จดหมายถึงนกพิราบ
เขียนถึงรินดา
พี่หลินถูกทหารใช้มาตรา 44 อุ้มตัวเข้าไปราบ 11 หนึ่งคืน ก่อนนำตัวมาส่งให้กองปราบ
พี่หลินเพิ่งสูญเสียสามีไปเมื่อไม่กี่ปีก่อน พี่หลินเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ต้องแบกภาระครอบครัวทั้งลูกวัย 13 และ 7 ปี ด้วยตัวคนเดียว
ตอนนี้สภาพจิตใจอยู่ในอาการที่ย่ำแย่มาก
ในการแถลงข่าวเธอยืนยัน
"ไม่ได้มีเจตนาสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายแก่ชาติบ้านเมือง เพียงแต่เห็นว่าในฐานะเป็นประชาชนคนหนึ่งมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหรือผู้นำรัฐบาลได้ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่เพราะเป็นบุคคลสาธารณะ แต่ข้อความอาจจะมีข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นจริงอยู่ จึงอยากเตือนให้ประชาชนระวังการแสดงออกที่หมิ่นเหม่ต่อการผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ แต่ก็ยังเชื่อว่าประชาชนยังคงต้องมีสิทธิในการแสดงออกอยู่"
นอกจากนี้เธอยังถูกฝ่ายความมั่นคงนำไปโยงกับคดีอเนกซานฟรานและกรณีคดีมีผู้โพสต์รัฐประหารซ้อนในครั้งก่อนทั้งๆ ที่เธอยืนยันว่าไม่ได้รู้จัก แค่แชร์ข่าวจากกลุ่มไลน์ตามปกติคนทำธุรกิจที่ต้องดูแนวโน้มการเมืองประกอบการลงทุน
คืนนี้เธอต้องนอนอยู่หลังลูกกรง ในความผิด"หมิ่นประมาทนายกรัฐมนตรี" ซึ่งในยุครัฐบาลเผด็จการทหาร ถูก"ศาลทหาร"ตีความกลายเป็น"ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ" ไปได้อย่างไรก็มิทราบได้
เธอเป็นแค่แม่เลี้ยงเดี่ยวหาเช้ากินค่ำ จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐไปได้อย่างไร
#พลเรือนต้องไม่ขึ้นศาลทหาร
ร่วมลงชื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวคุณรินดา หรือขั้นต่ำสุดให้เธอได้รับสิทธิประกันตัวสู้คดีที่นี่
https://www.change.org/p/พลเมือง-เรียกร้องให้สิทธิประกันตัว-รินดา-ผู้ต้องหาในคดีโพสต์-ต่อ-พล-อ-ประยุทธ์-โอนเงินไปสิงคโปร์
ooo
เรียกร้องให้สิทธิประกันตัว 'รินดา' ผู้ต้องหาในคดีโพสต์(ต่อ) 'พล.อ.ประยุทธ์' โอนเงินไปสิงคโปร์
จากกรณีศาลทหารไม่อนุญาตให้ประกันตัว ‘รินดา’ แม่เลี้ยงเดี่ยว ที่มีลูกสาวและลูกชายวัย13 และ 7 ปี ซึ่งเธอตกเป็นผู้ต้องหาในคดีโพสต์(ต่อ)ในเฟซบุ๊ก กล่าวหา พล.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และภรรยาโอนเงินไปสิงคโปร์หมื่นล้าน แม้ตำรวจจะไม่ได้คัดค้านการประกันตัว และเธอเองก็ยืนเงินสด 100,000 บาทเป็นหลักทรัพย์ในการประกันตัวแล้วก็ตาม
โดยศาลทหารให้เหตุผลว่าหากปล่อยชั่วคราวอาจเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่การสอบสวน จึงไม่อนุญาต
สำหรับ ‘รินดา’ เธอถูกเจ้าหน้าที่ทหารนอกเครื่องแบบบุกจับกุมที่บ้านพักจังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่ 8 ก.ค.ไปควบคุมตัวที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ 1 คืนก่อนนำส่งกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ในวันต่อมา ตำรวจแจ้งข้อหาว่าว่า ‘รินดา’ กระทำความผิดโพสต์ข้อความดังกล่าวในเฟซบุ๊ก วันที่ 6 ก.ค.เวลา 06.41 น. มีความผิด 3 ข้อหา คือ มาตรา 14(2) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ,มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา กระทำให้ปรากฎแก่ประชาชน ด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่น อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญหรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริตเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบให้เกิดในราชอาณาจักร โทษจำคุกสูงสุด 7 ปี , มาตรา 348 ประมวลกฎหมายอาญา แกล้งบอกเล่าความเท็จให้เลื่องลือจนเป็นเหตุให้ประชาชนตื่นตกใจ (อ่านรายละเอียดที่ : http://prachatai.org/journal/2015/07/60289)
