กลุ่มนักศึกษารวมตัวเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายทิวากรออกจาก รพ.จิตเวชขอนแก่นฯ เมื่อวันที่ 17 ก.ค.
ทิวากร: "...มอบให้เขาไปแล้ว" หัวอกแม่วัย 75 ของลูกชายที่ถูกหาว่าป่วยจิตเวช
21 กรกฎาคม 2020
บีบีซีไทย
ในสายตาของเจ้าหน้าที่รัฐ เขาอาจเป็นผู้ป่วยทางจิตและเป็นภัยต่อความมั่นคงจากการสวมเสื้อที่มีข้อความเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ แต่ในสายตาของผู้เป็นแม่ ทิวากร วิถีตน คือลูกชายที่เธอเคยภาคภูมิใจและยังเป็นห่วงอนาคตของเขาอยู่เสมอ แม้เขาประกาศตัดสัมพันธ์แม่-ลูกไปแล้ว
"(หลังจาก) ที่เขาตัดแม่ตัดลูกกับฉัน ตอนไป (เยี่ยมที่โรงพยาบาล) วันนั้นเขาเข้ามาสวัสดี ทั้งที่แต่ก่อนไม่เคยทำอย่างนี้ สงสัยว่าลูกฉันดีขึ้นกว่าเก่า เขาบอกที่ผมทำลงไป 'ผมขอโทษ'..." นางทองเหรียญ โสภา วัย 75 ปี เล่าถึงวันที่เธอเดินทางไปเยี่ยมลูกชายคนสุดท้อง เมื่อ 13 ก.ค. หลังจากถูกควบคุมตัวบังคับรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ตั้งแต่ว 9 ก.ค.
การควบคุมตัวทิวากรเกิดขึ้นราวหนึ่งเดือนหลังจากที่เขาสวมเสื้อยืดสีขาวมีข้อความสีแดงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในที่สาธารณะ หลังเหตุลักพาตัวนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมืองในกัมพูชา และยังถ่ายรูปเสื้อยืดตัวดังกล่าวโพสต์ในบัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัวอีกด้วย
กว่าหนึ่งสัปดาห์ที่ทิวากรอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวช การควบคุมตัวเขาเต็มไปด้วยข้อสงสัยจากผู้ติดตามเรื่องนี้ ไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าใครใช้สิทธิอะไร ส่งเขาเข้ารับการรักษา และยังไม่มีใครรู้ว่าทิวากรต้องเผชิญกับอะไรบ้างหลังจากถูกควบคุมตัวไปอยู่ที่โรงพยาบาล มีเพียงคำยืนยันจากเจ้าหน้าที่ รพ.จิตเวชขอนแก่นฯ เมื่อ 17 ก.ค.ว่าทิวากรสบายดีและสภาพจิตใจดี แต่ญาติไม่ต้องประสงค์ให้บุคคลอื่นเข้าเยี่ยม
ข้อความท้าย ๆ ที่ทิวากรโพสต์ไว้บนเฟซบุ๊กในวันที่มีเจ้าหน้าที่จิตแพทย์และฝ่ายความมั่นคงมาพบว่า "นี่คือการเมือง ที่ต้องการจะทำให้คนเข้าใจว่าผมเป็นบ้า"
BBC THAI
นักกิจกรรมนำโดยนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ชูป้ายเรียกร้องให้ยุติการควบคุมตัวนายทิวากร
เจ้าหน้าที่มาดูแล-ร่วมฟังสัมภาษณ์แม่
บ้านของทองเหรียญซึ่งทิวากรพักอยู่ในวันที่เขาถูกพาตัวไปโรงพยาบาล อยู่ห่างจากตัวเมืองขอนแก่นไปราว 20 กิโลเมตร บีบีซีไทยเดินทางไปที่สถานีบริการน้ำมันขนาดเล็กแห่งหนึ่งที่ทิวากรเคยให้ข้อมูลกับเพื่อนสนิทว่าหากต้องการพบเขาให้ไปที่นั่น
เมื่อไปถึงและถามหาบ้านของทิวากรจากชาวบ้านคนหนึ่ง สีหน้าของเธอเปลี่ยนไปในทันทีและบุ้ยใบ้บอกทางไปยังบ้านที่อยู่ในบริเวณนั้น
บ้านสองชั้นกึ่งปูนกึ่งไม้เปิดเป็นร้านขายของชำเล็ก ๆ ที่ชานหน้าบ้านมีหญิงชราแม่ของทิวากรนั่งอยู่ มีชายฉกรรจ์ตัดผมสั้นเกรียนป้วนเปี้ยนอยู่ 2 คน หนึ่งในนั้นได้รับการเรียกขานว่า "สารวัตร" แต่เขาบอกกับบีบีซีไทยในภายหลังว่า ไม่ใช่ตำรวจ แต่มาจากหน่วยงานท้องถิ่นที่มา "เยี่ยมเยียนดูแล" บ้านของทิวากรในฐานะเพื่อนบ้าน
