วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ : พี่สาวเล่านาทีน้องชายหายตัวไปในกัมพูชา เผย ตร.ไทยไปเยี่ยมแม่ที่อุบลฯ เมื่อเดือน พ.ค.
อิสสริยา พรายทองแย้ม
บีบีซีไทย
5 มิถุนายน 2020
พี่สาวของนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมืองชาวไทยที่อาศัยอยู่ในกัมพูชา เผยนาทีที่น้องชายหายตัวไปจากหน้าคอนโดฯ ที่พักอาศัยในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ขณะกำลังคุยโทรศัพท์ผ่านแอปพลิเคชัน Line ด้วยกัน
น.ส.สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ให้สัมภาษณ์บีบีซีไทย ว่าเธอคือผู้ที่พูดคุยกับนายวันเฉลิมในนาทีที่เชื่อว่าเขา "ถูกอุ้ม" เมื่อวานนี้ (4 มิ.ย.) ในเวลาประมาณ 16.35 น. ตามเวลาไทย และได้ยินเสียงน้องชายร้องตะโกนว่า "หายใจไม่ออก ๆ " อยู่ร่วม 30 นาที
พี่สาวคนโตวัย 47 ปี เล่าว่าขณะเกิดเหตุกำลังพูดคุยกับนายวันเฉลิมเรื่องการหาลู่ทางพัฒนาและลงทุนทำธุรกิจเกี่ยวกับการปลูกกล้วยและอ้อยในกัมพูชาเพื่อส่งขายไปยังประเทศจีน โดยเธอและน้องชายจะพูดคุยเรื่องธุรกิจกันเป็นประจำผ่านแอปพลิชัน Line
วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ : สนง.ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนฯ ของยูเอ็น ตรวจสอบกรณีลักพาตัวผู้ลี้ภัยทางการเมืองในกัมพูชา
ผู้ลี้ภัย : วัฒน์ วรรลยางกูร "นกปีกหัก" กับ "รังใหม่" ที่ปลอดภัยในฝรั่งเศส
ข่าวเด่น 2562 : รวม 4 เรื่องเอ็กซ์คลูซีฟบีบีซีไทย
"ในโทรศัพท์น้องบอกว่าเขามาซื้อของที่มินิมาร์ทใกล้คอนโดฯ นะ ตอนนี้ออกจากมินิมาร์ทแล้ว ขอแวะซื้อลูกชิ้นก่อน สั่งลูกชิ้นแล้ว เรายังถือหูอยู่ คุยกันอยู่ เล่าเรื่องที่เขาไปประชุมมา และรายงานผลว่าจะทำไงต่อ แล้วสักพักได้ยินเสียงเหมือนปัง เราคิดว่าน้องเหมือนโดนรถชน เขาบอกว่าหายใจไม่ออก ๆ แล้วก็มีเสียงคนเขมร 3-4 คน เราคิดว่าน้องเกิดอุบัติเหตุ เราบอกเขาว่าให้ทุบหน้าอกจะได้ดีขึ้น แต่เขาตะโกนบอกว่าหายใจไม่ออก ๆ อยู่ประมาณ 30 นาที แล้วสายก็ตัดไป เราโทรกลับไปที่ไลน์ทั้งสองเบอร์ ขอให้เขาแจ้งกลับมาด้วยว่าเกิดอะไรขึ้นเพราะพี่เป็นห่วง"
ทันทีหลังจากนั้นพี่สาวของนายวันเฉลิมได้ติดต่อกับคนไทยที่รู้จักในกัมพูชาให้ติดตามหาน้องชายที่เชื่อว่าได้รับอุบัติเหตุ แต่เพียง 20 นาที หลังจากนั้นก็ได้รับแจ้งว่าน้องชายถูกอุ้มหายตัวไป
"เขาบอกว่าพี่เจนทำใจดี ๆ นะ ต้าร์โดนอุ้มไป"
REUTERSคำบรรยายภาพนายสุรชัย แซ่ด่าน หนึ่งในผู้ลี้ภัยในลาว
น.ส.สิตานัน กล่าวว่าเมื่อไล่เรียงลำดับเหตุการณ์ทำให้เข้าใจได้ว่าเสียงดัง "ปัง" ที่เธอได้ยินนั้นไม่ใช่เสียงรถชน แต่น้องชายน่าจะถูก "ชาร์จ" ตัว และมีการวิ่งหนี เสียงที่ได้ยินน่าจะเป็นเสียงดังตึงตังขณะนายวันเฉลิมขัดขืนและวิ่งหนี ซึ่งในเวลาต่อมาเธอก็ได้รับข่าวเดียวกันนี้จากอีกหลายคน
ขณะนี้ น.ส.สิตานัน มีความเพียงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ว่าน้องชายจะมีชีวิตรอด
"คือว่าถ้าถามส่วนตัวว่าถ้าคนคิดต่างออกไปจากเรา จะต้องมีโทษขนาดนี้เลยเหรอ เราไม่ได้ฉกชิงวิ่งราว ฆ่าข่มขืนใคร แค่ติดต่าง ต้องฆ่ากันเลยเหรอ"
ตำรวจ 6 นาย ไปพบแม่ที่บ้าน
น.ส.สิตานัน กล่าวอีกว่าเมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 20.30 น. มีตำรวจ 6 นายเดินทางไปที่บ้านพักของมารดาวัย 63 ปี โดยตำรวจ 5 นาย ได้ลงจากรถไปสอบถามว่านายวันเฉลิมอยู่ที่บ้านที่จังหวัดอุบลราชธานีหรือไม่ ซึ่งแม่ของนายวันเฉลิมแจ้งว่าไม่ทราบ