เราเห็นว่า
1. การโพสต์ต่อของเธอเบา ไม่กระทบความมั่นคง : สิ่งที่เธอโพสต์ต่อดังกล่าวนอกจากจะไม่ร้ายแรงหรือกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ เนื่องจากขณะนี้(19.00 น. 10 ก.ค.58)ข้อความที่เธอโพสต์ต่อดังกล่าวมีผู้แชร์ต่อเพียง 50 แชร์และ 50 ไลค์เท่านั้นแล้ว ซึ่งถือว่ามีผู้รับรู้น้อยมาก รัฐเองก็มีเครื่องมืออื่นการแก้ปัญหา เช่น การชี้แจงต่อสื่อมวลชนเพื่อสร้างความเข้าใจต่อสาธารณะชนได้
2. พลเรือนต้องไม่ขึ้นศาลทหาร : การนำพลเรือนขึ้นศาลทหารนั้นเป็นสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 4 ที่ระบุว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้"
เนื่องจาก "พันธกรณีระหว่างประเทศ" ที่ระบุไว้ย่อมหมายถึงตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 14 (5) ที่ไทยได้ให้พันธกรณีไว้ ก็ระบุว่า “บุคคลทุกคนที่ต้องคำพิพากษาลงโทษในความผิดอาญา ย่อมมีสิทธิที่จะให้คณะตุลาการระดับ เหนือขึ้นไปพิจารณาทบทวนการลงโทษและคำพิพากษาโดยเป็นไปตามกฎหมาย” หรือ สิทธิที่จะอุทธรณ์การลงโทษ นั่นเอง ซึ่งศาลทหารไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว
3. การไม่ให้สิทธิการปล่อยตัวชั่วคราวหรือการประกันตัว นอกจากขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว ยังทำลายหลักประกันความยุติธรรมอีก เพราะเป็นการลงโทษผู้ต้องหาก่อนมีการพิพากษาและยังเป็นการตัดโอกาส ลดทอนความสามารถในการต่อสู้คดีของผู้ถูกกล่าวหา เราอาจไม่สามารถรู้ได้เลยว่าผู้ต้องหาที่ถูกขังอยู่หากเธอจะแพ้คดี แพ้เพราะเธอทำผิดจริงหรือแพ้เพราะเธอถูกทำให้ด้อยความสามารถในการสู้คดีเนื่องจากถูกขังอยู่
ดังนั้นเราจึงขอเรียกร้องดังนี้
1. ยุติการดำเนินคดีกับคุณรินดา
2. ยุติการนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร
3. หรือขั้นต่ำสุดคือให้คุณรินดาได้สิทธิในการประกันตัว
#เราคือเพื่อนกัน
ความเห็นคุณ Pipob Udomittipongจากกรณีศาลทหารไม่อนุญาตให้ประกันตัว ‘รินดา’ แม่เลี้ยงเดี่ยว ที่มีลูกสาวและลูกชายวัย13 และ 7 ปี ซึ่งเธอตกเป็นผู้ต้องหาในคดีโพสต์(ต่อ)ในเฟซบุ๊ก กล่าวหา พล.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และภรรยาโอนเงินไปสิงคโปร์หมื่นล้าน แม้ตำรวจจะไม่ได้คัดค้านการประกันตัว และเธอเองก็ยืนเงินสด 100,000 บาทเป็นหลักทรัพย์ในการประกันตัวแล้วก็ตาม
โดยศาลทหารให้เหตุผลว่าหากปล่อยชั่วคราวอาจเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่การสอบสวน จึงไม่อนุญาต
สำหรับ ‘รินดา’ เธอถูกเจ้าหน้าที่ทหารนอกเครื่องแบบบุกจับกุมที่บ้านพักจังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่ 8 ก.ค.ไปควบคุมตัวที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ 1 คืนก่อนนำส่งกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ในวันต่อมา ตำรวจแจ้งข้อหาว่าว่า ‘รินดา’ กระทำความผิดโพสต์ข้อความดังกล่าวในเฟซบุ๊ก วันที่ 6 ก.ค.เวลา 06.41 น. มีความผิด 3 ข้อหา คือ มาตรา 14(2) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ,มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา กระทำให้ปรากฎแก่ประชาชน ด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่น อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญหรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริตเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบให้เกิดในราชอาณาจักร โทษจำคุกสูงสุด 7 ปี , มาตรา 348 ประมวลกฎหมายอาญา แกล้งบอกเล่าความเท็จให้เลื่องลือจนเป็นเหตุให้ประชาชนตื่นตกใจ (อ่านรายละเอียดที่ : http://prachatai.org/journal/2015/07/60289)