ในเวลาต่อมาชายอีกคนเข้ามาสมทบ ทราบชื่อภายหลังว่า คือ นายศิริพงษ์ ทองสี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนช้าง อ.เมือง จ.ขอนแก่น
"ฉันอยากจะอยู่เงียบ ๆ แล้ว" ทองเหรียญบอกผู้สื่อข่าวบีบีฃีไทยที่ขออนุญาตสัมภาษณฺ์เรื่องลูกชาย
ทองเหรียญเปิดบทสนทนาบนโต๊ะยาวของบ้านว่า เธอไปเยี่ยมลูกชายที่โรงพยาบาลครั้งล่าสุดเมื่อ 13 ก.ค. และเห็นว่า "เขาดีขึ้น" บนโต๊ะสนทนานั้นมีเจ้าหน้าที่ทางการทั้งสองนั่งฟังอยู่ด้วย ตลอดการสัมภาษณ์ และใช้โทรศัพท์มือถือบันทึกการสนทนาโดยไม่ได้ขออนุญาตจากคู่สนทนา
BBC THAI
โรงพยาบาลขอนแก่นจิตเวชราชนครินทร์ เป็น รพ.ขนาด 250 เตียง รักษาผู้ป่วยนอกเฉลี่ยวันละ 300-400 คน
"มุ่งหน้าเรียน"
ทองเหรียญเล่าว่า ทิวากรเป็นลูกคนสุดท้องคนที่ 5 เกิดที่บ้านใน ต.ดอนช้าง อ.เมืองขอนแก่นแห่งนี้ แต่เดิมครอบครัวเป็นเกษตรกรทำไร่ทำนา แต่ต่อมาพี่สาวทิวากรเปิดกิจการขายน้ำมันอยู่ในที่เดียวกัน ส่วนทองเหรียญก็เปิดร้านขายของชำเล็ก ๆ อยู่ที่บ้าน
ทองเหรียญเล่าถึงลูกชายคนสุดท้องอย่างภาคภูมิใจว่า ทิวากรเป็นลูกคนเดียวที่เรียนจบปริญญา เขาสอบเข้าชั้นมัธยมได้ที่โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ซึ่งเธอบอกว่าเป็นโรงเรียนอันดับต้น ๆ ของจังหวัด พอจบชั้นมัธยมปลายก็สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
มารดาของทิวากรบอกว่า เธอจบชั้น ป.4 ทำไร่ทำนาส่งเงินให้ลูกเรียน วาดหวังว่าลูกชายคนนี้จะได้มีหน้าที่การงานดี ๆ และเป็นที่พึ่งของแม่ได้ โดยเฉพาะในยามที่เธอแก่ตัวลงและมีโรครุมเร้าอย่างเบาหวานที่เป็นอยู่ในขณะนี้
"(ตั้ง)แต่เด็ก เขาก็มุ่งหน้าเรียน" เธอกล่าว "ใครเรียนได้ ก็เรียนไป ไม่ได้ไปวิ่งเต้นเสียเงินเสียทอง ไม่ได้ไปฝากคนนั้นคนนี้ ลูกคนไหนสอบไม่ได้ก็ออกมาทำงานที่บ้าน"
เมื่อเรียนจบคณะวิศวะฯ ทิวากรทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นช่วงชีวิตที่มารดาของเขาไม่รู้อะไรเกี่ยวกับลูกชายมากนัก ตลอดจนช่วงที่เขาเข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ระหว่างปี 2552-2553
BBC THAI
ทิวากรพักอยู่ที่ตึกชงโค ซึ่งเป็นกลุ่มอาคารหอผู้ป่วยชายของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นฯ
หันมาทำเกษตร
ปี 2558 เขากลับมาอยู่ที่บ้านขอนแก่น และเริ่มปักหลักทำการเกษตรด้วยการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ ดังที่จะเห็นทิวากรโพสต์ภาพลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวของเขาเสมอ
ทองเหรียญเล่าว่า หลังจากเขากลับมาทำเกษตรได้ไม่นาน พี่สาวและพ่อก็ล้มป่วย ทิวากรปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์มาเรื่อย ๆ แต่ไม่ได้ขายหรือมีรายได้อะไร เธอยังต้องคอยสนับสนุนเรื่องการลงทุนและการกินอยู่ ซึ่งทองเหรียญได้แสดงความเป็นห่วงทิวากรว่าเมื่อแก่ตัวไปแล้วลูกชายคนนี้ดูแลตัวเองอย่างไร
"เขาเข้าไปไร่ทุกวัน หลัง ๆ ทำแต่ไร่ ข้าวน้ำไม่กินหลายมื้อ ฉันต้องคอยบอกให้เขากินข้าวบ้าง" ผู้เป็นแม่เล่าและบอกอีกว่าทิวากรไม่เคยเล่าว่าเขามีเป้าหมายว่าอยากจะทำอะไร
