หมุดคณะราษฎร
จุดอ่านคำประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1
📌 ตำแหน่งปี 2563: https://goo.gl/maps/YXS9Ued64BGK8t5c9 (หายแบบไร้ร่องรอย)
📌 สามารถดูหมุดคณะราษฎรผ่าน Google Street View ในปี 2557 ได้ที่ : https://goo.gl/maps/QuwegUeHsPz6CZKP7
การเดินทาง: รถเมล์สาย 70, 72, 503 | รถไฟฟ้า BTS สถานีพญาไท ห่างออกไป 2.87 กม.
หมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ หรือ “หมุดคณะราษฎร” เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ณ ตำแหน่งที่ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) อ่านประกาศคณะราษฎรเมื่อรุ่งสางวันที่ 24 มิถุนายน 2475
ที่หมุดมีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ" จัดทำขึ้นโดยกระทรวงมหาดไทย มีพีธีฝังหมุดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2479 โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นและหัวหน้าคณะราษฎรเป็นผู้ฝังหมุด โดยตอนหนึ่งกล่าวสุนทรพจน์ว่า
“ข้าพเจ้าขอถือโอกาสวางหมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ ณ ที่นี้ ขอให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม จงสถิตย์เสถียรอยู่คู่กับประเทศชาติชั่วกัลปาวสาน เทอญ”
ปัจจุบันหมุดคณะราษฎรหายไปแล้วตั้งแต่หลังวันที่ 5 เมษายน 2560 โดยต่อมาในวันที่ 8 เมษายน นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ทำวิจัยเรื่องหมุดคณะราษฎรพบว่ามีหมุดใหม่มาแทนที่โดยในหมุดใหม่ดังกล่าวได้เขียนข้อความว่า “ขอให้ประเทศสยามจงเจริญยั่งยืนตลอดไป ประชาชนสุขสันต์หน้าใส เพื่อเป็นพลังของแผ่นดิน” และ “ความนับถือรักใคร่ในพระรัตนตรัยก็ดี ในรัฐของตนก็ดีในวงศ์ตระกูลของตนก็ดี มีจิตซื่อตรงในพระราชาของตนก็ดี ย่อมเป็นเครื่องคำให้รัฐของตนเจริญยิ่ง”
— at ลานพระบรมรูปทรงม้า พระราชวังดุสิต.
...
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
หมุดหมายประชาธิปไตยและพื้นที่ชุมนุมทางการเมือง
การเดินทาง: รถเมล์สาย 2, 12, 15, 44, 60, 70, 79, 82, 203, 503, 511 | เรือด่วนคลองแสนแสบ ท่าสะพานผ่านฟ้าลีลาศ | MRT สถานีสามยอด ประตูทางออก 3
📌 https://goo.gl/maps/VwKuXnAdfpgm2wqU6
พิกัด N 13.756667 E 100.501667
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นผลงานการออกแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล อันเป็นแบบที่ชนะการประกวดการออกแบบอนุสาวรีย์แห่งนี้ การออกแบบได้นำสถาปัตยกรรมแบบไทยมาผสมผสาน ตรงกลางเป็นสมุดไทยที่สื่อถึงรัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า นอกจากการเป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงประชาธิปไตยนั้น อนุสาวรีย์แห่งนี้ ยังเป็นหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ของกรุงเทพมหานครและประเทศไทยอีกด้วย
ในส่วนของครีบ 4 ด้าน สูงจากแท่นพื้น 24 เมตร มีรัศมียาว 24 เมตร หมายถึง วันที่ 24 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง พานทูนฉบับรัฐธรรมนูญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดป้อม กลางตัวอนุสาวรีย์ สูง 3 เมตร หมายถึง เดือน 3 หรือ เดือนมิถุนายน เนื่องจากในขณะนั้นนับเมษายนเป็นเดือนแรกของปี โดยมิถุนายนเป็นเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และยังหมายถึง อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญ คือนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ
ปืนใหญ่จำนวน 75 กระบอก ปากกระบอกปืนฝังลงดิน โดยรอบฐานของอนุสาวรีย์ที่มีโซ่เหล็กร้อยไว้ หมายถึงปีที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ พ.ศ. 2475 ส่วนโซ่ที่ร้อยไว้ด้วยกันหมายถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ
ลายปั้นนูนที่ฐานครีบทั้ง 4 เน้นถึงเรื่องราวการดำเนินงานของคณะราษฎรตอนที่นัดหมายและแยกย้ายกันก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
พระขรรค์ 6 เล่ม ที่รายล้อมรอบป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ หมายถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
อ่างตรงฐานปีกทั้ง 4 ด้านเป็นรูปงูใหญ่ หมายถึง ปีที่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นปีมะโรง หรือ ปีงูใหญ่
หลังยุคของคณะราษฎรไปแล้ว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยยังคงเป็นพื้นที่สำคัญของการชุมนุมทางการเมืองที่สำคัญหลายครั้ง อาทิ การเคลื่อนขบวนผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2516 ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 การชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปี 2551 การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติปี 2553 และการชุมนุมของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ปี 2556-2557 เป็นต้น — in อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย.
