกลาง
ยิ่งกดทับเด็กอาชีวะที่ตกเป็นเบี้ยล่าง ถูกมองแง่ลบ
มองไม่ต่างจากเด็กแว้น ที่ยุค พรก.ฉุกเฉินถูกบีบบังคับหนัก
ที่จริงไม่ใช่แค่เด็กแว้นหรอก วัยรุ่นที่เขาอยู่ในวัยอยากสังสรรค์กับเพื่อน อยากออกจากบ้าน นอนดึก ไม่พอใจอำนาจฉุกเฉินทั้งนั้นแหละ
อยู่ที่ใครจะชี้ให้เห็นว่านั่นมันคืออำนาจไม่เป็นประชาธิปไตยใช้ยาแรงเกินเหตุ
:
จริงๆ แล้วถ้ามองย้อนประวัติศาสตร์ ก่อนมีกลุ่มกระทิงแดง
นักเรียนอาชีวะก็ไม่ชอบเผด็จการ เข้าร่วมไล่ถนอมประภาสเมื่อ 14 ตุลา
จนหลัง 14 ตุลาฝ่ายขวาเข้ามายุแยง ฉวยโอกาสที่คนมองศูนย์นิสิตเป็นพระเอกมองไม่เห็นศูนย์นักเรียนอาชีวะ
จึงแยกเป็นสองกลุ่ม แต่ก็ยังมีแนวร่วมอาชีวะเพื่อประชาชน ซึ่งมีศูนย์ใหญ่อยู่ที่ช่างกลพระรามหก ยืนสู้เคียงข้างนักศึกษาจนถูกลอบวางระเบิดมีนักเรียนเสียชีวิต 3 คนเมื่อ 3 มีนา 2519
ประชาไทเขียนรำลึกประวัติศาสตร์ไว้เมื่อปีที่แล้ว
https://prachatai.com/journal/2019/03/81314

ooo



กลุ่มนักเรียนอาชีวะ แนวหน้าในการเดินขบวนในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516
ภาพจาก https://m.museumsiam.org/da-all-gray.php?MID=3&CID=16&SCID=104&PG=2

3.2 การแยกสลายขบวนการนักเรียนอาชีวะ

เนื่องจากในการต่อสู้วันที่ 14 ตุลาคม 2516 นักเรียนอาชีวะได้แสดงบทบาทสำคัญอย่างมากในการต่อสู้ ทำให้ชนชั้นนำมีความวิตกอย่างมากในพลังของนักเรียนอาชีวะ จึงได้พยายามการแยกสลายพลังนักเรียนอาชีวะออกจากขบวนการนักศึกษา โดยเริ่มจากการส่งนักเรียนอาชีวะฝ่ายขวาเข้าควบคุมศูนย์กลางนักเรียนอาชีวะแห่งประเทศไทย แล้วใช้องค์กรนักเรียนอาชีวะนี้ในการเคลื่อนไหวที่ต่อต้านฝ่ายขบวนการนักศึกษา ซึ่งความขัดแย้งระหว่างศูนย์กลางนักเรียนอาชีวะกับฝ่ายขบวนการนักศึกษานั้น เริ่มเห็นชัดตั้งแต่กรณีพลับพลาไชยเป็นต้นมา ที่ศูนย์กลางนักเรียนอาชีวะออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยที่ฝ่ายนักศึกษา จากนั้นก็มีการเคลื่อนไหวของฝ่ายอาชีวะในทิศทางตรงข้ามอีกหลายครั้ง เช่น ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2518 ศูนย์กลางนักเรียนอาชีวะและสหพันธ์นักศึกษาครูได้จัดการชุมนุมที่สวนลุมพินี และเดินขบวนไปยังสถานทูตสหรัฐฯ เพื่อแสดงการขอบคุณที่ให้ความช่วยเหลือประเทศไทย และได้มีการมอบกระเช้าดอกไม้แก่อุปทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยด้วย

ต่อมา เมื่อแยกนักเรียนอาชีวะออกจากนักศึกษาแล้ว ก็จัดตั้งกลุ่มนักเรียนอาชีวะอันธพาลกลุ่มหนึ่งขึ้นเป็นกลุ่มกระทิงแดง เพื่อใช้เป็นแกนกลางในการก่อกวนขบวนการนักศึกษาด้วยอาวุธ ใช้ความเหี้ยมโหดรุนแรงต่อต้านการต่อสู้ด้วยสันติวิธีของขบวนการนักศึกษา กลุ่มกระทิงแดงก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2517 ในระหว่างที่ขบวนการนักศึกษากำลังเคลื่อนไหวเรื่องการเรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญให้ประชาชนอายุ 18 ปี มีสิทธิเลือกตั้ง ส่วนมากประกอบด้วยอันธพาลในคราบนักเรียนอาชีวะ ได้รับการสนับสนุนและจัดตั้ง จากเจ้าหน้าที่อาวุโสในกองทัพให้เป็นกองกำลังอาวุธปฏิกิริยาหรืออันธพาลการเมืองที่อยู่เหนือกฎหมาย ผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดจนได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นเจ้าพ่อกระทิงแดง คือ พ.อ.สุดสาย หัสดิน ซึ่งยืนยันว่า จะต้องตั้งกองกำลังขึ้นมาเพื่อต่อต้านฝ่ายนักศึกษา เพราะฝ่ายนักศึกษาพยายามเปลี่ยนทิศทางของประเทศประเทศจึงตกอยู่ในภาวะคอมมิวนิสต์แทรกแซง รัฐบาลก็อ่อนแอ พ.อ.สุดสายได้เปรียบเทียบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยก็เหมือนหัว นักเรียนอาชีวะก็เหมือนแขนขา จะต้องตัดแขนขาออกจากหัวเสียก่อน ส่วนกำลังที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ สุชาติ ประไพหอม เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ และสมศักดิ์ ขวัญมงคล เป็นต้น สำหรับที่มาของชื่อกลุ่ม สมศักดิ์ ขวัญมงคล หัวหน้าฝ่ายกำลังพล ได้อธิบายว่า “ไอ้การที่เราตั้งชื่อกลุ่มกระทิงแดงขึ้นมานี่ เพราะว่าเราไม่รู้ว่าจะใช้ชื่ออะไรดี ทุกคนเห็นว่าชื่ิอกระทิงแดงนี่ดี เพราะกระทิงแดงเป็นสัตว์ป่า สัตว์อนุรักษ์ สัตว์สงวน”