"เขาไม่เล่าอะไรให้ฟัง เขาทำอะไรเราก็ไม่รู้จัก ฉันเป็นคนธรรมดา ๆ ไม่รู้เรื่องอะไร จบ ป.4 หาเงินหาทองไปเรื่อย" หญิงวัย 75 ปี กล่าว
โดดเดี่ยวตัวเอง
ถามเรื่องเพื่อนฝูง ทองเหรียญเล่าว่า เธอสังเกตเห็นว่าเมื่อกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิด ลูกชายไม่ได้คบหาใคร แม้แต่เพื่อนสมัยเรียนในขอนแก่นก็ไม่ได้คบหาแล้ว
สอดคล้องกับสิ่งที่ทิวากรบอกเล่าทางเฟซบุ๊กว่าการใส่เสื้อที่มีข้อความเกี่ยวกับเบื้องสูงและการต่อสู้ของเขานั้น ตัวเขาทำแต่เพียงผู้เดียว
"การต่อสู้ของผมถูกออกแบบให้โดดเดี่ยวตัวเอง ต่อสู้ตามแนวทางของตัวเองล้วน ๆ ต้องไม่มีพรรคพวก ไม่มีกลุ่ม และไม่รับความช่วยเหลือจากใครทั้งนั้นครับ (แม้แต่จากทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ที่ช่วยฟรี) หากผมเพลี่ยงพล้ำ ต้องติดคุก โดนทำร้าย โดนอุ้มหาย โดนอุ้มฆ่า ผมก็จะยอมรับผลที่ตามมาด้วยตัวผมเองคนเดียวครับ..." เขาโพสต์เมื่อวันที่ 4 ก.ค. บนเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า Tiwagorn Withiton
สัมพันธ์แม่-ลูก
ตลอดเวลาที่พูดคุย นางทองเหรียญกล่าวสองสามครั้งว่า ลูกชายตัวเอง "ผิดไปจากคนนั้นคนนี้" "ผิดปกติมาเรื่อย ๆ การเข้าไปรักษานี่ก็ภูมิใจแล้วว่าจะได้ดีขึ้น"
"หลัง ๆ ตัดพ่อ ตัดแม่ ตัดหลาน สุดท้ายก็คือตัดฉันออกเมื่อวันที่ 5 (ก.ค.) ฉันก็ว่าเป็นบ้า" ทองเหรียญบอกว่าเมื่อปี 2559 ทางบ้านเคยพาทิวากรไปรักษาเกี่ยวกับอาการป่วยด้านการควบคุมอารมณ์ ซึ่งบีบีซีไทยได้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลจิตเวชว่าทิวากรได้เดินทางมาจริง แต่เป็นเพียงการปรึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีการรักษาหรือวินิจฉัยว่าเขามีอาการป่วยทางจิตเวช
ความผิดปกติไปจากคนอื่นที่ผู้เป็นแม่เห็น เป็นการเก็บตัว ชอบต่อว่าผู้อื่น และอารมณ์โกรธเมื่อมีเรื่องผิดใจกับพ่อบ้าง แต่ไม่ถึงขั้นว่าจะทำร้ายหรือมุ่งหมายเอาชีวิตใครเพราะเขาเป็นคนไม่สู้คน แต่การประกาศตัดความเป็นลูก ทำให้เธอคิดว่าคนทั่วไปคงไม่ทำเช่นนั้น
ทิวากรโพสต์เฟซบุ๊กอธิบายเหตุผลที่เขาขอตัดความสัมพันธ์กับครอบครัว รวมถึงพ่อและแม่ว่า เป็นเพราะเขาไม่อยากให้การเคลื่อนไหวของเขา ซึ่งน่าจะหมายความถึงการสวมใส่เสื้อที่มีข้อความเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ต้องทำให้ครอบครัวญาติพี่น้องต้องตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก
"สำหรับผมแล้ว ครั้งนี้มันคือการออกจากตระกูล และการตัดแม่ตัดลูก แต่หากวันใดที่ฝ่ายประชาธิปไตยได้รับชัยชนะ ได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ วันนั้นผมจะกลับไปหาแม่" นี่คือสิ่งที่ทิวากรโพสต์ก่อนหน้านี้
สารในข้อความที่ทิวากรโพสต์ที่บอกว่า แม่ของเขากลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับลูกชายอาจะสะท้อนได้จากคำตอบของนางทองเหรียญที่บอกกับบีบีซีไทยว่า การไปอยู่ที่โรงพยาบาลนั้นทำให้เธอรู้สึก "สบายใจ"
BBC THAI
ทิวากร: "...มอบให้เขาไปแล้ว" หัวอกแม่วัย 75 ของลูกชายที่ถูกหาว่าป่วยจิตเวช