"เขาไปถามแม่ว่าอยู่ไหม มาไหม เขาถามปกติ เขาคงได้รับคำสั่งให้มาดูว่ามาหรือไม่ แม่บอกว่าไม่ทราบ เมื่อก่อนตอนที่เกิดเรื่องใหม่ ๆ ตำรวจไปทุกอาทิตย์ ไปทุกเดือน แล้วก็เว้นระยะไป เราก็คิดว่ามันซาไปแล้วไม่น่าจะมีอะไร"
น.ส.สิตานัน กล่าวอีกว่าในช่วงที่นายวันเฉลิมอยู่ในกัมพูชา เธอและครอบครัวไม่เคยเดินทางไปเยี่ยม เพราะได้รับคำเตือนว่าไม่ปลอดภัย แต่เธอได้นัดพบน้องชายในต่างประเทศแทน ส่วนแม่ของนายวันเฉลิมไม่ได้พบหน้าลูกชายนับตั้งแต่เดินทางออกจากไทยเมื่อแปดปีที่แล้ว
"แม่เข้มแข็งมาก เราตัดสินใจบอกแม่ แม่บอกว่าทำใจตั้งแต่ 6 ปีที่แล้ว แต่แม่บอกว่าเขาเลือกทางเดินเอง แม่บอกว่าเกิดแก่เจ็บตายป็นเรื่องปกติ แม่เข้มแข็งกว่าเราอีก" พี่สาวของนายวันเฉลิม กล่าว
"จริง ๆ เรายังบอกเลยว่าไม่รู้จริง ๆ เขาไปอินกับการเมืองขนาดไหน เราไม่รู้ เพราะตั้งแต่เรียนจบ เขาก็ทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย เขาเป็นนักสังคม ทำงานสมาคม เป็นนักกิจกรรม"
ตัดสินใจไม่ไปยุโรป
วัฒน์ วรรลยางกูรคำบรรยายภาพจรัล ดิษฐาอภิชัย กับวัฒน์ ในฝรั่งเศส
พี่สาวของนายวันเฉลิมบอกอีกว่าน้องชายเข้าไปลี้ภัยในกัมพูชาตั้งแต่เกิดรัฐประหารในปี 2554 แต่ก่อนหน้านั้นได้อาศัยอยู่ในประเทศอื่นสองปี ในช่วงที่ผ่านมามีผู้ให้คำแนะนำว่าควรย้ายไปปักหลักในยุโรป ซึ่งนายวันเฉลิมได้มาขอคำปรึกษา แต่ทั้งสองเห็นตรงกันว่ามีลู่ทางทำธุรกิจในกัมพูชา มีเพื่อนและคนรู้จัก และตนเองก็สนใจแต่เรื่องการทำธุรกิจเท่านั้นจึงคิดว่าควรอยู่ในกัมพูชาต่อไป
"เราทางนี้จะบอกเลยว่าไม่ยุ่งการเมืองนะ เราคิดจะทำธุรกิจกันเท่านั้น เขาก็เลยไม่ไปยุโรป"
ชะตากรรมผู้ลี้ภัยไทยในประเทศเพื่อนบ้าน
ก่อนหน้านี้มีผู้ลี้ภัยหลายคนที่อาศัยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านหลายคนหายตัวไปและเสียชีวิต อาทิ นายภูชนะ (ชัชชาญ บุปผาวัลย์) และนักกิจกรรมที่ใช้ชื่อว่ากาสะลอง กับการหายตัวไปของนายสุรชัย แซ่ด่าน หรือสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ผู้ลี้ภัยคนสำคัญในลาว
พี่สาวของนายวันเฉลิมบอกอีกว่าน้องชายเข้าไปลี้ภัยในกัมพูชาตั้งแต่เกิดรัฐประหารในปี 2554 แต่ก่อนหน้านั้นได้อาศัยอยู่ในประเทศอื่นสองปี ในช่วงที่ผ่านมามีผู้ให้คำแนะนำว่าควรย้ายไปปักหลักในยุโรป ซึ่งนายวันเฉลิมได้มาขอคำปรึกษา แต่ทั้งสองเห็นตรงกันว่ามีลู่ทางทำธุรกิจในกัมพูชา มีเพื่อนและคนรู้จัก และตนเองก็สนใจแต่เรื่องการทำธุรกิจเท่านั้นจึงคิดว่าควรอยู่ในกัมพูชาต่อไป
"เราทางนี้จะบอกเลยว่าไม่ยุ่งการเมืองนะ เราคิดจะทำธุรกิจกันเท่านั้น เขาก็เลยไม่ไปยุโรป"
ชะตากรรมผู้ลี้ภัยไทยในประเทศเพื่อนบ้าน
ก่อนหน้านี้มีผู้ลี้ภัยหลายคนที่อาศัยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านหลายคนหายตัวไปและเสียชีวิต อาทิ นายภูชนะ (ชัชชาญ บุปผาวัลย์) และนักกิจกรรมที่ใช้ชื่อว่ากาสะลอง กับการหายตัวไปของนายสุรชัย แซ่ด่าน หรือสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ผู้ลี้ภัยคนสำคัญในลาว
วัฒน์ วรรลยางกูร ชีวิตผู้ลี้ภัยของกวีไกลบ้าน
ขณะที่ผู้ลี้ภัยที่ยังมีชีวิตอยู่คนอื่น ๆ เช่น นายวัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียน กับนักดนตรีกลุ่มไฟเย็น ได้เดินทางจากประเทศเพื่อนบ้านไปลี้ภัยในฝรั่งเศส เช่นเดียวกับนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ผู้ถูกออกหมายจับตามความผิดมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา และนายจรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