ดูเนื้อความที่สองรัฐมนตรีตอบกระทู้ของ รังสิมันต์
โรม ในการประชุมสภาผู้แทนฯ เมื่อวานเรื่องการอุ้มหาย ‘วันเฉลิม’ ในพนมเปญแล้ว ไม่เพียง รมว.ยุติธรรม “ตอบในสิ่งที่ไม่ได้ถาม”
รมว.ต่างประเทศยังตอบ “ไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง” เยอะเลย
รังสิมันต์อภิปรายว่า วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์
ลี้ภัยการเมืองไปเขมรเพราะ “โดนออกหมายจับเนื่องจากไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช.
ต่อมาปรากฎว่าโดนแจ้งข้อหา พ.ร.บ.คอมฯ” แล้ว “กองทัพได้นำรายชื่อของวันเฉลิมเข้าไปอยู่ในผังล้มเจ้าด้วย”
สมศักดิ์ เทพสุทิน ตอบว่า “กระทรวงต่างประเทศและรัฐบาลกัมพูชา
ยังไม่ยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่”
แล้วก็ไพล่ไปพูดถึงเรื่องร่าง พรบ.ป้องกันและปราบปรามให้บุคคลสูญหาย อ้างว่าล่าช้าเพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติหลักเกณฑ์ยุบยับ
ถือโอกาสโฆษณาชวนเชื่อเสียเลย “รัฐบาลมีความตั้งใจจริงและต้องการให้กฏหมายได้ใช้ประโยชน์
และดำเนินการอย่างเป็นรูปรรมโดยเร็วที่สุด” ขนาดที่ “นายกฯ ได้ออกคำสั่งพิเศษ ลล
ที่ 338/62 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการร้องทุกข์
กรณีถูกกระทำทรมานและทำให้สูญหายแล้ว” ด้วย
รังสิมันต์ก็ได้แต่เอิ่ม แท้งกิ้ว
แต่ที่ถามนั่นน่ะเรื่องผู้ลี้ภัยที่หายไป ๘ คน เป็นศพแล้วสอง
โดยเฉพาะวันเฉลิมนี่โดนปักหัวด้วย ๑๑๒ ทั้งที่ยังไม่ได้ฟ้อง อย่างนี้เป็นไปได้ไหม “เป็นมูลเหตุที่ถูกอุ้มหาย”
สมศักดิ์ก้อดันลุกขึ้นอ่านรายชื่อ ๘ ผู้สูญหาย คนละเรื่องกันเลย
รังสิมันต์จึงต้องอ่านรายชื่อ ๙ คนที่เป็นจริงเกี่ยวข้อง
๑๑๒ หายไปในช่วงที่ประยุทธ์และ คสช.ครองอำนาจ อย่างเช่น สุรชัย ด่านฯ ชูชีพ
ชีวะสุทธิ์ และสยาม ธีรวุฒิ งี้ แถมแจ้งให้ทราบด้วยว่ามีกระแสข่าวจากต่างประเทศระบุบุคคลที่อาจเกี่ยวข้องด้วย
ถ้าใครตามไปดูเพจที่รังสิมันต์อ้างถึง Andrew
MacGregor Marshall นั่นเพิ่งโพสต์บนเฟชบุ๊คว่า “เที่ยวบินหมายเลข TG933 ขึ้นบินจากสนามบินชาร์ลส์ เดอโกล ในกรุงปารีส
โดยมีผู้โดยสารเพียง ๔ คนบนเครื่อง จักรภพ ภูริเดช กับผู้ร่วมงานอีกสามคนมาลงที่สนามบินสุวรรณภูมิในเวลาบ่าย
๑๓๐๑ น. ของวันที่ ๒ มิ.ย.”