21 กรกฎาคม 2020
บีบีซีไทย
ในสายตาของเจ้าหน้าที่รัฐ เขาอาจเป็นผู้ป่วยทางจิตและเป็นภัยต่อความมั่นคงจากการสวมเสื้อที่มีข้อความเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ แต่ในสายตาของผู้เป็นแม่ ทิวากร วิถีตน คือลูกชายที่เธอเคยภาคภูมิใจและยังเป็นห่วงอนาคตของเขาอยู่เสมอ แม้เขาประกาศตัดสัมพันธ์แม่-ลูกไปแล้ว
"(หลังจาก) ที่เขาตัดแม่ตัดลูกกับฉัน ตอนไป (เยี่ยมที่โรงพยาบาล) วันนั้นเขาเข้ามาสวัสดี ทั้งที่แต่ก่อนไม่เคยทำอย่างนี้ สงสัยว่าลูกฉันดีขึ้นกว่าเก่า เขาบอกที่ผมทำลงไป 'ผมขอโทษ'..." นางทองเหรียญ โสภา วัย 75 ปี เล่าถึงวันที่เธอเดินทางไปเยี่ยมลูกชายคนสุดท้อง เมื่อ 13 ก.ค. หลังจากถูกควบคุมตัวบังคับรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ตั้งแต่ว 9 ก.ค.
การควบคุมตัวทิวากรเกิดขึ้นราวหนึ่งเดือนหลังจากที่เขาสวมเสื้อยืดสีขาวมีข้อความสีแดงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในที่สาธารณะ หลังเหตุลักพาตัวนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมืองในกัมพูชา และยังถ่ายรูปเสื้อยืดตัวดังกล่าวโพสต์ในบัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัวอีกด้วย
กว่าหนึ่งสัปดาห์ที่ทิวากรอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวช การควบคุมตัวเขาเต็มไปด้วยข้อสงสัยจากผู้ติดตามเรื่องนี้ ไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าใครใช้สิทธิอะไร ส่งเขาเข้ารับการรักษา และยังไม่มีใครรู้ว่าทิวากรต้องเผชิญกับอะไรบ้างหลังจากถูกควบคุมตัวไปอยู่ที่โรงพยาบาล มีเพียงคำยืนยันจากเจ้าหน้าที่ รพ.จิตเวชขอนแก่นฯ เมื่อ 17 ก.ค.ว่าทิวากรสบายดีและสภาพจิตใจดี แต่ญาติไม่ต้องประสงค์ให้บุคคลอื่นเข้าเยี่ยม
ข้อความท้าย ๆ ที่ทิวากรโพสต์ไว้บนเฟซบุ๊กในวันที่มีเจ้าหน้าที่จิตแพทย์และฝ่ายความมั่นคงมาพบว่า "นี่คือการเมือง ที่ต้องการจะทำให้คนเข้าใจว่าผมเป็นบ้า"
BBC THAI
นักกิจกรรมนำโดยนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ชูป้ายเรียกร้องให้ยุติการควบคุมตัวนายทิวากร
เจ้าหน้าที่มาดูแล-ร่วมฟังสัมภาษณ์แม่
บ้านของทองเหรียญซึ่งทิวากรพักอยู่ในวันที่เขาถูกพาตัวไปโรงพยาบาล อยู่ห่างจากตัวเมืองขอนแก่นไปราว 20 กิโลเมตร บีบีซีไทยเดินทางไปที่สถานีบริการน้ำมันขนาดเล็กแห่งหนึ่งที่ทิวากรเคยให้ข้อมูลกับเพื่อนสนิทว่าหากต้องการพบเขาให้ไปที่นั่น
เมื่อไปถึงและถามหาบ้านของทิวากรจากชาวบ้านคนหนึ่ง สีหน้าของเธอเปลี่ยนไปในทันทีและบุ้ยใบ้บอกทางไปยังบ้านที่อยู่ในบริเวณนั้น
บ้านสองชั้นกึ่งปูนกึ่งไม้เปิดเป็นร้านขายของชำเล็ก ๆ ที่ชานหน้าบ้านมีหญิงชราแม่ของทิวากรนั่งอยู่ มีชายฉกรรจ์ตัดผมสั้นเกรียนป้วนเปี้ยนอยู่ 2 คน หนึ่งในนั้นได้รับการเรียกขานว่า "สารวัตร" แต่เขาบอกกับบีบีซีไทยในภายหลังว่า ไม่ใช่ตำรวจ แต่มาจากหน่วยงานท้องถิ่นที่มา "เยี่ยมเยียนดูแล" บ้านของทิวากรในฐานะเพื่อนบ้าน
ในเวลาต่อมาชายอีกคนเข้ามาสมทบ ทราบชื่อภายหลังว่า คือ นายศิริพงษ์ ทองสี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนช้าง อ.เมือง จ.ขอนแก่น