...
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
สถานที่รำลึกการปราบกบฏบวรเดชที่ถูกยกย้ายบ่อยครั้ง
การเดินทาง: รถเมล์สาย 26, 34, 51, 59, 95, 107, 114, 185, 503, 522, 524, 543 | BTS สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
📌 https://goo.gl/maps/ddQDv4qeG3R5CJCX9 (หายไปจากวงเวียนหลักสี่ ไม่ทราบอยู่ไหน)
📌 สามารถดูอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญผ่าน Google Street View ในปี 2561 ได้ที่ : https://goo.gl/maps/yMXWeMHnoUwMWvwT7
พิกัด N 13.875736 E 100.597110
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่ ณ วงเวียนหลักสี่ จุดตัดระหว่างถนนพหลโยธินกับถนนแจ้งวัฒนะและถนนรามอินทรา ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญจัดสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดชเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยมีการบรรจุอัฐิทหารและตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ภายในรวม 17 นาย
ทั้งนี้ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียง 1 ปีกว่า ในวันที่ 11 ตุลาคม 2476 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารยกกำลังทหารมาจากหัวเมืองเรียกตัวเองว่า "คณะกู้บ้านกู้เมือง" เข้ามายึดพื้นที่ดอนเมือง ส่วนฝ่ายรัฐบาลตั้งกองอำนวยการปราบกบฏขึ้นที่สถานีรถไฟบางซื่อข้างโรงงานปูนซีเมนต์ไทย โดยการสู้รบเป็นไปตลอดแนวเส้นทางรถไฟจนถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2476 ฝ่ายกบฏที่ตั้งกำลังอยู่ที่สถานีรถไฟหลักสี่ได้รุกไล่จนฝ่ายรัฐบาลถอยร่นและเข้ายึดคลองบางเขนไว้ได้ แต่พอถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2476 ฝ่ายรัฐบาลได้หนุนกำลังพร้อมอาวุธหนักขึ้นรถไฟจนประชิดแนวหน้าฝ่ายกบฏทำให้ต้องถอยกลับไปตั้งหลักที่ปากช่อง โดยฝ่ายกบฏถูกฝ่ายรัฐบาลตามไปปราบถึงสถานีรถไฟหินลับ-ทับกวาง และปากช่อง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก พระองค์เจ้าบวรเดชขึ้นเครื่องบินหนีลี้ภัยไปไซ่ง่อน และฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามฝ่ายกบฏได้ในที่สุด โดยนักโทษจากเหตุกบฏบวรเดชถูกส่งตัวไปขังที่เกาะตะรุเตา จ.สตูล
ภายหลังเหตุการณ์ รัฐบาลได้จัดให้มีรัฐพิธีแก่ผู้เสียชีวิตทั้ง 17 คนที่เสียชีวิตในการต่อสู้ปราบปรามกบฏครั้งนั้น โดยจัดสร้างเมรุชั่วคราวที่ท้องสนามหลวง ต่อมาในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ได้มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์ปราบกบฏหรืออนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่บริเวณหลักสี่ บางเขน ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สู้รบ เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อเพียงตามแหล่งที่ตั้งว่า "อนุสาวรีย์หลักสี่”
