มันเฮงซวยจริงๆ ประเทศนี้ถูกขอร้องให้เซ็นต์ก็ได้ทั้งๆที่ข้อเท็จจริงมันยังสรุปไม่เสร็จและข้ามขั้นตอนแต่ถูกขอร้องแกมบังคับแบบนี้จะบอกว่าความยุติธรรมมันมีอยู่จริงคงต้องเปลี่ยนความคิดใหม่เสียแล้วมั้ง!!!
-------<<<<>>>>>---------
เขา...สั่งให้ช่วยเซ็น (เรียกค่าเสียหายจำนำข้าว) http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/639004
อาณาจักรไบกอน Returns
ooo
เขา...สั่งให้ช่วยเซ็น
โดย : เฉลา กาญจนา
กรุงเทพธุรกิจ
กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 22 กันยายน 2559
อภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ถึงต้องควงแขนลงนามหนังสือคำสั่ง ให้นำเงินชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามคำสั่งทางปกครองกรณีการขายข้าวรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ใน 4 สัญญา กับนักการเมืองและข้าราชการเบ็ดเสร็จ 6 ราย เป็นการ “ลงนามคู่”
คนหนึ่งลงนามในฐานะได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี อีกคนลงนามในฐานะได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
กว่าจะตกลงปลงใจที่จะจรดปลายปากกาเซ็นกันได้แทบ “กระอักเลือด” เพราะไม่ต้องการที่จะให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องตามมา โดยเฉพาะ ชุติมา บุณยประภัศร ผู้ซึ่งไม่คิดที่จะอ่อนข้อให้ใคร และรู้ตัวดีว่าเหลือเวลาไม่กี่วันก็จะเกษียณอายุราชการอยู่แล้ว
ทำไม? ต้องมานั่งรับกรรมกับเรื่องอย่างนี้ ที่สำคัญเมื่อจรดปลายปากกาไปแล้ว บุคคลที่ถูกดำเนินคดีก็ล้วนแล้วแต่เป็นเพื่อนๆ กันทั้งนั้น
การศึกษาข้อกฎหมายถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่การ “ถูกกล่อมให้เซ็นๆ ไปก่อน" เชิงขอร้องต่างหาก ที่เป็นประเด็นใหญ่ที่น่าคิด
ว่ากันว่า...งานนี้มี “คุณขอร้อง ให้ช่วยเซ็นไปเถอะ" หากไม่เซ็นหรือยังดื้อดึง มีหวังบาดเจ็บไปถึงหัวหน้าทีมก็เป็นได้ เป็นที่น่าสังเกตว่า งานนี้มีการจัดการในช่วงที่ นายกฯประยุทธ์ จันทร์โอชา ติดภารกิจเดินทางไปต่างประเทศพอดิบพอดี เท่ากับว่าต้องทำให้นายกฯเห็นว่าได้ลงมือจัดการแล้ว
เช่นเดียวกับผู้เกี่ยวข้องในส่วนของกระทรวงการคลัง อีกไม่นานเราก็จะเห็น มนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางละเมิด กรณี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปล่อยปละละเลยโครงการจำนำข้าวจนเกิดความเสียหายต่อรัฐ ก็ต้องจรดปลายปากกาเซ็น ดีไม่ดีอาจต้องเป็นการลงนามคู่อีกเช่นกัน
มีหวังงานนี้บอกได้เลย “คุณขอร้อง” มาอีกเช่นกัน หากเพิกเฉยในที่สุด อาจจะทำให้หัวหน้าทีมตกที่นั่งลำบากก็เป็นได้
ยิ่งช่วงนี้อยู่ในภาวะที่ต้องทำคะแนนแต้มต่อเพื่อความอยู่รอด ฉะนั้นลูกทีมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข้าว มิอาจจะนิ่งเฉยอยู่ได้ต้องจัดการเพื่อ “เก้าอี้นายใหญ่” นั่นเอง
อภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ถึงต้องควงแขนลงนามหนังสือคำสั่ง ให้นำเงินชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามคำสั่งทางปกครองกรณีการขายข้าวรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ใน 4 สัญญา กับนักการเมืองและข้าราชการเบ็ดเสร็จ 6 ราย เป็นการ “ลงนามคู่”
คนหนึ่งลงนามในฐานะได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี อีกคนลงนามในฐานะได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
กว่าจะตกลงปลงใจที่จะจรดปลายปากกาเซ็นกันได้แทบ “กระอักเลือด” เพราะไม่ต้องการที่จะให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องตามมา โดยเฉพาะ ชุติมา บุณยประภัศร ผู้ซึ่งไม่คิดที่จะอ่อนข้อให้ใคร และรู้ตัวดีว่าเหลือเวลาไม่กี่วันก็จะเกษียณอายุราชการอยู่แล้ว
ทำไม? ต้องมานั่งรับกรรมกับเรื่องอย่างนี้ ที่สำคัญเมื่อจรดปลายปากกาไปแล้ว บุคคลที่ถูกดำเนินคดีก็ล้วนแล้วแต่เป็นเพื่อนๆ กันทั้งนั้น
การศึกษาข้อกฎหมายถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่การ “ถูกกล่อมให้เซ็นๆ ไปก่อน" เชิงขอร้องต่างหาก ที่เป็นประเด็นใหญ่ที่น่าคิด
ว่ากันว่า...งานนี้มี “คุณขอร้อง ให้ช่วยเซ็นไปเถอะ" หากไม่เซ็นหรือยังดื้อดึง มีหวังบาดเจ็บไปถึงหัวหน้าทีมก็เป็นได้ เป็นที่น่าสังเกตว่า งานนี้มีการจัดการในช่วงที่ นายกฯประยุทธ์ จันทร์โอชา ติดภารกิจเดินทางไปต่างประเทศพอดิบพอดี เท่ากับว่าต้องทำให้นายกฯเห็นว่าได้ลงมือจัดการแล้ว
เช่นเดียวกับผู้เกี่ยวข้องในส่วนของกระทรวงการคลัง อีกไม่นานเราก็จะเห็น มนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางละเมิด กรณี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปล่อยปละละเลยโครงการจำนำข้าวจนเกิดความเสียหายต่อรัฐ ก็ต้องจรดปลายปากกาเซ็น ดีไม่ดีอาจต้องเป็นการลงนามคู่อีกเช่นกัน
มีหวังงานนี้บอกได้เลย “คุณขอร้อง” มาอีกเช่นกัน หากเพิกเฉยในที่สุด อาจจะทำให้หัวหน้าทีมตกที่นั่งลำบากก็เป็นได้
ยิ่งช่วงนี้อยู่ในภาวะที่ต้องทำคะแนนแต้มต่อเพื่อความอยู่รอด ฉะนั้นลูกทีมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข้าว มิอาจจะนิ่งเฉยอยู่ได้ต้องจัดการเพื่อ “เก้าอี้นายใหญ่” นั่นเอง