"ฉันอยากจะอยู่เงียบ ๆ แล้ว" ทองเหรียญบอกผู้สื่อข่าวบีบีฃีไทยที่ขออนุญาตสัมภาษณฺ์เรื่องลูกชาย
ทองเหรียญเปิดบทสนทนาบนโต๊ะยาวของบ้านว่า เธอไปเยี่ยมลูกชายที่โรงพยาบาลครั้งล่าสุดเมื่อ 13 ก.ค. และเห็นว่า "เขาดีขึ้น" บนโต๊ะสนทนานั้นมีเจ้าหน้าที่ทางการทั้งสองนั่งฟังอยู่ด้วย ตลอดการสัมภาษณ์ และใช้โทรศัพท์มือถือบันทึกการสนทนาโดยไม่ได้ขออนุญาตจากคู่สนทนา
BBC THAI
โรงพยาบาลขอนแก่นจิตเวชราชนครินทร์ เป็น รพ.ขนาด 250 เตียง รักษาผู้ป่วยนอกเฉลี่ยวันละ 300-400 คน
"มุ่งหน้าเรียน"
ทองเหรียญเล่าว่า ทิวากรเป็นลูกคนสุดท้องคนที่ 5 เกิดที่บ้านใน ต.ดอนช้าง อ.เมืองขอนแก่นแห่งนี้ แต่เดิมครอบครัวเป็นเกษตรกรทำไร่ทำนา แต่ต่อมาพี่สาวทิวากรเปิดกิจการขายน้ำมันอยู่ในที่เดียวกัน ส่วนทองเหรียญก็เปิดร้านขายของชำเล็ก ๆ อยู่ที่บ้าน
ทองเหรียญเล่าถึงลูกชายคนสุดท้องอย่างภาคภูมิใจว่า ทิวากรเป็นลูกคนเดียวที่เรียนจบปริญญา เขาสอบเข้าชั้นมัธยมได้ที่โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ซึ่งเธอบอกว่าเป็นโรงเรียนอันดับต้น ๆ ของจังหวัด พอจบชั้นมัธยมปลายก็สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
มารดาของทิวากรบอกว่า เธอจบชั้น ป.4 ทำไร่ทำนาส่งเงินให้ลูกเรียน วาดหวังว่าลูกชายคนนี้จะได้มีหน้าที่การงานดี ๆ และเป็นที่พึ่งของแม่ได้ โดยเฉพาะในยามที่เธอแก่ตัวลงและมีโรครุมเร้าอย่างเบาหวานที่เป็นอยู่ในขณะนี้
"(ตั้ง)แต่เด็ก เขาก็มุ่งหน้าเรียน" เธอกล่าว "ใครเรียนได้ ก็เรียนไป ไม่ได้ไปวิ่งเต้นเสียเงินเสียทอง ไม่ได้ไปฝากคนนั้นคนนี้ ลูกคนไหนสอบไม่ได้ก็ออกมาทำงานที่บ้าน"
เมื่อเรียนจบคณะวิศวะฯ ทิวากรทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นช่วงชีวิตที่มารดาของเขาไม่รู้อะไรเกี่ยวกับลูกชายมากนัก ตลอดจนช่วงที่เขาเข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ระหว่างปี 2552-2553
BBC THAI
ทิวากรพักอยู่ที่ตึกชงโค ซึ่งเป็นกลุ่มอาคารหอผู้ป่วยชายของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นฯ
หันมาทำเกษตร
ปี 2558 เขากลับมาอยู่ที่บ้านขอนแก่น และเริ่มปักหลักทำการเกษตรด้วยการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ ดังที่จะเห็นทิวากรโพสต์ภาพลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวของเขาเสมอ
ทองเหรียญเล่าว่า หลังจากเขากลับมาทำเกษตรได้ไม่นาน พี่สาวและพ่อก็ล้มป่วย ทิวากรปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์มาเรื่อย ๆ แต่ไม่ได้ขายหรือมีรายได้อะไร เธอยังต้องคอยสนับสนุนเรื่องการลงทุนและการกินอยู่ ซึ่งทองเหรียญได้แสดงความเป็นห่วงทิวากรว่าเมื่อแก่ตัวไปแล้วลูกชายคนนี้ดูแลตัวเองอย่างไร
"เขาเข้าไปไร่ทุกวัน หลัง ๆ ทำแต่ไร่ ข้าวน้ำไม่กินหลายมื้อ ฉันต้องคอยบอกให้เขากินข้าวบ้าง" ผู้เป็นแม่เล่าและบอกอีกว่าทิวากรไม่เคยเล่าว่าเขามีเป้าหมายว่าอยากจะทำอะไร
"เขาไม่เล่าอะไรให้ฟัง เขาทำอะไรเราก็ไม่รู้จัก ฉันเป็นคนธรรมดา ๆ ไม่รู้เรื่องอะไร จบ ป.4 หาเงินหาทองไปเรื่อย" หญิงวัย 75 ปี กล่าว
โดดเดี่ยวตัวเอง