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญออกแบบลักษณะเป็นเสาและสื่อถึงหลักทางการเมืองของรัฐบาล 5 ประการ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กองทัพ และรัฐธรรมนูญ เสาของอนุสาวรีย์มีลักษณะคล้ายลูกปืน สื่อความหมายถึงกองทัพ ประดับกลีบบัว 8 ซ้อนขึ้นไป 2 ชั้น บนฐานรูปแปดเหลี่ยมซึ่งหมายถึงทิศทั้งแปดตามคติพราหมณ์ ฐานของอนุสาวรีย์มี 4 ทิศ มีบันไดวนรอบฐาน ส่วนบนสุดของเสาอนุสาวรีย์เป็นพานรัฐธรรมนูญซึ่งหมายถึงรัฐธรรมนูญ
ผนังของเสาแต่ละด้านของอนุสาวรีย์มีการจารึกและประดับในเรื่องราวที่ต่างกันไป โดยผนังด้านทิศตะวันตกหรือผนังที่อยู่ด้านหน้าของถนนพหลโยธินมีการจารึกรายนามของทหารและตำรวจ 17 นายที่เสียชีวิต ด้านทิศใต้เป็นรูปแกะสลักของครอบครัวชาวนาคือ พ่อ แม่ และลูก โดย ผู้ชายถือเคียวเกี่ยวข้าว ผู้หญิงถือรวงข้าว และเด็กถือเชือก ซึ่งสื่อถึงชาติและประชาชนในชาติ ด้านทิศเหนือเป็นรูปธรรมจักรซึ่งหมายถึงศาสนา และด้านทิศใต้เป็นแผ่นทองเหลืองจารึกโคลงสยามานุสติ ซึ่งเป็นโคลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
อนึ่งบริเวณอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญมีการปรับปรุงบ่อยครั้ง โดยในปี 2536 กรมทางหลวงได้ปรับปรุงทางจราจรบริเวณอนุสาวรีย์โดยทุบพื้นที่โดยรอบเหลือเพียงแต่เสาอนุสาวรีย์ ทำเป็นสี่แยก ต่อมาได้ยกเลิกการใช้สี่แยกดังกล่าวเนื่องจากได้ขุดอุโมงค์ลอดอนุสาวรีย์แทน
ในปี 2553 กรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามแยกเพื่อเชื่อมถนนแจ้งวัฒนะ-รามอินทรา จึงมีการเคลื่อนย้ายตัวอนุสาวรีย์ออกไปจากบริเวณเดิม ท่ามกลางการคัดค้านของนักโบราณคดีและชาวบ้าน
ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และผู้เกี่ยวข้องได้ทำพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบำเพ็ญอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพชนทหารหาญก่อนที่จะย้ายที่ตั้งอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ก่อนที่จะมีการเคลื่อนย้ายจากตำแหน่งเดิมไปทางทิศเหนือ 45 องศา ไปทางถนนพหลโยธินฝั่งขาออกไปทางสะพานใหม่ เพื่อไม่ให้กระทบกับโครงสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายมาจากรถไฟฟ้า BTS สถานีหมอชิต
ล่าสุดวันที่ 28 ธันวาคม 2561 พบว่าอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญหายไปจากวงเวียนหลักสี่ เหลือเพียงฉากกั้นแต่ไม่ปรากฏตัวอนุสาวรีย์ฯ แล้ว — at วงเวียน หลักสี่.
ชมต่อ
ตำบลนัดพบ
จุดนัดพบของพระยาพหลพลพยุหเสนาและคณะราษฎรสายทหาร
ไปรษณียาคาร
ควง อภัยวงศ์ นำคณะผู้ก่อการตัดสายโทรศัพท์-โทรเลข
วัดแคนอก
สถานที่ประชุมลับคณะราษฎรก่อนร่วมกันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตลาดวิชาและมหาวิทยาลัยเปิดยุคคณะราษฎร
วัดพระศรีมหาธาตุ
ชื่อเดิม “วัดประชาธิปไตย” และสถานที่เก็บอัฐิสมาชิกคณะราษฎร
ถนนทองหล่อ
นามระลึกถึงหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร-เยี่ยมสถาบันปรีดี พนมยงค์
ตรอกกัปตันบุช
สำนักงานหนังสือพิมพ์ ‘ไทยใหม่’ ยุคเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตย
https://www.facebook.com/Prachatai/photos/pcb.10157528515961699/10157528508651699/?type=3&theater