เราเห็นว่า
1. การโพสต์ต่อของเธอเบา ไม่กระทบความมั่นคง : สิ่งที่เธอโพสต์ต่อดังกล่าวนอกจากจะไม่ร้ายแรงหรือกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ เนื่องจากขณะนี้(19.00 น. 10 ก.ค.58)ข้อความที่เธอโพสต์ต่อดังกล่าวมีผู้แชร์ต่อเพียง 50 แชร์และ 50 ไลค์เท่านั้นแล้ว ซึ่งถือว่ามีผู้รับรู้น้อยมาก รัฐเองก็มีเครื่องมืออื่นการแก้ปัญหา เช่น การชี้แจงต่อสื่อมวลชนเพื่อสร้างความเข้าใจต่อสาธารณะชนได้
2. พลเรือนต้องไม่ขึ้นศาลทหาร : การนำพลเรือนขึ้นศาลทหารนั้นเป็นสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 4 ที่ระบุว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้"
เนื่องจาก "พันธกรณีระหว่างประเทศ" ที่ระบุไว้ย่อมหมายถึงตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 14 (5) ที่ไทยได้ให้พันธกรณีไว้ ก็ระบุว่า “บุคคลทุกคนที่ต้องคำพิพากษาลงโทษในความผิดอาญา ย่อมมีสิทธิที่จะให้คณะตุลาการระดับ เหนือขึ้นไปพิจารณาทบทวนการลงโทษและคำพิพากษาโดยเป็นไปตามกฎหมาย” หรือ สิทธิที่จะอุทธรณ์การลงโทษ นั่นเอง ซึ่งศาลทหารไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว
3. การไม่ให้สิทธิการปล่อยตัวชั่วคราวหรือการประกันตัว นอกจากขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว ยังทำลายหลักประกันความยุติธรรมอีก เพราะเป็นการลงโทษผู้ต้องหาก่อนมีการพิพากษาและยังเป็นการตัดโอกาส ลดทอนความสามารถในการต่อสู้คดีของผู้ถูกกล่าวหา เราอาจไม่สามารถรู้ได้เลยว่าผู้ต้องหาที่ถูกขังอยู่หากเธอจะแพ้คดี แพ้เพราะเธอทำผิดจริงหรือแพ้เพราะเธอถูกทำให้ด้อยความสามารถในการสู้คดีเนื่องจากถูกขังอยู่
ดังนั้นเราจึงขอเรียกร้องดังนี้
1. ยุติการดำเนินคดีกับคุณรินดา
2. ยุติการนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร
3. หรือขั้นต่ำสุดคือให้คุณรินดาได้สิทธิในการประกันตัว
#เราคือเพื่อนกัน
ooo
กรณีโอนเงินหมื่นล้าน ตำรวจแถลงเมื่อเช้าแล้ว อ้างว่ามีมือโพสต์จริง และผู้ต้องสงสัยยอมรับว่าโพสต์จริง (เขาบอกว่าแชร์มา ไม่ได้เขียนเอง) เป็นสีไหนไม่ต้องถาม โยงกันยุ่งไปหมด “จากการสอบสวนพบว่า ผู้ต้องหามีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม นปช. ในพื้นที่ปทุมธานี นอกจากนี้ ยังพบว่ามีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายของ นายเอนก ซานฟราน ผู้ต้องหากระทำผิดมาตรา 112 ที่ยังหลบหนีอยู่”
ข้อสังเกตของผมคือ (1) การปล่อยข่าวเกี่ยวกับบุคคลสาธารณะเกิดขึ้นทุกยุคสมัย ขนาดกรรมการปปช.ยังทำเองเลย (‘วิชา’แฉสุดยอดความชั่วร้าย ขนเงินออกนอกประเทศ แก๊งโกงข้าว ดึงปปช.ทั่วโลกแกะรอย เสก7แสนล้านหายเข้ากระเป๋า”http://www.naewna.com/politic/126825) มีกี่คดีที่ตำรวจติดตามหาผู้ต้องสงสัยได้เร็วขนาดนี้
(2) ผมสงสารคนถูกจับ เข้าไปดู facebook ของคุณรินดา (https://www.facebook.com/kfcnpc) เขาใช้ชื่อจริง หน้าจริง รูปตัวเองเต็มไปหมด น่าสงสัยว่าถ้าเขาเป็นระดับ “แกนนำ” เชื่อมโยงเครือข่ายล้มเจ้าได้หรือ ถ้าใช่จริงก็แสดงว่าหละหลวมมาก ดูแล้วเหมือนคนทั่วไปที่สนใจการเมืองบ้าง แต่ไม่มากมายอะไร และ (3) ในยุคระบบยุติธรรมแบบทหาร ถึงเป็นตำรวจจับ แต่ใช้คำสั่งทหารเข้าจับกุม และ “อุ้ม” เขาไปสอบ ยึดอุปกรณ์สื่อสาร น่าจะข่มขู่เขา แล้วค่อยหาข้อหาเพิ่มเติม เกรงว่าคุณรินดาจะไม่ได้โดนเฉพาะคดีหมิ่นประมาทผู้นำ อันนี้จะเรียกว่าระบบ “ยุติธรรม” ได้หรือ?
http://www.thairath.co.th/content/510695
ooo
ที่มา Matichon TV
"รินดา" มือโพสต์นายกโอนหมื่นล. รับรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คิดว่าบุคคลสาธาณะวิจารณ์ได้ อ่านรายละเอียด มติชนออนไลน์ 10 ก.ค.58
http://www.matichon.co.th/news_detail...