

#ใครไม่ทนมาเจอกัน
#เยาวชนปลดแอก
#คนเชียงใหม่ไม่ทนtoo
#คนลำพูนก็จะไม่ทนโว้ย
#พัทลุงไม่ทนแล้วโว้ย
#ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
#เกียมอุดมไม่ก้มหัวให้เผด็จการ
#โคราชจะไม่ทน
#คนเจียงฮายคนง่ายบ่เอาคนหลายใจ
#อุดรสิบ่ทน
#หนองคายสิบ่ทน
#รังสิตไม่ทนเผด็จการ
#ปทุมธานีไม่ปรานีเผด็จการ
#พะเยาจะบ่าทน
#รบเพื่อประชาธิปไตย
#สุพรรณจะไม่ทน
#มอออตานีขยี้รอบที่สอง
#สมุทรปราการจะไม่ทน
#จันรีไม่ทนคนจัญไร
#ร้อยเอ็ดเราไม่เอาเผด็จการ
#รบเพื่อประชาธิปไตย
#ฝั่งธนแต่เราจะไม่ทน
#นครสวรรค์จะไม่ทน
#ไปม็อบอย่างไรให้มีประโยชน์
#ธรรมศาสตร์จะไม่ทน
#ตู่ไม่ไปไทยไม่ก้าว
#กระจอกก็ออกไปลูกแม่ไทรไม่ต้องการ
#จุดไฟไล่ประยุทธ์
#Voiceonline #ประยุทธ์
อ่านต่อ https://www.voicetv.co.th/read/GkpT6OnR6

ที่มา Voice TV
เป็นความต่างที่ 'แฟลชม็อบ' ภาคแรกต้นปี 2563 ไม่ต้องเผชิญกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จนมาสู่ 'พลังม็อบแฮชแท็ก' จุดกระแสแฟลชม็อบภาค 2 กดดันขับไล่ 'ประยุทธ์' ปลดแอกจากการบังคับใช้อำนาจพิเศษผ่าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จนลุกลามทั่วประเทศ
"เมื่อวันนั้นมาถึงจุดแตกหักมาถึง เราจะช่วยกันไปปิดถนนราชดำเนินอีก 1 ครั้ง" คำปราศรัยอันร้อนแรงทิ้งท้ายหน้ากองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ของ 'เพนกวิน' พริษฐ์ ชิวารักษ์ แกนนำสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศ (สนท.) เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2563
เป็นเสมือนการส่งสัญญาณให้มวลชนแนวร่วมขยับเข้ามาร่วมกิจกรรมขับไล่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มากยิ่งขึ้น
หลังเปิดเกมคิกออฟ โชว์พลังแฟลชม็อบ จัดชุมนุมใหญ่ครั้งใหญ่นับแต่โรคโควิด-19 คลี่คลายลง ท่ามกลางการต่ออายุการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมาก่อนหน้านี้ 3 ครั้ง เพื่อคงไว้ซึ่งการบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
ปฏิเสธไม่ได้ว่า เงื่อนไขที่ทำให้ 'เครือข่ายมวลชน' ต้องออกมาร่วมแสดงพลังกับ สนท. กลุ่มเยาวชนปลดแอก ถูกปลุกด้วยพลังโซเชียลมีเดียในโลกออนไลน์
เป็นการปลุกเร้ามาก่อนมีวิกฤตโควิด-19 เสียด้วยซ้ำ เมื่อหลายสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ระดมพลจุดพลุผ่านกิจกรรมแฟลชม็อบ หลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2563
จุดเริ่มต้นไม้แรก คือ แฟลชม็อบ โดย 'นักศึกษา' มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ที่จัดขึ้นเป็นที่แรก เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2563 ภายใต้ชื่อ 'ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม' ที่นำโดย สนท.


ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่ออกมาแสดงความไม่พอใจกับการบริหารประเทศของรัฐบาล เริ่มเคลื่อนไหวนอกสภาตามสถาบันการศึกษา คู่ขนานการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในสภาในขณะนั้น
เพียงแค่ปลายเดือน ก.พ. ระหว่างวันที่ 24-28 ก.พ. 2563 แฟลชม็อบขับไล่รัฐบาล ได้ถูกจุดขึ้นกระจายไปทั่วประเทศถึง 24 แห่ง
และจุดเดือดที่สุดก่อนมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมโควิด-19
เมื่อคนรุ่นใหม่และภาคประชาชน ร่วมกันระดมมวลชนแสดงพลังครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 29 ก.พ. ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในภายใต้ชื่อ ‘คืนสู่เหย้า ไม่เอาไอโอ(ชา)’
ถึงขั้นที่ 'พริษฐ์' แกนนำ สนท. ระบุทิ้งท้ายในกิจกรรมแฟลชม็อบภาคแรกครั้งนั้นว่า "ผมคิดว่านี่เป็นการปฏิวัติของนักศึกษาและประชาชน”
เมื่อเสียงฝ่ายค้านในสภาไม่มีพลังมากพอที่จะล้มรัฐบาลลงได้ เกมขยับผ่านมวลชนนอกสภาจึงถูกปลุกขึ้นเป็น ภาคสอง กลางศักราช 2563
โดยหยิบยกเงื่อนไขรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องให้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึงและถ้วนหน้า หลังเกิดโควิด-19 ผ่านการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เคอร์ฟิวทั่วราชอาณาจักร
แม้รัฐบาลจะแก้ไขภาวะโรคระบาดไวรัสดังกล่าวได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ยังสร้างความตื่นตระหนก เพราะปล่อยให้แขกวีไอพี ชาวต่างชาติ ซึ่งติดเชื้อโควิด-19 เดินทางออกจากสถานที่กักกันตัวเองได้ ใน จ.ระยอง
ผนวกกับการที่สองแกนนำกลุ่มเยาวชนภาคตะวันออกเพื่อประชาธิปไตยถูกสกัดไม่ให้ประท้วงคัดค้าน พล.อ.ประยุทธ์ ขณะลงพื้นที่ จ.ระยอง เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2563 เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา

กลายเป็นเงื่อนไขหลักที่ เครือข่ายของ สนท. กลุ่มเยาวชนปลดแอก นำชุมนุมครั้งใหญ่ ปลดแอก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม กดดันไปยังรัฐบาลให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. 2563 จนถึงปัจจุบัน
และรัฐบาลเตรียมกำลังต่ออายุการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอีก 1 เดือน ในเดือน ส.ค. นี้
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ชี้แจงภายหลังการประชุมศบค.ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. เป็นประธานเมื่อวันที่ 22 ก.ค. ที่ผ่านมาถึงเหตุผลในการต่ออายุการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดในภาพรวมของโลก และยังคงมีการระบาดที่รุนแรง รวมทั้งยังมีคนไทยจากต่างประเทศและชาวต่างชาติที่ได้รับการผ่อนผันการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรกันอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการอนุญาตมีการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพิ่มเติม
เช่นเดียวกับ พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่าช่วงนี้จำเป็นต้องมีพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อไปอีก 1 เดือน เนื่องจากสถานการณ์ในแต่ละวันพบผู้ติดเชื้อทั่วโลกเฉลี่ยวันละ 2 แสนคน ประกอบกับช่วงนี้เรามีความจำเป็นต้องเปิดประเทศมากยิ่งขึ้น
"ที่เราต่ออีก 1 เดือนทั้งเดือน ส.ค.นี้ มีเจตนาเพื่อควบคุมโรคโดยบริสุทธิ์ใจเพียงอย่างเดียว และการห้ามการชุมนุมจะไม่ปรากฏใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่การชุมนุมการทางการเมืองต้องปฏิบัติตามกฏหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายปกติ" พล.อ.สมศักดิ์ กล่าว

ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ ระบุหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ว่า "ผมไม่ได้เอากฎหมายไปยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุมอะไรทั้นสิ้นเลย ไม่เกี่ยวเลย เป็นเรื่องของ พ.ร.บ.ชุมนุม มีอยู่แล้ว ผมไม่ต้องไปสั่งการเพิ่มเติม ผมเป็นห่วงกังวลที่จะมีการเคลื่อนไหวเหล่านี้ ก็ได้สั่งการขอให้ดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เห็นใจในบรรดาเด็กๆ ของพวกเรา เยาวชน นิสิต นักศึกษา เป็นห่วงแทนผู้ปกครองเขาด้วย"

ที่มา Voice TV
เป็นความต่างที่ 'แฟลชม็อบ' ภาคแรกต้นปี 2563 ไม่ต้องเผชิญกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จนมาสู่ 'พลังม็อบแฮชแท็ก' จุดกระแสแฟลชม็อบภาค 2 กดดันขับไล่ 'ประยุทธ์' ปลดแอกจากการบังคับใช้อำนาจพิเศษผ่าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จนลุกลามทั่วประเทศ
"เมื่อวันนั้นมาถึงจุดแตกหักมาถึง เราจะช่วยกันไปปิดถนนราชดำเนินอีก 1 ครั้ง" คำปราศรัยอันร้อนแรงทิ้งท้ายหน้ากองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ของ 'เพนกวิน' พริษฐ์ ชิวารักษ์ แกนนำสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศ (สนท.) เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2563
เป็นเสมือนการส่งสัญญาณให้มวลชนแนวร่วมขยับเข้ามาร่วมกิจกรรมขับไล่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มากยิ่งขึ้น
หลังเปิดเกมคิกออฟ โชว์พลังแฟลชม็อบ จัดชุมนุมใหญ่ครั้งใหญ่นับแต่โรคโควิด-19 คลี่คลายลง ท่ามกลางการต่ออายุการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมาก่อนหน้านี้ 3 ครั้ง เพื่อคงไว้ซึ่งการบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
ปฏิเสธไม่ได้ว่า เงื่อนไขที่ทำให้ 'เครือข่ายมวลชน' ต้องออกมาร่วมแสดงพลังกับ สนท. กลุ่มเยาวชนปลดแอก ถูกปลุกด้วยพลังโซเชียลมีเดียในโลกออนไลน์
เป็นการปลุกเร้ามาก่อนมีวิกฤตโควิด-19 เสียด้วยซ้ำ เมื่อหลายสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ระดมพลจุดพลุผ่านกิจกรรมแฟลชม็อบ หลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2563
จุดเริ่มต้นไม้แรก คือ แฟลชม็อบ โดย 'นักศึกษา' มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ที่จัดขึ้นเป็นที่แรก เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2563 ภายใต้ชื่อ 'ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม' ที่นำโดย สนท.


ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่ออกมาแสดงความไม่พอใจกับการบริหารประเทศของรัฐบาล เริ่มเคลื่อนไหวนอกสภาตามสถาบันการศึกษา คู่ขนานการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในสภาในขณะนั้น
เพียงแค่ปลายเดือน ก.พ. ระหว่างวันที่ 24-28 ก.พ. 2563 แฟลชม็อบขับไล่รัฐบาล ได้ถูกจุดขึ้นกระจายไปทั่วประเทศถึง 24 แห่ง
และจุดเดือดที่สุดก่อนมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมโควิด-19
เมื่อคนรุ่นใหม่และภาคประชาชน ร่วมกันระดมมวลชนแสดงพลังครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 29 ก.พ. ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในภายใต้ชื่อ ‘คืนสู่เหย้า ไม่เอาไอโอ(ชา)’
ถึงขั้นที่ 'พริษฐ์' แกนนำ สนท. ระบุทิ้งท้ายในกิจกรรมแฟลชม็อบภาคแรกครั้งนั้นว่า "ผมคิดว่านี่เป็นการปฏิวัติของนักศึกษาและประชาชน”
เมื่อเสียงฝ่ายค้านในสภาไม่มีพลังมากพอที่จะล้มรัฐบาลลงได้ เกมขยับผ่านมวลชนนอกสภาจึงถูกปลุกขึ้นเป็น ภาคสอง กลางศักราช 2563
โดยหยิบยกเงื่อนไขรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องให้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึงและถ้วนหน้า หลังเกิดโควิด-19 ผ่านการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เคอร์ฟิวทั่วราชอาณาจักร
แม้รัฐบาลจะแก้ไขภาวะโรคระบาดไวรัสดังกล่าวได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ยังสร้างความตื่นตระหนก เพราะปล่อยให้แขกวีไอพี ชาวต่างชาติ ซึ่งติดเชื้อโควิด-19 เดินทางออกจากสถานที่กักกันตัวเองได้ ใน จ.ระยอง
ผนวกกับการที่สองแกนนำกลุ่มเยาวชนภาคตะวันออกเพื่อประชาธิปไตยถูกสกัดไม่ให้ประท้วงคัดค้าน พล.อ.ประยุทธ์ ขณะลงพื้นที่ จ.ระยอง เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2563 เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา

กลายเป็นเงื่อนไขหลักที่ เครือข่ายของ สนท. กลุ่มเยาวชนปลดแอก นำชุมนุมครั้งใหญ่ ปลดแอก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม กดดันไปยังรัฐบาลให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. 2563 จนถึงปัจจุบัน
และรัฐบาลเตรียมกำลังต่ออายุการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอีก 1 เดือน ในเดือน ส.ค. นี้
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ชี้แจงภายหลังการประชุมศบค.ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. เป็นประธานเมื่อวันที่ 22 ก.ค. ที่ผ่านมาถึงเหตุผลในการต่ออายุการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดในภาพรวมของโลก และยังคงมีการระบาดที่รุนแรง รวมทั้งยังมีคนไทยจากต่างประเทศและชาวต่างชาติที่ได้รับการผ่อนผันการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรกันอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการอนุญาตมีการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพิ่มเติม
เช่นเดียวกับ พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่าช่วงนี้จำเป็นต้องมีพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อไปอีก 1 เดือน เนื่องจากสถานการณ์ในแต่ละวันพบผู้ติดเชื้อทั่วโลกเฉลี่ยวันละ 2 แสนคน ประกอบกับช่วงนี้เรามีความจำเป็นต้องเปิดประเทศมากยิ่งขึ้น
"ที่เราต่ออีก 1 เดือนทั้งเดือน ส.ค.นี้ มีเจตนาเพื่อควบคุมโรคโดยบริสุทธิ์ใจเพียงอย่างเดียว และการห้ามการชุมนุมจะไม่ปรากฏใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่การชุมนุมการทางการเมืองต้องปฏิบัติตามกฏหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายปกติ" พล.อ.สมศักดิ์ กล่าว

ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ ระบุหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ว่า "ผมไม่ได้เอากฎหมายไปยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุมอะไรทั้นสิ้นเลย ไม่เกี่ยวเลย เป็นเรื่องของ พ.ร.บ.ชุมนุม มีอยู่แล้ว ผมไม่ต้องไปสั่งการเพิ่มเติม ผมเป็นห่วงกังวลที่จะมีการเคลื่อนไหวเหล่านี้ ก็ได้สั่งการขอให้ดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เห็นใจในบรรดาเด็กๆ ของพวกเรา เยาวชน นิสิต นักศึกษา เป็นห่วงแทนผู้ปกครองเขาด้วย"