กลุ่มกระทิงแดงเป็นกองกำลังอภิสิทธิ์ ทั้งนี้เพราะสามารถออกมาให้สัมภาษณ์ขู่ว่า จะสังหารใครต่อใคร และยังก่อการปาระเบิดกลางเมืองได้โดยไม่ถูกจับกุม เช่นตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2517 เมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร กลับเข้ามาในประเทศครั้งแรก กระทิงแดงก็ออกแถลงการณ์คัดค้าน โดยอ้างว่า การต่อต้านจอมพลถนอมเป็นการก่อการไม่สงบ แต่ในที่สุด ฝ่ายกระทิงแดงกลับปาระเบิดพลาสติกนับสิบลูกที่สนามหลวง เพื่อให้ประชาชนแตกตื่น

ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2519 นายเผด็จ ดวงดี ที่ปรึกษาของกระทิงแดง ก็เปิดเผยหลักการทำงานของกระทิงแดงว่า …จำเป็นต้องใช้ระเบิดเป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตยให้คงอยู่ในประเทศไทยต่อไป นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่ากระทิงแดงยังได้รับการสนับสนุนจากทางราชการอีกด้วย เช่น กระทิงแดงจะมีวิทยุวอล์กกี-ทอล์กกี ของตำรวจไว้เพื่อติดต่อสื่อสารกัน และใช้รถตำรวจรวมทั้งรถยนต์สเตชันแวกอนวิ่งไปรอบเมือง เมื่อกระทิงแดงขว้างระเบิดพลาสติกเข้าใส่นักศึกษาหลายครั้ง ถึงแม้ว่าจะมีตำรวจอยู่ใกล้ก็มิได้ใส่ใจ รวมทั้งในกรณี 20 มีนาคม 2519 ที่นายสุชาติ ประไพหอม ผู้นำกระทิงแดง ประกาศตั้งแนวร่วมต่อต้านจักรวรรดินิยมคอมมิวนิสต์ และประกาศให้ไม่ให้ประชาชนใช้ถนนราชดำเนิน ถ้าไม่เชื่อจะไม่รับรองความปลอดภัย และเมื่อฝ่ายนักศึกษานัดชุมนุมที่หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็มีสมาชิกกระทิงแดงมาโยนระเบิดก่อกวน ต่อมาในวันที่ 21 มีนาคม กระทิงแดงขนอาวุธสงครามประเภทระเบิดมาตั้งไว้ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกลางกรุงเทพฯ อย่างเปิดเผย เพื่อป้องกันไม่ให้ขบวนนักศึกษาประชาชน ที่กำลังเคลื่อนไปยังสถานทูตอเมริกาผ่าน ฝ่ายนักศึกษาต้องอ้อมออกไปทางบางลำภู เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะผ่านบริเวณราชดำเนิน อันทำให้กระทิงแดงไม่อาจจะหาเหตุปะทะได้

ปรากฏว่าในระยะสองปีเศษๆ ที่กระทิงแดงปฏิบัติการกวนเมือง แทบจะไม่เคยถูกตำรวจจับกุม หรือถ้าถูกจับกุมก็จะได้รับการปล่อยตัวอย่างไม่น่าเชื่อ จนถึงกรณี 6 ตุลาคม กระทิงแดงก็เป็นด่านหน้าสุดที่ร่วมกับกองกำลังตำรวจตระเวนชายแดนเข้าบุกปราบปรามนักศึกษา

ที่มา เวป บันทึก 6 ตุลาhttps://doct6.com/learn-about/how/chapter-3/3-2
...



3 พระจอมฯ จะยอมได้ไง
เครือข่ายนักศึกษามหาวิทยาลัยพระจอมเกล้า 3 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมกับ กลุ่มอาชีวะพิทักษ์ประชาชน และกลุ่มอาชีวะโค่นเผด็จการ ที่ชูคำขวัญ "สืบสานเจตนารมณ์วีรชน 14 ตุลา" จัดกิจกรรมแฟลชม็อบออนทัวร์ ภายใต้คำขวัญ "สามพระจอมจะยอมได้ไง" ที่ลานเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เพื่อเป็นการสานต่อเจตนารมณ์และข้อเรียกร้อง 3 ข้อของกลุ่มเยาวชนปลดแอก สอดรับการเคลื่อนไหวของขบวนการเยาวชนในห้วงนี้ รวมถึงเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(อ่านต่อ: https://www.voicetv.co.th/read/m5hOlBHnP)