ดอน ปรมัตถ์วินัย ตอบในประเด็นนั้นว่า “คนที่ท่านได้เอ่ยชื่อมา...ก็คือตัวปัญหาเอง
และหลายๆ เรื่องที่เรารับทราบมาล้วนแล้วแต่เป็น fake news” ซ้ำอ้างประเทศกัวเตมาลา “ซึ่งอยู่ไกลมากก็ยังเดินทางมาพูดคุยกับเราในเรื่องนี้”
เรื่องดังไปถึงกัวเตมาลาโน่น
กระทรวงต่างประเทศน่าจะจัดการสืบเสาะเอาข้อเท็จจริงจากพื้นที่มายันกับเขาหน่อยนะ
ดีกว่าพูดลอยๆ ไม่มีหลักฐานว่าเป็นเฟคนิวส์
นี่เป็นหนึ่งในหลายอย่างที่บักดอนถ้าไม่ ‘ปด’ ก็ปล่อยเฟคนิวส์เสียเองกลางสภา
เช่นเดียวกับที่พูดถึงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย
“ม.๑๑๒ เป็นเหมือนกับกฎหมายที่มีอยู่ในทุกประเทศ ในความหมายของการเป็นกฎหมายเฉพาะถิ่น
เฉพาะที่ เฉพาะตามความจำเป็นของประเทศนั้นๆ”
อีกทั้งยังอ้างว่ากฎหมายนี้คนไทยในประเทศ
กลุ่มใหญ่ ๖๗ ล้านคน “ไม่เห็นเป็นปัญหา...อีกกลุ่มนึงอาจจะประมาณไม่ถึง ๑๐๐ คนที่เห็นเป็นปัญหา”
ฮ้า จริงเหรอ ขนาดเพจแอนดรูว์นั่นคนตามเป็นแสน สศจ.กว่าสองแสน ของปวิน เกียวโต อีกสองแสน
อันนั้นปล่อยผ่านไป ถือเสียว่าบักดอนก็งี้
ขี้ข้า คสช. แต่มีประเด็นที่ชั่วช้ายิ่งกว่า เพราะบิดเบือนความจริงทางวิชาการ
เดี๋ยวคนทั่วโลกจะหลงผิดว่าคนไทย ๖๗ ล้านคนสมองนิ่ม จูงจมูกง่าย พูดได้ไงทูต ๒๒
ประเทศไปนั่งคุยแล้วพยักหน้างกๆ
ปิยบุตร แสงกนกกุล ก็เลยนำ “สำรวจกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ในหลากหลายประเทศ”
มาชี้แจงว่านี่นะ “ความผิดฐาน Lèse Majesté มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
เพื่อเป็นเครื่องมือในกระบวนการทำให้องค์อธิปัตย์ศักดิ์สิทธิ์...
เพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น”
จนกระทั่ง Montesquieu มาประจานว่า “ทำให้รัฐบาลใช้อำนาจโดยมิชอบ...เสนอว่าโทษต้องได้สัดส่วนกับลักษณะของการกระทำที่เป็นความผิด
และไม่สนับสนุนโทษประหาร”
ปิยบุตรยังแจกแจงให้บักดอนตาสว่างว่า
ญี่ปุ่นและอังกฤษไม่มีกฎหมายหมิ่นกษัตริย์นะ เขาใช้กฎหมายหมิ่นประมาทธรรมดาเท่ากันทั้งเจ้าและไพร่
ส่วนกลุ่มยุโรปตะวันออก เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ค นอร์เวย์ สวีเด็น สเปน
มีแต่ไม่ใช้หรือใช้น้อยมาก
อย่างสเปนโทษดูหมิ่นกษัตริย์
ถ้าถึงขั้นร้ายแรงจำคุก ๖ เดือนถึง ๒ ปี แถมเคยมีคดีหนึ่งที่ผู้ต้องหาถูกลงโทษจำคุก
๑ ปี แต่ถูกศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปพิพากษากลับว่าสเปนลงโทษผู้ต้องหาหมิ่นฯ
เป็นการละเมิดเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของเขา
ศาลยุโรปสั่ง “ให้รัฐสเปนชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทางจิตใจให้แก่นาย
Otegi Mondragon เป็นจำนวนเงิน ๒๐,๐๐๐ ยูโร” แล้วยังให้ “ชดใช้ค่าธรรมเนียมศาลและค่าใช้จ่ายจากการดำเนินคดีในศาลเป็นจำนวนเงิน
๓,๐๐๐ ยูโร” ด้วย
ดังนั้นที่บักดอนบอกว่า “ใครๆ ก็มี
ประเทศไหนๆ ก็ใช้ เป็นข้ออ้างที่ไม่มีน้ำหนัก จนไม่อาจถูกนำมายกตอบโต้ได้อีกต่อไป”
จำใส่เศียรไว้นะ