ถามเรื่องเพื่อนฝูง ทองเหรียญเล่าว่า เธอสังเกตเห็นว่าเมื่อกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิด ลูกชายไม่ได้คบหาใคร แม้แต่เพื่อนสมัยเรียนในขอนแก่นก็ไม่ได้คบหาแล้ว
สอดคล้องกับสิ่งที่ทิวากรบอกเล่าทางเฟซบุ๊กว่าการใส่เสื้อที่มีข้อความเกี่ยวกับเบื้องสูงและการต่อสู้ของเขานั้น ตัวเขาทำแต่เพียงผู้เดียว
"การต่อสู้ของผมถูกออกแบบให้โดดเดี่ยวตัวเอง ต่อสู้ตามแนวทางของตัวเองล้วน ๆ ต้องไม่มีพรรคพวก ไม่มีกลุ่ม และไม่รับความช่วยเหลือจากใครทั้งนั้นครับ (แม้แต่จากทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ที่ช่วยฟรี) หากผมเพลี่ยงพล้ำ ต้องติดคุก โดนทำร้าย โดนอุ้มหาย โดนอุ้มฆ่า ผมก็จะยอมรับผลที่ตามมาด้วยตัวผมเองคนเดียวครับ..." เขาโพสต์เมื่อวันที่ 4 ก.ค. บนเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า Tiwagorn Withiton
สัมพันธ์แม่-ลูก
ตลอดเวลาที่พูดคุย นางทองเหรียญกล่าวสองสามครั้งว่า ลูกชายตัวเอง "ผิดไปจากคนนั้นคนนี้" "ผิดปกติมาเรื่อย ๆ การเข้าไปรักษานี่ก็ภูมิใจแล้วว่าจะได้ดีขึ้น"
"หลัง ๆ ตัดพ่อ ตัดแม่ ตัดหลาน สุดท้ายก็คือตัดฉันออกเมื่อวันที่ 5 (ก.ค.) ฉันก็ว่าเป็นบ้า" ทองเหรียญบอกว่าเมื่อปี 2559 ทางบ้านเคยพาทิวากรไปรักษาเกี่ยวกับอาการป่วยด้านการควบคุมอารมณ์ ซึ่งบีบีซีไทยได้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลจิตเวชว่าทิวากรได้เดินทางมาจริง แต่เป็นเพียงการปรึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีการรักษาหรือวินิจฉัยว่าเขามีอาการป่วยทางจิตเวช
ความผิดปกติไปจากคนอื่นที่ผู้เป็นแม่เห็น เป็นการเก็บตัว ชอบต่อว่าผู้อื่น และอารมณ์โกรธเมื่อมีเรื่องผิดใจกับพ่อบ้าง แต่ไม่ถึงขั้นว่าจะทำร้ายหรือมุ่งหมายเอาชีวิตใครเพราะเขาเป็นคนไม่สู้คน แต่การประกาศตัดความเป็นลูก ทำให้เธอคิดว่าคนทั่วไปคงไม่ทำเช่นนั้น
ทิวากรโพสต์เฟซบุ๊กอธิบายเหตุผลที่เขาขอตัดความสัมพันธ์กับครอบครัว รวมถึงพ่อและแม่ว่า เป็นเพราะเขาไม่อยากให้การเคลื่อนไหวของเขา ซึ่งน่าจะหมายความถึงการสวมใส่เสื้อที่มีข้อความเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ต้องทำให้ครอบครัวญาติพี่น้องต้องตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก
"สำหรับผมแล้ว ครั้งนี้มันคือการออกจากตระกูล และการตัดแม่ตัดลูก แต่หากวันใดที่ฝ่ายประชาธิปไตยได้รับชัยชนะ ได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ วันนั้นผมจะกลับไปหาแม่" นี่คือสิ่งที่ทิวากรโพสต์ก่อนหน้านี้
สารในข้อความที่ทิวากรโพสต์ที่บอกว่า แม่ของเขากลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับลูกชายอาจะสะท้อนได้จากคำตอบของนางทองเหรียญที่บอกกับบีบีซีไทยว่า การไปอยู่ที่โรงพยาบาลนั้นทำให้เธอรู้สึก "สบายใจ"
BBC THAI
ข้อความที่นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมทางการเมือง ฝากเจ้าหน้าที่ รพ.จิตเวชขอนแก่นฯ ไปให้นายทิวากร
"ฉันว่าเจ้าหน้าที่เขามาเอาไปฉันสบายใจขึ้น ไม่ได้กังวลว่าลูกจะถูกทำร้ายอะไรหรอก...ก็มอบให้เขาไปแล้ว" ทองเหรียญ กล่าวอย่างแผ่วเบา
"เขาเห็นในโทรศัพท์ เขามาเอง..."
