วันจันทร์, กรกฎาคม 27, 2563

มารู้จักแฮมทาโร่กันค่าาา ❤️❤️❤️






Frank Thomya
3h ·

#รู้จักแฮมทาโร่แก๊งจิ๋วผจญภัย
.
ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ในบัดดลสำหรับ วิ่งนะแฮมทาโร่ สำหรับคนรุ่นวัยทีนเอจจนถึง 20กว่าๆน่าจะพอคุ้นกับตัวการ์ตูนหนูแฮมสเตอร์ที่มากันเป็นแก๊งค์และแต่ละตัวก็มีบุคลิกที่แตกต่างกันไปได้ดี แต่สำหรับคนอีกรุ่นอาจจะเกาหัวว่าเจ้าแฮมทาโร่มันคืออะไร
.
แฮมทาโร่ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2540 โดยบรรณาธิการนิตยสารสำหรับเด็กชั้น ป.2คิดว่าอยากได้ตัวละครการ์ตูนเด็กที่เป็นหนูแฮมสเตอร์จึงติดต่อนักวาดการ์ตุนที่เลี้ยงหนูแฮมสเตอร์จริงๆคือคุณคะวาอิ ริทสึโกะ เป็นผู้วาดและเจ้าแฮมทาโร่ก็ถือกำเนิดขึ้นและได้อยู่ในนิตยสารสำหรับเด็ก ป.2ฉบับเดือนเมษายน หลังจากนั้นก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจมาพีคสุดในปี 2542จนสำนักพิมพ์ต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลเจ้าแฮมทาโร่ และแล้วในเดือนกรกฎาคมปี 2543 เจ้าหนูแฮมทาโร่ก็ได้ขึ้นจอทีวีออกอากาศในเครือข่ายของทีวีโตเกียวในช่วงเวลาประมาณ 6โมงเย็นเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง ความนิยมของเจ้าแฮมทาโร่ยังขยายมาถึงเด็กเล็กก่อนวัยประถม อะนิเมชั่นแฮมทาโร่ทำเรตติ้งสูงถึงร้อยละ 10 เรียกได้ว่าขึ้นมาเทียบเคียงกับโดราเอม่อนและโปเกมอน แฮมทาโร่ออกอากาศอยู่นาน 5ปี 9เดือน มีทั้งหมด 296 ตอน ก่อนที่จะกลับมาออกอากาศใหม่ในแฮมทาโร่ภาค 2ที่มีความสั้นลงเหลือ 5นาทีออกอากาศทั้งหมด 77ตอน แฮมทาโร่เปิดบัญชีทวิตเตอร์เมื่อปี 2553 ถึงแม้จะหยุดเคลื่อนไหวไปพักนึงแต่ตอนนี้ได้กลับมาเคลื่อนไหวใหม่แล้ว
.
แฮมทาโร่ ได้มีการออกฉายทางโทรทัศน์ใน 35ประเทศ โดยในไทยออกฉายทาง UBC หรือ ทรูวิชชั่นในปัจจุบันเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2545 ความนิยมในตัวหนูแฮมสเตอร์ยังนำไปสู่การทำเกมส์ที่ใช้แฮมทาโร่เป็นตัวละครทั้งในเกมส์บอยและนินเทนโด
.
แฮมทาโร่ เป็นเรื่องราวของบรรดาเจ้าหนูแฮมสเตอร์ทั้งหลายที่แต่ละตัวมีเจ้าของต่างกันและมีบุคลิกแตกต่างกัน เป็นการเล่าเรื่องกิจกรรมของเจ้าหนูทั้งหลายที่จะมารวมตัวกันที่บ้านลับใต้ดินและออกไปซุกซนกัน ทำไมเรื่องราวของหนูแฮมสเตอร์เหล่านี้ถึงได้รับความนิยม มีคนญี่ปุ่นให้สัมภาษณ์ไว้ว่า เรื่องราวที่ทำให้รู้สึกดี ความน่ารักของพวกมันทำให้มันเป็นที่รักทั้งในเด็กผู้ชายและผู้หญิงและไม่ได้จำกัดอยู่แค่เด็กเล็กหรือเด็กประถมแต่ยังได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น นอกจากนั้นพวกมันยังมีภาษาเฉพาะในการสื่อสารกันที่เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า แฮมโกะ หรือภาษาแฮม ทั้งคำทักทาย คำบอกว่าหิวและอื่นๆ ซึ่งเป็นการพูดที่น่ารัก มีเด็กญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยที่ใช้ แฮมโกะ ในการเขียนไดอารี่ หรือบันทึกแลกเปลี่ยนระหว่างเพื่อน
.
นี่อาจเป็นเหตุผลที่กลุ่มเด็กๆที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองใช้ แฮมทาโร่ เป็นสัญลักษณ์ เพลงแฮมทาโร่ ที่มีท่วงทำนองสนุกปลุกให้ครึกครื้นมีกำลังต่างจากเพลงที่นักเคลื่อนไหวก่อนๆใช้ ถึงกับมีคนบอกว่าต้องขอบใจที่ทำให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองหลุดจากเพลงแสงดาวแห่งศรัทธาได้สักที นี่คือเพลงในการสื่อสารของคนรุ่นใหม่ ในรุ่น 4.0 จากคลิปการปราศรัยของเด็กมัธยมที่เราได้ดูจะเห็นได้ว่าพวกเขาใช้ภาษาในการสื่อสารที่ง่าย ไม่ได้ใช้คำที่ดูใหญ่แต่เป็นคำที่ทำให้คนรุ่นพวกเขาเข้าใจและเข้าถึง (คนที่อายุมากกว่านั้นก็เข้าถึงได้เช่นกัน) ผู้ใหญ่หลายคนอาจยังงงๆว่าทำไมต้องเป็นแฮมทาโร่ ทำไมต้องเป็นเมล็ดทานตะวัน ทำไมต้องวิ่ง พวกเด็กๆเขาอาจกำลังสื่อสารด้วยภาษา แฮมโกะ กันอยู่ก็ได้
.
#แฮมทาโร่ #วิ่งนะแฮมทาโร่

(https://www.facebook.com/frank.thomya/posts/10158712055954808)

...
“ของอร่อยที่สุดก็คือภาษีประชาชน…

ได้เวลานอน นอนนะ นอนนะแฮมทาโร่
ที่ในสภา นอนนะ นอนนะแฮมทาโร่…”

ขอบคุณเด็กๆ ในที่สุดพี่ก็ล้างหูจากแสงดาวแห่งศรัทธาได้สะที 🥰😘

Arunwatee Kong Li Chattay