วันเสาร์ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๙
พบ ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล
ในงานเปิดศิลปกับสังคม ๔๐ ปี ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
แสดงปาฐกถาศิลปวัฒนธรรม หัวข้อ
..
" งานทางปัญญาในสังคมอับจนปัญญา "
..
..
เริ่มเวลา ๑๓.๓๐ น.เป็นต้นไป
ในพิธีเปิดงานศิลปกับสังคม ๔๐ ปี ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
---------------------------------------------------------
ศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล
นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวไทย
เกิดและโตที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
..
อดีตเป็นผู้นำนักศึกษาซึ่งถูกจับกุมในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
..
ต่อมาย้ายไปสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา
..
ธงชัยมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและวิทยาการของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคต้นสมัยใหม่และสมัยใหม่ (คริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้น 20)
..
โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการปะทะกันทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับอารยธรรมตะวันตก
..
ประวัติศาสตร์ความคิดและการเมืองวัฒนธรรมของสยาม/ไทย ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงปัจจุบัน
..
ประวัติศาสตร์ชาตินิยม ประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ความทรงจำ ประวัติศาสตร์บาดแผล และวิธีที่สังคมจัดการกับอดีตที่เป็นปัญหาเหล่านั้น
..
ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมงานล่วงหน้าได้ที่
https://goo.gl/forms/jspIL3x6Lonr0kJu2
..
..
ท่านสามารถอ่าน "บันทึกของผู้อยู่ในเหตุการณ์เดือนตุลา เช้าวันพุธ" ได้ที่
https://goo.gl/Hk8MuC
--
ติดตามข่าวสาร เทศกาลศิลปะนานาพันธ์ ครั้งที่ ๙ (ศิลปะกับสังคม) ได้ที่
https://goo.gl/03VQHE
สถาบันปรีดี พนมยงค์ - Pridi Banomyong Institute
ooo
29 มกราคม 2559 เป็นวันสุดท้ายที่นายจินดา ทองสินธุ์ มีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้
นายจินดาและนางลิ้ม ทองสินธุ์ ไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเช้าวันที่ 6 ตุลา 2519
นายจินดาและนางลิ้ม ทองสินธุ์ ไม่ใช่นักกิจกรรม ไม่ใช่นักการเมือง ไม่ใช่ผู้เคลื่อนไหวชุมนุมต่อต้าน
แต่ลูกชายของนายจินดาและนางลิ้ม เป็นนักศึกษา เป็นนักแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
เป็นนักกิจกรรม
กิจกรรมสุดท้ายที่ “จารุงพงษ์ ทองสินธุ์” เข้าร่วม คือ การชุมนุมในช่วงต้นเดือนตุลา
เขาไม่เคยกลับห้องเช่า
เขาไม่เคยปรากฎกายอีกเลยหลังจากเหตุการณ์นั้น
เมื่อไม่มีศพ ไม่มีข่าวคราว พ่อจินดาและแม่ลิ้มก็เชื่อว่า “ลูก” ยังมีชีวิตอยู่
อาจจะยังอยู่ในป่าเขา
อาจจะยังอยู่ที่ไหนสักแห่งบนโลกใบนี้
และจนถึงวันนี้แม้จะมีรูปชายถูกลากไปมาบนสนามฟุตบอลธรรมศาสตร์
แต่ภาพนั้น และถ้อยคำที่บอกว่า “นั่นคือจารุพงษ์” ก็ใช้เวลายาวนานกว่ายี่สิบปี
ในการเดินทางไปถึง “พ่อกับแม่”
นั่นทำให้เรียกได้ว่า การเดินทางตามหาลูกของพ่อจินดา
ใช้เวลายาวนานจนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต
ตามปกติแล้ว ญาติของผู้เสียชีวิตและครอบครัว
ไม่ค่อยอยากพูดถึงเรื่องราว ความเจ็บช้ำปวดร้าวที่เกิดขึ้น
แต่พ่อจินดา แม้จะอยู่ในวัยชรา ก็ดั้นด้นมาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “ทุกปี”
มาเพื่อพูดถึงลูกชายคนแรกของพ่อ
มาเพื่อพูดถึงความทรงจำของการตามหา
และหลายครั้งมาเพื่อบอกว่า “ไม่อยากให้เกิดเรื่องเช่นนี้อีก ไม่ว่าจะเป็นลูกใคร”
ในปีนี้ ซึ่งเป็นปีที่เหตุการณ์ 6 ตุลา มีอายุครบ 40 ปี
เราจะไม่เห็นพ่อจินดาอีกแล้ว
เพราะพ่อคงได้ไปพบกับพี่จารุพงษ์ ที่ไหนสักแห่ง ที่ห่างไกลออกไป
คงเหลือแต่พวกเรา ที่ยังสามารถมาได้
เพื่อทบทวนความทรงจำ ความเจ็บปวด ความรัก ความฝัน ของเดือนตุลา
และเพื่อจะเรียนรู้ และหยุดยั้งอาชญากรรมที่มีต้นเหตุมาจากการสร้างเกลียดชัง
เพื่อไม่ให้มี “พ่อแม่” ที่ต้องใช้เวลาทั้งชีวิตตามหาลูก
เพื่อไม่ให้มี “ลูก” ของใครต้องตาย
ในวาระ 40 ปี 6 ตุลา
“แล้วพบกันที่ธรรมศาสตร์”
---
ขอขอบคุณภาพจาก : นิตยสารสารคดี ฉบับครบรอบ 20 ปี 6 ตุลา, ตุลาคม 2539
อ่านบทคัดย่อบันทึกของพ่อจินดา เกี่ยวกับการตามหาจารุพงษ์ที่เริ่มขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 6 ตุลา 2519 ได้ที่ : http://bit.ly/2cwTdOI
6 ตุลา 2519 เราไม่ลืม