เว็บไซต์ประชาไทรายงานคำบอกเล่าของทองเหรียญว่า ทิวากรถูกควบคุมตัวจากบ้านเมื่อช่วงค่ำวันที่ 9 ก.ค. มีรถเจ้าหน้าที่ตำรวจและรถจากโรงพยาบาลจำนวนเกือบ 10 คัน มาจอดที่หน้าบ้านระหว่างกำลังทำความสะอาดบ้านและซักเสื้ออยู่ แต่ทองเหรียญไม่ทราบสภาพการจับกุม เนื่องจากทนดูไม่ได้จึงหลบเข้าไปหลังบ้าน
ประชาไทรายงานข้อความที่ได้พูดคุยกับทิวากรตอนเข้าเยี่ยมเมื่อวันที่ 13 ก.ค. ด้วยว่า ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจและพยาบาลเข้าไปจับกุมตัวเขาในบ้าน เขาปฏิเสธไม่ยอมรับการจับกุม แต่เจ้าหน้าที่จำนวน 6 คน เข้าไปอุ้มตัวเขาออกมา หลังจากถูกนำตัวขึ้นรถ เจ้าหน้าที่ได้ใช้ผ้ามัดมือและฉีดยาเข้าที่บริเวณแขนของทิวากรทั้งสองข้าง
แม้นางทองเหรียญบอกว่าสังเกตเห็นความไม่ปกติของทิวากรเรื่อยมา แต่เธอยืนยันว่าครอบครัวไม่ได้เป็นผู้แจ้งให้เจ้าหน้าที่มารับตัวทิวากรไปรักษา
"เขาเห็นในโทรศัพท์ เขาก็มาเอง วันที่เขามา ตอนเขามาจับก็ไม่อยากวุ่นวาย" เธอกล่าว
อย่างไรก็ตาม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน องค์กรให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายต่อผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองจากการใช้อำนาจรัฐและจากการใช้เสรีภาพในการแสดงออก ออกแถลงการณ์ว่า "ทิวากรยังอยู่ในภาวะปกติ สามารถสื่อสารพูดคุยอย่างมีสติสัมปชัญญะ ไม่ได้มีลักษณะที่อยู่ในภาวะอันตรายที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่น หรือมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา ขาดความสามารถในการให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา และต้องได้รับการรักษาโดยเร็วอันจะเข้าองค์ประกอบที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจบังคับบุคคลไปบำบัดรักษาตามมาตรา 22 ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 ดังนั้นการนำตัวบุคคลไปบำบัดรักษาในกรณีนี้จึงต้องอาศัยความยินยอมของบุคคลดังกล่าวเอง ตามมาตรา 21 ไม่ใช่ความยินยอมของญาติหรือบุคคลอื่น"
BBC THAI
"ฉันว่าเจ้าหน้าที่เขามาเอาไปฉันสบายใจขึ้น ไม่ได้กังวลว่าลูกจะถูกทำร้ายอะไรหรอก...ก็มอบให้เขาไปแล้ว" ทองเหรียญ กล่าวอย่างแผ่วเบา
"เขาเห็นในโทรศัพท์ เขามาเอง..."
เว็บไซต์ประชาไทรายงานคำบอกเล่าของทองเหรียญว่า ทิวากรถูกควบคุมตัวจากบ้านเมื่อช่วงค่ำวันที่ 9 ก.ค. มีรถเจ้าหน้าที่ตำรวจและรถจากโรงพยาบาลจำนวนเกือบ 10 คัน มาจอดที่หน้าบ้านระหว่างกำลังทำความสะอาดบ้านและซักเสื้ออยู่ แต่ทองเหรียญไม่ทราบสภาพการจับกุม เนื่องจากทนดูไม่ได้จึงหลบเข้าไปหลังบ้าน
ประชาไทรายงานข้อความที่ได้พูดคุยกับทิวากรตอนเข้าเยี่ยมเมื่อวันที่ 13 ก.ค. ด้วยว่า ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจและพยาบาลเข้าไปจับกุมตัวเขาในบ้าน เขาปฏิเสธไม่ยอมรับการจับกุม แต่เจ้าหน้าที่จำนวน 6 คน เข้าไปอุ้มตัวเขาออกมา หลังจากถูกนำตัวขึ้นรถ เจ้าหน้าที่ได้ใช้ผ้ามัดมือและฉีดยาเข้าที่บริเวณแขนของทิวากรทั้งสองข้าง
แม้นางทองเหรียญบอกว่าสังเกตเห็นความไม่ปกติของทิวากรเรื่อยมา แต่เธอยืนยันว่าครอบครัวไม่ได้เป็นผู้แจ้งให้เจ้าหน้าที่มารับตัวทิวากรไปรักษา
"เขาเห็นในโทรศัพท์ เขาก็มาเอง วันที่เขามา ตอนเขามาจับก็ไม่อยากวุ่นวาย" เธอกล่าว
อย่างไรก็ตาม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน องค์กรให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายต่อผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองจากการใช้อำนาจรัฐและจากการใช้เสรีภาพในการแสดงออก ออกแถลงการณ์ว่า "ทิวากรยังอยู่ในภาวะปกติ สามารถสื่อสารพูดคุยอย่างมีสติสัมปชัญญะ ไม่ได้มีลักษณะที่อยู่ในภาวะอันตรายที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่น หรือมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา ขาดความสามารถในการให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา และต้องได้รับการรักษาโดยเร็วอันจะเข้าองค์ประกอบที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจบังคับบุคคลไปบำบัดรักษาตามมาตรา 22 ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 ดังนั้นการนำตัวบุคคลไปบำบัดรักษาในกรณีนี้จึงต้องอาศัยความยินยอมของบุคคลดังกล่าวเอง ตามมาตรา 21 ไม่ใช่ความยินยอมของญาติหรือบุคคลอื่น"
BBC THAI
กลุ่มนักศึกษารวมตัวเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายทิวากรออกจาก รพ.จิตเวชขอนแก่นฯ เมื่อวันที่ 17 ก.ค.
ทองเหรียญบอกว่าทิวากรเตรียมตัวจะย้ายออกจากบ้านหลังจากประกาศตัดแม่ตัดลูก แต่ถูกนำตัวไปโรงพยาบาลเสียก่อน นับตั้งแต่เกิดเรื่องนี้ เธอบอกว่าพอมีคนมาหาเยอะแยะ รถใหม่ ๆ แปลก ๆ เข้ามา ก็ยังตกใจอยู่ตลอด และ "อยากจะอยู่แบบธรรมดา ๆ แล้ว ไม่อยากให้มีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้นอีก" รวมทั้งตัวลูกชายด้วยหากโรงพยาบาลรักษาและให้กลับมาใช้ชีวิตที่บ้าน
"อยากให้เขาเป็นคนทำมาหากิน ไม่อยากให้ไปวุ่นวาย ไม่อยากให้ไปเข้าการเมือง อยากให้เป็นคนธรรมดา ไม่ต้องไปทำอะไร"
ทองเหรียญบอกว่าทิวากรเตรียมตัวจะย้ายออกจากบ้านหลังจากประกาศตัดแม่ตัดลูก แต่ถูกนำตัวไปโรงพยาบาลเสียก่อน นับตั้งแต่เกิดเรื่องนี้ เธอบอกว่าพอมีคนมาหาเยอะแยะ รถใหม่ ๆ แปลก ๆ เข้ามา ก็ยังตกใจอยู่ตลอด และ "อยากจะอยู่แบบธรรมดา ๆ แล้ว ไม่อยากให้มีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้นอีก" รวมทั้งตัวลูกชายด้วยหากโรงพยาบาลรักษาและให้กลับมาใช้ชีวิตที่บ้าน
"อยากให้เขาเป็นคนทำมาหากิน ไม่อยากให้ไปวุ่นวาย ไม่อยากให้ไปเข้าการเมือง อยากให้เป็นคนธรรมดา ไม่ต้องไปทำอะไร"